Early Warning Sign และการรายงานแพทย์แบบ SBAR


เสาร์นี้ (๑๕ ก.ย.๕๕) คณะกรรมการ PCT รพ.สูงเนินจัดอบรม

การรายงานแพทย์แบบ SBAR และ Early Warning Sign


ท่านผู้อำนวยกา ดร.พญ.นิลเนตร วีระสมบัติ มาทำพิธีเปิดการอบรม รุ่นแรกครึ่งเช้า

หัวหน้าศูนย์พัฒนาคุณภาพ พี่แป้น'เบญจมา เลาหพูลรังษีมาช่วยเปิดและปิดการอบรม รุ่นหลังครึ่งบ่าย

อายุรแพทย์ นพ.ทวีพงศ์ อนุสรณ์สุวรรณ ของเรามาให้ความรู้เรื่อง อาการ-อาการแสดงของผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ที่ต้องรายงานให้แพทย์รับทราบ เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสม โดยแยกในแต่ละกลุ่มโรค แต่ละ Special Clinical Risk เช่น Stroke (โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน), STEMI / Acute MI (โรคหัวใจขาดเลือด), COPD (โรคถุงลมโป่งพอง), Sepsis (ติดเชื้อในกระแสเลือด), Head Injury (ศีรษะได้รับความกระทบกระเทือน), DHF (ไข้เลือดออก), Neonatal Jaundice (ทารกตัวเหลือง), Appendicitis (ไส้ติ่งอักเสบ) เป็นต้น

เลขาฯ PCT คนใหม่คุณจตุพร หาคุ้มคลัง เกริ่นนำเรื่อง Chain of Prevention ห่วงโซ่ของการป้องกัน (ป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์)

ห่วงโซ่ที่ ๑ Education ทีมงานสุขภาพต้องมีความรู้เรื่องโรค เรื่องการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้อง-ครอบคลุม-ครบถ้วนตามมาตรฐานของแต่ละวิชาชีพ ทราบสีญญาณอันตรายที่อาจจะเกิดในเวลาอันใกล้

ห่วงโซ่ที่ ๒ Monitoring การสัดสัญญาณชีพถูกต้อง ครอบคลุม ครบถ้วน เหมาะสม วิเคราะห์ได้ว่าผิดปกติ และบันมึกชัดเจน 

ห่วงโซ่ที่ ๓ Recognition มักจะเป็นปัญหาบ่อยที่นำไปสู่การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ การใช้ Track, Trigger tools เป็นตัวช่วยลดความบกพร่องของ Recogition

ห่วงโซ่ที่ ๔ Call for help ขอความช่วยเหลือ เป็นประเด็นที่เรามาอบรมในวันนี้

ห่วงโซ่ที่ ๕ การตอบสนอง ในที่นี้หมายถึงของแพทย์หลังจากที่เรารายงานแล้ว



ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่าอาการอะไร เมื่อไรที่บ่งบอกว่าเราต้องร้องขอความช่วยเหลือจากแพทย์ ซึ่งเรียกว่า Early Warning Sign ที่เรากำหนดใช้ในหน่วยงานคือ

สำหรับผู้ใหญ่

    อัตราการเต้นของหัวใจ <40 or >130 ครั้งต่อนาที

    ความดัน systolic <90 mmHg

    อัตราการหายใจ <8 or >28 ครั้งต่อนาที

    O2 saturation <90% ทั้งที่ให้ออกซิเจน

    การเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว

    ปริมาณปัสสาวะ <50 มล.ใน 4 ชั่วโมง

สำหรับเด็ก

    อายุ >1 หายใจ > 40     อายุ <1 หายใจ > 60 ครั้ง/นาที

    เด็ก < 8 ปี ชีพจร < 80 หรือ > 160 ครั้ง/นาที

    เด็ก > 8 ปี ชีพจร < 60 หรือ > 140 ครั้ง/นาที

    ความดัน systolic เด็ก 1-10 ปี < 70 mmHg + (อายุเป็นปี + 2)

    หายใจเร็วผิดปกติ, ปลายจมูกบาน, Chest wall Retraction, Grunting

    การเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว, ซึม, ชัก, กระสับกระส่าย  

    คลำชีพจรที่ปลายมือ-ปลายเท้าไม่ชัดเจน, เขียว, SpO2<95%   

ถ้ามีตัวใดตัวหนึ่งผิดปกติ ให้รายงานแพทย์โดยใช้ SBAR ภายใน ๕ นาที


หลังจากเรารู้แล้วว่าอาการอะไรที่ค้องรายงานแพทย์.. ทีนี้เรามาดูวิธีการรายงานแพทย์บ้าง เพราะมีแพทย์หลายท่านแอบบ่น (เบาๆ) เกี่ยวกับเรื่องการรายงานอาการผู้ป่วยของเหล่าพยาบาล (เอามาขายกันซะหน่อย) ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในพยาบาลจบใหม่ และพยาบาลที่จบมานานมากแล้ว

@ ตกลงจะรายงานเรื่องอะไรคะ/ครับ : ด้วยเหตุว่าการรายงานแพทย์ของเราเป็นแบบ "น้ำท่วมทุ่ง-ผักบุ้งโหลงเหลง"

@ คนไข้หายใจหอบมากค่ะ (แล้วอะไรต่อล่ะจ๊ะ) รายงานแค่เนี๊ยะ

@ ทำไมต้องให้ถามทีละข้อ ทีละข้อ นะ (บ่น) : คนไข้อายุเท่าไร .. มีโรคประจำตัวหรือไม่ .. เคยรับยาอะไรบ้าง .. ผลเลือดเป็นอย่างไร .. ให้อะไรไปบ้างแล้ว ..

@ รายงานทำไมเนี่ย ก็ดีทุกอย่างนี่.. (รายงานให้รับทราบว่าได้รับผู้ป่วยไว้ในรพ.)

 

ไม่ใช่มีแต่แพทบ์บ่นนะคะ พยาบาลเราก็บ่น (เบาๆ เช่นกัน) เช่นกัน

@ รายงานแล้ว แพทย์ไม่ลงมาดูผู้ป่วย

@ ต้องรายงานซ้ำหลายครั้ง พอรายงานมากๆเข้า ก็ลงมาดูและพิจารณาส่งต่อ (จะโดนไหมนี่)

@ มีคำสั่งการรักษาไม่ตรงใจพยาบาล

@ ให้กังเกตอาการต่อ (อยู่นั่นแหละ) เฮ้ออออ

 

หลากหลายเหตุผล ที่เป็นสาเหตุให้เราต้องมาอบรมเรื่องการรายงานแพทย์โดยใช้หลักการของ SBAR

(S) Situation : สถานการณ์ที่ทำให้ต้องรายงาน (ระบุปัญหาสั้นๆ เวลาที่เกิด ความรุนแรง), ระบุตัวผู้รายงาน หน่วยงาน ชื่อผู้ป่วย หมายเลขห้อง

(B) Background : ข้อมูลภูมิหลังเกี่ยวกับสถานการณ์, การวินิจฉัยแรกรับ, วันที่รับไว้, รายการยา, สารน้ำ, การแพ้ยา, การตรวจทดสอบทางห้องปฏิบัติการ, สัญญาณชีพล่าสุด, ข้อมูลทางคลินิกอื่นๆ

(A) Assessment : การประเมินสถานการณ์ของพยาบาล

(R) Recommendation : ความต้องการของพยาบาล เช่นต้องการให้ทราบว่าผู้ป่วยได้รับการรับไว้แล้ว, การย้ายผู้ป่วยไปอยู่หน่วยอื่น, ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลจากแพทย์โดยด่วน, การเปลี่ยน-เพิ่ม-งดคำสั่งการรักษา


แล้วก็แบ่ง ๔ กลุ่มทบทวน Chart เพื่อฝึกการรายงานแพทย์ โดยดูข้อมูล เมื่อพบ Early warning sign ให้เขียนรายละเอียด ว่าเราจะต้องรายงานอย่างไร ให้ครบ SBAR และออกไปนำเสนอหน้าห้อง มีคุณหมอเพ้ง'อ่ยุรแพทย์ของเรามาช่วย Comment


หลังอบรมแพทย์หลายท่านหวังว่า จะได้รับการรายงานที่ชัดเจน - เข้าใจง่ายไม่ยืดเยื้อ เราพยาบาลก็หวังเช่นนั้นเหมือนกันค่ะ และสูงสุดคือเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย


หมายเลขบันทึก: 502365เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2012 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • นานมากแล้วที่ไม่ได้อยู่ในบทบาทเป็นผู้รายงานแพทย์
  • วันนี้ขอบคุณค่ะที่ได้เรียนรู้อีกค่ะขอบคุณค่ะ  
  • เพลงก็ฟังสบายจังค่ะ

บางครั้งเวลาเกิดเหตุวิกฤติ ก็ตื่นเต้น ยิ่งถ้าผู้ป่วยอาการไม่ค่อยดี ยิ่งไปใหญ่ค่ะ ขาดสติ.. ขอบคุณมากนะคะคุณ c write ที่แวะมาให้กำลังใจกัน


 

โชคดีของคนไข้นะคะ ที่มีทีมงานสาธารณสุข คอยช่วยพัฒนาความสามารถตลอดเวลา เพื่อดูแลสุขภาพคนไข้

เราเจอความเสี่ยงหลายเรื่องค่ะ tuktun เลยต้องช่วยกันค้นหารากเหง้าของปัญหา (RCA) ว่าเพราะสาเหตุอะไร..พบว่ามีการรายงานแพทย์ล่าช้า เลยต้องหาแนวทางแก้ไข อบรมเรื่อง Early warning sign

 

หวังว่าต่อไปแพทย์และพยาบาลจะทำงานร่วมกันได้ดีโดยไม่มีการบ่นตามหลังกัน และสุดท้ายผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดก็เป็นผู้ป่วยที่พวกเราดูแล สู้กันต่อไปเนาะพีระพี ( แอบบ่นนิดนึง kaaom ว่านะ อ่านบันทึกคุณพี่เข้าใจกว่าตอนนั่งอบรมอีก หุหุ )

ขอบคุณ ความรู้ดีดี เพื่อความปลอดภัยที่มอบให้ผู้ป่วย

การที่เรามีความรู้สึกดีๆให้ใคร.. อาจมองว่าทำอะไรก็ดีไปหมดนะจ๊ะ kaaom แต่มันก็เป็นกำลังใจ ที่ทำให้คุณพี่มีแรงทำงานต่อนะ ขอบคุณมากๆจ้า


 

เรียนคุณวิริยะหนอ

ความตั้งใจที่จะดูแลผู้ป่วยของเราเป็นเลิศค่ะ

แต่การดูแลรักษาคนหนึ่งคน เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์

ฉะนั้น.. หนึ่งบวกหนึ่ง อาจไม่ใช่สองค่ะ

ขอบคุณนะคะ

  • หวัดดีจ้ะ
  • มาทักทายก่อนนอนนนนนน
  • วันนี้ง่วงมาก ๆ เลย

ถึงตอนนี้น่าจะหลับสบาย เต็มอิ่มแล้วนะคะคุณมะเดื่อ.. น้ำที่กาญจนบุรี น่าเล่นมากค่ะ

วันนี้ ได้ใช้ SBAR ค่ะ(อยากเล่าให้ฟัง)

กริ๊งๆๆๆๆ คุณหมอเพ้งคะ พี่อ๋อยจาก NCD นะคะ รายงานคนไข้ HR=48 bpm คนไข้ชาย 88 ปี มีประวัติเป็น HT c 2nd Degree AV Block on ยา... BP=132/60, RR=18 คนไข้บอกว่าไม่มีอาการผิดปกติ ไม่ เหนื่อยไม่เพลีย ไม่ขาดยา ฟัง Heart ไม่มีเสียงผิดปกติ ส่ง ER ทำ EKG แล้ว รบกวนคุณหมอช่วยมาดูคนไข้ที่ ER ก่อนมา NCD นะคะ ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีคะ

เป็นกิจกรรมที่แสดงให้เห็นคุณภาพหลายด้านจริงๆคะ เห็นทีมงานที่สามัคคี เห็นความรู้ในการทำงาน

ขอให้กำลังใจนะคะ

แม่ต้อย

 

ขอบคุณค่ะแม่ต้อย สำหรับกำลังใจที่ส่งมาให้.. พวกเราตั้งใจมากๆค่ะ หวังให้ตนเองมีความสุขตั้งใจ สุขของเราคือคนไข้ปลอดภัยค่ะ

 

รายงานแล้ว แพทย์ไม่ลงมาดูผู้ป่วย

@ ต้องรายงานซ้ำหลายครั้ง พอรายงานมากๆเข้า ก็ลงมาดูและพิจารณาส่งต่อ (จะโดนไหมนี่)

@ มีคำสั่งการรักษาไม่ตรงใจพยาบาล

@ ให้สังเกตอาการต่อ (อยู่นั่นแหละ) เฮ้ออออ


น่าสนใจมากเลยคะ กำลังเป็นประเด็นที่ ทีมพยาบาลที่หนองจิกอยากเก็บข้อมุลเพื่อสะท้อน ความยุ่งยากของการดูแลผู้ป่วย แสดงว่าเป็นเรื่องไม่ตกประเด็น อิๆ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท