การจัดการความรู้ในสถานศึกษา 119


มาอ่านหนังสือกันเถอะ ....

มาส่งเสริมนิสัยรักการอ่านกันเถอะ

     เมื่อไหร่การอ่านจึงเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกคนเห็นพ้องกันว่าต้องทำ ต้องรีบแล้ว วางเฉยไม่ได้อีกต่อไป

    

     ทั้งนี้จากการเปิดเผยของ นายวรพันธ์ โลกิตสถาพร นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ว่าจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เรื่องการอ่านหนังสือของประชากรในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน พ.ศ. 2554 จาก 53,000 ครัวเรือน พบว่า คนไทยตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไป มีอัตราการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียนและนอกเวลาทำงาน ร้อยละ 68.8 โดยผู้ชายจะอ่านหนังสือร้อยละ 69.3 ผู้หญิงร้อยละ 68.3 และกรุงเทพมหานครจะมีผู้อ่านหนังสือมากที่สุด คือ ร้อยละ 89.3 ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) มีอัตราการอ่านหนังสือต่ำที่สุด อยู่ที่ร้อยละ 62.8

     โดยประเภทของหนังสือที่คนนิยมอ่านคือ หนังสือพิมพ์ (ร้อยละ 63.4) ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบสถิติของปี พ.ศ. 2554 กับ ปี พ.ศ. 2551 จะพบว่ามีอัตราการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ขณะที่เวลาในการอ่านหนังสือต่อวันลดลง เพราะหันไปสนใจกิจกรรมใหม่อย่างอินเทอร์เน็ตหรือเกมมากขึ้น

       นอกจากนี้ นายกุลธร เลิศสุริยะกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาหลักสูตร สำนักงานส่งเสริมการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ได้เปิดเผยว่า เด็กไทยอ่านหนังสือเฉลี่ย 2-5 เล่มต่อปี ต่างจากสิงคโปร์ที่เฉลี่ยแล้วอ่านหนังสือ 50-60 เล่มต่อปี ดังนั้นจึงควรเพิ่มพฤติกรรมการอ่านหนังสือ และส่งเสริมการอ่านในกลุ่มคนด้อยการศึกษาและยากจน ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศ  (ที่มา: คมชัดลึก)

  

    แล้วถามว่า ทำไม เด็กไทยและคนไทยจึงไม่รักการอ่าน ??

    แล้วทำอย่างไรเด็กไทยและคนไทยถึงจะรักการอ่าน??  

      ดูเหมือนว่าที่ผ่านมาหลายภาคส่วนในสังคมทั้งภาครัฐ และเอกชนให้ความสำคัญกับการส่งเสริมด้านนิสัยรักการอ่านของเด็กไทยและคนไทย

     ในขณะที่สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมรณรงค์ให้คนไทยทุกเพศทุกวัยชวนกันอ่านหนังสือทุกวัน  เพื่อสร้างค่านิยมและภาพลักษณ์ใหม่ของคนไทย ผ่านโครงการ “ชวนกันอ่าน ทั้งบ้านทั้งเมือง”

      โครงการ “ชวนกันอ่าน ทั้งบ้านทั้งเมือง” ประกอบด้วย กิจกรรมย่อยที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วม อาทิ การส่งภาพคนอ่านหนังสือในสถานที่และโอกาสต่างๆ แบบ candid camera เข้ามาร่วมสนุก การแนะนำชื่อหนังสือชวนอ่าน หรือการแสดงความเห็นเกี่ยวกับหนังสือที่อ่าน ภายใต้หัวข้อ “เล่มที่ชอบ เรื่องที่ใช่” ฯลฯ ซึ่งสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากพื้นที่นี้ และที่แฟนเพจเพื่อร่วมกิจกรรม http://www.facebook.com/readingthailand

     จึงอาจเป็นหนึ่งช่องทางในการส่งเสริมการอ่านของคนไทยและเด็กไทย…

     และอีกหนึ่งโครงการที่ดีๆ คือโครงการหนังสือดี 100 เล่ม เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ก็เป็นหนึ่งในโครงการที่จะช่วยรณรงค์ให้เยาวชนไทยเกิดแรงกระตุ้นรักการอ่าน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ท่ามกลางกระแสวิกฤตการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งนอกจากจะมีรศ.วิทยากร เชียงกุลเป็นแกนนำแล้ว ยังมี อ.พรพิไล เลิศวิชา ผศ.จินดา จำเริญ อ.ปรีดา ปัญญาจันทร์ รศ.เกริก ยุ้นพันธ์ และผศ.รพินทร คงสมบูรณ์ เป็นมือคัดเลือกหนังสือเพื่อเด็กเยาวชนไทยในครั้งนี้ด้วย โดยจะมีการแถลงข่าว"รายชื่อหนังสือดี 100 ชื่อเรื่องสำหรับเด็กและเยาวชน" โดย สสค. และ Workshop" "ชวนน้องอ่าน ผ่านครูสอนดี" ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 17 ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคมนี้ เวลา 09.00-17.00 น. ณ ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ ห้องมีตติ้งรูม

       สำหรับเกณฑ์ในการพิจารณานั้น ได้แบ่งหนังสือสำหรับเด็กในวัยต่างๆ 4 กลุ่มคือ

1.กลุ่มเด็กแรกเกิด 0-3 ปี

2.กลุ่มเด็กเล็กวัย 3-6 ปี

3.กลุ่มเด็กโตวัย 7-12 ปี และ

4.กลุ่มเด็กวัยรุ่นและเยาวชนวัย 13-18 ปี

 โดยหนังสือจะต้องเข้าองค์ประกอบหลัก 4 ประการดังนี้

1.เป็นหนังสือเล่ม: ไม่ว่าจะเป็นหนังสือแต่งหรือบันเทิงคดี ที่เขียนโดยนักเขียนไทยไม่จำกัดยุคสมัย

2.เพียบพร้อมด้วยวรรณศิลป์: มีศิลปะในการเขียนที่ดี มีความไพเราะ อ่านแล้วสนุก สะเทือนอารมณ์ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เข้าใจชีวิตและสังคมเพื่อช่วยในการปรับเปลี่ยนทัศนคติและค่านิยม ที่เหมาะสมในสังคมไทย

3.มีเนื้อหา ท่วงทำนอง ภาพประกอบที่ตอบสนองกลุ่มนักอ่านรุ่นเยาว์: ตัวละครมีความเชื่อมโยงกับผู้อ่าน ซึ่งจะทำให้เด็กเยาวชนสามารถซึมซับข้อคิดในการใช้ชีวิตได้ง่าย และไม่เบื่อ

4.มีเนื้อหาที่ช่วยให้ผู้อ่านสนใจรากเหง้าของสังคมและวัฒนธรรมไทย

    นับว่าเป็นโครงการและกิจกรรมดีที่น่าสนับสนุน รวมทั้งหน่วยงานภาคการศึกษาที่ควรหากลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการอ่านให้คนไทยและเด็กไทย อย่างน้อยน่าจะรณรงค์และส่งเสริมไปพร้อมกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วยก็ดี

ไอเดียเก๋ ส่งเสริมการอ่าน (มติชนออนไลน์)

 

“แล้ววันนี้คุณอ่านหนังสือแล้วหรือยัง?”

ขอบคุณแหล่งข้อมูลที่ดี

โครงการชวนกัน อ่าน ทั้งบ้านทั้งเมือง สสค.

โครงการหนังสือดี 100 ชื่อเรื่องเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย สสค.

ชวนน้องอ่าน ผ่านครูสอนดี สสค.

คมชัดลึก

และ ดู 10 ภาพเปิดมุมมองการรู้หนังสือ (Literacy Rate) จากทั่วโลก

หมายเลขบันทึก: 504616เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2012 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2017 05:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

วันนี้ ครูอ้อยอ่านหลายเรื่อง อ่านงานนักเรียน  อ่านงานเพื่อน สักครู่จะอ่านภาษาอังกฤษในเว็บไซต์ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ  ที่นำมาให้อ่านสิ่งที่ดีมีประโยชน์ค่ะ

 

 

นิสัย...รักการอ่านกับเด็กไทยและคนไทย.... "รักลูก..ให้ลูก..รักการอ่าน"

 

ขอบคุณมากนะคะ

ผู้เขียนเองเคยผ่านความเป็นเด็กมานานแล้วก็จริง..ปัจจุบันยังอ่านและเขียนด้วยครับเคยเข้ามาอ่านหรือยัง ? บ่อยแค่ไหน ? * ถ้ายังก็เข้ามาอ่านได้ตลอดเวลาน๊ะครับ ไปที่กูเกิ้ลแล้วป้อนคำว่า <โตนี่ฟางคนล่าฝัน> แล้วกดเอ็นเตอร์..ทีนี้ก็เลือกเอาเองว่าจะเริ่มจากเรื่องใดก่อน..อยากบอกว่าแค่ดูแต่รูปก็คุ้มแล้วครับ..ไม่ได้โม้ !

* ผู้เขียนและคนชอบอ่าน.

 

มันสำคัญตรงที่ว่า.....เราทำเป็นตัวอย่างให้เด็กดูมากแค่ไหน

ขอสนับสนุนทุกโครงการที่เกี่ยวข้องด้วยนะคะ

เริ่มที่เราเองนี่แหละค่ะ สังเกตได้เลยว่าเราทำอย่างไร เด็กๆรอบตัวเราก็เป็นแบบนั้นค่ะ เด็กๆที่บ้านตั้งแต่เล็กจนโต ไม่ว่าจะไปไหนทำอะไรก็มีหนังสือติดมือไว้อ่านเวลาว่างกันตลอด

สวัสดีทุกท่านครับ ที่มาเยี่ยมชมให้กำลังใจครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท