เรื่องเล่าของคุณเชิงชาย เรือนคำปา : การรับลูกKMลงสู่การปฏิบัติ


ลักษณะของโครงการหรือการทำงานก็เปลี่ยนไป จาก ซื้อ-แจก-จบ มาเป็นให้ความรู้ เกษตรกรนำความรู้ไปปฏิบัติ หาวิธีการปฏิบัติ

               เรื่องเล่า ของคุณเชิงชาย  เรือนคำปา  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6 ว . สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร   ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร  เล่าประสบการณ์ต่อจากคุณสายัณห์ ปิกวงค์  (ลิงค์อ่านเรื่องเล่าคุณสายัณห์)ในงาน "ตลาดนัดความรู้...ขององค์กรแห่งการเรียนรู้" ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในวันที่ 7 กันยายน  2549


               

          คุณเชิงชาย  เรือนคำปา เล่าว่า ได้นำการจัดการความรู้ไปใช้ในการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ อบต.นาบ่อคำ  ได้นำแนวคิดการจัดการความรู้ไปสู่งานประจำ  ในเบื้องต้นการทำKMหากพูดในหน่วยงานใหม่ๆ จะเกิดการต่อต้าน บางหน่วยงานก็ไม่ยอมรับ  การทำKMนั้น CKOจะต้องยอมรับ และเข้าใจ  คือคุณเอื้อจะต้องอำนวย  ต้องมีการสร้างการยอมรับและสร้างทีมงาน            
         
กรมส่งเสริมการเกษตรได้ถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว คงเหลือภารกิจของภัยธรรมชาติและการถ่ายทอดเทคโนโลยีเท่านั้นที่เป็นภารกิจที่เหลืออยู่ของกรมส่งเสริมการเกษตร   การถ่ายทอดความรู้นั้นก็เพื่อให้เกษตรกรเกิดรายได้ทำไปเรียนรู้ไปก่อให้เกิดรายได้และมีความยั่งยืนในการประกอบอาชีพการเกษตร               
           
เมื่อรู้จักคำว่า
KM ก็รู้สึกเสียดายความรู้ที่ได้ทำมา เพราะประสบการณ์การทำงานประมาณ 20 ปี ไม่ได้มีการจดบันทึกหรือจัดเก็บความรู้ไว้เลย  ความรู้ก็จะตายไปพร้อมกับเกษตรกรเจ้าของความรู้   ในปี 2548 เมื่อได้ยินคำว่าKMแรกๆ ก็ไม่ยอมรับKM ต่อมาเมื่อเดือนมีนาคม-เมษายน 2548 คุณสายัณห์ และคุณวีรยุทธ ได้นำแนวทางการทKMมาพัฒนาสู่ภาคปฏิบัติ  จากเดิมทำงานกับเกษตรกรโดยการสอน ทำแปลงทำสอบในโรงเรียนเกษตรกร การศึกษาดูงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ  คือให้เกษตรกรได้รับความรู้ แต่กลับไปจะไปปฏิบัติหรือไม่ไม่ทราบ               
         
ภาพใหม่ของการทำงานคือการร่วมกันออกแบบเป็นระบบมากขึ้น  เกษตรกรได้ ลปรร.เรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้  ตัวอย่างทำนำ
KMไปสู่การปฏิบัติร่วมกันกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ               
           
1.โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ  ในอดีตหากทำกิจกรรมเช่นนี้ก็เพียงแต่ซื้อพันธุ์โคมาแจกก็จบ  แต่ใช้กระบวนการKM ต้องมีการหาทีมงาน ร่วมกันระดมความคิดเห็นว่าจะทำกันอย่างไร  ขณะนี้มีโค 292 ตัว จัดให้เกษตรกรยืม เมื่อได้ลูกแล้วคืนแม่ให้เกษตรกรคนอื่นยืมต่อ  ซึ่งก็สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนก่อนที่รัฐบาลจะทำเสียอีก          
      
2.
ส่งเสริมการเพาะพันธุ์ปลาในท้องถิ่น  ในอดีตก็เช่นเดียวกันกับโค ก็ซื้อแจก  แต่ปัจจุบันมีการศึกษาร่วมกัน  จัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร เกิดการ ลปรร. ได้ความรู้นำไปสู่การปฏิบัติ เกิดสถานที่เพาะพันธุ์ปลา เกษตรกรมีการเพาะพันธุ์กันเองได้แล้ว   เริ่มที่สมาชิก อบต.ฝึกอบรมการเพาะพันธุ์ปลาก่อน  แล้วจัดให้เกษตรกรมาเรียนรู้   ลักษณะของโครงการหรือการทำงานก็เปลี่ยนไป จาก ซื้อ-แจก-จบ  มาเป็นให้ความรู้  เกษตรกรนำความรู้ไปปฏิบัติ หาวิธีการปฏิบัติ
           
การจัดการความรู้นั้น ต้องมีทีม และทีมต้องแบ่งหน้าที่ให้ชัดเจน  จัดเก็บความรู้หรือคลังความรู้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ยังจะมีการพัฒนาและปรับรูปแบบการทำงานต่อไปอีก


<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">          ขอรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่</p><p>          คุณเชิงชาย  เรือนคำปา           
          สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร
         
          ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร
         
          จังหวัดกำแพงเพชร 
62000     
       055-711660
</p><p>
บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.
วีรยุทธ  สมป่าสัก</p>

หมายเลขบันทึก: 50604เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2006 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท