ครูเพื่อศิษย์ส่งเสริมให้ศิษย์สนุกกับการเรียน : 18. เคล็ดลับส่งเสริมการเรียนอย่างเป็นองค์รวม


ทุกเป้าหมายการเรียนรู้ ควรมีทั้ง ๓ พิสัย ของการเรียนรู้ ในสัดส่วนที่เหมาะสม คือ พุทธิพิสัย (cognitive domain), จิตพิสัย (affective domain) และ ทักษะพิสัย (psychomotor domain)

ครูเพื่อศิษย์ส่งเสริมให้ศิษย์สนุกกับการเรียน  : 18. เคล็ดลับส่งเสริมการเรียนอย่างเป็นองค์รวม   

บันทึกชุดนี้ ได้จากการถอดความ ตีความ และสะท้อนความคิด    จากการอ่านหนังสือ Student Engagement Techniques : A Handbook for College Faculty เขียนโดย ศาสตราจารย์ Elizabeth F. Barkley    ในตอนที่ ๑๘ นี้ ได้จากบทที่ ๑๑ ชื่อ Tips and Strategies to Promote Holistic Learning

การเรียนไม่ได้ขึ้นกับการคิดเชิงเหตุผลเท่านั้น   นศ. จะผูกพันกับการเรียนเมื่อเรียนอย่างเป็นองค์รวม   คือ Cognitive learning (เมื่อ นศ. คิดอยู่กับเรื่องที่กำลังทำ), Affective learning (นศ. รู้สึกสนุก และพุ่งความสนใจ), และ Psychomotor learning (ลงมือทำกิจกรรม)

 

คล. ๔๓  เพิ่มอัตราเร็วของการเรียน เพื่อดึงดูดความสนใจ

เขาอธิบายว่า คนยุค baby boom คุ้นกับการเรียนแบบเนิบช้า   เมื่อมาเป็นครู ก็ติดนิสัยสอนช้าๆ อย่างที่ตนเคยชินมาแต่เด็ก   แต่คนรุ่นใหม่สมองคุ้นกับสิ่งรอบตัวที่รวดเร็ว   เมื่อมาเผชิญการเรียนแบบช้าๆ ก็จะหมดความสนใจได้ง่าย   โดยเขาอธิบายว่าสมองส่วน reticular activating system ที่บริเวณฐานของสมอง และทำหน้าที่พุ่งความสนใจ    แตกต่างกันระหว่าง RAS ของคนสมัยก่อน กับของคนสมัยใหม่   เพราะสมองของคนสมัยใหม่ คุ้นกับ วิดีทัศน์ เกมคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ ที่มีสิ่งเร้ากระตุ้นสมองอย่างรวดเร็ว    ทำให้สมองคุ้นกับการรับและประมวลข้อมูลด้วยความเร็วสูง    เมื่อเผชิญห้องเรียนแบบเนิบช้า ก็จะเบื่อ   ดังนั้น ควรช่วยดึงดูดความสนใจของ นศ. โดยเพิ่มความเร็วของการเรียน   โดยมีคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • เริ่มชั้นเรียนอย่างกระฉับกระเฉง    เริ่มทันทีที่ถึงเวลา   ด้วยกิจกรรมที่ให้ นศ. ลงมือทำกิจกรรม (เชิงกายภาพ) อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บอกประเด็นสำคัญของการเรียนในคาบนั้น   เช่น ให้สัมผัสปัญหา   ให้แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมแก้ปัญหา   หรือจัดการทดสอบ (quiz)
  • เลิกใช้ AV หันไปใช้ multimedia แทน   และหาก multimedia ยาว ควรหยุดเป็นช่วงๆ เพื่อถามคำถาม
  • สอนแบบฉับไว   บอกหลักการ แล้วให้ นศ. ลงมือทำบางอย่างเกี่ยวกับหลักการนั้น เช่นให้เรียบเรียงถ้อยคำเสียใหม่   ตีความ  อธิบาย  อภิปรายโต้แย้ง   วาดภาพหรือผังความคิด    ครูไม่ควรยืนอยู่กับที่ใดที่หนึ่งนานๆ   ควรเดินไปรอบๆ ห้อง    และควรสลับกิจกรรมที่หลากหลาย
  • ให้เวลาสั้นลงสำหรับทำกิจกรรมหนึ่งๆ   และให้เวลารายงานสั้นลง    เตือนให้รู้ว่าเวลาสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่ได้มีไว้แลกเปลี่ยนเรื่องทุกเรื่อง    แต่เน้นเฉพาะเรื่องสำคัญเท่านั้น   โลกสมัยใหม่มีเรื่องราวมากมาย  นศ. ต้องรู้จักเลือกทำเฉพาะเรื่องสำคัญ

 

คล. ๔๔  ให้ทางเลือกสำหรับการเรียนแบบไม่เป็นเส้นตรง

การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรง   อาจทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน   ไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับ   และทุกคนไม่จำเป็นต้องเรียนด้วยกิจกรรมเดียวกัน   นี่คือความเคยชินของคนรุ่นใหม่   

ครูควรออกแบบการเรียนรู้หลากหลายแบบไว้ให้ นศ. เลือกตามความชอบ หรือความถนัด ของตน   โดยอาจจัดเป็น โมดูล   และมีการเรียนทั้งแบบ tutor-led, classroom-led, และแบบ online

 

คล. ๔๕  ใช้หลักการ “แบบสากล”

“แบบสากล” (universal design) หมายถึง ออกแบบให้ใช้ได้กับทุกคน   โดยไม่ต้องปรับปรุงหรือออกแบบพิเศษ   แม้ว่าชั้นเรียนจะมี นศ. ที่หลากหลายมาก   รวมทั้งมี นศ. พิการด้วย   อ่านรายละเอียดได้ที่ เว็บไซต์ Universal Design of Instruction

 

คล. ๔๖  จัดให้มีเกม

เกมเป็นชีวิตจิตใจของคนรุ่นใหม่   เวลานี้ ทั้งเกมคอมพิวเตอร์ เกมวิดีโอ และเกมออนไลน์ เป็นเรื่องปกติสำหรับมหาวิทยาลัย   การจัดให้การเล่นเกมเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญของการดึงดูดความสนใจของ นศ.   

ครูสมัยนี้จึงต้องหาเกมมาประยุกต์ใช้ในการเรียนของ นศ.   ทั้งที่เป็นเกม อีเล็กทรอนิกส์ และเกมธรรมดา    เพื่อดึงดูดความสนใจต่อการเรียนของคนยุคใหม่

 

คล. ๔๗  สอนแบบที่ทำให้ นศ. ใช้หลายกลไกประมวลผล (multiple processing mode)

ผลการวิจัยบอกว่า นศ. จะจดจำได้ดีขึ้นหากได้รับสาระผ่านประสาทสัมผัสหลายแบบพร้อมๆ กัน    เช่นแทนที่จะฟังเสียงจากการบรรยายอย่างเดียว   หากมี PowerPoint ประกอบ ช่วยให้สาระผ่านทางจักษุสัมผัส    การทำความเข้าใจและจดจำจะดีขึ้น   ยิ่งถ้ามีกิจกรรมให้ทำ หรือให้สัมผัส หรือเคลื่อนไหวร่างกาย   การเรียนรู้ก็จะยิ่งลึกและจดจำได้ดียิ่งขึ้นไปอีก

 

คล. ๔๘  ระบุเป้าหมายการเรียนรู้ที่หลายพิสัย (domain)

ทุกเป้าหมายการเรียนรู้ ควรมีทั้ง ๓ พิสัย ของการเรียนรู้ ในสัดส่วนที่เหมาะสม  คือ พุทธิพิสัย (cognitive domain), จิตพิสัย (affective domain) และ ทักษะพิสัย (psychomotor domain)

ในการเรียนรู้แต่ละพิสัย ต้องพยายามให้ได้การเรียนรู้ในระดับที่สูงหรือลึก   ไม่ใช่แค่เรียนรู้ตื้นๆ หรือที่ผิวๆ เท่านั้น 

การแบ่งระดับการเรียนรู้พุทธิพิสัย ตามแนว Bloom’s Revised Taxonomy of the Cognitive Domain แสดงในตารางข้างล่าง

 

มิติกระบวนการทางพุทธิปัญญา

มิติด้านความรู้

จำได้

เข้าใจ

ประยุกต์

วิเคราะห์

สร้าง

ค. ด้านข้อเท็จจริง

 

 

 

 

 

ค. ด้านหลักการ

 

 

 

 

 

ค. ด้านกระบวนการ

 

 

 

 

 

ค. เชิงตีความ

 

 

 

 

 

 

ระดับการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย (affective domain)  แสดงในตารางข้างล่าง

 

ระดับ

คำกริยาที่แสดงระดับการเรียนรู้

พฤติกรรม

รับ  นศ. พร้อมรับปรากฏการณ์หรือสิ่งเร้า

ถาม, เลือก, อธิบาย, ติดตาม, ให้,  รับ, ชี้ตัว, บอกสถานที่, บอกชื่อ, ชี้,  เลือก, ตอบ, ใช้

สนใจต่อการบรรยาย, ฟังคนอื่นที่กำลังอภิปรายในชั้นเรียน, แสดงท่าทีเปิดรับต่อประเด็นโต้แย้ง, เคารพสิทธิ์ของผู้อิ่น

ตอบสนอง  นศ. เข้าร่วมแสดงบทบาทในกิจกรรม

ตอบ, ช่วย, ปฏิบัติตาม, อภิปราย, ช่วย, ติดฉลาก, ดำเนินการ, ปฏิบัติ, นำเสนอ, อ่าน, รายงาน, เลือก, บอก, เขียน

ตั้งแต่การตอบสนองระดับต่ำ (อ่านเอกสารที่กำหนดให้อ่าน)  ไปจนถึงระดับสูง (อ่านอย่างสนุกสนาน เลยจากที่กำหนดให้อ่าน)   ทำการบ้าน  ร่วมอภิปรายและกิจกรรมกลุ่มย่อย  ตั้งคำถามเรื่องแนวคิดใหม่ เพื่อทำความเข้าใจ

ให้คุณค่า  เป็นการแสดงออกว่า นศ. ให้คุณค่าต่อสิ่งของ ปรากฎการณ์ หรือพฤติกรรม

ทำจนสำเร็จ, พรรณา, แยกแยะ, อธิบาย, ติดตาม, สร้าง, ริเริ่ม, เชื้อเชิญ, เข้าร่วม, หาเหตุผล, เสนอ, แบ่งปัน, ศึกษา, ทำงาน

ตั้งแต่การยอมรับคุณค่าในระดับต่ำ (ต้องการพัฒนาทักษะเชิงกลุ่ม)  ไปจนถึงการแสดงความรับผิดชอบอย่างจริงจัง (แสดงความรับผิดชอบต่อการทำหน้าที่อย่างได้ผลดีของกลุ่ม)   วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ใช้คำว่า “เจตคติ” (attitude) และ “ชื่นชม” (appreciation) อยู่ในกลุ่มนี้

จัดระบบ (organization)  เป็นการนำเอาคุณค่าหลายๆ ด้าน  มีการประนีประนอมความขัดแย้งระหว่างต่างคุณค่า   และนำมาจัดเป็นระบบคุณค่าใหม่

ยืนหยัด, เปลี่ยนแปลง, จัดเรียง, รวม, เปรียบเทียบ, ทำจนสำเร็จ, ปกป้อง, อธิบาย, ขยายความ, ชี้ตัว, บูรณาการ, ดัดแปลง, จัดลำดับ, จัดระบบ, ตระเตรียม, จัดความสัมพันธ์, สังเคราะห์

เน้นที่การเปรียบเทียบ, การหาความสัมพันธ์, และสังเคราะห์คุณค่า.  ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนคือความสามารถในการสร้างกรอบความคิดเกี่ยวกับคุณค่า (เห็นบทบาทของแต่ละคนในการพัฒนามนุษยสัมพันธ์)   หรือเกี่ยวข้องกับการจัดระบบคุณค่า (พัฒนาแผนการงานที่ตอบสนองทั้งความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และการรับใช้สังคม)

พัฒนาเป็นบุคลิก  ที่แสดงออกเชิงคุณค่า   นศ. ได้พัฒนาระบบคุณค่า นำมาประพฤติปฏิบัติเป็นเวลานานจนกลายเป็นวิถีชีวิต

ปฏิบัติ, แยกแยะ, จัดแสดง, ชักจูง, ดัดแปลง, แสดง, ปฏิบัติ, เสนอ, ทำให้ได้คุณภาพ, ตั้งคำถาม, แก้ไข, รับใช้, แก้ปัญหา, ใช้, ประเมิน 

นศ. แสดงพฤติกรรมที่เป็นที่รับรู้กว้างขวาง   ปฏิบัติสม่ำเสมอ  จนเป็นบุคลิกประจำตัว    วัตถุประสงค์ของการเรียน ต้องเขียนให้ระบุพฤติกรรมของ นศ. ที่สะท้อนการปรับตัวต่อเหตุการณ์ เช่น แสดงความมั่นใจในการทำงานคนเดียว  และเมื่อมีหลักฐานใหม่ ก็เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองได้

 

ตารางข้างล่าง แสดงระดับการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย (psychomotor domain)

 

ระดับ

คำกริยาที่แสดงระดับการเรียนรู้

พฤติกรรม

เลียนแบบ

คัดลอก, ทำตาม, ทำซ้ำ, ยึดมั่น

เลียนแบบการกระทำของคนอื่น, สังเกตกิจกรรมแล้วทำซ้ำให้เหมือน

ปรับให้ เหมาะสม

ทำใหม่, สร้าง, แสดง, ทำให้สำเร็จ, ดำเนินการ

ทำกิจกรรมตามคำสั่งที่เขียนไว้, ทำกิจกรรมซ้ำจากความทรงจำ

แม่นยำ

สาธิต, ทำให้สำเร็จ, แสดง, ทำให้สมบูรณ์, ปรับความแม่นยำ, ควบคุม

ทำงานหรือดำเนินกิจกรรมได้อย่างแม่นยำโดยไม่ต้องมีคน คอยแนะนำ   สาธิตแก่เพื่อน นศ. ได้

Articulation

สร้าง, แก้ปัญหา, รวมเข้าด้วยกัน, บูรณาการ, ปรับแต่ง, พัฒนา, กำหนดสูตร, ปรับปรุง, เชี่ยวชาญ

ปรับปรุงและบูรณาการกิจกรรม สู่การพัฒนาวิธีการเพื่อสนองความต้องการใหม่ได้

Naturalization

ออกแบบ, กำหนดแบบ, จัดการ, ประดิษฐ์, จัดการโครงการ

อัตโนมัติ, ดำเนินการกิจกรรมได้โดยไม่ต้องคิด

 

วิจารณ์ พานิช

๕ ต.ค. ๕๕

    

หมายเลขบันทึก: 504584เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2012 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2012 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท