การพัฒนาชุมชนและสังคม....ตามวิถีพุทธ


หลักธรรมที่ใช้ในการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามนโยบายที่ได้วางเอาไว้โดยการกำหนดเป้าหมายของสังคมว่าจะเน้นอะไร เช่น กินดี-อยู่ดี-มีสุข เป็นต้น

การพัฒนาชุมชนและสังคม....ตามวิถีพุทธ[๑]

 

                    หลักธรรมข้อนี้เป็นหลักธรรมที่ใช้ในการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามนโยบายที่ได้วางเอาไว้โดยการกำหนดเป้าหมายของสังคมว่าจะเน้นอะไร เช่น กินดี-อยู่ดี-มีสุข เป็นต้น ซึ่งสามารถทำและพัฒนาได้ด้วยการใช้ความเพียรในการสร้างชุมชน สังคม และประเทศให้เข้มแข็ง การแสวงหาปัญญาหรือคบบัณฑิต รวมไปถึงการแสดงถึงเหตุปัจจัยในการสร้างประเทศชาติให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วด้วยชัยภูมิหรือต้นทุนที่ดีที่มีอยู่แล้ว และสุดท้ายสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นภายในสังคมชุมชนประเทศชาติอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยธรรม

)  ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ เป็นหลักธรรมที่สามารถให้ผลได้ในปัจจุบันทันทีคือสามารถกำหนดเป้าหมายและวางเป็นแนวทางของนโยบายที่ดีได้ว่าจะเน้นให้กับสังคม  ประกอบไปด้วย

            (๑) อุฏฐานสัมปทา การถึงพร้อมด้วยความหมั่น ขยันในการประกอบสัมมาอาชีพ

            (๒) อารักขสัมปทา การถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรู้จักเก็บออมทรัพย์สินที่หามาได้

             (๓) กัลป์ยาณมิตตตา ความมีเพื่อนที่เป็นคนดี

            (๔) สมชีวิตา รู้จักการใช้จ่ายให้มีความพอดีกับรายรับ

                      ๒) อิทธิบาท ๔[๒] คือหลักธรรมที่นำผู้ปฏิบัติไปสู่ความสำเร็จผลที่มุ่งหมายมี ๔ ประการ คือ

          (๑) ฉันทะ ความพอใจ ต้องการที่จะกระทำ ใฝ่ใจรักจะกระทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะกระทำให้ได้ผลยิ่งๆ ขึ้นไป

          (๒) วิริยะ ความเพียร ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย

           (๓) จิตตะ มีความคิด ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่กระทำและกระทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซานเลื่อนลอยไป

          (๔) วิมังสา มีความคิดไตร่ตรอง ทดลอง หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ ตรวจตราหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่กระทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง

                    ๓) วุฑฒิธรรม ๔[๓] หลักธรรมที่สร้างความเจริญก้าวหน้า หลักธรรมในการพัฒนาประเทศ ได้แก่

                         (๑) สัปปุริสังเสวะ การคบหากับสัตบุรุษ การเสวนากับผู้รู้ผู้ทรงคุณ

                         (๒) สัทธัมมัสสวนะ การฟังสัทธรรม การเอาใจใส่ศึกษาเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ความจริงที่ถูกต้อง

                         (๓) โยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยแยบคาย การคิดหาเหตุผลโดยถูกวิธี

                         (๔) ธัมมานุธัมมปฏิบัติ การปฏิบัติตามธรรมสมควรแก่ธรรม การปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องตามหลัก คือให้สอดคล้องพอดีตามขอบเขตความหมายและวัตถุประสงค์ที่สัมพันธ์กับธรรมข้ออื่นๆ การนำสิ่งที่ได้เล่าเรียนและตริตรองเห็นแล้วไปปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักตามความมุ่งหมายของสิ่งนั้นๆ

) จักร ๔[๔] คือหลักธรรมที่นำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง หลักธรรมที่นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จบรรลุตามจุดมุ่งหมาย ได้แก่

                             (๑) ปฏิรูปเทสวาส การอยู่ในสถานที่ดี มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

                        (๒) สัปปุริสูปัสสยะ การคบหาสมาคมกับคนดี

                        (๓) อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ การตั้งจิตมุ่งหมาย การนำตนและองค์กรไปถูกทาง

                        (๔) ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้กระทำความดีไว้ก่อนแล้ว การมีพื้นเพดี การได้สร้างคุณความดีเตรียมพร้อมไว้แต่ต้น โดยปริยายในระดับองค์กร หมายถึง การมีการวางแผนไว้ดี มีนโยบายที่ดี เป็นต้น

) พละ ๕[๕] เป็นหลักธรรมที่สร้างให้สังคม ชุมชนมีความเข้มแข็งจนถึงระดับรากหญ้า มีทั้งหมด ๕ ประการ ประกอบไปด้วย

                             (๑) ศรัทธา หลักความเชื่อ ความเชื่อมั่นที่จะสามารถพัฒนาก้าวหน้า หรือเชื่อว่าจะต้องประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน

                                      (๒) ศีล หลักความเป็นปกติ หรือความเป็นธรรมชาติที่เป็นระเบียบของสังคมชุมชนที่เมืองปฏิบัติแล้วย่อมจะสามารถทำให้สังคมสงบร่มเย็น หนักแน่น ได้

                        (๓) วิริยะ หลักความมั่น หรือเพียรพยายาม มุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จตามความประสงค์

                        (๔) สมาธิ หลักธรรมข้อนี้เป็นการรวบรวม พิจารณาประเด็นปัญหาต่าง ๆ จนทำให้ตกตะกอนและนำมาใช้งานได้อย่างเต็มที่

                        (๕) ปัญญา เป็นการสร้างพลังอย่างหนึ่ง เมื่อใครมีสติปัญญามากกว่าย่อมมีอำนาจในสังคมชุมชน โดยเฉพาะผู้นำ (Power of Knowled)

 

                    หลักธรรมข้อนี้ใช้เพื่อพัฒนาสังคม หรือช่วยสงเคราะห์คนในชุมชน องค์กร ประเทศชาติ หากไม่มีการเกื้อกูลแก่กันและกันประเทศชาติย่อมวุ่นวายไม่มีที่สิ้นสุดเพราะคนมีความลำบากในการแสวงหาปัจจัยพื้นฐานของชีวิต ประกอบไปด้วย

                            ๑) หลักสังคหวัตถุ ๔ หลักสังคหวัตถุ ก็คือหลักแห่งการสงเคราะห์เกื้อกูลกันในสังคมชุมชน ที่มีคนต่างระดับกันไม่ว่าจะเป็นด้านฐานะ ความเป็นอยู่ รูปแบบการดำเนินชีวิต ในสังคมหนึ่งย่อมจะต้องมีความบกพร่องและมีส่วนเกินทางด้านทรัพย์สินและเครื่องดำเนินชีวิตอยู่ไม่มากก็น้อย ดังนี้

                 (๑) ทาน การแบ่งปัน ธรรมะข้อนี้เป็นพื้นฐานของมนุษย์ที่จะมีการเอื้ออาทรต่อกัน คือการหยิบยื่นให้แก่กันและกัน ซึ่งการหยิบยื่นให้กันและกันนั้นอยู่ที่ใจที่จะเสียสละออกไปมากกว่าการถูกบังคับด้วยระบอบทางการเมือง ดังนั้นจะเห็นว่าความละเอียดอ่อนในเรื่องนี้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ

                              - ระบอบธรรมาธิปไตย มองทานหรือการให้แบ่งปันเป็นเรื่อง ปัจเจกชนที่มองดูที่ใจหรือการเอื้ออาทรต่อกันเป็นหลัก

                             - ระบอบประชาธิปไตย มองทานที่การเฉลี่ยผลประโยชน์ทางด้านภาษีที่เก็บได้ในแต่ละปี

                             - ระบอบสังคมนิยม มองทานที่การบังคับใช้ทางกฎหมาย หรือการยึดจากปัจเจกชนมาเป็นของรัฐหรือส่วนรวม เป็นต้น

                         (๒) ปิยวาจา การพูดด้วยคำอันเป็นที่รัก ธรรมะข้อนี้มุ่งไปที่การสื่อสารกันในระดับต่าง ๆ เพื่อมีความเข้าใจร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว เพราะการอยู่ร่วมกันในสังคมหากไม่มีปิยวาจาที่มีองค์ประกอบเหล่านี้คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ   ต่อกัน สังคมนั้นก็จะมีความหวาดระแวงต่อกันเป็นต้น

                             (๓) อัตถจริยา การประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ ธรรมะข้อนี้มุ่งไปที่การดำรงตนให้มีประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือสังคม

                             (๔) สมานัตตตา การทำตนให้เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย ธรรมะข้อนี้มุ่งไปที่การประพฤติตนเองที่วางตัวตนให้เสมอต้นเสมอปลาย หรือการเป็นผู้ประสานงานที่ดีต่อสังคมชุมชนองค์กรที่ตัวเองสังกัดอยู่ ไม่เป็นคนยุยงทำให้คนในสังคมแตกแยกกัน

                        ๒) หลักราชสังคหวัตถุ ๔ หลักธรรมข้อนี้มุ่งถึงผู้บริหารบ้านเมืองเมื่อได้อำนาจมาแล้วต้องบริหารจัดการให้ดี ไม่อยากเป็นเพราะอยากได้ตำแหน่ง แต่อยากเป็นเพราะต้องการทำงาน โดยทำงานเพื่อองค์กรนั้น ๆ และที่สำคัญต้องมีการบำรุงขวัญกำลังใจลูกน้องหรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ดังนี้

     (๑) สัสสเมธะ รู้จักบำรุงธัญญาหาร ธรรมะข้อนี้มุ่งไปที่การให้ต้นทุนสำหรับการทำมาอาชีพของราษฎร ในอินเดียโบราณมีอาชีพหลักคือการเกษตรแบบพอมีพอกิน ผู้นำจึงต้องมีการแจกจ่ายต้นทุนสำหรับเลี้ยงชีวิตของผู้ใต้ปกครอง

                             (๒) ปุริสเมธะ รู้จักบำรุงข้าราชการบริพาร ธรรมะข้อนี้มุ่งไปที่การบำรุงขวัญและกำลังใจข้าราชบริวารที่รับใช้เป็นแขนเป็นขาให้ ดังนี้ผู้บริหารจำเป็นจะต้องมีการเพิ่มเงินเดือน มีการให้รางวัล มีโบนัสประจำปี ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาตามสมควรแก่ฐานะ สถานที่และเวลาโอกาส เป็นต้น

                             (๓) สัมมาปาสะ รู้จักส่งเสริมวิชาชีพ ธรรมะข้อนี้มุ่งไปที่การส่งเสริมราษฎรให้มีอาชีพเสริม หรือมีความหลากหลาย โดยผู้นำได้ไปดู ได้ไปศึกษาในหลายพื้นที่และมองเห็นโอกาสความก้าวหน้าของวิชาชีพนั้น จึงได้นำมาส่งเสริม เช่น ทฤษฎีใหม่ หรือการเป็นอยู่อย่างพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบางไทร ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เป็นต้น

                            (๔) วาชไปยะ รู้จักชี้แจงแนะนำ ธรรมะข้อนี้มุ่งไปที่การสื่อสารแบบสองทาง ที่ชาวบ้านธรรมดาก็สามารถเข้าพบปะพูดคุยและสามารถแก้ปัญหาให้กับชาวบ้านได้ด้วยนอกจากนั้นยังรู้จักปลอบโยนเมื่อผู้อยู่ใต้ปกครองประสบกับปัญหาเดือดร้อนในเรื่องต่าง ๆ ได้

 

                หมวดธรรมข้อนี้ต้องการที่จะให้ผู้บริหารได้มีวิจารณญาณในการวินิจฉัยในเรื่องราวต่าง ๆ แล้วนำมาสั่งการ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารปกครองบ้านเมือง ประกอบด้วย

) หลักอคติ ๔ เพื่อให้ผู้บริหารได้ใช้หลักธรรมที่ไม่เอนเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง เพราะเชื่อง่ายหูเบา หรือฟังคำยุยงของลูกน้องผู้ใต้บังคับบัญชา หลักธรรมเหล่านี้นอกจากจะใช้กับการตัดสินคดีความแล้วยังใช้กับองค์กรต่าง ๆ ได้ดี

     (๑) ฉันทาคติ          ลำเอียงเพราะชอบ

                       (๒) โทสาคติ          ลำเอียงเพราะชัง

                       (๓) ภยาคติ ลำเอียงเพราะขลาดกลัว

                       (๔) โมหาคติ          ลำเอียงเพราะเขลา

                        ๒) หลักพรหมวิหาร ๔ หลักธรรมนี้ต้องการให้มนุษย์อยู่กันอย่างสันติสุข มีความรักความผูกพันกัน มีความเอื้ออาทรต่อกันและกัน มีสันติภาพ ภารดรภาพ และเสรีภาพอย่างแท้จริง

                             (๑) เมตตา   ความเมตตาสงสาร

                       (๒) กรุณา   ความกรุณาเอื้ออาทร

                       (๓) มุทิตา   ความพลอยยินดี

                       (๔) อุเบกขา ความวางเฉยในโอกาสที่ควรปล่อยวาง

) โลกธรรม ๘ ธรรมข้อนี้เป็นธรรมที่อยู่คู่กับโลก เมื่อนักบริหารยังหมกหมุ่นและคาดหวังในเรื่องโลกธรรมนี้มากเกินไปย่อมทำให้เป็นผู้นำที่ขาดความมั่นใจ ไม่กล้าแม้แต่จะตัดสินใจลงมือทำ เพราะกลัวในเรื่องของการได้และเสียเหล่านี้ คือ

                        (๑)  ลาภ             (๒) เสื่อมลาภ

                        (๓) ได้ยศ            (๔) เสื่อมยศ

                        (๕) สรรเสริญ        (๖) นินทา

                        (๗) สุข               (๘) ทุกข์

   

) อริสัจ ๔ ธรรมข้อนี้ผู้บริหารจำเป็นต้องใช้เพื่อการศึกษาหาสาเหตุของปัญหาอุปสรรคในงานนั้น ๆ และยังสามารถกำหนดเป้าหมายโดยทำเป็นยุทธศาสตร์ และแนวทางในการดำเนินหนทางไปสู่เป้าหมายนั้น ๆ ด้วย

               (๑) ทุกข์    ความทุกข์ หรือปัญหา

               (๒) สมุทัย  ต้นเหตุแห่งทุกข์          สมมุติฐาน

               (๓) นิโรธ   ความดับทุกข์ เป้าหมาย

               (๔) มรรค   หนทางดับทุกข์ มรรควิธีการเข้าสู่เป้าหมาย

                หมวดธรรมข้อนี้ เป็นหมวดธรรมที่ใช้ในการบริหารจัดการองค์กรให้มีความมั่นคงเจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเน้นความผูกพันระหว่างคนกับคนได้เป็นอย่างดีจนสามารถก่อให้เกิดความสามัคคีขึ้นในหมู่คณะอีกด้วย

                        ๑) ฆราวาสธรรม ๔ ธรรมข้อนี้เพื่อให้คนในองค์กรได้มีความสบายใจที่มีความจริงใจต่อกัน มีความอดทน มีการข่มจิตข่มใจและการเสียสละให้ปันสิ่งของแก่กันและกัน

                             (๑) สัจจะ    ความจริงใจต่อกัน

                        (๒) ทมะ     ความข่มใจ

                        (๓) ขันติ     ความอดทน

                        (๔) จาคะ    การเสียสละ

) ทิศ ๖ ธรรมข้อนี้ได้สอนให้คนได้ระลึกถึงกันว่าแต่ละคนได้มีสถานภาพ หรือหน้าที่อะไรบ้าง เพราะคน ๆ หนึ่งย่อมมีสถานภาพหลายอย่างแต่ต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตัวเองให้ดี เช่น นาย ก เป็นครูอยู่ในสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง ก็ต้องมีความสัมพันธ์กับคน  อื่น ๆ อีก เช่น นาย ก มีพ่อมีแม่ มีครูอาจารย์ มีบุตรภรรยา มีมิตรสหาย มีลูกน้อง และนับถือศาสนา เป็นต้น ซึ่งแต่ละสถานภาพย่อมมีเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

                             (๑) ปุรัตถิมทิส                  ทิศเบื้องหน้า คือมารดาบิดา

                        (๒) ทักขิณทิส                  ทิศเบื้องขวา คือครูอาจารย์

                        (๓) ปัจฉิมทิส                   ทิศเบื้องหลัง คือบุตรภรรยา

                        (๔) อุตตรทิส                             ทิศเบื้องซ้าย คือมิตรสหาย

                        (๕) เหฏฐิมทิส                  ทิศเบื้องต่ำ คือบ่าวคนรับใช้

                        (๖) อุปริมทิส                              ทิศเบื้องบน คือสมณชีพราหมณ์

) หลักอปริหานิยธรรม ๗ ธรรมข้อนี้เน้นความสามัคคี หากทำได้อย่างจริงจังย่อมทำให้องค์กรนั้น ๆ เข้มแข็ง มั่นคงและเจริญก้าวหน้า ไม่มีปัญหาทางการบริหารจัดการใด ๆ คือ

                        (๑) หมั่นประชุมกันเนื่องนิตย์

                        (๒) เมื่อประชุมก็พร้อมเพียงกันประชุม เลิกประชุมพร้อมกัน พร้อมเพียงในการช่วยกิจการงานที่เกิดขึ้น

                        (๓) ไม่ถืออำเภอใจบัญญัติในสิ่งที่ไม่สังคมไม่ได้บัญญัติไว้ ไม่ถอนสิ่งที่ตกลงร่วมกันบัญญัติไว้แล้ว

                        (๔) เคารพผู้เป็นใหญ่ที่เป็นประธานที่เป็นใหญ่ มีประสบการณ์มามาก และเคารพเชื่อฟังแล้วถือปฏิบัติ

                        (๕) ให้เกียรติและคุ้มครองสตรี ไม่ข่มแหงรังแก ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น

                        (๖) เคารพบูชาสักการะปูชนียสถาน อนุสรณ์สถาน อันเป็นศูนย์รวมใจของประชาชนและทำการบูชาตามประเพณี

                        (๗) จัดการให้ความอารักขา บำรุง คุ้มครองแก่บรรพชิตผู้ทรงศีล

 

            หมวดธรรมหมวดนี้เป็นหมวดที่ใช้ในฐานะที่กว้างขึ้น เริ่มจากการที่เราจะวางแผนการบริหารจัดการอย่างไร รวมไปจนถึงได้กำหนดกฎเกณฑ์ออกมาและในที่สุดได้กำหนดนโยบายหลักตามแนวพระพุทธศาสนา

) อัตถะ ประโยชน์ หมวดธรรมข้อนี้ถือได้ว่าเป็นการระบุเป้าหมายแห่งองค์กร หรือรัฐได้เป็นอย่างดีที่ผู้บริหารจะยึดเอาประโยชน์อะไรมาเป็นหลัก กล่าวคือจะยึดประโยชน์เพื่อตนเอง หรือประโยชน์เพื่อผู้อื่น หรือจะทำประโยชน์ให้เกิดทั้งสองฝ่าย หรือหลายฝ่าย

   (๑) อัตตัตถะ ประโยชน์จุดหมายเพื่อตน

                       (๒) ปรัตถะ   ประโยชน์จุดหมายเพื่อผู้อื่น

                       (๓) อุภยัตถะ ประโยชน์จุดหมายทั้งสอง

                   ) แนวคิด ส่วนหลักข้อนี้เป็นแนวคิดที่ว่าผู้บริหาร เมื่อเข้ามาจัดการแล้วนั้นจำเป็นจะต้องเป็นผู้ทรงธรรม หรือมีคุณธรรมดังนี้ คือต้องมีวิสัยทัศน์ที่ดีมีสติปัญญาดีมองเหตุปัจจัยของปัญหาอย่างทะลุปรุโปร่งไม่ติดค้าง เป็นผู้มีทักษะในการบริหารจัดการได้ดี และเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลอื่นรวมถึงคนรอบข้าง หรือผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย

                       (๑) จักขุมา มี Vision คือ วิสัยทัศน์

                        (๒) วิธูโร มี Management คือ การจัดการ

                       (๓) นิสยสัมปันโน มี Human Relationship คือ มนุษยสัมพันธ์

                        ๓) นโยบาย พระพุทธเจ้าได้ทรงวางนโยบายในการประกาศพระพุทธศาสนาเอาไว้ในหลัก ๓ ประการที่กระทัดรัด เข้าใจง่าย แต่ทว่ายิ่งใหญ่ คือการเว้นบาป-ทำดี-ทำใจให้บริสุทธิ์ คือ

     (๑) สพฺพปาปสฺส  อกรณํ การไม่ทำบาปทั้งปวง

     (๒) กุสลสฺสูปสมฺปทา การยังกุศลให้ถึงพร้อม

     (๓) สจิตฺตปริโยทปนํ         การยังจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์

           

          กล่าวโดยสรุป หลักการปกครองตามแนวทางของพุทธธรรม จะวางกรอบแนวคิดตลอดถึงแนวข้อปฏิบัติเอาไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้นักปกครองทั้งหลายที่มีอำนาจในการบริหารบ้านเมืองมีแนวคิดที่จะพัฒนาตนเองเพื่อนำไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือ การครองตน ครองคน และครองงาน อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลัง ที่จะยึดถือเอาเป็นแนวปฏิบัติ เพื่อนำพาไปสู่เป้าหมายในการพัฒนาสังคมและประเทศสืบต่อไป

 

 

 

 



[๑] พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม), ทฤษฎีรัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก. หน้า ๑๒๒.

[๒] พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, หน้า ๑๘๖-๑๘๗.

[๓] เรื่องเดียวกัน. หน้า ๑๖๒.

[๔]เรื่องเดียวกัน. หน้า ๑๓๕-๑๓๖.

[๕]พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม), ทฤษฎีรัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก. หน้า ๑๒๔.

หมายเลขบันทึก: 504164เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2012 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท