พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง


พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง

            ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๕๘ พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารฝ่ายเมืองก็ได้ กล่าวคือ

            (๑) ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อย ๒ คนพร้อมกัน

            (๒) กรมการอำเภอต้องจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบนั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้นให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง

            (๓) เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่า ข้อความที่กรมการอำเภอจดนั้นเป็นการถูกต้องตรงกันกับที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งไว้แล้ว ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ

            (๔) ข้อความที่กรมการอำเภอจดไว้นั้น ให้กรมการอำเภอลงลายมือชื่อ และลงวัน เดือน ปี ทั้งจดลงไว้ด้วยตนเองเป็นสำคัญว่าพินัยกรรมนั้นได้ทำขึ้นถูกต้องตามบทบัญญัติอนุมาตรา ๑ ถึง ๓ ข้างต้น แล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ

            การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม พยาน และกรมการอำเภอจะได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้

            มาตรา ๑๖๕๙ การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนั้น จะทำนอกที่ว่าการอำเภอก็ได้ เมื่อมีการร้องขอเช่นนั้น

           

            วิธีปฏิบัติและข้อแนะนำการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง

            การทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๕๘ บัญญัติให้กรมการอำเภอเป็นผู้ทำ ต่อมามีพระราชบัญญัติระเบียบราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๔๙๕ มาตรา ๔๐ วรรคสาม บัญญัติให้โอนอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมการอำเภอไปเป็นอำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอ การทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองในปัจจุบันจึงตกเป็นอำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอเป็นผู้ทำ ซึ่งถ้านายอำเภอไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามปกติก็ตกเป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้รักษาราชการแทนตามมาตรา ๔๒   การที่นายอำเภอมาปฏิบัติราชการอยู่แต่ติดราชการจะไปท้องที่ จึงสั่งให้ปลัดอำเภอช่วยไปทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองแทนเพื่อให้งานเสร็จไปโดยเร็วนั้น ปลัดอำเภอผู้นั้นเป็นแต่เพียงผู้ทำงานแทนนายอำเภอ หาเป็นผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอไม่ จึงไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองแทนนายอำเภอ

            สำหรับกรุงเทพมหานครนั้น มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๑๖ ให้หัวหน้าเขตมีอำนาจหน้าที่ตามที่มีกฎหมายใดๆ บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ ดังนั้นการทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองที่กรุงเทพมหานครจึงตกเป็นหน้าที่ของนายอำเภอ ดังนั้นการทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองที่กรุงเทพมหานครจึงตกเป็นอำนาจและหน้าที่ของหัวหน้าเขตเป็นผู้ทำ

            ผู้ที่ประสงค์จะทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองต้องไปติดต่อที่สำนักงานเขต (กรุงเทพมหานคร)  หรือที่ว่าการอำเภอแห่งใดก็ได้โดยขอทำที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอแห่งใดก็ได้โดยขอทำที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอแห่งใดก็ได้ หากประสงค์จะขอทำพินัยกรรมนอกสำนักงานเขตหรือนอกที่ว่าการอำเภอก็ได้แต่ต้องอยู่ภายในท้องที่รับผิดชอบของสำนักงานเขตพื้นที่การอำเภอนั้นๆ ด้วย ค่าธรรมเนียมการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองทำในสำนักงานเขต ๕๐ บาท ทำนอกสำนักงาน ๑๐๐ บาท สำเนาคู่ฉบับๆ ละ ๑๐ บาท ค่าพยานไม่เกินวันละ ๕๐ บาท หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงต่อสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ คือ ๑. เอกสารสิทธิต่างๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น โฉนดที่ดิน, ใบหุ้น ๒. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ทำพินัยกรรม ๓. สำเนาทะเบียนบ้าน ๔. พยานอย่างน้อย ๒ คน (ถ้ามี) หากไม่มีพยานไปด้วย เขตหรืออำเภอคงจัดหาให้ได้โดยคิดค่าป่วยการพยาน

            ผู้ทำพินัยกรรมต้องแจ้งข้อความที่ประสงค์จะให้ปรากฏในพินัยกรรมให้ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ แล้วแต่กรณี และต่อหน้าพยานอย่างน้อย ๒ คน พร้อมกัน

            เมื่อผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ แล้วแต่กรณีจดข้อความตามที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบและอ่านให้ผู้ทำพินัยกรรมฟังแล้ว ผู้ทำพินัยกรรมและพยานต้องลงลายมือชื่อไว้

            ผู้อำนวยการเขต หรือนายอำเภอ แล้วแต่กรณีต้องลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี ทั้งลงไว้ด้วยตนเองเป็นสำคัญว่า พินัยกรรมได้ทำขึ้นถูกต้องตามขั้นตอนที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๕๘ อนุมาตรา (๑) ถึง (๓) แล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ

            ผู้ทำพินัยกรรมจะมอบพินัยกรรมนั้นไว้แก่ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอแล้วแต่กรณีก็ได้ โดยจะได้ใบพินัยกรรมยึดถือไว้ หรือหากผู้รับพินัยกรรมอาจขอรับพินัยกรรมไปเก็บไว้เองโดยลงลายมือชื่อขอรับพินัยกรรมที่ทำขึ้นนั้นในสมุดทะเบียนก็ได้

            การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นไม่สมบูรณ์เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม พยาน และผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอแล้วแต่กรณี ได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้

            พินัยกรรมซึ่งได้ทำแบบเอกสารฝ่ายเมือง ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอแล้วแต่กรณี จะเปิดเผยแก่บุคคลอื่นใดไม่ได้ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่และผู้ทำพินัยกรรมจะเรียกให้ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอส่งมอบพินัยกรรมนั้นแก่ตนในเวลาใดๆ ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ จำต้องส่งมอบให้ (มาตรา ๑๖๖๒ วรรคหนึ่ง) ก่อนส่งมอบพินัยกรรม ให้ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ แล้วแต่กรณี คัดสำเนาพินัยกรรมไว้แล้วลงลายมือชื่อประทับตราตำแหน่งเป็นสำคัญ สำเนาพินัยกรรมนั้นจะเปิดเผยแก่บุคคลอื่นใดไม่ได้ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ (มาตรา ๑๖๖๒ วรรคสอง)

 

ตัวอย่างพินัยกรรมแบบเอกสารบ้านเมือง

 

พินัยกรรมแบบเอกสารบ้านเมือง

 

พินัยกรรมของ..................................................................................................................

เขียนที่..............................................

วันที่................เดือน...................พุทธศักราช................

ข้าพเจ้า.............................................................อายุ........................ตั้งบ้านเรือนอยู่บ้าน

เลขที่.........................หมู่ที่...................ตำบล...............................อำเภอ.........................

จังหวัด..............................................

ทำพินัยกรรมต่อหน้า(.............................................)กรรมการอำเภอ.............................

และ..............................................พยานกับ

พยานดังต่อไปนี้

            ข้อ1.ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้ว  บรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่มีอยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า  ข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุบไว้ในพินัยกรรม

นี้ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้

(1) ..................................................................................................................................

(2) ..................................................................................................................................

(3) .................................................................................................................................         

ข้อ 2. ข้าพจ้าขอมอบพินัยกรรมฉบับนี้แก่

และข้อตั้งให้.........................................................เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพเจ้าตาม

พินัยกรรมนี้และให้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายทุกประการ

ข้อ 3. .........................................................................................................................

            ข้อ 4.  ข้อความแห่งพินัยกรรม  กรมการอำเภอได้อ่านให้ข้าพเจ้าและพยานฟัง

โดยตลอดแล้วเป็นการถูกต้องตรงตามความประสงค์ของข้าพเจ้าที่แจ้งให้กรรมการอำเภอจดลงไว้   และขณะทำพินัยกรรมนี้  ข้าพเจ้ามีสติบริบูรณ์ดี  จึงลงลายมือชื่อไว้

ต่อหน้ากรรมการอำเภอและพยานเป็นสำคัญ

ลายมือชื่อ............................................................ผู้ทำพินัยกรรม

      ลายมือชื่อ..............................................พยานรับรองพินัยกรรม

และลายมือชื่อ

ลายมือชื่อ..............................................พยานรับรองพินัยกรรม

และรายมือชื่อ

บันทึก

            ข้าพเจ้า.................................................กรรมการอำเภ.........................................

ขอรับรองว่า................................................ผู้ทำพินัยกรรมได้แจ้งข้อความที่ตนประสงค์ให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมดังกล่าวมาแล้วข้างต้นต่อหน้าข้าพเจ้าและพยาน...........คน คือ....................................................................ณ.   ที่................................................

ข้าพเจ้าได้จดและอ่านข้อความที่ทำเป็นพินัยกรรมขึ้นนั้น  ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง  ผู้ทำพินัยกรรมและพยานได้รับรองว่าถูกต้องและลงลายมือชื่อในพินัยกรรมนับว่าพินัยกรรมนี้ได้ทำขึ้นถูกต้องตามบทบัญญัติอนุมาตรา 1 ถึง 3  ของมาตรา 1658  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว

 

วันที่...........เดือน.....................พุทธศักราช..........

            ลายมือชื่อ................................กรรมการอำเภอ

                                                            ประทับตำแหน่งเป็นสำคัญ

ลงสมุดทะเบียนพินัยกรรมแล้ว เลขที่....................................................................เจ้าหน้าที่

 

คำสำคัญ (Tags): #khonmuang
หมายเลขบันทึก: 502360เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2012 19:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2014 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เนื่องจากทางบ้านผม (ลูกชายป้า) ได้ไปยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดกไว้ เพราะแม่ได้เสียไปแล้ว จนตอนนี้เลย 100 วันมาเดือนกว่า จู่ๆ ทางลูกป้าอีกฝ่าย เขียนใส่กระดาษมาว่า พร้อมเมื่อไรบองมา จะได้ไปอำเภอเพื่อเปิดพินัยกรรมฝ่ายเมือง โดยมีตราเลขที่ 41/2549 มาด้วย ผมเลยไม่เข้าใจว่าถ้าไปเปิดที่อำเภอแล้ว ถ้าพินัยกรรมไม่ลงตัว ทางพี่ผมจะมีสิทธิ์ยื่นคัดค้านและขอแบ่งบรดกที่ดินให้เท่าเทียมหรือไม่ เนื่องจากพี่น้องลูกของป้ามี 6 คน ถึงแก่กรรมไป 2 เหลือ 4 คน แต่แบ่งฝ่ายละ 2 คน ที่สำคัญผลประโยชน์เงินค่าห้องเช่ากว่า 40 ห้อง ลูกอีกคนดูแลเก็บไปเองตลอด ไม่เคยมาแบ่งให้อีก 2 คนเลยแม้แต่น้อย จนแม่ตาย การจัดงานก็ปิดไม่บอกใคร ไปจัดกันเงียบๆ และจัดอย่างอนาถามากๆ แบบนี้จะมีทางดำเนินการอย่างไรบ้างครับ ส่วนผมในฐานะหลาน บ้านเป็นของน้องชายเจ้าของที่ดิน ถ้าผมถูกไล่ที่ตรงนี้ ผมจะเรียกค่ารื้อถอนเพื่อไปหาที่อยู่ใหม่ได้หรือไม่เพียงใด เพราะจะไล่ทั้งหมดที่ไม่ใช่พวกเค้าครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท