Art_happy brain


Art_happy brain in a beautiful day:-)

ไรแดด กับ rim light ประมาณความหมายเดียวกันมั้ยคะ

มีพี่ที่รักกันเคยมอบภาพนี้ให้ จึงนำมาฝากอาจารย์ ชม ด้วยค่ะ

 

 Large_g2717983-10

 

 

สวัสดีครับอาจารย์หมอภูสุภาครับ

ไรแดด ในทางทัศนศิลป์ การเขียนภาพ ถ่ายภาพ ศิลปะการออกแบบและจัดแสดง ในภาษาอังกฤษนั้น น่าจะตรงกับที่เรียกว่า Direct Ligth ครับ แต่ว่าต้องขยายความเพิ่มสักหน่อยครับ กล่าวคือ เทคนิคทางศิลปะนั้น การเขียนภาพและการจัดแสงในเงา จะเป็นเทคนิคการเขียนภาพกับการจัดแสง ซึ่งเป็นเทคนิคที่ต้องมีการศึกษาเฉพาะกันเลยทีเดียวครับ เรียกโดยรวมว่า Shadow Painting หรือ Colour of Shadow Paintning  ในส่วนที่เป็นการเจาะจงเรื่องไรแดดกับแสงที่เล่นกับสวนและต้นไม้ ก็เป็นงานของมืออาชีพในทาง Ligthing Design for Trees

การเขียนภาพในเงา รวมทั้งการถ่ายภาพในเงา กับการอออกแบบและจัดแสงสำหรับต้นไม้และสวนอย่างที่ว่านี้ จะต้องรู้จักแสงที่เกิดขึ้นในเงาอย่างน้อย ๓ ลักษณะ คือ

  • แสงสะท้อนจากความจ้าของแดดและแหล่งกำเนิดแสง เรียก Fill Ligth ทำให้เกิดความสว่างและสามารถเห็นรายละเอียดในเงา เช่น เวลากางร่ม สิ่งที่อยู่ใต้ร่มนั้น เราจะสามารถเห็นรายละเอียดได้ด้วย ไม่ได้มืดสนิท เพราะแสงสว่างจ้าที่ตกกระทบสิ่งต่างๆโดยรอบ ทำให้เกิดแสงสว่างในเงาชนิดหนึ่งที่มาจากทุกทิศทุกทาง  
  • แสงสะท้อนจากวัตถุข้างเคียง เรียก Reflected Ligth จะมีทิศทางสัมพันธ์กับวัสถุสะท้อนแสง มีความส่องสว่างและมีสีสันจากแหล่งสะท้อนไปผสมอยู่บนวัตถุอื่นๆในภาพด้วย เช่น คนยืนใกล้รถสีแดง เนื้อตัวและร่างกายด้านที่หันเข้าหารถก็จะมีแสง สะท้อนสีแดงอุ่นๆ สะท้อนไปอยู่ในสีของเสื้อผ้าและร่างกายของคนในภาพด้วย
  • แสงจากแหล่งกำเนิดแสงโดยตรง หรือ Direct Ligth เป็นแสงจำนวนที่เล็กน้อยที่เล็ดรอดจากช่องว่างของวัตถุไปตกกระทบบนวัตถุอื่นๆ หรือลักษณะแบบไรแดดนั่นเองครับ

Rim Ligth หรือแสงเน้นขอบนั้น จัดว่าเป็นแสงสำหรับให้เทคนิคพิเศษ หรือ Effect Ligth ซึ่งจะเป็นเทคนิคเฉพาะสำหรับการจัดแสงและเทคนิคการออกแบบแสงสตูดิโอครับ เทคนิคแสงสตูดิโอนี้ แสงจากแหล่งกำเนิดแสง หากไม่ใช่แสงอาทิตย์ก็จะเรียกว่า Key Ligth ซึ่งมีความหมายในความเป็นแหล่งปฐมภูมิของแสงหรือเป็น Primary Source of Ligth เหมือนกับเรียกแสงจากพระอาทิตย์ว่าเป็น Primary Source ด้วยเหมือนกันครับ

แต่ Fill Ligth และ Reflecting Ligth ของการจัดแสงในสตูดิโอ จะเรียกว่าไฟเสริมและไฟลบลบเงาตามลำดับ อีกทั้งไม่มีคุณสมบัติในการสะท้อนสิ่งที่อยู่รอบข้างเหมือนหลักการเขียนภาพในเงาของแสงแดดในธรรมชาติ Fill Ligth นั้น ทำหน้าที่คุมน้ำหนักกลาง ปูพื้นทั่วทั้งฉาก หากเป็นการแสดงเวทีก็ทำหน้าที่คุมบรรยากาศโดยรวมให้กลมกลืนกัน และหากเป็นถ่ายภาพหรือภาพยนต์ ก็จะทำหน้าที่กุมโครงสีหรือ Colour Scheme โดย Key Ligth ก็จะตบแสงให้แสงในส่วนที่จ้า และ High Ligth ก็จะเน้นจำเพาะจุดอีกทีหนึ่ง หลักของการจัดแสงอย่างนี้ จะต้องการให้บรรยากาศความสมจริง สร้างให้เห็นความกลม แบน การซ้อนและความสัมพันธ์ระหว่างมิติลึก ใกล้ ไกล เหล่านี้ ให้เด่นชัด รวมทั้งสร้างจุดสนใจ และขับอารมณ์ของสิ่งจัดแสดงให้เกิดขึ้น ซึ่งแนวคิดก็จะต่างจากการเขียนแสงในเงาและไรแดด

ในเทคนิคการจัดแสงสตูดิโอนั้น จะมีเทคนิคช่วยให้วัตถุจัดแสดงลอยแยกออกจากฉากหลังโดยให้แสงฉากหลัง(Back Ligth) แยกให้เห็นความแตกต่างจากวัตถุ แล้วก็ตบแสงตามขอบของวัตถุ ทำให้วัตถุมีมิติลอยเด่นออกจากฉาก ซึ่งแสงชนิดนี้แหละครับเรียกว่า Rim Ligth อาจจะมีลักษณะเหมือนกับไรแดด แต่ไม่มีคุณสมบัติของการมาจากแหล่งกำเนิดแสงที่เป็นแสงอาทิตย์ เขาเลยเรียกเป็นเทคนิคเฉพาะอีกอย่างหนึ่ง ไม่เรียกว่าไรแดดครับ

Effect Ligth นี้ นอกจาก Rim Ligth แล้ว ก็มีเทคนิคเล็กๆน้อยๆเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์และความมีศิลปะของการจัดแสงอีกหลายอย่างครับ เช่น การให้แสงเพื่อทำแววตาให้เป็นประกาย เด่นลอยออกมาจากในเงา เรียกว่า Eye Ligth การตบแสงตามผม เพื่อทำให้เห็นความมันวาวสวยงามของเรือนผม เรียก Hair Ligth ซึ่งเป็นกลุ่มเทคนิคสำหรับออกแบบและจัดแสงในสตูดิโอน่ะครับ 

ในภาพตัวอย่างของอาจารย์นี้ หากเป็นการจัดแสงขึ้นเป็นการเฉพาะ เขาก็จะเรียกเทคนิคอย่างนี้ว่า Beam Ligth หรือ Spotting Ligth ครับ ถ้าหากเป็นแสงธรรมชาติก็เรียก Direct Spotting Ligth แต่เมื่อแปลเป็นไทย หากจะเรียกว่าไรแดด ก็จะไม่ได้ลักษณะความมีสุนทรียภาพอย่างที่กล่าวถึงในข้างต้น หากเรียกว่าภาพในลำแสงแทนเรียกว่าภาพในไรแดด ก็น่าจะเหมาะสมและสื่ออารมณ์ภาพได้ดีกว่าหรือเปล่านะครับ

 

 

นำความรู้และสุนทรียสนทนาจากอาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์ มารวบรวมไว้เพื่อตัวเองและท่านผู้สนใจได้อ่านค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์วิรัตน์มาอย่างสูงค่ะ

 

คำสำคัญ (Tags): #art#happy ba#happy brain
หมายเลขบันทึก: 504938เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2012 17:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2012 00:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มีความสุขอีแล้วนะคะ คนCreative ดีอย่างนี้นีเอง

ขอบคุณค่ะ

พึ่งเห็นชื่ออาจารย์พี่ภูสุภานะครับ

ไพเราะดีครับ

Blank W O W,

so sweet word of the D A Y.

 

Thank you ka *.__*

ชอบมากค่ะ เรื่องราวดีดีแบบนี้...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท