โลกนอกกรอบ เราจะไปถึงไหนได้บ้าง


เศรษฐกิจทรงพลัง มาจากความคิดนอกกรอบ

โลกนอกกรอบ  เราไปถึงไหนได้บ้าง  ?????

วันนี้เราเห็นโคตรมหาเศรษฐี  ปฏิเสธ มหาวิทยาลัยชื่อดัง |
ได้เป็นเศรษฐี  ซีอีโอ  ไม่ว่าจะเป็นบิล เกต  
สตีฟ  จ๊อบส์  มาร์ก  ซักเกอร์เบิร์ก  

รู้สึกอย่างไรบอกไม่ถูก ที่ วิศวกร เพื่อนของเขาที่เรียนจบมหาวิทยาลัย
และเก่งมากและได้เป็นแค่ลูกจ้างในบริษัทของเขา

การรังสรรค์สิ่งประดิษฐ์  ในสิ่งที่ตนเองมีความชำนาญที่สุด
ทำให้เขาได้ผลจาก สิ่งประดิษฐ์ของเขา ที่กำหนดโลกในอนาคต
ที่สามารถขายได้ทั่วโลก

ทั้งหมดนั้นเหมือนกันอยู่ประการหนึ่ง คือ เข้าใจตัวเอง
เข้าใจว่าตนเองสนใจอะไร และมีความฝันที่จะทำ
ซึ่งสองวิชานี้ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยสอนแค่ว่า
คุณทำตามระเบียบของมหาวิทยาลัย คุณก็จะปลอดภัย
มหาวิทยาลัยก็จะรับรองคุณว่ามีความสามารถเท่านี้
ชีวิตการทำงานคุณก็จะปลอดภัย และเป็นพนักงานที่ดี

นี่หละ  โลกนอกกรอบ ของอเมริกันชน

โลกที่คุณคิดได้เอง  และโลกที่คุณทำได้เอง
พูดจาภาษาวิชาการ ก็บอกว่า  เป็นการทำ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
แค่มีคนอยู่ สามคน  เศรษฐกิจอเมริกันดีขึ้นมาก  รวมทั้งเผื่อแผ่
ไปยังโรงงานที่มีแรงงานราคาถูกอย่างประเทศจีน
เศรษฐกิจทรงพลังแบบนี้มาจากความคิดนอกกรอบ

เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์  ต้อง ออกจาก สถาบันการศึกษา
เพื่อไม่ให้ความคิดนั้นถูกครอบงำด้วยกำแพงหนาแน่น
ของวิชาการที่ไม่ยืดหยุ่น   ไม่สามารถปรับตัวได้
วิชาการ ก็ไม่ใช่อะไรหนักหนา ก็แค่สร้างข้อเท็จจริง
มาเรียบเรียง สร้างแบบจำลอง เพื่อตอบคำถามให้น่าเชื่อถือ

แน่นอนในเศรษฐกิจแบบธรรมดา ก็จะสร้างคนให้เป็นลูกจ้างในองค์กร
ลูกจ้างสองแบบ คือ ลูกจ้างที่ได้รับเกรด A จากสถาบันการศึกษา
ก็ทำให้เป็นหัวหน้างาน  ส่วนพวกได้เกรด C ถึง F  เป็นแรงงาน
เป็นธรรมดาของระบบแพ้แล้วคัดออก  การเป็นลูกจ้างในองค์กร
เป็นการแบ่งปันเงินส่วนน้อยจากบริษัทที่ทำกำไรได้มหาศาล
ซึ่งผู้ลงทุน อาจเป็นต่างด้าว ที่ทำกำไร แล้วเงินหายเข้าไปใน
ประเทศของเขา  เรียกว่าเศรษฐกิจแบบพึ่งพิงเขา

ประเทศมาเลเซีย หลาย ๆ ปีที่ผ่านมานิ้ เขาส่งเสริมประชาชน
ให้ทำ SMEs เพื่อสร้างธุรกิจของตนเอง  มากกว่าส่งเสริมให้
เป็นลูกจ้างในองค์กรก็เพราะว่า SMEs แม้จะไม่ค่อยปลอดภัย
และมีความเสี่ยง  แต่ก็ทำให้สมองเราทำงานได้เป็นอย่างดี 
เพราะเราจะต้องปกป้องบริษัท ปกป้องเงินของเราไม่ให้ขาดทุน

ความพยายามที่จะนอกกรอบ ของ มาเลเซีย ทำให้เศรษฐกิจ
มาเลเซียดีขึ้นมาก ๆมีคนรุ่นใหม่ ๆ พยายามที่จะทำธุรกิจ
เชิงสร้างสรรค์จำนวนมาก  เป็นบริษัทเล็ก ๆ
ที่กระจายตัวอยุ่ทั่วประเทศ  แต่มีผลการประกอบการดีมาก

มาดูที่เกาหลี ที่ผ่านมาอาจโปรเศรษฐกิจแบบเดิม
คืออุตสาหกรรมหนักแต่ตอนนี้มีวิสัยทัศน์ไปที่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ 
เขาส่งออกภาพยนตร์ ดนตรี และการแสดง
ซึ่งเป็นตัวแทนของความคิดสร้างสรรค์และศิลปวัฒนธรรมสร้างใหม่ 
นำไปขายในนาม ของ K pop

เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ จะยั่งยืนในระยะยาว
เพราะความคิดสร้างสรรค์ไม่มีวันหมด
ความสัมพันธ์ของเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ 
สัมพันธ์กับความคิดนอกกรอบ
สัมพันธ์กับความตั้งใจในสิ่งที่ถนัด และความบ้าที่เข้าขั้น

เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์  ไปกันได้ กับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เพราะนอกกรอบ คล่องแคล่ว ปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ นั้นจะต้อง ก้าวข้ามต่อความกลัว
ความลำบากและอุปสรรค  ซึ่งก็มีไว้ประจำตัวมนุษย์อยู่แล้ว
อยู่เฉย ๆ ไม่ทำอะไร ก็มีทุกข์มีปัญหาแบบนั้นเช่นเดียวกัน
ทำงานเป็นลูกจ้าง ก็มีทุกข์และปัญหาแบบลูกจ้าง
การข้ามขอบ ไปสู่เศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์  ก็ต้องคิดนอกกรอบ

เพราะมูลค่าของการนอกกรอบนั้นมีราคาแพงมาก
ไม่เชื่อ ถาม สตีฟ จ๊อบ  บิล เกตส์  มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ดู

หมายเลขบันทึก: 505375เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2012 17:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ตุลาคม 2012 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท