ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ของพยาบาลเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการภาวะสับสนเฉียบพลัน ในผู้ป่วยวิกฤต


ความรู้, ภาวะสับสนเฉียบพลัน, ผู้ป่วยวิกฤต, พยาบาลหออภิบาลผู้ป่วย

บทคัดย่อ

                วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับความรู้ของพยาบาลเกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลัน การเฝ้าระวัง การจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤต และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ระยะเวลาการทำงานในหออภิบาลผู้ป่วย และระดับการศึกษา กับความรู้เกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลัน การเฝ้าระวังและจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤตของพยาบาล

แบบวิจัย: การศึกษาแบบพรรณนาชนิดไปข้างหน้า

ลักษณะประชากร: พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหออภิบาลผู้ป่วยศัลยกรรมและหออภิบาลผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โดยเลือกเฉพาะเจาะจงบุคคลจำนวน 72 คน

วิธีการศึกษา: เจ้าหน้าที่พยาบาลที่เข้าร่วมการศึกษาจะได้รับแบบสอบถามเพื่อประเมินความรู้แล้วความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลภาวะสับสน โดยแบบสอบถามที่ใช้ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และ 2) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤตของพยาบาล หาค่าความเที่ยงของแบบวัดความรู้โดยใช้สูตรคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) KR-20

                ผลการศึกษา: พยาบาลมีความรู้เกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลัน (ร้อยละ 90.30 คะแนนเฉลี่ย 12.69 SD 1.94) การเฝ้าระวังการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลัน (ร้อยละ 80.56 คะแนนเฉลี่ย 9.34 SD 0.61) และการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤต (ร้อยละ 87.50 คะแนนเฉลี่ย 8.56 SD 1.03) ในระดับปานกลาง อายุและระยะเวลาการทำงานในหออภิบาลผู้ป่วย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้เกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลัน (r = .25, p < .05, r = .24, p < .05) แต่ระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลัน (p > .05)

สรุป: ควรมีการพัฒนาความรู้ของพยาบาลหออภิบาลผู้ป่วย ในการเฝ้าระวังและจัดการภาวะสับสนเฉียบพลัน เพื่อจะได้ช่วยลดอุบัติการณ์ของภาวะสับสนเฉียบพลัน และป้องกันผลกระทบที่เกิดจากภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในหออภิบาลผู้ป่วย

Abstract

                Objective: To explore the critical care nurses’ knowledge for delirium, prevention and management of delirium in critically ill patients, and to examine the relationship among age, period of time working in ICU, educational level and the critical care nurses’ knowledge for delirium, prevention and management of delirium.

Study design: descriptive study

Subjects: Purposive sampling for 72 critical care nurses who work in Medical and Surgical ICU in Songklanagarind hospital.

Method: The recruited nursing staffs received questionnaire about the knowledge of delirium prevention and management. The questionnaire included two parts: 1) demographic data and 2) the knowledge of nurses. The reliability of the nurses’ knowledge for delirium questionnaire was tested by the Kuder – Richardson (KR-20).

                Results: The knowledge of critical care nurses for general aspect of delirium (90.30%, mean scores 12.69, SD 1.94), prevention (80.56%, mean scores 9.34, SD 0.61) and management (87.50%, mean scores 8.56, SD 1.03) of delirium in critically ill patients was moderate. There were positive relationships among age, period of time working in ICU, and the critical care nurses’ knowledge for delirium (r = .25, p < .05, r = .24,

p < .05).

Conclusion: The critical care nurses need to develop knowledge about delirium prevention and management for reducing the incidence of delirium and its negative consequences in patients admitted in the ICU.

Keywords: Knowledge, delirium, critically ill Patients, critical care nurses

สุพัตรา อุปนิสากร, อุรา แสงเงิน, ประสบสุข อินทรักษา, ทิพมาส ชินวงศ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ของพยาบาลเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤต.  วารสารเวชบำบัดวิกฤต 2553;17(2), 6-12.


หมายเลขบันทึก: 503908เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2012 04:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2012 04:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท