beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

กรรม (3x4=) 12


กมฺมุนา วตตี โลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

    สมัยตอนเป็นเด็ก เคยดูโฆษณาหนังไทยเรื่อง "พ่อปลาไหล" ทำนองว่า สามีคนหนึ่งซึ่งเป็นคนเจ้าชู้ พยายามทำให้ภรรยาเข้าใจว่าเป็นคนธรรมะ ธัมโม จะได้หนีไปเที่ยวได้โดยภรรยาไม่สงสัย และชอบพูดประโยคฮิตในสมัยนั้นว่า "ปลงเสียเถอะแม่จำเนียร พระท่านว่า กมฺมุนา วตตี โลโก.. กุ๊ก..กุ๊ก" ความหมายคือว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม  พอมีความรู้เรื่องการเขียนบล็อกหน่อยหนึ่งก็เลยอยากจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านผู้รู้ทั้งหลาย จึงขอเปิดบล็อกนี้ขึ้น

     คราวนี้มาถึงชื่อบันทึก ทำไมเรื่องของกรรม มีเรื่องของคณิตศาสตร์มาเกี่ยวข้องด้วยนะ คือ พยายามอธิบายให้ง่ายคือ พระพุทธองค์ ทรงแบ่งกรรมเป็น 3 ประเภท ประเภทละ 4 หมวด รวมกันแล้วเป็น 12 หมวด เรียกว่า กรรมสิบสองก็ได้ ดังนี้

กรรมประเภทที่ 1

           กรรมที่ว่าโดยหน้าที่          

  1. ชนกกรรม : กรรมที่ชักนำให้ไปเกิด
  2. อุปถัมภกกรรม : กรรมที่ช่วยชนกกรรมให้เจริญ 
  3. อุปปีฬกกรรม : กรรมที่เบียดเบียนกรรมอื่นให้มีสภาพตรงข้ามกับตน
  4. อุปฆาตกกรรม :  กรรมที่ทำหน้าที่ฆ่ากรรมอื่น

กรรมประเภทที่ 2

กรรมที่ว่าโดยลำดับการให้ผล

  1. ครุกรรม : กรรมหนัก ให้ผลก่อนกรรมอื่น ๆ
  2. อาสันนกรรม : กรรมที่กระทำในเวลาใกล้จะตาย ให้ผลลำดับ 2
  3. อาจิณณกรรม : กรรมที่กระทำเป็นอาจิณ หรือทำบ่อย ๆ ให้ผลลำดับที่ 3
  4. กตัตตากรรม : กรรมที่สักแต่ว่าทำ ให้ผลเป็นลำดับสุดท้าย

กรรมประเภทที่ 3

กรรมที่ว่าโดยเวลาให้ผล

  1. ทิฐธรรมเวทนียกรรม : กรรมที่ให้ผลในชาตินี้
  2. อุปปัชชเวทนียกรรม : กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า ที่ต่อจากชาตินี้
  3. อปราปริยเวทนียกรรม : กรรมที่ให้ผลในชาติต่อไปตั้งแต่ชาติที่ 2 นับจากชาตินี้
  4. อโหสิกรรม : กรรมที่ไม่ให้ผล เพราะหมดแรงกรรม

        บันทึกแรกเล่าเท่านี้ก่อนครับ บันทึกต่อไปค่อยเล่าต่อครับ ดูกระแสความนิยมนิดหนึ่ง

หมายเลขบันทึก: 5051เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2005 19:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท