ภาษี AEC ที่เหลือ ศูนย์


สมมุติเดิมกระเทียมในประเทศไทยอยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 100 บาท แต่ถ้านำเข้าจากจีนอาจจะต้องเสีย 70 บาท + ค่าภาษีอีก 80 บาท + ค่าจัดการอีก 10 บาท บวกพ่อค้าคนกลางอีก 10 บาท รวมเป็น 170 บาท จึงทำให้กระเทียมจีนแพงกว่ากระเทียมไทยมากถึง 70 บาท

เกี่ยวกับเรื่องของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น ก็มีเนื้อหาสาระที่เข้มข้นและเข้าใกล้ประชาชนคนไทยอย่างเราๆมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะในไม่อีกกี่ปีข้างหน้าคือปี 2558นี้ก็ถือว่าเต็มตัวเต็มยศในเรื่อง AEC (ASEAN ECONOMICS COMMUNITY)  กันแล้ว ความจริงเราได้เริ่มมาตรการภาษีมาตั้งแต่ปี 2553 แล้วโดยมีเพียง 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และบรูไน ส่วนอีกสี่ประเทศคือ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนามนั้นได้ตามมาติดๆในภายหลัง หนำซ้ำยังมีอีก 6 ประเทศที่จะขอเข้าร่วมด้วยอย่าง จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และอินเดีย ซึ่งทั้งสินค้า แรงงาน ทุน ฯลฯ จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬาร   เรื่องของเกษตรกรหรือประชาชนคนทั่วไปก็มักจะได้ยินได้ฟังมากขึ้น บ่อยขึ้น ถี่ขึ้น แต่อาจเป็นในแง่มุมที่ตื้นเขิน ความหมายลึกๆ เชื่อว่าคงจะน้อยมากที่จะมีโอกาสทราบได้ว่ามีผลกระทบที่เป็นทั้งผลดีและผลเสียแก่ตนเองหรือส่วนรวมว่าจะเป็นอย่างไรบ้างนั้นคงจะไม่มาก โดยเฉพาะตาสี ยายสา ลุงมา ตามีที่อยู่ตามหัวไร่ปลายนายิ่งไม่ต้องพูดถึง คงได้ยินแต่เจ้าหน้าที่ของรัฐพูดให้ฟังอยู่บ้างเป็นครั้งคราวเมื่อมีโอกาสได้เข้าร่วมอบรมสัมมนาจากเกษตรตำบล เกษตรอำเภอ หรือหน่วยงานส่งเสริมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ความจริงผลกระทบด้านการค้าการขายเกี่ยวกับการเกษตรเราประสบพบเจอตั้งแต่ครั้งที่ทำ FTA (Free Trade Area) กับจีนแล้ว คือเมื่อลดภาษีนำเข้าหอมกระเทียมจากจีนเหลือศูนย์ ทำให้ประชาชนคนไทยที่ไม่นิยมกระเทียมจีนก็ค่อยๆรู้จักรสชาติมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยราคาที่ถูกกว่า ประหยัดกว่า ปรกติกระเทียมจีนอาจจะต้องเสียภาษีนำเข้า 70 - 80 เปอร์เซ็นต์สมมุติเดิมกระเทียมในประเทศไทยอยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 100 บาท แต่ถ้านำเข้าจากจีนอาจจะต้องเสีย 70 บาท + ค่าภาษีอีก 80 บาท + ค่าจัดการอีก 10 บาท บวกพ่อค้าคนกลางอีก 10 บาท รวมเป็น 170 บาท จึงทำให้กระเทียมจีนแพงกว่ากระเทียมไทยมากถึง 70 บาท จึงทำให้ไม่มีใครที่จะนำเข้ามาจำหน่าย แต่หลังจากตกลงเรื่อง FTA ภาษีที่เคยเสียก็ไม่ต้องเสีย พ่อค้าสามารถนำเข้ากระเทียมจากจีนได้ในราคา 70 บาท ถูกกว่ากระเทียมไทยถึง 30 บาท ถึงแม้จะมีค่าบริหารจัดการบ้างก็ยังถือว่าถูกกว่าของไทย ทำให้เกษตรกรที่ปลูกหอมกระเทียมขายไม่ออก ราคาตกต่ำ ต้องนำมาเทกองเกลื่อนกลาดเต็มถนน

พอจะนึกภาพออกอยู่บ้างแล้วนะครับว่า นี่ขนาดเพียงเรื่อง FTA ยังส่งผลกระทบทำให้ทั้งหอมกระเทียม ลิ้นจี่ ลำไย ทางภาคเหนือราคาร่วงพราวกราวรูดได้อย่างรวดเร็ว เมื่อหันกลับมามองเรื่อง AEC ก็ให้ลองคูณผลกระทบเพิ่มขึ้นไปอีกสัก 100 หรือ 200 เท่าดูแล้วกันครับ เพราะประเทศไทยเราแทบจะไม่มีสินค้าประเภทอ่อนไหวที่สำคัญและปกป้องพี่น้องเกษตรกรไทยเหมือน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย (สินค้าข้าวยังคงมีเพดานภาษีไม่ปล่อยให้เป็นศูนย์ร้อยเปอร์เซ็นต์) โดยยอมให้สินค้าเกษตรกรรมทุกๆ อย่างปล่อยลอยตัวไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์อย่างสิ้นเชิงตามยถากรรม หนทางเดียวที่พี่น้องเราชาวเกษตรกรจะช่วยตัวเองได้คือการผลิตอย่างประณีตรัดเข็มขัดประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้ต้นทุนลด ผลผลิตเพิ่มจึงจะสามารถยืนหยัดอยู่ได้ในกระแสโลกาภิวัตน์ที่เชี่ยวกรากนี้ อันนี้ก็เป็นมุมมองแบบง่ายๆให้พี่น้องเกษตรกรได้ทราบพอหอมปากหอมคอกันนะครับ สงสัยและต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็โทรศัพท์ติดต่อขอข้อมูลมาได้ที่ 081-313-7559 ครับ

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 504937เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2012 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

จะเกลือศูนย์ ..... เลยหรือค่ะ .....

ขอบคุณมากนะคะ กับควมรู้ ใหม่ๆๆนี้นะคะ

มามอบดอกไม้ไว้ก่อน ไปเก็บตังค์กลุ่มเกษตรก่อนค่อยมาอ่านครับ

ครับ Dr.Ple ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่สินค้าอ่อนไหวที่แต่ละประเทศสงวนไว้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ให้ประชาชนของตนเองจะเป็นศูนย์ครับ. เพราะ AEC คือบ้านของเราชาวอาเซียนทุกคนจะเดินทางไปมาค้าขายก็เหมือนอยู่ในประเทศตนเองล่ะครับ คือสรุปว่าเราจะมีพี่น้องชาวอาเซียนเพิ่มขึ้นมาอีก 600 ล้านคน ที่ต้องคอยจุนเจือช่วยเหลือกันตามเจตนารมณ์ของการรวมตัวเป็นกลุ่มใหญ่ นี่ยังไม่รวมอีกหกประเทศนะครับ

ขอบคุณท่านวอฌ่าครับไม่รู้ว่าจะรีบไปเก็บตังค์ค่าอะไรน้อ...รีบร้อนจัง?!?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท