แนวโน้มการศึกษารัฐศาสตร์ในอนาคต.....ตามแนวพุทธ


แนวความคิดที่พยายามแสวงหาความหมายและอธิบายศาสตร์ทางพระพุทธศาสนา ให้มีความลุ่มลึก และเกิดความหลากหลายทางด้านวิชาการ นอกจากนั้นแล้วยังเป็นเรื่องธรรมดาของศาสตร์ใหม่ ๆ อย่างรัฐศาสตร์ตามแนวทางพระพุทธศาสนาเองที่จำต้องแสวงหาความรู้ใหม่เพื่อเป็นการเสริมเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของตนเองว่าจะมีผิวพรรณรูปร่างน่าตาเป็นอย่างไร และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองต่อไปในอนาคต

แนวโน้มการศึกษารัฐศาสตร์ในอนาคต.....ตามแนวพุทธ

 

. รัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนาในสภาพปัจจุบัน

 

               การศึกษารัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนาปัจจุบัน ได้มีนักวิชาการตามสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ของไทยพยายามที่จะตีความพระพุทธศาสนาออกเป็นหลากหลายแง่มุม พอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้[๑]

                    ๑) แนวประชาธิปไตย

                    ๒) แนวสังคมนิยม

                    ๓) แนวธรรมิกสังคมนิยม

                    ๔) แนวปรัชญาการเมือง

                    ๕) แนวธรรมาธิปไตย

                    ๖) แนวพุทธประวัติ

                    ๗) แนวนิติรัฐ

                    ๘) แนวมโนทัศน์

          ซึ่งแนวคิดทั้งหมดนี้ เป็นแนวความคิดที่พยายามแสวงหาความหมายและอธิบายศาสตร์ทางพระพุทธศาสนา ให้มีความลุ่มลึก และเกิดความหลากหลายทางด้านวิชาการ นอกจากนั้นแล้วยังเป็นเรื่องธรรมดาของศาสตร์ใหม่ ๆ อย่างรัฐศาสตร์ตามแนวทางพระพุทธศาสนาเองที่จำต้องแสวงหาความรู้ใหม่เพื่อเป็นการเสริมเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของตนเองว่าจะมีผิวพรรณรูปร่างน่าตาเป็นอย่างไร และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองต่อไปในอนาคต

 

            ๑.๒ การแสวงหาเอกลักษณ์ของศาสตร์

 

                    แม้รัฐศาสตร์เองก็พยายามแสวงหาเอกลักษณ์ความเป็นศาสตร์ของตัวเองมานานแล้ว ทั้งนี้ ร.ศ. สิทธิพันธ์ พุทธหุน ได้ให้ทัศนะเอาไว้ว่า

                    ๑) การศึกษาการเมืองโดยเน้นเรื่องของรัฐ คือมุ่งไปที่โครงสร้างของรัฐ แต่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา ดังนี้

 

                    - สังกัปของรัฐดูค่อนข้างตายตัวคือรัฐบาลทำหน้าที่ในการรักษากฎระเบียบและเป็นอิสระจากการควบคุมของชาติอื่น ไม่สามารถที่จะเข้ามาอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ได้ เช่น การปฏิวัติ สงคราม อาณานิคม

                    - สังกัปของรัฐค่อนข้างจะเน้นไปในเชิงกฎหมายมากเกินไปคือพูดถึงกระบวนการนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แต่ละเลยกระบวนการที่อยู่นอกเหนือทางการ เช่น กลุ่มอิทธิพล กลุ่มผลประโยชน์ สื่อมวลชน  ฯลฯ

                    - การค้นพบสังกัปตลอดวิธีการทางการเมืองใหม่ ๆ มากขึ้น สังกัปเดิมที่ศึกษาการเมืองในแง่รัฐจึงถูกโจมตี แม้คำว่า รัฐ ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าหมายถึงอะไรกันแน่ ความนิยมในการศึกษาจึงเสื่อมลง

                        ๒) การเมือง คือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจและหน้าที่ เพราะมุ่งไปที่คน และสนใจศึกษาที่กระบวนการมากกว่าลักษณะนามธรรมของกฎเกณฑ์ต่าง ๆ แต่ในระยะหลังกลับถูกวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น เพราะคำว่า อำนาจ นั้นยังหาข้อยุติไม่ได้ เพราะคำว่าอำนาจมีคำจำกัดความที่กว้างเกินไปทั้งไม่มีความสัมพันธ์กับการเมืองเลย เช่น อำนาจที่ผู้จัดการบริษัทใช้กับลูกน้อง อำนาจของพ่อที่มีต่อลูก อำนาจของพระศาสดาที่มีต่อสาวก เป็นต้น

                        ๓) การเมืองคือเรื่องของการแจกแจงสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม โดยเชื่อว่าการเมืองเป็นเรื่องของการขัดแย้งซึ่งกันและกัน ต่างฝ่ายต่างพยายามที่จะใช้ทรัพยากรที่ตนมีอยู่เพื่อได้มาซึ่งอำนาจ โดยมีอยู่สองกลุ่ม คือพวกที่ไม่สนใจการเมือง กับพวกที่สนใจการเมืองหรือสัตว์การเมือง (Political Animal)

                    แต่การใช้อำนาจในการแจกแจงสิ่งที่มีคุณค่าอันเป็นเรื่องของการเมืองนี้อาจเกิดขึ้นได้ในกลุ่มต่าง ๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มการเมือง เช่น ครอบครัว โรงเรียน องค์กร ศาสนาและกลุ่มเศรษฐกิจ เป็นต้น

                        ๔) การเมือง คือเรื่องของพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประเด็นสำคัญ ๆ ทางการเมือง การศึกษาที่ให้ความสำคัญกับผู้นำที่สามารถในการตัดสินนโยบาย เป็นประเด็นหลัก   แต่ก็มีขอบเขตการศึกษาที่จำกัดเฉพาะกลุ่มผู้นำไม่กี่คนเท่านั้น

 

.๓ การเปรียบเทียบโครงสร้างของสถาบันทางการเมือง

 

          การที่จะพยายามชี้ประเด็นโดยการเปรียบเทียบหลักรัฐศาสตร์เข้ากับหลักพุทธศาสตร์นั้นอาจจะไม่ตรงประเด็นมากนัก แต่ก็พอจะอนุโลมกันได้ ดังนี้

 

 

 

 

 

 

ที่

ประชาธิปไตย

พุทธศาสนา

สถาบันรัฐธรรมนูญ

พระไตรปิฎก

สถาบันนิติบัญญัติ

พระวินัย

สถาบันฝ่ายบริหาร

สถาบันสงฆ์

สถาบันฝ่ายตุลาการ

คณะพระวินัยธร

 

 ๒. รัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนาในอนาคต

 

            ในอนาคต เป็นยุคที่เกิดสภาพไร้พรมแดนทั้งในเรื่องของอาณาเขต ประชากร การค้า การสื่อสาร แม้แต่การเมืองการปกครองก็ตกอยู่ในสภาวะเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงควรศึกษาทิศทางรัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎกสำหรับอนาคต ในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

.๑ ศึกษาเพื่อบูรณาการให้เป็นการเมืองวิถีพุทธ

 

                    หลักธรรมหรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามีอยู่หลากหลายหมวดหมู่ และมีชื่อแตกต่างกันไป แต่หากพิจารณาโดยรวมยอดแล้วจะเห็นว่าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามุ่งที่จะเสนอแนวทางให้กับมนุษย์มีชีวิตอยู่กับสังคมด้วยการเรียนรู้อย่างเท่าทันและนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้

๑) อธิบายสภาวะธรรมชาติของชีวิต เช่น สรรพสิ่งเกิดขึ้นมาได้อย่างไร คงอยู่ได้เพราะเหตุใด

          ๒) อธิบายและสอนถึงวิธีการที่จะครองชีวิตอยู่อย่างมีความสุข สอดคล้องกับสภาวะธรรมชาติ การบรรเทาความทุกข์อันเกิดจากสภาวะนานาประการ

          ๓) อธิบายและสอนแนวทางการดำรงอยู่รวมกันของมนุษย์ในสังคมตั้งแต่ระดับ    ปัจเจกชน จนถึงปวงชนระดับชาติและโลก

          ๔) อธิบายและแนะนำแนวทางที่จะนำหลักธรรมคำสั่งสอนไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต ประจำวันตามลักษณะปัญหา ตามระดับสติปัญญา และความประสงค์ของแต่ละบุคคล[2] เพื่อให้ทุกคนเกิดภาวะของการเรียนรู้แล้วบอกสอนด้วยการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขเหมือนพี่น้อง โดยอาศัยภูมิรู้ภูมิธรรมมาเป็นวิถีชีวิตอย่างพุทธ

 

           .๒ เน้นเป้าหมายในทางพระพุทธศาสนา[3]

                    ดังนั้นเป้าหมายของรัฐตามทัศนะของพระพุทธศาสนาจะต้องประกอบไปด้วยหลักของอัตถะ หรือประโยชน์ ๓ ประการ คือ

                    ) ทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์เบื้องต้น  หรือประโยชน์ในปัจจุบัน เป็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าที่จับต้องได้ในปัจจุบัน เช่น เรื่องของปัจจัยพื้นฐานของชีวิต หรือในเรื่องของโลกธรรม ๘ เป็นต้น ที่รัฐจำต้องสนองความต้องการของมนุษย์ในสังคมให้ได้

                    ) สัมปรายยิกัตถะประโยชน์เบื้องหน้า  หรือประโยชน์ในอนาคต เป็นประโยชน์ที่มนุษย์เมื่อมีความพร้อมในประโยชน์ข้อแรกแล้ว ต้องการที่จะมุ่งความดีอันสูงสุดแล้วปรารถนา  เช่น เรื่องของคุณค่าแห่งชีวิต ชีวิตหลังความตาย เรื่องของบาป-บุญ-คุณโทษ หรือความสงบสุขทางใจ เป็นต้น 

                    ) ปรมัตถะประโยชน์ครอบคลุม หรือประโยชน์สูงสุด ในที่นี้เป็นความหมายทางศาสนาที่มีเป้าหมายสูงสุดคือนิพพาน หรือความหลุดพ้นไม่ถูกการบีบคั้นจากเหตุการณ์หรือบุคคลใดใด เป็นต้น แต่ทางการเมืองประโยชน์สูงสุดของรัฐคือความสงบร่มเย็นในรัฐ หรือจะเรียกว่ารัฐในอุดมคติ ก็ได้ แม้ในทางพระพุทธศาสนาเมื่อคนไม่ต้องการบรรลุธรรมก็ปรารถนาถึงยุคสมัยอุดมคติเหมือนกัน คือมนุษย์ในยุคของพระศรีอาริยเมตไตย หรือที่เรียกกันว่ายุคศรีอาริย์ เป็นต้น

 

.๓ ขอบเขตของการศึกษาพระพุทธศาสนากับการเมือง[4]

 

                    การจะพยายามศึกษาพระไตรปิฎกแล้วเปรียบเทียบหรือประยุกต์หลักการต่าง ๆ โดยการเน้นถึงแนวทางต่าง ๆ นั้น อาจจะไม่สามารถทำได้สมบูรณ์แบบมากนัก แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาการศึกษาให้ครอบคลุมทั้ง ๓ แนวทาง กล่าวคือ

๑) การศึกษาโดยเน้นบุคคลเป็นหลัก คือการเข้าไปศึกษาตัวตนของบุคคลที่เป็นผู้นำ หรือนักการปกครอง ทางด้านแนวคิดว่าจะมุ่งเน้นเป้าหมายตามแนวพุทธศาสนาหรือไม่ พฤติกรรมการแสดงออกทั้งกาย วาจา ว่าเป็นสุจริตกรรมมากน้อยแค่ไหน รวมไปถึงการแสดงภาวะผู้นำที่พร้อมและกล้าที่จะตัดสินใจในทิศทางที่ดีงาม เป็นต้น

            ๒) การศึกษาโดยเน้นระบอบเป็นหลัก คือการเข้าไปศึกษาค้นคว้าหาระบอบการปกครองที่แท้จริงตามคัมภีร์ต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา หรือรูปแบบจำลองที่อาศัยศาสนาเป็นแนวทาง เช่น สังคมสงฆ์หรือเปรียบเทียบรัฐศาสนา อย่างรัฐอิสลามในประเทศตะวันออกกลาง เป็นต้น

๓) การศึกษาโดยเน้นธรรมเป็นหลัก คือการตีประเด็นทางหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้กว้างกว่ามิติเดิม ๆ โดยไม่ติดยึดหรือผูกโยงกับแนวคิดการเมืองใด ๆ เพียงแต่หลักธรรมข้อไหนสามารถประยุกต์ใช้กับระบอบการเมืองอะไร แนวคิดใดก็อนุโลมประยุกต์ใช้เป็นประเด็น ๆ ไป เช่นคำว่า สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค อธิปไตย เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป การศึกษารัฐศาสตร์ในอนาคตจะต้องเน้นในการนำหลักการปกครองแบบธรรมาธิปไตยคือใช้หลักการปกครองแบบถูกต้องเป็นธรรมเที่ยงธรรมและความเสมอภาคไปประยุกต์ใช้ในการบริหารบ้านเมืองและประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันตามลักษณะปัญหา ตามระดับสติปัญญา และความประสงค์ของแต่ละบุคคล[5] เพื่อให้ทุกคนเกิดภาวะของการเรียนรู้แล้วพร่ำสอนด้วยการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขเหมือนพี่น้อง โดยอาศัยภูมิรู้ภูมิธรรมมาเป็นวิถีชีวิตแบบพุทธคือสันติหรือสันติภาพ.

 



[๑]พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร  ถิรธมฺโม).  ทฤษฎีรัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก, หน้า ๑๔๙-๑๕๐.

[2]มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ปรัชญาการเมือง, (กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์, ๒๕๔๖), หน้า  ๖๕๘.

[3] พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร  ถิรธมฺโม).  ทฤษฎีรัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก, หน้า ๑๕๒.

[4] เรื่องเดียวกัน. หน้า ๑๕๓.

[5]มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ปรัชญาการเมือง, (กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์, ๒๕๔๖), หน้า  ๖๕๘.

หมายเลขบันทึก: 504158เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2012 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2012 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท