การป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาในไอซียูอายุรกรรม


การป้องกัน, การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ, ไอซียูอายุรกรรม

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของการพยาบาล 2) พัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ (CAUTI) และ 3) เปรียบเทียบอุบัติการณ์การติดเชื้อก่อนและหลังใช้รูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น แบ่งการศึกษาเป็น 4 ระยะ 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติ 3) การสังเกต และ 4) การสะท้อนการปฏิบัติและการปรับปรุงแผน เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสืบค้นข้อมูลจากหลักฐานเชิงประจักษ์ และรายงานการติดเชื้อ CAUTI ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยไอซียูอายุรกรรม จำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 

ผลการศึกษา: สภาพปัญหาของการพยาบาลโดยส่วนใหญ่เกิดจากทัศนคติ และความรู้ของผู้ปฏิบัติงานที่มีต่อการป้องกันการติดเชื้อ CAUTI องค์ประกอบหลักของรูปแบบการพยาบาลประกอบด้วย 1) การใส่สายสวนปัสสาวะ 2) การประเมินการติดเชื้อ CAUTI เป็นระยะ 3) การดูแลสายสวนปัสสาวะ 4) การพิจารณาถอดสายสวนปัสสาวะ 5) การใช้ระบบเตือน และ 6) การมีแกนนำ มีการปรับปรุงรายละเอียดรูปแบบการพยาบาลอีก 3 ครั้งแล้วพบว่า จำนวนวันคาสายสวนปัสสาวะจาก 1,114 เหลือ 736 วันต่อปี จำนวนวันคาสายสวนปัสสาวะเฉลี่ยลดลงจาก 3.42 เหลือ 2.41 วันต่อราย และอัตราการติดเชื้อลดลงจาก 4.49 เหลือ 0 ครั้งต่อ 1,000 วันของการคาสายสวนปัสสาวะ

                สรุปการมีส่วนร่วมของทีมในทุกขั้นตอนของการดำเนินงานเพื่อป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในไอซียูอายุรกรรม สามารถลดอัตราการติดเชื้อได้

Abstract: This participatory action research aimed to 1) classified nursing problem 2) developed strategies to prevent catheter associated urinary tract infection (CAUTI) in Medical ICU, and 3) compare the incidence of CAUTI between before and after using this. Using a consists of 4 stages: 1) planning, 2) acting 3) observation, and 4) reflecting and re-planning. Data collection techniques used in this study was focus group, observations, evidence based, and the infection report of hospital. The participatory were 40 nurses who work in Medical ICU. Data were analyzed by mean, percentage, and content analysis.

Results:  The nursing problems were mainly caused by the attitude and educate on the prevention of CAUTI. The strategies included 1) a urinary catheter in patients who have an indication and using sterile technique, 2) screening of CAUTI., 3) care of the urinary catheter during patients admitted in Medical ICU., 4) consider removing the urinary catheter when there is no indication, 5) using reminder, and 6) has leader and getting the awareness and values of taking responsibility and accountability in nursing outcomes. The strategies show that number of urinary catheter-days decreased by 1,114 to 736 day/year, the average urinary catheter-days decreased by 3.42 to 2.41 day/person, and the incidence of CAUTI decreased by 4.49 to 0 /1000 catheter-days.

The participation in all stages for prevent CAUTI can reduce the rate of infection.

รายการอ้างอิง: สุพัตรา อุปนิสากร, จารุวรรณ บุญรัตน์, และ อจิมา ไทยคง. การป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในไอซียูอายุรกรรม. วารสารสภาการพยาบาล. ๒๕๕๕;๒๗(๑):๔๙-๖๒.

หมายเลขบันทึก: 503905เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2012 04:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2012 06:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท