คู่มือดับทุกข์ ๑


และความทุกข์นั้นก็จะไม่หมดไปได้เพราะการไหว้วอนบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆแต่มันจะหมดไปจากใจของท่านได้ ถ้าท่านมีปัญญารู้เท่าทันตามเป็นจริงในสิ่งที่ทำให้ท่านเป็นทุกข์นั้น

    สองวันแล้วที่หนังสือพิมพ์ไม่มีให้อ่านระหว่างการพักกลางวันหรือช่วงพักเบรค หลายคนที่ชอบอ่านหนังสือเลยต้องอ่านฉบับเก่าของวันก่อน อ่านจนกระดาษแทบเปลื่อย

   ที่จริงนอกจากหนังสือพิมพ์แล้วก็มีหนังสือนิตยสารต่างๆในตู้หนังสืออยู่อีกมาก แต่คนส่วนมากก็ไม่ค่อยอ่านหรอก รวมถึงตัวผมด้วย

   วันนี้ผมเลยลองเลือกหามาอ่านดู มีนิตยสารจำพวกแฟชั่น ดารา ทั่วๆไป ผมเจอเล่มเล็กๆเล่มหนึ่งแทรกอยู่ในนั้นชื่อปกว่า คู่มือดับทุกข์ ฉบับสมบูรณ์ ผมเข้าใจว่าเป็นหนังสือประแภทแก้กรรม สแกนกรรมทั่วไปแต่พอเปิดอ่านดูก็วางไม่ลง

   เป็นหนังสือแจกเป็นธรรมทาน รวบรวมโดยใช้ชื่อว่า อิสระ เข้าใจว่าน่าจะเป็นหนังสือที่รวบรวมนำคำสอนของพระคุณเจ้าหรือพระอริยะเจ้าหลายๆท่านมาไว้อย่างน่าอ่าน และที่สำคัญเข้าใจง่าย

   จึงอดใจไม่ได้ที่จะนำมาเผยแผ่เพื่อเป็นธรรมทานต่อไป

   โดยแบ่งเป็นหัวข้อทั้งหมด ๑๐๕ หัวข้อ ร้อยเรียงกันไป ยกตัวอย่างดังนี้

   ๑. จงประพฤติศีล ๕ ให้สมบูรณ์ ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ทุกชนิด,ไม่โขมยสิ่งของๆใคร,ไม่ประพฤติผิดในกาม,ไม่โกหกหลอกลวงใคร และไม่ดื่มหรือเสพสิ่งเสพติดมึนเมา

   ๒. แบ่งเวลาในแต่ละวันให้พอเหมาะพอดีแก่สภาพชีวิตของตัวเอง มีเวลาทำงานเพียงพอ มีเวลาพักผ่อนเพลิดเพลินในครอบครัวตามสมควรสำหรับผู้ที่เป็นฆราวาสและมีเวลาฝึกสมาธิเพื่อทำจิตให้สงบ 

   ๔. วิธีการฝึกสมาธินั้น ขอให้เข้าใจว่า ท่านจะทำจิตให้สงบ ปราศจากความคิดนึกปรุงแต่งในเรื่องภายนอกทุกอย่างชั่วระยะเวลาที่ทำสมาธินั้น ท่านจะไม่ปรารถนาที่จะพบเห็นรูป สี แสง เสียง สวรรค์นรก หรือเทวดาอินทร์พรหมที่ไหน เพราะสมาธิที่แท้จริงจะไม่มีสิ่งเหล่านั้นอยู่ในจิตใจ สมาธิที่แท้จะมีแต่จิตที่สะอาดบริสุทธิ์ และสงบเย็นเท่านั้น

   ๕. ในการฝึกแรกๆนั้น ท่านจะยังนับ หรือกำหนดไม่ได้อย่างสม่ำเสมอหรืออย่างตลอดรอดฝั่ง เพราะมันมักจะมีความคิดต่างๆแรกเข้ามาในจิต ถ้าเป็นอย่างนี้ก้ช่างมัน ให้เข้าใจว่า ฝึกแรกๆมันก็เป็นอย่างนี้เอง แต่ให้ท่านตั้งนาฬิกาเอาไว้ว่าจะทำสมาธินานเท่าไร เริ่มแรกอาจจะสัก ๑๕ นาที อย่างนี้ก็ได้ และให้เฝ้านับหรือกำหนดอยู่จนครบเวลาที่ตั้งไว้ จิตมันจะมีความคิดมากหรือน้อย ก็ช่างมัน ให้พยายามกำหนดนับตามวิธีการที่กล่าวมาแล้วจนครบเวลา ไม่นานนัก จิตมันก็จะหยุดคิดและสงบได่เองของมัน

   ๑๐.   เมื่อจิตสงบเย็น ไม่หงุดหงิดเช่นนั้นแล้ว อย่าหยุดนิ่งเฉยเสีย ให้ท่านเริ่มน้อมจิตเพื่อจะพิจารณาเรื่องราวต่างๆต่อไป ถ้ามีปัญหาชีวิตหรือปัญหาใดๆที่กำลังทำให้ท่านเป็นทุกข์กลัดกลุ้มอยู่ ก็จงน้อมจิตเข้าไปคอดนึกพิจารณาปัญหา ด้วยความสุขุมรอบคอบ ด้วยความมีสติ

   ๑๒. การพิจารณาอยู่ด้วยจิตอันสงบอย่างนี้ การถามหาเหตุผลกับตัวเองอย่างนี้ จิตของท่านมันจะค่อยๆรู้เห็น และเกิดความคิดนึกรู้สึกอันฉลาดขึ้นมาโดยธรรมชาติของมัน จิตจะสามารถเข้าใจต้นสายปลายเหตุของปัญหาต่างๆได้อย่างชัดเจนถูกต้อง นักปฏิบัติจึงต้องพยายามพิจารณาปัญหาต่างๆ อย่างนี้เรื่อยไป หลังจากจิตสงบแล้ว

   ๑๖.  สรุปว่า ท่านจะฝึกสมาธิเพื่อจะเรียกกำลังจิตจากสมาธินั้นไปพัฒนาความคิดนึก หรือความรู้สึกของท่านให้ถูกต้อง ซึ่งความรู้สึกคิดนึกที่ถูกต้องนั้น แท้จริงแล้วก็คือ "ปัญญา" นั่นเอง

   ๑๗. จงจำไว้ว่า ปัญหาอันยิ่งใหญ่ในชีวิตของท่านก็คือความทุกข์ ความกลัดกลุ้มใจ และความทุกข์นั้นก็จะไม่หมดไปได้เพราะการไหว้วอนบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆแต่มันจะหมดไปจากใจของท่านได้ ถ้าท่านมีปัญญารู้เท่าทันตามเป็นจริงในสิ่งที่ทำให้ท่านเป็นทุกข์นั้น

(มีต่อ)

  

  

หมายเลขบันทึก: 502050เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2012 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 สิงหาคม 2013 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

คู่มือนี่แหละครับ สำคัญที่สุด

  • เลือกหนังสืออ่านได้ถูกเล่ม ถูกเวลามากค่ะ ได้แวะมาอ่านช่วงนี้พอดี รู้สึกสบายใจขึ้นค่ะ
 

 Blank Sila Phu-Chaya, Blank อ.นุ, และ Blank โสภณ เปียสนิท.

ขอบคุณกำลังใจในธรรมของทั้งสามท่านครับ

ดับทุกข์เกิดปัญญา

รู้จักแก้ปัญหา

ทุกข์ก็หายไป

เยี่ยมเลยค่ะ

ต่อไปนี้จะได้เลิกกลุ้มใจสักที

 

Blank
ขอบคุณครับ ดีใจที่ธรรมะจะช่วยให้คุณครูหายกลุ้มใจได้ครับ

อนิจจัง!..ทุกขัง!..อนัตตา!.. ไม่เที่ยงหนอ เป็นทุกข์หนอ แปรปรวนหนอ...อามิตตาพุทธ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท