เป็น-ตาย


ทุกข์สุข มีอยู่ทั่วไป แล้วแต่ใครจับจอง..

ทุกข์สุข มีอยู่ทั่วไป
แล้วแต่ใครจับจอง

 

คนเรามักไม่ได้ดังหวัง
เพราะหวัง มากไป

 

ก็แล้วทำไม
ต้องไปเจ็บไปปวดกับมันมากนักเล่า..

 

ภูสุภา

 

 

 

ไปพูดคุยกับอาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ที่ บันทึกนี้

ได้ความรู้มากมาย และได้ความเพลิดเพลินใจ จากภาพที่ถ่ายครั้งแรก ในชีวิต ดังนี้ค่ะ

 

 

สวัสดีครับอาจารย์หมอภูสุภาครับ

สวยครับ ขอบพระคุณอาจารย์ครับที่นำมาแบ่งกันชม

วิธีถ่ายภาพโดยเลือกด้านที่แสงส่องทะลุใบต้นไม้อย่างนี้ เป็นวิธีเลือกอิทธิพลของแสงได้ถูกกับลักษณะภาพ ซึ่งเหมือนเป็นการบันทึกเล่าเรื่องของต้นไม้กับแสงแดดและความรื่นรมย์ของธรรมชาติ การใช้ศิลปะเข้าช่วยอย่างที่ปรากฏในภาพจากฝีมือถ่ายภาพของอาจารย์อย่างนี้นี่ จะเห็นได้เลยนะครับว่า เราสามารถทำให้สิ่งที่ปรากฏในภาพมีอยู่ไม่กี่ชิ้น ให้สามารถบอกเล่าเรื่องราวได้อย่างมากมาย เป็นต้นว่า กิ่งใบของมะละกอเพียงเล็กน้อย ก็กลับบอกสภาพแวดล้อมของแมกไม้และการอยู่อาศัยโดยรอบได้เป็นอย่างดี

แสงแบบย้อนแสงและมุมภาพแบบเงยขึ้นอย่างนี้ ให้ภาพออกมาสวยงามและน่าสนใจมากเสมอเลยนะครับ เพราะเป็นมุมที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้มอง เลยไม่ค่อยได้มีโอกาสได้เห็นโลกและความเป็นจริงรอบข้าง ด้านที่อยู่ในมุมมองแบบนี้บ่อยนัก

การสามารถนำเอาเรื่องราวด้านที่คนมองไม่เห็นหรือมองข้ามไปมาถ่ายทอดให้กัน ก็เลยมีความน่าสนใจที่มีอยู่เป็นพื้นฐานอยู่แล้วเหล่านี้ ช่วยสร้างความน่าประทับใจได้เป็นอย่างดี สามารถใช้ถ่ายภาพเพื่อบันทึกข้อมูล สร้างเรื่องราว สร้างความรู้ นำเสนอความรู้ ผสมผสานไปกับให้รสนิยมศิลปะและพัฒนากล่อมเกลาชีวิตด้านในให้กับผู้ชมได้เป็นอย่างดีครับ เลยขออนุญาตร่วม React ให้สนุกกับการถ่ายภาพของอาจารย์ด้วยนะครับ

ภาพของอาจารย์มีมิติการย้อนแสงและให้แสงส่องทะลุใบไม้ กับมุมกล้องแบบที่คนเขียนภาพและคนถ่ายภาพเรียกว่าภาพสายตามด (Ant Eye View) หรือทัศนียภาพแบบมองย้อนขึ้นด้านบน (Look-up Perspective) เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว นอกจากนำเอาศิลปะของมุมภาพและการมองอย่างนี้ไปใช้ต่อไปแล้ว ลองเพิ่มลูกเล่นเข้าไปสักอีกมิติหนึ่งไหมครับ เป็นมิติการสร้าง Theme และความเป็นเอกภาพของเรื่องราวในภาพ โดยวิธีจัดองค์ประกอบภาพ เพิ่มเข้าไปในเรื่องมุมภาพกับการเล่นแสงเงา ผมลองนำเอาภาพของอาจารย์มาจัดเพื่อให้เห็นมิติดังกล่าวนี้นะครับ

 

 

 

 

 

 

  

เรื่องราวในรายละเอียดจะยังเป็นเรื่องเหมือนเดิม ศิลปะของมุมกล้อง แสง-เงา ก็ยังคงเหมือนเดิม แต่เราจะรู้สึกเชิงสัมผัส เพิ่มขึ้นมาอีกได้ว่า เรื่องราวและรายละเอียดต่างๆของภาพแต่เดิมนั้น สามารถมีโครงสร้างและลำดับเรื่องราวเปลี่ยนไปได้หลากหลายวิธี

หากเปรียบภาษาภาพถ่ายเป็นการบอกเล่าพรรณาความ ก็พอจะอธิบายเทียบเคียงได้ว่า แต่เดิมนั้น ก็เหมือนกับเป็นการเล่าพรรณาเรื่องราวต่างๆ แต่พอจัดองค์ประกอบอย่างใหม่เข้าไปอีก ก็เปรียบเหมือนการเล่าแบบมีประเด็นหลักและตัวเปิดเรื่อง ที่เชื่อมโยงไปสู่เรื่องอื่นๆได้หมดอีกเหมือนกัน โดยเห็นการให้น้ำหนักได้ว่าวิธีถ่ายทอดแบบไหน จะเปิดเรื่องจากเรื่องไหนและแง่มุมไหน รายละเอียดต่างๆไม่เสียไป แต่เค้าโครงการนำเสนอสถานการณ์และปรากฏการณ์เชิงสัมผัสต่างๆ จะแตกต่างออกไป ซึ่งจะส่งผลต่อกระบวนการสร้างสุนทรียภาพและการได้ความซาบซึ้งด้านใน โดยเชื่อกันว่า จะสร้างอารมณ์ภาพที่ทำให้ผู้ชมเกิด Reflection Learning Scheme ที่อยู่ภายใต้สิ่งที่ปรากฏให้เห็น เปลี่ยนไปได้อย่างหลากหลายตามรูปแบบของการจัดองค์ประกอบครับ

 

 

ภาพต้นฉบับ ค่ะ

 

Large_1195814928

 

 

ไปพูดคุยกับอาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ครั้งนี้ สนุกและได้ความรู้ ขอขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งค่ะ

หมายเลขบันทึก: 504612เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2012 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ตุลาคม 2012 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เป็น-ตาย ... ดีกว่าตายทั้งเป็น  นะคะ


มาร่วมซึมซับศิลป์สนทนาดีๆนี้ ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีครับพี่ แวะมาตอบนะครับ

 

บทประพันธ์ที่ชอบหรือครับ  ทุกบทประพันธ์ต่าง ๆ นั้นผมก็ชอบนะครับ

แต่ถ้าเป็นจำพวกนิราศ จะชอบอ่านมากกว่านะครับ และฉันท์ที่ชอบแต่งก็คงจะพวกอินทรวิเชียรฉันท์และวสันตดิลก นะครับ

ส่วนทางสันสกฤตจะน่าอ่านมากกว่านะครับ เพราะว่าเขาจะมีอลังการมาเพิ่ม ทำให้เรานึกหรือแปลความได้สองแบบนะครับ (ฉันท์เขามีเยอะมากครับ)

และพี่ชอบแบบไหนหรอครับ

 

ชุ่มชื่อรื่นอารมณ์ ลมเพยพัดระบัดใบ

ดูสุขสนุกใจ  เหมือนแลดูจอมภูผา (พระนลคำหลวง)

เห็นโศกเรียมเร่งเศร้า  สงสาร

โศกร่วงโรนโรยราน     แก่เถ้า

โศกเอยจะยืนนาน      อยู่เมื่อ  ใดนา

ดูโศกดูเรียมเศร้า        โศกเศร้าเหมือนเรียม  (โครงนิราศพระพุทธบาท ของ พระมหานาควัดท่าทราย)

 

Blank looking at the nice flowers refreshing me from sleepy and tired!

thanks ka Pee Yai 

Blank I love อินทรวิเชียรฉันท์และวสันตดิลกฉันท์ the most.

But I am not good in writing these classical Thai-poem ka.

I'll try.

Thanks again for your reply.

ชอบภาพลายเส้นและคำอธิบายของอ.วิรัตน์ค่ะ

ชมภาพแล้วคิดต่อว่า...

เป็นตาย ไม่ใช่ประเด็น

หากสิ่งนั้น/คนนั้น อยู่ในใจเรา... ก็คงเนาว์แนบอยู่ชั่วนิรันดร์

 

ตัวตน ติดกับกับความทุกข์ทน..

การเขียนบทกวีไทยนั้นให้ไพเราะ

มีต้องมีศัพท์ที่ชอบเยอะ ๆ นะครับ เหมือนกับภาษาอังกฤษละครับ

และพี่อาจจะแยกไว้ เช่น ถ้าเป็น ผู้หญิง คำที่ใช้แทนมี กัลยา (3 พยางค์) โสภา (2 พยางค์) อะไรแบบนี้นะ

เป็นการรวบรวมคำไว้ เพราะเวลาเราใช้ในฉันท์จะบังคับพยางค์นะครับ

เอางี่ครับ พี่ลองหาคำมาว่างพยางค์ให้ครบก็พอนะครับ ฝึกดูการหาคำศัพท์นะครับ ไม่มีคะแนนให้นะ

ตัวอย่าง

นิกรวิหคมั่วมูล ร้องจะแจ้วจรูญจรุงใจ นิกรวิหคสบสมัย ร้องระวังไพรพนัสสถาน

วรรคหน้า มี 8 คำ/พยางค์ วรรคหลัง มี 7 คำ/พยางค์ ลองฝึกหาคำดูนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท