ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลจากโจทย์บูรณาการจังหวัด


หลากหลายผลิตภัณฑ์ที่ต้องการนำ วทน. ไปพัฒนากระบวนการผลิตและคุณภาพของสินค้า

เมื่อวันที่ 16-17 กย. 55 ทีมคลินิกเทคโนโลยีส่วนกลาง ร่วมกับ วว.(พี่อินทราวุธ) และ มทร.พระนคร(อ.จุฑามาศ) ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลจากโจทย์บูรณาการจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน 3 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มผู้ผลิตขนมมั่วหลาว อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ได้ทำการสำรวจพบว่า ผู้ผลิตต้องการคเรื่องจักรในการตัดแผ่นขนมเพื่ลดแรงงานคน และการปรับปรุงโรงเรีือนให้ได้มาตรฐาน

แถมด้วยเมนูแก้จน จากขบวนการแก้จน

2. ความต้องการของเทศบาลเมืองกระบี่ กลุ่มผู้ผลิตลูกปัดโบราณ นำโดยนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองกระบี่ได้บรรยายประวัติความเป็นมาของลูกปัดโบราณ และไปดูสถานที่ก่อสร้างที่จะทำเป็นโรงงานผลิตลูกปัดโบราณ ซึ่งมีสมาชิกในขณะนี้ 14 คน มีเครื่องมือพร้อมสำหรับการผลิต ขาดแต่ การวางผังโรงงานผลิต การวางแผนการผลิต ทำอย่างไรให้เป็นโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย

พบนายกเทศมนตรีเมืองกระบี่และหัวหน้าส่วนราชการทั้งหมดเข้าฟังการบรรยายของท่านนายกฯ ซึ่งได้เล่าประวัติความเป็นมาของเมืองกระบี่ จากเมืองตะโกลา เป็นกระบี่ในปัจจุบัน และรายละเอียดอื่นๆ อีกมากมาย สมแล้วที่ท่านเป็นผู้รู้จริงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองกระบี่ ใครสนใจประวัติเมืองกระบี่ ติดต่อท่านได้

3. กลุ่มผลิตภัณฑ์เตยปาหนัน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเตยปาหนันในโครงการพระราชดำริ บ้านปากคลอง

คนนี้คือสุดยอดปรมาจารย์ด้านการสานเตยปาหนัน  เสื่อที่เห็นด้านบนก็ฝีมือแก

ส่วนนี้ก็ใช่ สานเป็นตัวหนังสือได้อย่างน่าประทับใจในฝีมือ ทุกอย่างเกิดขึ้นในสมองแกทั้งสิ้น ไม่มีการเขียนแบบ สานกันสด ๆ เดินหน้าบ้าง ถอยหลังบ้าง แก้ไขบ้าง สุดยอดจริง ๆ ครับ เห็นว่าทางหัวหน้าของโครงการพระราชดำริที่ดูแลกลุ่มได้เก็บลายพื้นฐานไว้ 13 ลาย 

และกลุ่มเตยปาหนันบ้านร่าหมาด

กลุ่มนี้มีผลิตภัณฑ์หลายอย่าง เช่น หมอนจากเตยปาหนัน เนื้อเตยนุ่มมาก กระบุกใส่ของ ปกสมุด 

และนี่คือวัตถุดิบ เตยปาหนัน แต่ต้นยังเล็กอยู่

โดยในกลุ่มแรกมีฝีมือในการสาน แต่ยังขาดการบริหารจัดการกลุ่ม และรูปแบบผลิตภัณฑ์และการตลาด ส่วนกลุ่มที่ 2 มีความพร้อมของกลุ่ม กำลังการผลิตตามคำสั่งซื้อ ต้องการจักรเย็บ เพื่อนำมาสร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และต้องการทำตลาดเพิ่ม

หมายเลขบันทึก: 502657เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2012 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2015 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ภูมิปัญญาไทยหากได้รับการส่งเสริมมากขึ้น จะไปได้ไกลนะคะ

ผมเห็นแล้วก็ทึ่งครับ แต่ปัญหาที่เจอ คือ 1. ไม่มีผู้มาสืบทอดที่จะเรียนรู้กระบวนการผลิตต่อ รวมทั้งการสร้างลาย ทั้งลายเก่าและลายใหม่ 2. การส่งเสริม สนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐ ตั้งแต่ วัตถุดิบ กระบวนการผลิต จนถึงการตลาด ทำไปขายไม่ได้ก็ไม่อยากทำขาย 3. รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่กว่าเดิม

หมอนที่คุณเห็น เป็นการสานครั้งเดียว ไม่มีการเย็ยแม้แต่นิดเดียว สุดยอดมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท