ห้องเรียนธรรมชาติ บรรยากาศสดใส


การเรียนรู้ ใช่จะเกิดขึ้นเฉพาะในห้องสี่เหลี่ยม ที่มีโต๊ะครู โต๊ะนักเรียน กระดานดำ กระดานเขียว ชอล์ก โปรเจ๊กเตอร์ ฯลฯ ที่เรียกว่าห้องเรียน เท่านั้น ครูสามรถสร้างบรรยากาศ การจัดการเรียนรู้ได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา แม้นอกห้องเรียน ทั้งในและนอกบริเวณโรงเรียน จากสภาพจริง และสามารถประเมินผลจากสภาพจริงได้อย่างดี

ห้องเรียนธรรมชาติ

บรรยากาศสดใส

 

            บทความนี้ แว่นธรรมทอง เขียนไว้ เมื่อปีที่แล้ว เพื่อที่จะนำมาลงเผยแพร่ แต่ ปรึกษา กับเพื่อนครูเห็นว่า บล็อก KOTONOW โดยมากแล้ว สมากชิกที่เกี่ยวกับแวดวงการศึกษามีน้อย  พอดี ท่านเปิดโอกาส สรอ.ขอความรู้ ห้องเรียนในฝัน จึงได้นำบทความนี้มาลง คิดว่า คงเขียนไว้โดยเปล่าประโยชน์เสียแล้ว  ขอบคุณ คณะผู้จัด ดร.จันทวรรณ และ โครงการ สรอ.ขอความรู้

            การเรียนรู้ ใช่จะเกิดขึ้นเฉพาะในห้องสี่เหลี่ยม ที่มีโต๊ะครู โต๊ะนักเรียน กระดานดำ กระดานเขียว ชอล์ก โปรเจ๊กเตอร์ ฯลฯ  ที่เรียกว่าห้องเรียน เท่านั้น   ครูสามรถสร้างบรรยากาศ การจัดการเรียนรู้ได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา แม้นอกห้องเรียน ทั้งในและนอกบริเวณโรงเรียน จากสภาพจริง และสามารถประเมินผลจากสภาพจริงได้อย่างดี

 

          ความจำเจในชีวิต ทุกคนคงมีประสบการณ์ เช่น การซื้อกับข้าว บางครั้งเดินวนรอบตลาด รอบแผงแม่ค้า ก็ไม่ได้อะไร เจอหน้าเพื่อน ๆ ก็บ่น “ไม่รู้จะกินอะไร มีแต่ของเก่า ๆ น่าเบื่อ” การจัดการเรียนรู้ ก็เหมือนกัน ทำแบบเดิม ๆ ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีเข้ามา วันไหนก็ โปรเจ๊กเตอร์ มันก็เหมือน ทานอาหารเก่า ๆ ก็เปลี่ยนบ้าง ไม่อย่างนั้น คนไม่ไปทานนอกบ้าน ให้มีกิ๊กมีกั๊ก วุ่นวายหรอก นักเรียนนักศึกษาก็เหมือนกัน เขาโดดบ้าง หนีบ้าง ก็คงเหมือนทานกับข้าวจำเจ ฮิ 

 

            ห้องเรียนธรรมชาติ ผู้เขียนได้จัดทำขึ้นเพื่อการเรียนการสอน เมื่อครั้งยังไม่เกษียณ  หลังจากที่ย้ายมาจากโรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑  เนื่องจากห้องเรียนไม่พอ  ครูบางท่าน หวงห้อง เพราะการจัดการเรียนการสอน นักเรียนต้องเปลี่ยนห้อง(เดินเรียน) ไม่ได้เรียนประจำเด็กที่ใช้ห้องเรียนประจำเฉพาะเด็กที่ใช้เป็นกิจกรรมโฮมรูม (พบที่ปรึกษา) เท่านั้น

          เด็กก็คือเด็ก ก็ต้องทำห้องรก สกปรก บ้างเป็นธรรมดา ครูที่เป็นครูประจำห้องของเด็กที่ปรึกษาห้องนั้น ใช้สำหรับโฮมรูม เขาไม่พอใจ พูดบ่นให้ได้ยิน ว่าเด็กที่เข้าไปใช้ ไม่ช่วยกันรักษาความสะอาด บ่นทุกวัน

         ผู้เขียนเรำคาญ จึงเกิดวามคิดที่จะเป็นอิสระ มองหาที่เหมาะ ๆ ในบริเวณโรงเรียน ได้ มุมหลังโรงเรียน ใต้ร่มมะม่วง ร่มกระถินณรงค์ ให้นักเรียนช่วยกันถางป่า ถางหญ้า ปรับสภาพเป็นห้องเรียน แรก ๆ ใช้ ตอไม้ เลื่อย ตัดเป็นท่อน ๆ สำหรับให้ นักเรียนนั่ง โดยจัดลักษณะ ครึ่งวงกลม

           กระดานไวท์บอดที่เหลือใช้ครึ่งแผ่นให้นักเรียนแผนอุตสาหกรรม เชื่อมต่อกับโครงเหล็กให้ สร้างคังคา มุ่งกระดานป้องกันน้ำฝน ซึ่งทุกสิ่งเป็นวัสดุที่ เก็บจากเขาโยนทิ้งทั้งนั้น ก็พอใช้เป็นห้องเรียน จัดกิจกรรมการเรียนการสอน อากาศเย็นสบาย และนักเรียนสามารถ แสดงออกได้เต็มที่ สนุกสนาน โดยไม่ต้องเกรงว่าจะรบกวนห้องข้างเคียง

          หลัง ๆ ก็หาเศษไม้กระดาน มาให้นักการ ทำเป็นที่นั่ง ทับบนต่อ เด็กสามารถนั่งได้มากขึ้น บางครั้งก็ใช้เสื่อสาดปู นักเรียนสามารถเอนกาย ให้อิสระอย่างเสรี หาโต๊ะที่ เหลือใช้ หรือชำรุด ให้นักการซ่อม เพื่อให้นักเรียนได้รองเขียน นักเรียนบอกว่า เขียนไม่ถนัด หากไม่มีที่รอง

            อุปกรณ์การสอน หาได้ง่าย ๆ รอบ ๆห้องเรียน เป็นของจริงจากธรรมชาติไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณ โดยมากจะพานักเรียนเดินรอบบริเวณในโรงเรียน สำรวจธรรมชาติ รอบ ๆ บริเวณโรงเรียน เช่น ชมดอกทองกวาว แล้วให้นักเรียน นั้งเขียน ถ่ายทอดความคิดออกมาในทักษะการเขียน เป็นความเรียงบ้าง ร้อยกรองบ้าง ใต้ร่มทองกวาวนั่นแหละครับ  เกี่ยวกับดอกทองกวาวให้ผูกเป็นเรื่องราว นักเรียนสามารถเขียนออกมาได้อย่างไพเราะ และมีชีวิตชีวา ซึ่งถ่ายทอดออกมาได้อย่างหลากหลาย บางวันก็ นำก้อนหิน มาวางให้นักเรียน มอง เพียงก้อนหินก้อนเดียว ก็ได้ความคิดอย่างหลากหลาย ในแต่ละมุมมองที่น่าสนใจ จากนั้นก็ให้นักเรียน นำเสนอ อย่างสนุกสนาน ตื่นเต้น ในความเห็นของเพื่อน ๆ และได้กำลังใจ แรงเสริม จากคำชื่นชม ของครู และเพื่อน ทำให้ผู้เรียนเกิดความรักและชอบในวิชาที่เรียน มีเจตคติที่ดี ผู้เรียนมีความสุข

         บางชั่วโมงให้ไปนั่งริมฝั่งสระ ข้าง ๆ ห้องเรียนธรรมชาติมีสระน้ำ ชมดอกบัวแล้วนำมาเขียน วันไหนไม่เดินก็ หักกิ่งดอกเฟื่องฟ้ามาเสียบแจกัน ให้เขียนบรรยาย แต่ละคนจะเขียนตามความรู้สึกของตน ฝึกให้ผู้เรียนมีความสังเกตธรรมชาติ   มาประยุกต์ ใช้ในชีวิต เพราะการสังเกตเป็นครูที่ดีที่สุด

        นำการละครมา ให้นักเรียนแสดง  สนุกสนานไม่ต้องเกรงว่าจะรบกวนห้องอื่น ที่ห้องเรียนธรรมชาติ นักเรียนจะช่วยกันสร้างโรงละคร เล็ก ๆ สำหรับจัดการแสดง ละครหุ่น ตามเนื้อหาในบทเรียน ซึ่งการละคร จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนง่าย สนุกสนาน และเกิดการเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว สามารถฝึกทักษะ ทั้ง ฟัง พูด อ่าน เขียน ดู ได้เป็นอย่างดี

          พอทำสำเร็จครูบางท่านก็หาว่า ผู้สอนมีปัญหาไม่สามารถเข้ากับคนอื่นได้ เป็นงั้นไป ในห้องเพราะขี้เกียจ ไม่อยากสอน ก็เลยไปสอนที่อื่น โดยมากแล้วมักจะเป็น ครูที่สอนโดยครูเป็นผู้บอก นั่นแหละคือการเรียนการสอนของเขา บอกให้จด ทั้ง ๆ ที่ในหนังสือก็มี  แม้แต่ผู้บริหาร ผอ .ไม่สนับสนุน ชอบปั่นจักรยานไปดูตลอดเวลา แถมยังนำรถเมล์ที่ ส.ส.บริจาค ที่ใช้ไม่ได้ เอาไปจอดปิดบัง ไว้ ไม่อยากให้แขกบ้านแขกเมืองเห็นห้องเรียนธรรมชาติ ผอ.พวกนี้ เหมือนพวกกบในกะลาครอบ รถเมล์ที่ผู้เขียนกล่าวถึง ก็เช่นกัน ผู้เขียนเห็นว่า จอดทิ้งเปล่า จึงเสนอแนะ ของบ ตกแต่ง เป็นห้องสมุด สำหรับเด็กที่ไปเรียนรู้ เวลาพัก เวลาว่าง ก็ไม่ให้ไม่อนุม้ติ ในที่สุด ก็ปล่อยให้ทรุดโทรม ไร้ประโยชน์ตราบทุกวันนี้

            บุคคล ข้างนอก ครู จากโรงเรียนอื่น มาเห็น เขาชื่นชอบ และขอความคิดไปใช้ที่โรงเรียน เมื่อ เวลากรรมการมาประเมินโรงเรียน แหล่งเรียนรู้อะไรบ้าง ก็ยังเอาไปอ้างอิง ถ่ายภาพโชว์  แต่เวลาทำไม่สนับสนุน พวกรับแต่ชอบ.... ผิดไม่รับ

            บริเวณ ห้องเรียน ให้นักเรียน รับผิดชอบ ส่วนหย่อม โดยฝึกให้เขาจัดหาต้นดอกไม้จากบ้าน มาปลูกตกแต่ง ตามโคนต้นไม้ จัดเป็นมุม วิชาการ ก็เริ่มมีบรรยากาศของห้องเรียนขึ้น นอกจากนี้ นักเรียนที่เรียนแผนวิทย์ ให้ทำ ป้ายชื่อต้นไม้ และชื่อวงศ์ ร่วมกับ นักเรียน สายภาษา จะช่วยแต่งบทกลอนบรรยาย บอกลักษณะของต้นไม้นั้น เป็นการบูรณาการ ในการจัดการเรียนการสอน ระหว่างวิชา เป็นอย่างดี

            ดังนั้นเวลาคาบว่าง จะมีนักเรียนไปใช้สถานที่ ทำงาน ทำการบ้าน และพักเที่ยง ยังไป นั่งรับประทานอาหาร เกิดประโยชน์ อีกหลายอย่าง หรือบางครั้ง ครูท่านอื่น ก็ไปขอใช้ สอน ใช้ทำกิจกรรม เช่น สอนลูกเสือ เล่นคนตรี ฯลฯ

            ข้อจำกัดของห้องเรียนธรรมชาติ เด็กจะไม่ค่อยมีสมาธิ ขณะสอนเมื่อมี ใครผ่านไปมา ก็ปล่อยไปตามอารมณ์ เดี๋ยวเขาก็กลับสนใจบทเรียนคืน เป็นธรรมชาติของคน และหน้าฝนไม่สะดวกแต่ไม่ตกทุกวัน อีกอย่าง ช่วง เดือนพฤศจิกายน ดอกกฐินณรงค์ ออกเกสร จะเหนี่ยว และร่วง วิธีป้องกันโดยใช้ ผ้าสแลน (ไม่ทราบทางการเรียกอะไรครับ) ขึงด้านบน ใช้บังแสงด้วย ก็ใช้ได้  การทำงานใด ๆ ย่อมมีอุปสรรคแล้วแต่จะมาก จะน้อยขึ้นอยู่กับปัญหา แต่ถ้าหากไม่มีอุปสรรค ก็เท่ากับว่าเราไม่ได้ทำงานเลย

            นับเป็นการจัดบรรยากาศการเรียนการสอนที่ ทำให้ผู้เรียนอยากเรียน ไม่เครียด สนุกสนาน ผู้เขียน ทำแบบสำรวจ ความพึงพอใจใน การเรียนจากห้องเรียนธรรมชาติ หลังจาก สิ้นภาคเรียน ในด้านต่าง ๆ เช่น ผลสัมฤทธิ์ บรรยากาศ การทำงานร่วมกัน ความร่วมมือ การเป็นผู้นำ ผู้ตาม ความรับผิดชอบ เป็นต้นปรากฏว่า  ความพึงพอใจ ในระดับ ดีมาก และระดับดี เป็นส่วนใหญ่

เสียดายข้อมูล ทางสถิติ ที่เก็บไว้ได้สูญ หาย เพราะ เมื่อครั้งที่ทำวิจัยชั้นเรียน

          ปีนั้นมีหนังสือเชิญชวนให้ครู ส่งผลงาน ด้านวิชาการ เพื่อคัดเลือกเป็นครู ดีเด่น ของคุรุสภา ก็ไม่อยากส่งแต่ เพื่อน ๆ น้อง ๆ เห็นว่ามีผลงานทางวิชาการมาก สนับสนุนให้ส่ง อีกอย่าง  สพท.  บุรีรัมย์เขต ๔ (ครั้งนั้น ยังไม่แยก เป็น สพม.)  ทั้งเขต ไม่มีใคร ส่ง จึงตัดสินใจ ส่งหากได้ก็จะเป็นเกียรติประวัติ ต่อตนเองและวงศ์ตระกูล   ปรากฏว่า รอง ผอ. รักษาการ ผอ.เขต เห็นว่า ไม่มีใครส่งมาก เพียงเราคนเดียว ทั้งที่หมดเขต แล้ว ตัดเรา ออก แต่ไปบอกให้ ภรรยา ของเพื่อนตนเอง ส่งผลงานแทน ทั้ง ๆ ที่หมดเขตแล้ว  (อย่างนี้ก็มี ผู้เขียน ทราบลูกศิษย์ลูกหาบอก เมื่อไปตามผลงานคืน แต่หาย หลังจากนั้น  รองคนนี้ ถูกให้ออกจากราชการ เนื่องจากทุจริตในหน้าที่ กรรมตามสนอง เข้า สุภาษิต “ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน” )

            การจัดการเรียนรู้ ไม่มีรูปแบบ ที่แน่นอน ไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด ที่สำคัญต้องยึดตัวชี้วัด ยึดหลักสูตรแกนกลาง   สุดแท้แต่ผู้สอน จะสรรหาวิธีที่จะให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้เข้าใจ สนุกสนาน เมื่อผู้เรียนมีสุขในการเรียนความรู้ที่ได้รับย่อมประทับใจ ติดตัวไปไม่มีวันลืม โดยคิดวิธีสอน ใหม่ ๆ จัดหาสื่อ อุปกรณ์ นวัตกรรม  ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนเองอยู่เสมอ บางครั้งนักการศึกษาที่มีความรู้ อาจไม่รู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง เท่าประสบการณ์ของครูผู้สอน

 

          โรงเรียนของคุณครูที่สนใจหากมีสถานที่ เนื้อที่มาก ๆทดลองนำไปใช้ ในการจัดการเรียนรู้ ในปี ๒๐๒๐ ว่าง ๆ ให้นักเรียน ไปนั่งกด Tablet เล่นครับ...หลังจากผู้เขียนเกษียณ ห้องเรียนธรรมชาติ ก็ไม่เหลือซากแล้ว...แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อครั้งยังไม่เกษียณ ผู้เขียนก็ภูมิใจที่เป็นครูที่มีห้องเรียนที่ใหญ่ที่สุดของโรงเรียน ใน  สพม. ๓๒ บุรีรัมย์  และเป็นห้องเรียนในฝันที่ เป็นจริง มาแล้ว....สวัสดีครับ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 504865เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2012 05:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เห็นด้วยค่ะดิฉันก็มีห้องเรียนธรรมชาติเหมือนกันค่ะที่ให้เด็กๆใช้เรียนกันชอบมากกว่าห้องแอร์ที่มีสื่อในห้องเรียนเสียอีก

การเรียนรู้ที่ได้สัมผัสของจริงนี่ได้ประโยชน์มากเลยค่ะ

เรื่องนี้ ผมทำมาสิบกว่าปี นับแต่เป็นผู้บริหารโรงเรียน

วันนี้เข้ามาอ่านเจอ รู้สึกประทับใจ ได้ไอเดียเพิ่ม และต้องคุยกันยาว

ขอบคุณที่ทำให้ผมอ่านแล้ว มีความสุขกับความคิดสร้างสรรค์นี้ ครับ

ขอบคุณ คุณพรรณา หมูจ๋า ท่าน ผอ.ชยันต์ จากการประเมิน การสังเกต ผู้เรียนมีสุข สนุกในการเรียน มากครับ และขอบคุณทุก ๆ กำลังใจ...สวัสดีครับ

แวะมาชม ห้องเรียน น่าเพียรล้ำ คุณแว่นธรรมทอง พามาขยาย เป็นห้องเรียนเพียรเพลินเกินบรรยาย ดูหลากหลายน่าอยู่เรียนรู้เอย

  • ชอบห้องเรียนธรรมชาติแบบนี้
  • เสียดายนะครับ
  • พอพี่ครูไม่อยู่ที่อย่างก็หายไป

น่าเรียนมากครับห้องเรียนธรรมชาติ 

บรรยากาศน่าเรียน เด็กๆมีความสุข น่าสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนค่ะ..

  • อ่านบันทึกนี้แล้ว ทำให้รู้สึกกลัวกับระบบราชการนะคะ
  • ประโยชน์ส่วนตัวสำคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม
  • เอพูดไปพูดมาเริ่มเข้าตัวแล้ว เฮ้อทำอย่างไรดีคะคุณครู

 

  • ชอบที่คุณครูโยงเรื่องเบื่อข้าวบ้าน จึงต้องไปมีมีกิ๊กมีกั๊ก กับนักเรียนค่ะ
  • อ่านแล้วเข้าใจสัจธรรมเลย
  • เด็กหนีเรียนเพราะเบื่อข้าวจานเดิมๆ นี่เอง555
  • ชื่นชมห้องเรียนที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของคุณครูค่ะ
  • เหมือนจะไม่ใช่ห้องเรียนในฝันนะคะ เพราะเกิดขึ้นจริงมาแล้ว
  • ที่บ้านหนูก็เรียกว่าแสลนเหมือนกันค่ะ เอาไว้ขึงคลุมผักชี กันแสงแดดได้ค่ะ

เป็นห้องเรียนที่น่าเรียนและนักเรียนคงผ่อนคลายมีความสุขที่สุดค่ะ

ชื่นชมและคารวะ "คุณครูดีๆ" ทุ่มเทและสร้างนวัตกรรมเพื่อเด็๋กเสมอ

และไม่น่าเชื่อว่าจะมีผู้บริหารซึ่งขาดคุณธรรม(ดังที่อาจารย์เล่า) ขนาดนี้ อย่างไรก็ตามสิ่งที่อาจารย์ได้ทำนั้น นักเรียนทุกคนจะต้องกล่าวขานและจำได้ตลอดไปค่ะ

  ภาพที่เห็นในวันนี้คือที่เก่า...

คือห้องเรียนขัดเขลาศิษย์ทั้งผอง ธรรมชาติวาดจินต์หลากมุมมอง ครูสอนทำ สอนท่อง...กรองปัญญา

 ใต้ร่มไม้เงารักสวนอักษร

ฉันเคยทัศนาจรสาส์นพฤกษา มีคุณครูอบรมบ่มวิชา ปลูกต้นกล้ากอใหม่ในห้องเดิม

 ต้นแล้ว...กอเล่า...ยังงามงด

ยังเขียวสดด้วยความรู้ครูสร้างเสริม ห้องเรียนเก่าเฝ้าย้ำทรงจำเดิม ที่ครู - ศิษย์ ได้เริ่มเรียนรู้...ใจ

คารวะแด่ครูผู้ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ กำลังความคิด แก่ศิษย์ทั้งมวล ห้องเรียนธรรมชาติคงตราตรึงในจิตศิษย์หลายคนอย่างมิลืมเลือน..... รักและเคารพคุณครู แว่นธรรมทอง ( วรเชษฐ โชคชัย)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท