“สรุปบทเรียน” การดำเนินการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายครูสอนดี(ยะลา,ขอนแก่น,กำแพงเพชร)


ทีมงานของเรา จึงประกอบไปด้วย ความหลากหลายของนักพัฒนาที่มาช่วยกันคิดงาน ภายใต้สมมุติฐานที่เราตั้งไว้ เมื่อมีความคิดร่วมกันตรงนี้ เราจึงเดินต่อด้วย “วิธีการของเรา” และเราก็เชื่อมั่นว่า วิธีการแบบนี้น่าจะส่งผลต่อการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีพลัง และใช้ “การจัดการความรู้” เป็นเครื่องมือในการสร้างการเรียนรู้ที่เป็นระบบ มีการสร้างและพัฒนา Facilitator ที่เตรียมไว้สำหรับวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน PLC ที่จะเกิดขึ้น

“สรุปบทเรียน” การดำเนินการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายครูสอนดี(ยะลา,ขอนแก่น,กำแพงเพชร)

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูรและทีมงาน

 

สมมุติฐานในการทำงานของทีมงาน

เราเชื่อว่า “ครู” เป็นผู้มีความสามารถ มีทักษะ เทคนิค ตลอดจนประสบการณ์ผ่านการสอนมายาวนาน (แตกต่างกันแต่ละคน) และครูเองทราบดีว่า สถานการณ์การจัดการศึกษาในขณะนี้เป็นอย่างไร? และครูเองควรปฏิบัติเช่นไร เพื่อที่จะสร้างหรือพัฒนากระบวนการเรียน การสอน เพื่อนำพา เด็กนักเรียนที่เป็น “ศิษย์” ของตนเอง ไปถึงฝั่งได้อย่างปลอดภัยและประสบความสำเร็จในการชีวิตการงาน

ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบของการศึกษา รวมถึง ระบบของสายวิชาชีพครู “ใครไม่เป็นครูก็คงไม่เข้าใจลึกซึ้ง” หลายเหตุผล ครูก็ไม่รู้จะอธิบายให้ใครฟัง และก็ไม่รู้ว่าเวลาอธิบายแล้วคนอื่น(ที่ไม่ใช่ครู) จะเข้าใจพวกเขาไหม?

วัฒนธรรม ความเชื่อ นโยบายรายวัน ระบบการเมือง ระบบการประเมินที่ท้าทายศักดิ์ศรีของความเป็นครู ตลอดจน อำนาจของผู้บริหารในแต่ละระดับ ที่เป็นปัจจัยกำหนดก้าวย่างของครู จนครูแทบไม่เป็นตัวของตัวเอง หาพื้นที่สำหรับการนำเสนอตัวตนแทบไม่มี

ความคาดหวังที่ยิ่งใหญ่ของสังคม ที่เน้นผลผลิตทางการศึกษาที่ครูเป็นจำเลยตลอดกาลนั่นอีก ที่คอยตอกย้ำ ความรับผิดชอบของครู อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน  จะมีใครสักคนเข้าใจบ้างไหมว่า ทุกอย่างเชื่อมโยงกันไปหมด บทบาทภาระหน้าที่ครูเพียงฝ่ายเดียว อาจต้านกระแสเหล่านั้นไม่ไหว ต้องช่วยกัน ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน สังคม และโรงเรียน แต่ละส่วนมีหน้าที่ที่เอื้อหนุนกัน “การสอนคน” เป็นภาระที่หนักอึ้ง ไม่ง่ายนักที่จะนำพาศิษย์สักคนไปถึงฝั่งฝันได้สำเร็จ เป็นคนดี คนเก่งของสังคม  

“ครูเหนื่อย – อะไรๆก็ครู” แต่เสียงบอกเล่าให้กับสังคมเป็นเพียงเสียงเบาๆ ที่หลายคนไม่ได้ยิน หรือ ใส่ใจที่จะฟัง

เราทีมงานคิดกันว่า

การพัฒนาศักยภาพครู ตามโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายครูสอนดี ในจังหวัดที่รับผิดชอบ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดยะลา และ กำแพงเพชร  เราจะใช้รูปแบบของ การสร้างพลังแรงบันดาลใจ ปรับเปลี่ยนทัศนคติ ก่อนที่จะชวนครูมาเรียนรู้ร่วมกัน ตามประเด็นของ 21st Century Skills  ซึ่งมองว่า ครูได้ทำอยู่แล้ว แต่มาดูว่า เราต้องทำเพิ่ม ปรับเปลี่ยนบางอย่าง ขยับตรงนี้นิด เพิ่มตรงนั้นหน่อย มองเป้าหมายคือ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ไปด้วยกัน  อาจใช้เครื่องมือ ที่แนะนำเช่น PBL สำหรับเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อไปถึงเป้าหมาย และ การสร้าง PLC ในแต่ละระดับเพื่อเกื้อหนุนให้เกิด PLC ที่เข้มแข็งต่อไป

ทีมงานของเรา

ทีมงานประกอบด้วย ผมทำหน้าที่เป็นวิทยากรหลักในการออกพื้นที่ สร้างกระบวนการเรียนรู้ และมีทีมงานที่มีพลังความสามารถดังนี้

                   
  อ.พฤหัส พหลกุลบุตร และ อ.วีระพงษ์ ทวีศักดิ์

 

  1. อ.วีระพงศ์ ทวีศักดิ์ (อ.วี) นักดนตรีพิณแก้ว  อาจารย์เน้นเรื่องของการสร้างแรงบันดาลใจและปรับทัศนคติ โดยมีเครื่องดนตรีเป็นเครื่องมือ ทางสุนทรียะในเวทีเรียนรู้
  2. อ.พฤหัส พหลกุลบุตร (อ.ก๋วย)  เป็นผู้อำนวยการมูลนิธิสื่อชาวบ้าน หรือ กลุ่มมะขามป้อม  โครงการละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยผ่านละคร ดังนั้น อ.พฤหัส จะมีชุดความรู้ชุดหนึ่งผ่านการทำงาน มาช่วยกันในส่วนของการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละเวที และมีการพัฒนาเครือข่ายครูสอนดีซ้อนลงใน 2 จังหวัดขอนแก่น,ยะลา เป็นเป้าหมายตามโครงการละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง

ทีมงานของเรา จึงประกอบไปด้วย ความหลากหลายของนักพัฒนาที่มาช่วยกันคิดงาน ภายใต้สมมุติฐานที่เราตั้งไว้ เมื่อมีความคิดร่วมกันตรงนี้ เราจึงเดินต่อด้วย “วิธีการของเรา” และเราก็เชื่อมั่นว่า วิธีการแบบนี้น่าจะส่งผลต่อการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีพลัง และใช้ “การจัดการความรู้” เป็นเครื่องมือในการสร้างการเรียนรู้ที่เป็นระบบ มีการสร้างและพัฒนา Facilitator ที่เตรียมไว้สำหรับวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน PLC ที่จะเกิดขึ้น (เรามีการใช้หนังสือ the art of facilitator เป็นคู่มือในการพัฒนาทักษะผู้เอื้ออำนวยกระบวนการเรียนรู้ให้กับครูสอนดี) กับเป้าหมายครูสอนดีใน 3 จังหวัดดังกล่าว เพื่อใช้ในการเป็นทักษะการสร้างความรู้ให้กับนักเรียน และถอดบทเรียนกระบวนการเรียนการสอนตามโจทย์ของโครงการฯ เพื่อเป็น Best Practice ให้กับเครือข่ายครูสอนดี

 

จุดแข็งที่เราค้นพบ ในจังหวัดที่รับผิดชอบ (กำแพงเพชร,ขอนแก่น,ยะลา) เราพบว่า

จังหวัดขอนแก่น,ยะลา,กำแพงเพชร  มีจุดแข็งดังนี้

  1. ทั้งสามจังหวัด พื้นฐานกระบวนการคัดเลือกครูสอนดีที่มีคุณภาพเราจึงได้ “ครูสอนดี” ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ และมีความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ผ่านประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนที่เข้มข้น ในจังหวัดกำแพงเพชร เป็นส่วนใหญ่เป็นครูที่ได้ถูกสร้างกระบวนการเรียนรู้มาจากโครงการ LLEN  หรือโครงการ โครงการพัฒนาเครือข่ายหนุนเสริมคุณภาพการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของเด็กและเยาวชน
    ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร
    ( LLEN) และได้รับการคัดเลือกมาเป็น “ครูสอนดี”
  2. มีการคัดเลือกแกนนำ เพื่อที่จะเป็น “ทีมแกนนำหลัก” ที่มีคุณภาพ ทำให้ได้แกนนำในการช่วยกันขับเคลื่อนเครือข่ายครูสอนดีในระดับจังหวัดได้เป็นอย่างดี สังเกตจากการปฏิบัติหน้าที่ในเวทีทดลอง และเวทีที่สองของบางจังหวัด
  3. ที่ยะลา สถานการณ์วิกฤติของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ เป็น “โอกาส”ที่ครูได้ใช้จิตวิญญาณของความเป็นครูในการสร้างการเรียนรู้และเยียวยานักเรียนไปด้วย
  4. ผู้ประสานงาน หรือ ผู้จัดการในระดับพื้นที่ เป็นผู้ที่เป็น “ต้นแบบ” รวมถึงมีสถานะทางการงานที่ส่งผลต่อความสำเร็จของงาน และทำบทบาทการเชื่อมคน เชื่อมใจได้เป็นอย่างดี บทบาทที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การเชื่อมการเมืองกับการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี ผู้จัดการพื้นที่ของยะลาและขอนแก่นเป็นผู้อำนวยการส่วนการศึกษาของเทศบาลนคร และกำแพงเพชรเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่เป็นครูของครูอีกชั้นหนึ่ง
  5. ทีมงานดำเนินการของจังหวัดยะลา และ ขอนแก่นซึ่งเป็น พนักงานของเทศบาลนครยะลาและขอนแก่นมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเป็นเจ้าภาพร่วมกันทำให้งานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

กระบวนการหลักๆใน 3 จังหวัด ออกแบบมีคล้ายคลึงกัน ดังนี้

1. การพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายครูสอนดี

  • การสร้างแรงบันดาลใจและทัศนคติเชิงบวก (ยกเว้นที่กำแพงเพชร)
  • การพัฒนาทักษะการเป็น Facilitator และ การจัดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • เรียนรู้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21  เชื่อมโยงกับสถานการณ์จริง ผ่านเครื่องมือ PBL,PLC
  • การทดลองจัดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ ถอดบทเรียน เพื่อหา Best practice ในเครือข่ายครูสอนดี

2. ในเวทีที่สอง การถอดบทเรียน (lesson Learned) เพื่อค้นหา Best practice และสรุปบทเรียนการทำ PLC ในโรงเรียนตามโจทย์ที่คุยกันในเวทีที่ 1 ซึ่งตอนนี้มีเพียงจังหวัดเดียวที่ดำเนินการไปแล้ว คือ จ.ยะลา

หารือกับภาคการเมือง ประเด็นการพัฒนาเครือข่ายครูสอนดี ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา 
นายกเทศมนตรีนครยะลา เเละ อธิการบดี มรภ.ยะลา

ผลการดำเนินงาน


ในจังหวัดยะลา มีการดำเนินงานพัฒนาศักภาพเครือข่ายครูสอนดี 2 เวที

  1. เวทีที่ 1 เวที พัฒนาศักยภาพครูสอนดี (แกนนำ และทดลองทำกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้)
  2. เวทีที่ 2 เติมเต็มทักษะ 21st Century Skills โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช และทำเวทีการถอดบทเรียน (Lesson learned) ของเครือข่ายครูสอนดีที่ถูกตัดเลือกมาประมาณร้อยละ 50  

จังหวัดขอนแก่น มีการดำเนินงานพัฒนาศักภาพเครือข่ายครูสอนดี 2 เวที

  1. เวทีที่ 1 เวที พัฒนาศักยภาพครูสอนดี (แกนนำ และทดลองทำกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้) และมอบโจทย์ในพื้นที่
  2. เวทีเฉพาะกิจ ที่รวมเอาครูเทศบาลทั้งหมด 700 คน มาเรียนรู้และวางหมุดหมายร่วมกัน เกี่ยวกับ 21st Century Skills อ่านเรื่องราวที่ "คักอีหลี เมืองขอนแก่น"

จังหวัดกำแพงเพชร มีการดำเนินงานพัฒนาศักภาพเครือข่ายครูสอนดี 1 เวที

  1. เวทีที่ 1 เวที พัฒนาศักยภาพครูสอนดี (แกนนำ และทดลองทำกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้)

 

การจัดการความรู้และการประสานงานเครือข่ายการทำงานในระดับวิทยากรและผู้จัดการระดับจังหวัด

ปรึกษาหารือ ผ่านโทรศัพท์ และ มีกลุ่มเรียนรู้ออนไลน์ใน Facebook ที่เป็นกลุ่มเฉพาะ

จังหวัดยะลา

มีกลุ่ม ครู facilitator ยะลา ใน facebook ซึ่งเป็นกลุ่มการเรียนรู้เฉพาะ  มีสมาชิกกลุ่ม 12 คน (แกนนำ)

URL : http://www.facebook.com/groups/425735167457528/

จังหวัดขอนแก่น

มีกลุ่ม ครูสอนดี นครขอนแก่น  ใน Facebook ซึ่งเป็นกลุ่มเรียนรู้เฉพาะ มีสมาชิก 313 คน

URL: http://www.facebook.com/groups/436178433094126/

จังหวัดกำแพงเพชร

ยังไม่มีพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ แต่มีเวทีประชุมบ่อยครั้งจัดโดย มรภ.กำแพงเพชร 

บทเรียนที่ได้เรียนรู้จากการทำงานของทีมงาน

  1. การเริ่มต้นเวทีเรียนรู้ อาจมีการ SWOT Analysis แบบง่าย เกี่ยวกับสถานการณ์การจัดการศึกษาในพื้นที่ก่อน และ ใช้เป็นต้นทุนในการเชื่อมโยงเรื่องอื่นๆต่อไป
  2. การเรียนรู้ประเด็น 21st Century Skills ที่ง่ายและได้ผลคือ เชื่อมโยงกับสิ่งที่ครูทำอยู่แล้ว และ ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
  3. การเปิดเวทีเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ เช่น การเรียนรู้แบบกลุ่มออนไลน์ จะช่วยให้ติดตามการเติบโต และพัฒนาการการทำงานของเครือข่ายได้อย่างใกล้ชิด
  4. การสร้างแรงบันดาลใจและปรับเปลี่ยนทัศนคติส่งผลต่อบรรยากาศการจัดเวทีพัฒนาศักยภาพโดยตรง ทำให้เกิดพลังในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการเปิดใจกันมากขึ้น รวมไปถึง การสร้างบรรยากาศความสุขในการทำงาน
  5. การวางบทบาทที่สอดคล้องประสานของ ทีมงานวิทยากร เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง วิทยากรเองก็ต้องใช้ทักษะ การสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่เป็น “ต้นแบบ” ของการเรียน การสอน แบบใหม่ รวมไปถึงการใช้ KM ในการดำเนินการของทีมงาน เช่นการ BAR และ AAR กันทุกครั้งเมื่อเริ่มต้นทำงาน และทำงานเสร็จ
  6. การบันทึกบทเรียนเพื่อ สะท้อนประสบการณ์การทำงานร่วมกัน ผ่านบันทึกออนไลน์ เป็นการยืนยันประสบการณ์และเกิดการต่อยอดได้ดี ยกตัวอย่าง บันทึกของวิทยากร และ การโพสข้อความในกลุ่มเรียนรู้ใน Facebook
  7. การเชื่อมต่อเครือข่ายเดิม และ พัฒนาเครือข่ายครูที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ให้เข้มแข็งต่อเนื่อง

ก้าวต่อไปของการขับเคลื่อนการทำงานใน 3 จังหวัด (กำแพงเพชร,ยะลาและขอนแก่น)

  1. มุ่งเน้นการใช้ การจัดการความรู้ ในการเป็นเครื่องมือของการทำงานของเครือข่าย สร้างพื้นที่ “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้”ที่หลากหลาย มีเวทีถอดบทเรียนตามระยะเวลาเพื่อวางหมุดหมายร่วมกัน
  2. สกัดบทเรียนที่เป็นความรู้ฝังลึก (tacit Knowledge) ประเด็น การจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นชุดองค์ความรู้ ต้นทุนของเครือข่ายจังหวัดต่อไป
  3. พัฒนาเครือข่ายที่มีอยู่เดิม เช่น เครือข่าย LLEN ของกำแพงเพชร เครือข่ายครูภาษาอังกฤษ ครูปฐมวัยของยะลา เครือข่ายครูเทศบาลนครขอนแก่น และเครือข่ายโครงการละครเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่มีพื้นที่ซ้อนลงไปใน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยะลา และ ขอนแก่น ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่เป็นการพัฒนาศักยภาพครูสอนดีเพิ่มเติม
  4. มีเวทีการถอดบทเรียน “วิทยากรกระบวนการ” กลางของมูลนิธิสดศรี- มสส. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู่วมกัน หลากหลายช่องทาง มีการตั้ง “หัวปลา”ที่ชัด และ มีพื้นที่ที่แลกเปลี่ยน สกัดบทเรียนการทำงานออกมา

 

ขอบคุณผู้จัดการระดับจังหวัด

  • ผอ.ณรงค์ ชูเพชร จ.ยะลา ผอ.กองการศึกษา เทศบาลนครยะลา พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่
  • ผอ.ยุทธ วงศ์ศิริ จ.ขอนแก่น ผอ.กองการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น  พร้อมด้วย คณะเจ้าหน้าที่ รวมถึง ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่นทั้งหมด
  • รศ.ดร.เรขา อรัญวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.กำแพงเพชร

ขอบคุณทีมงานวิทยากร อ.วีระพงษ์ ทวีศักดิ์,อ.พฤหัส พหลกุลบุตร

ขอบคุณคุณครูทุกท่านครับ

 

 


 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

๑๒/๐๙/๕๕

หมายเลขบันทึก: 502051เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2012 17:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีคะน้องเอก

แค่เห็น หน้าเพจนี้ก็ตื้นตันในแล้วคะ

จะมีเวลาว่างมาทำกับแม่ต้อยบ้างไหมคะ?

แม่ต้อย

สวัสดีครับ เเม่ต้อย

ตอนนี้ผมก็พยายามเตรียมงาน Forum ปลายปีด้วยครับ โดยพยายามเขียนเป็นหนังสือ เล่มนี้หากเสร็จทันปฃลายปี จะยกให้ HA FORUM เป็นหนังสือสำหรับงานครับ ตั้งใจเขียน The art of facilitator อีกเล่มครับ

ส่วนรูปแบบการทำานร่วมกันเเม่ต้อย เดี๋ยวหารือกันนะครับ ผมยินดีมากๆครับ สำหรับการได้รับเกียรติครั้งนี้จากทาง สรพ.อีกครั้งครับผม

 

ขอยืมพื้นที่ของอาจารย์เอกในการขอบคุณครับ

###

ขอบคุณน้องเอก...อาจารย์เอกด้วยนะครับ.....

กับการเดินทางของผม...บ้านโกทูโนว์

และรางวัลสุดคะนึง...

อาจารย์เอก คือ เบื้องหลังความสำเร็จนี้ครับ....

ขอบคุณมากครับ 


สวัสดีปีใหม่นะครับ คุณ จตุพร

สวัสดีปีใหม่ ขอให้มีพลังกายและใจในการทำงานเพื่อสังคมตลอดไปนะครับ

สวัสดีปีใหม่กับเพื่อนรัก G2K ขอให้เรียนรู้ ป. เอก อย่างมีชีวิตชีวาและความสุขมากๆ นะครับ

For my dear teachers who want to share ideas about the way how to success in learning process and prepare our students to go to ASEAN Community.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท