ผลของการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้ากับการใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะต่อ ความเร็วในการไหลเวียนของเลือดดำที่ตำแหน่งขาหนีบในผู้ที่มีสุขภาพดี


การนวดเท้า, เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะ, ความเร็วในการไหลเวียนของเลือดดำ

บทคัดย่อ : การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบข้ามกลุ่ม (crossover design) เพื่อเปรียบเทียบความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำที่ขาหนีบระหว่างการนวดเท้ากับการใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะ (Intermittent Pneumatic Calf Compression: IPC) ในกลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพดี เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 32 ราย ได้รับทั้งการนวดเท้าแบบกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า 30 นาที และใช้เครื่อง IPC 30 นาที วัดความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำที่ขาหนีบ ระยะเวลาที่สามารถคงความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำสูงสุด และระยะเวลาที่ความเร็วในการไหลเวียนกลับของเลือดดำที่ขาหนีบกลับสู่ค่าเดิม ด้วยเครื่องฟังเสียงสะท้อนการไหลของเลือด หาค่าดัชนีความสัมพันธ์ของการวัด 2 ครั้งของการวัดความเร็วในการไหลเวียนของเลือดดำของเครื่องฟังเสียงสะท้อนการไหลของเลือด (doppler) โดยวิธีการวัดซ้ำ (test-retest measured) ได้เท่ากับ .99 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที (paired t-test)

 ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 31.56 ปี (S.D. = 8.08) จากการวัดความเร็วในการไหลเวียนของเลือดดำที่ขาหนีบของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ระยะเวลาที่สามารถคงความเร็วในการไหลเวียนของเลือดดำสูงสุดหลังได้รับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าและหลังได้รับการใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) แต่ระยะเวลาที่ความเร็วในการไหลเวียนของเลือดดำที่ขาหนีบกลับสู่ค่าเดิมหลังได้รับนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า (= 6.01 S.D. = 0.62 นาที) มากกว่าหลังได้รับการใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะ (= 5.57 S.D. = 0.72 นาที) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การนวดเท้าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดดำได้ในผู้ที่มีสุขภาพดี และควรมีการศึกษาต่อในกลุ่มผู้ป่วย เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนในการนำไปประยุกต์ใช้ทางคลินิก

Abstract: This one-group crossover quasi-experimental study aimed to compare the effects of foot massage and Automatically Mechanical Intermittent Pneumatic Calf Compression (IPC) on blood flow velocity of the femoral veins in adult healthy. Subjects were purposive selected to receive both interventions; foot massage for 30 minutes and IPC for 30 minutes. Venous blood flow velocity, time of maximum plateau of venous blood flow velocity, and time to baseline of venous blood flow velocity after foot massage and IPC were measured by vascular doppler detector. The linearity of foot massage and IPC was vertical using test-retest measures and the linearity was .99 and .91, respectively. Data were analyzed using mean, standard deviation, and paired t-test.

Results:  All subjects were female. The mean age was 31.56 years old (S.D. = 8.08). Regarding to venous blood flow velocity, there was no significant difference in time of maximum plateau of venous blood flow between subjects receiving foot massage and IPC (p > .05).  However, time to baseline of venous blood flow velocity in subjects received foot massage (= 6.01 S.D. = 0.62 sec) was significantly higher than those received IPC (= 5.57 S.D. = 0.72 sec) (p < .001). The finding indicated that foot massage yields no difference effects on venous blood flow velocity in healthy subjects when compared to IPC. Therefore, foot massage can be further explored in patient group to test its application.   

รายการอ้างอิง: สุพัตรา อุปนิสากร, ประณีต ส่งวัฒนา, วิภา แซ่เซี้ย. ผลของการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้ากับการใช้เครื่องบีบไล่เลือดเป็นจังหวะต่อความเร็วในการไหลเวียนของเลือดดำที่ตำแหน่งขาหนีบในผู้ที่มี
สุขภาพดี. วารสารสภาการพยาบาล ๒๕๕๓;๒๕(๓):๒๕–๓๖.

หมายเลขบันทึก: 503902เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2012 04:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2012 06:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท