การดูแลด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยวิกฤตและครอบครัวในไอซียู: ประสบการณ์ทางการพยาบาล


การดูแลด้านจิตวิญญาณ, ผู้ป่วยวิกฤตและครอบครัว ประสบการณ์ทางการพยาบาลในไอซียู,

บทคัดย่อ

จิตวิญญาณเป็นอีกมิติหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ามิติด้านกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบุคคลมีการเจ็บป่วยในภาวะวิกฤต จากการทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมา พบว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤตและครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยมีความต้องการการดูแลด้านจิตวิญญาณในระดับมาก ซึ่งพยาบาลมีบทบาทสำคัญต่อการตอบสนองและส่งเสริมการดูแลด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยและครอบครัวที่อยู่ในภาวะวิกฤต โดยอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญมากที่สุดคือ การประเมินความต้องการด้านจิตวิญญาณ การสื่อสาร พูดคุย กับผู้ป่วยและครอบครัว การอำนวยความสะดวกแก่ครอบครัวในการทำพิธีกรรมทางศาสนา และความเชื่อ การแสดงออกถึงการยอมรับให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย มีผลลัพธ์ทางการพยาบาล เช่น สุขภาวะทางจิตวิญญาณที่ดี การกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ คำติชมและสัมพันธภาพที่ดี ดังกรณีตัวอย่างที่ศึกษา

คำสำคัญ

การดูแลด้านจิตวิญญาณ, ผู้ป่วยวิกฤตและครอบครัว ประสบการณ์ทางการพยาบาลในไอซียู,

 

 Abstract

Spirituality is one of dimension that is important than the physical dimension. Especially when a person is in a critically ill. According to a review of literature found that patients and families needs high level of spiritual care. Nursing play an important role to response and promote the spiritual care to patients and families in crisis event. The best component to provide spiritual care are assess the spiritual needs of patients, communicating with patients and families, facilitating religious rituals and culture beliefs, and respect families participation in care. The nursing outcome show spiritual well being, return to normal life, good relationship.  The case studies are example.

Key words

Spiritual Care, Critically ill Patients and Families, Nursing experiences in ICU 

รายการอ้างอิง: จารุวรรณ บุญรัตน์, สุพัตรา อุปนิสากร. การดูแลด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยวิกฤตและครอบครัวในไอซียู: ประสบการณ์ทางการพยาบาล (Spiritual Care for Critically ill Patients and Families in ICU:  Nursing experiences). วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (Journal of Princess of Naradhiwas University).๒๕๕๕;๔(๑):๑-๑๓.

หมายเลขบันทึก: 503906เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2012 04:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2012 06:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท