ผลของการนำแนวปฏิบัติในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤตภายในโรงพยาบาลมาใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยของหอผู้ป่วยไอซียูอายุรกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์


การเคลื่อนย้าย ผู้ป่วยวิกฤต, หอผู้ป่วยไอซียูอายุรกรรม

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการนำแนวปฏิบัติในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤตภายในโรงพยาบาลมาใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยของหอผู้ป่วยไอซียูอายุรกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

แบบวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา แบบศึกษาย้อนหลัง

ลักษณะประชากร: ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยไอซียูอายุรกรรม ระหว่างเดือนมกราคม 2549 – เดือนธันวาคม 2552 ที่ได้รับการเคลื่อนย้ายภายในโรงพยาบาล

วิธีการศึกษา: ศึกษาทบทวนข้อมูลที่ได้รับการบันทึกในแบบฟอร์มของแนวปฏิบัติในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤตภายในโรงพยาบาลของหอผู้ป่วยไอซียูอายุรกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ บันทึกข้อมูลของผู้ป่วย ก่อน ระหว่าง และหลังการเคลื่อนย้ายตามแบบบันทึกที่สร้างขึ้น โดยจะบันทึกถึงระยะเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนย้าย ภาวะแทรกซ้อน ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดในระหว่างการเคลื่อนย้าย

ผลการศึกษา: มีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยร้อยละ 38.66 ระยะเวลาในการเคลื่อนย้ายเฉลี่ย 58.07+/-33.99 นาที โดยเป็นการเคลื่อนย้ายในผลัดเช้ามากที่สุด ร้อยละ 62.33 ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดในระหว่างการเคลื่อนย้ายที่รุนแรงที่สุด คือภาวะหัวใจหยุดเต้น ร้อยละ 0.26 และการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพที่ต้องได้รับการรักษา ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดระหว่างการเคลื่อนย้าย พบว่ามีทั้งด้านเจ้าหน้าที่ และด้านอุปกรณ์ เช่น แบตเตอรี่ หรือออกซิเจนหมด ไม่มีแพทย์ติดตามผู้ป่วย รอเจ้าหน้าที่หน่วยขนย้ายนาน เป็นต้น

สรุป: การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤตภายในโรงพยาบาลพบได้บ่อย การเคลื่อนย้ายที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน การมีแนวปฏิบัติในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีการเตรียมความพร้อมทั้งด้านอุปกรณ์และเจ้าหน้าที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤตภายในโรงพยาบาล 

Abstract

          Objective: To explore the outcome of intrahospital transportation protocol for transporting the critically ill patients in medical ICU, Songklanagarind hospital.  

Study design: A retrospective study

ดูพจนานุกรมโดยละเอียด          Subjects:   Patients who were admitted and were transported out of the medical ICU during January 2006 until December 2009.

Method:  Study reviewed the data has been recorded in the intrahospital transportation protocol. Records of patients before, during and after transportation. The instruments used for data collection was transportation records including 1) transport time and 2) complications, problems, and difficulties during transportation. 

          Results: The overall patients who were admitted at the medical ICU were transported out of the Medical ICU (38.66%). The mean transport time was 58.07 (+/-33.99) minutes, and morning shift most 62.33 percent. The occurrences of complications during intrahospital transport included cardiac arrest (0.26%), and vital signs change. Problems and difficulties during intrahospital transport were awaiting time for investigate, no physician accompany, and equipment malfunction.

Conclusion: Intrahospital transport is frequently occurred in ICU.  However, unwell planned intrahospital transportation may increased risk of complication. The guideline, pretransport equipments and accompanying personal should be provided to ensure the safety of patient transportation. 

หมายเลขบันทึก: 503907เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2012 04:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2012 04:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท