ลปรร. เรื่องการจัดการความรู้ ของกองทันตฯ (1) ... คุณูปการ ...เรื่องราวการจัดการความรู้ จากท่านรองฯ ประเสริฐ


ส่วนใหญ่เรามักจะชอบเรื่อง success story แต่ว่าเรื่อง unsuccess story เราก็เล่าได้นะครับ เพราะความ unsuccess ของเราไม่ใช่เรื่องที่น่าละอาย เพราะให้อีก 10 คน มาทำแบบเดียวกันเราก็ unsuccess เช่นเดียวกัน เพื่อให้คนอื่นเขาไม่ต้องมาเสียเวลา ย่ำรอยเท้าเรา

 

เมื่อวันที่ 8 กย.49 มีการ ลปรร. เรื่อง ภาพรวมการจัดการของกองทันตฯ ปี 2549

กองทันตฯ ได้นำเสนอเรื่องเล่าการจัดการความรู้ที่นำไปใช้ในงานต่างๆ ของกองทันตฯ highlight ที่ 4 งานก็คือ

  1. งานกลุ่มเด็กปฐมวัย
  2. งานกลุ่มผู้สูงอายุ
  3. งานกลุ่มเด็กวัยเรียน และ
  4. งานกลุ่มคุ้มครองดูแลสุขภาพ และจัดการสิ่งแวดล้อม ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพช่องปาก

4 งานนี้ ก็คือ 4 กลุ่มหลักสายวิชาการ ของกองทันตสาธารณสุข กรมอนามัยละค่ะ

ท่านรองฯ ประเสริฐ หลุยเจริญ รองอธิบดีกรมอนามัย และท่านเป็น CKO ในเรื่องของการจัดการความรู้ของกรมอนามัยนะคะ ท่านได้กรุณามาให้ความรู้ จากประสบการณ์ของท่าน ทั้งต่อเรื่อง HA และ KM และมาร่วมแลกเปลี่ยน ให้พวกเราได้เรียนรู้ ... และจะได้นำไปต่อยอดความรู้กันให้ได้เข้มข้นต่อๆ ไปค่ะ

ดิฉันขอนำคำเล่าของท่านมาให้ทุกท่านได้ฟังนะคะ

"... มาอยู่ที่นี่ ผมเป็น Facilitator คือ ทำหน้าที่ช่วยให้พวกเราทุกคนทำงานได้ดีขึ้น ตลอดรอดฝั่ง ... พวกเราเป็นนักวิชาการ ที่ค่อนข้างมีความเป็นตัวของตัวเองเยอะ ทำงานเยอะมาก และก็ทำงานเป็นตัวของตัวเองมาตลอด ...

ผมก็มีมุมมองในด้านความรู้ของทันตฯ ก็เหมือนกับทางแพทย์ คือ ต้องมีต่อกันทุกวัน Knowledge มีเยอะมาก ทุกวัน ความรู้ในกระดาษมีเยอะ แต่เวลาใช้งานจริงอาจมีไม่เท่าไร นานๆ ทีก็อาจจะเจอ journal ที่ปิ๊ง ถูกใจ และนำมา apply ได้ แต่ส่วนใหญ่เราก็อ่าน และก็คัดทิ้งออกไปซะเยอะ ... ในบริบทของการทำงานของเราก็ต้องสังเคราะห์ ให้ได้ความรู้ เอาความรู้ที่เราได้ไปจัดการปฏิบัติจริง journal ที่เราได้เรียนรู้ มาผสมผสานมาเป็นความรู้อันใหม่ในบริบทของประเทศ เป็นบริบทของเราเอง

เมื่อตอนที่ผมทำงานอยู่สุพรรณบุรี มีเรื่องของฟลูออโรซิส ผมก็รู้มาก่อนแล้วบ้าง และผมก็ได้รู้ว่ามีปัญหาที่สุพรรณบุรีเช่นกัน ... เรื่องฟลูออไรด์ผมก็ได้รู้ และก่อนหน้านั้น รู้ว่า ฟลูออไรด์นั้นมีประโยชน์ เจอใครๆ ที่ยังไม่รู้เรื่องฟลูออโรซิส ก็จะแนะนำให้พวกเขาทั้งกิน ทั้งทา เพราะเราถูกสั่งสอนมาอย่างนั้นจริงๆ ว่า ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุได้ เราก็มีความเชื่อว่าฟลูออไรด์ดี จึงศรัทธา และส่งเสริมให้ทุกคนใช้ฟลูออไรด์ ทั้งๆ ที่รู้ว่า มันเป็นดาบสองคม เพราะฉะนั้นที่ตรงนี้ จะถามว่าชาวบ้านจะรู้เรื่องฟลูออโรซิสกันไหม ก็รู้กันอยู่ในวงการแคบๆ และการแก้ปัญหา มันก็จะเป็นปัญหาที่สร้างปัญหาด้วย มีคนที่พยายามจะทำ RO เพื่อแก้ปัญหาการมีฟลูออไรด์สูง แต่ก็พบว่า ฟลูออไรด์ที่ดึงออกก็วนเวียนอยู่ตรงนั้นอีกในพื้นดิน เพราะฉะนั้นปัญหานั้นมันไม่ได้แก้ไขให้เบ็ดเสร็จ วิธีเช่นนี้ที่เราเรียกว่าแก้ปัญหาแล้วเบ็ดเสร็จ มันก็สร้างปัญหาอีก ตอนนี้เรามีความรู้เรื่องการจัดการกับฟลูออโรซิส จัดการเรื่องแหล่งน้ำกันจริงๆ หรือเปล่า ผมว่าเป็นบริบทที่เป็นปัญหาของเรา ชาวบ้านเขาไม่มีปัญหา เขาก็อาจไม่ได้คิด

เหมือนกับเรื่องมาลาเรีย ไม่ใช่ปัญหาของฝรั่ง มันเป็นปัญหาของคนไทย เพราะฉะนั้นปัญหามาลาเรียก็จะดื้อยาตลอด เพราะว่าเขาไม่ได้คิดยาใหม่ เพราะว่าไม่ใช่ปัญหาของเขา มันเป็นปัญหาของเรา เพราะฉะนั้นเราอาจต้องคิดเอง ไปหวั่งพึ่ง know how หรือเทคโนโลยีคนอื่นก็อาจจะอยู่ไม่ได้ ... ปัญหาของเราก็ต้องคิด แก้เอง ทำเอง

ในการทำงาน ... จะมีความรู้เยอะแยะมาก แต่ว่า บางทีหมดจากรุ่นหนึ่งก็หมดไป คนรุ่นใหม่ก็มา repeat ความผิดพลาด หรือวิธีการ ซึ่งจัดการกับความสำเร็จอันนี้ไม่ได้ ไม่ได้บอกว่าเป็นความล้มเหลว วิธีการที่จะจัดการกับเรื่องอย่างนี้ เราก็จะมาซ้ำกันอย่างนี้ ... ถ้าเรามีวิธีการจัดการความรู้ ก็จะสามารถนำมาเป็นเครื่องอันหนึ่ง ที่เราสามารถจะต่อบทเรียน นำความรู้ที่เขาเรียกว่าอยู่ในตัวของเรา สามารถที่จะทำให้คนอื่นเขารับรู้ได้ อาจจะสำเร็จ หรือไม่สำเร็จ ก็ไม่ต้องกลัว ส่วนใหญ่เรามักจะชอบเรื่อง success story แต่ว่าเรื่อง unsuccess story เราก็เล่าได้นะครับ เพราะความ unsuccess ของเราไม่ใช่เรื่องที่น่าละอาย เพราะให้อีก 10 คน มาทำแบบเดียวกันเราก็ unsuccess เช่นเดียวกัน เพื่อให้คนอื่นเขาไม่ต้องมาเสียเวลา ย่ำรอยเท้าเรา และคนที่บอกเราว่าไม่สำเร็จ ก็ไม่ต้องไปหัวเราะเยาะเขานะครับ
 
ผมชอบเล่านิทานเรื่องหนึ่ง เรื่อง ช่างซ่อมเครื่องจักร ... มีเรื่องว่า เฒ่าแก่คนหนึ่งซื้อเครื่องจักรราคาแพงมาก ลงทุนเป็น 100 ล้าน พอ Operate ไปได้ 1 เดือน เครื่องไม่ทำงาน ช่างมาซ่อม เขาคิดค่าซ่อม 1 แสน เฒ่าแก่ก็ OK เพราะว่า ไม่งั้นก็จะมีความเสียหายเยอะ ช่างก็เดินไปเดินมา 2 รอบ แล้วก็เอาค้อนทุบไป 1 ที เครื่องจักรก็ทำงาน ... เฒ่าแก่ก็ร้องไอ๊หย่า ลื้อทุบทีเดียว คิดอั๊วะตั้งแสนนึงเหรอ ... ช่างซ่อมก็บอกว่า ค่าทุบแค่ 100 แต่ค่าดูว่าจะทุบตรงไหนมันแพงตรงนั้น

เห็นไหมครับ เรามักจะร้อง อ๋อ พอเห็นคนอื่นทำสำเร็จ ก็ รู้อย่างนี้ก็ ... ทำได้ ... ก็เพราะว่าตอนนั้นเราไม่รู้ ... แต่พอคนอื่นเขาบอก เราก็ อ๋อ ... รู้แล้ว เรามักจะเข้าข้างตัวเราเองว่า ตอนนี้เรารู้แล้ว แต่ ณ ตอนนั้นเราไม่รู้ เพราะฉะนั้นความจริงถ้าไม่มีใครมาบอกเรา เราก็ไม่รู้ แต่พอเขามาบอก เราก็มาเริ่มตรงนั้น ก็คิดออกว่า อ๋อ มันก็ง่ายๆ นะ

ของบางอย่าง ถ้ามีคนมาบอกเราก็จะง่าย หรือต่อยอดความคิดจากเขา ก็จะง่ายเช่นเดียวกัน นี่เป็นที่มาของเรื่อง Brainstroming ซึ่งความจริงแล้ว ประโยชน์ก็คือ idea ของคน 100 คน จะมีประโยชน์สัก 10% นอกนั้น 80-90% จะเป็นความคิดที่ว่าไปแล้วไม่ค่อยได้อะไรเท่าไร แต่ต้องไม่ไปดูถูก เพราะจริงๆ แล้ว 80-90% ตรงนั้น เพราะ 10 หรือ 20 idea ที่มันใช้ไม่ได้ เพราะว่าคนอื่นเขาพูดมาแล้ว มันก็ได้ความรู้สึกว่า ฉันต้องไม่เสนอ idea ที่ผิดเหล่านี้ สิ่งนี้ก็เหมือนขึ้นมาต่อยอด เหมือนกับว่า เราอย่าไปดูถูกภารโรง เพราะว่าถ้าเราไม่มีเขา เราก็ตาย เราก็ต้องไปทำ function อย่างนั้น นั่นก็คือ อย่าไปดูถูก idea ตรงนั้น อย่าไปดูถูกคนที่ต่ำกว่าเรา ... ทุกคน หรือทุก idea มีประโยชน์ อย่าไปดูถูก อย่าไปหัวเราะเยาะ นั่นคือ ... อย่าไปหัวเราความผิดพลาด รับฟัง และเพียงแต่ว่า อย่าไป repeat ความผิดพลาดตรงนั้นให้มันเสียเงิน เสียทอง เสียเวลาเข้าไปอีก

KM จึงเป็นอย่างนี้ การที่เรามาเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง เอาความรู้ต่างๆ ที่เราไปทำ ไปเขียนไว้ มันมีประโยชน์ต่อเราในวันนี้ ต่อเราในวันหน้า ต่อคนที่ทำงานร่วมกับเรา เพราะว่าถ้าไม่จด ไม่บันทึกไว้ ไม่นานก็จะลืม ความจำของเรามันสั้นมาก ความจำตอนเก่าๆ อาจจะจำได้ แต่ความจำตอนใหม่ๆ นี้ พวกเราที่เป็น สว. (สูงวัย) ก็คงจะจำยาก จำใหม่ก็คงจำอะไรไม่ค่อยได้ ... นี่ก็เป็นที่มาของการจัดการความรู้ และเข้ามาเป็นผลที่เราจะต้องคิด ว่าจะจัดการ หรือไม่จัดการ

ผมไม่อยากให้เราทำ KM เพราะว่าเราถูกบังคับให้ทำ แต่ทำเพราะว่าเราเป็น professional เราต้องเป็นผู้นำทางด้านการศึกษา ความรู้อาจจะมาจากการอ่าน มาจากประสบการณ์ มาจากการทำงาน คนที่เรียนได้ที่ 1 เหรียญทอง อาจจะทำงานไม่ success แต่การทำงานอาจสู่คนที่เรียนตก เรียนละเอียด มีเพื่อนเยอะแยะไม่ได้
เพราะฉะนั้นการเรียนก็เรื่องหนึ่ง การทำงานก็อีกเรื่องหนึ่ง วิธีการจัดการกับความรู้ที่เรามีอยู่ ประสบการณ์ การที่เรามีเครือข่าย หรือ Connection สามารถเอาความรู้ของคนอื่นมาช่วยเราทำงานก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราจะจัดการความรู้ ที่เราต้องเรียนรู้ มันก็เป็นวิธีการที่เราจะพัฒนาตัวเองขึ้นไป เป็นเรื่องของคุณภาพ ทุกวันนี้ KM ก็เป็นเรื่องของระบบ ที่จะมาตอบสนองเรื่องคุณภาพ ในการทำงานของเรา ในฐานะที่เราทำงานทุกวันนี้ เราต้องทำงานที่ยากขึ้น กับลูกค้าของเรา ในฐานะที่เป็นหน่วยงานราชการ ก็ทำงานยากขึ้น ในเรื่องของระเบียบวิธีต่างๆ มีคนมาตรวจสอบ มีลูกค้า เครือข่าย ที่เขามาดูในเรื่องคุณภาพของเรา ทุกวันนี้เราไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว คนอื่นเขาไม่ได้มาพึ่งเราที่เดียว มีคนอื่นอีกมากมาย ... แต่เราต้องบอกว่า ทุกวันนี้ คือการแข่งขัน เรายังมีหน่วยงานอื่นๆ ที่เขาทำงานแข่งกับเรา แต่เขาต้องมาเลือกเรา เพราะว่าเขารู้ว่าเรามีประสิทธิภาพ นั่นก็คือ เรามีการพัฒนาตัวเอง ทำให้เราเป็นที่ยอมรับด้วยเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานการรับรองคุณภาพการทำงาน อันหนึ่งก็คือ KM และ PMQA ก็จะเป็นตัวหนึ่งที่เป็นหลักประกัน

ถ้าท่านอยู่กินแถวนี้ ท่านก็จะรู้ว่า อาหารที่ไหนอร่อย หรือไม่อร่อย ถ้าท่านไปที่อื่น ท่านก็ต้องไปหาป้าย เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ Clean food good taste ตัวนี้ก็จะเป็นตัวบอก ... PMQA ก็จะเป็นตัวหนึ่ง ที่จะมารับรองคุณภาพของเรา เพื่อให้หน่วยงานอื่นรู้จัก ในประเทศไทยอาจรู้จักกองทันตฯ แต่ถ้ามีองค์กร NGO องค์กรต่างประเทศ ที่เขาอยากจะเอาเงินมาให้ เขาก็ไม่รู้จะมาให้ใคร เขาก็ click เขาไปใน internet ก็จะรู้ว่า หน่วยงานนี้ได้รับรางวัล เขาก็อาจจะเอาเงินมาให้เราอีกต่อหนึ่ง ซึ่งเขาก็ไม่เคยรู้ background ของเรามาก่อน เขาไม่เคยรู้จักประเทศไทยมาก่อน แต่เขาก็จะรู้จัก และเลือกเราได้ เพราะเรามีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ นี่ก็เป็นเหตุผลว่า ทำไมเราต้องทำงานเรื่องคุณภาพ ไม่ทำก็ไม่เป็นอะไร แต่เราจะแข่งขันกับเขาไม่ได้ เพราะทุกวันนี้ เราอยู่ในโลกของการแข่งขันตลอด และอยู่ในโลกของการฟ้องร้องตลอด ซึ่งถ้าเรามีกระบวนงานที่เป็นมาตรฐานก็จะเป็นเกราะป้องกันให้กับเราได้ด้วย

เรื่องของการทำ KM นั้น ก็ทำนองเดียวกันว่า KM  เป็นกระบวนการหนึ่งของการรับรองมาตรฐาน การพัฒนาคุณภาพ ซึ่งเราต้องทำ มีความจำเป็นต้องทำ เมื่อต้องทำก็ไม่ใช่งานของ ผอ. KM ต้องทำทุกคน เพราะถ้า KM ถ้าทำแค่คนใดคนหนึ่งก็จะลำบาก เพราะว่าคุณภาพนั้นต้องเป็นคุณภาพของทั้งหมด ทั้งกลุ่มงาน ทั้งหน่วยงาน ไม่ใช่เรื่องของบุคคล

KM จะช่วยทำให้ท่านอยู่ในโลกของการแข่งขันนี้ได้ เมื่อเริ่มทำ KM ใหม่ๆ นั้น อาจจะยังจับต้นชนปลายไม่ถูก อาจจะมีปัญหา สร้างความสับสน เพราะฉะนั้นต้องพยายามทำความเข้าใจกับ concept ของ KM ให้ดี จึงมีปัญหา เห็นแต่ความยุ่งยาก ... แต่ถ้าได้ลงมือทำ และทำให้เป็นเหมือนกับงานประจำวัน ชีวิตประจำวันให้ได้ เราจะรู้สึกชอบ และเราก็จะอยู่กับ KM ด้วยความรัก ความสนุกครับ"

 

หมายเลขบันทึก: 50245เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2006 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท