e-Trust ทำอย่างไรให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ


คนไทยส่วนใหญ่ใช้บริการออนไลน์ของภาครัฐอยู่ในระดับค่อนข้างน้อยเพราะขาดความรู้หรือขาดความเชื่อมั่นกันแน่?

 

     นี่คือคำถามที่ผุดขึ้นในใจเมื่อเห็นหัวข้อที่ท่านเสนอมา การให้บริการออนไลน์ของภาครัฐ ทุกอย่างเป็นเรื่องที่ดี สะดวกรวดเร็ว  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการชำระภาษี การออกใบกำกับภาษี การจดสิทธิบัตรแบบออนไลน์ การปรับใช้ในการรักษาพยาบาลโดยสั่งจ่ายยาทางอิเล็กทรอนิกส์ การให้คำปรึกษาแนะนำ ร้องทุกข์และอีกหลาย ๆ อย่างที่ใช้ระบบออนไลน์  ดูเป็นเรื่องที่ทันสมัยล้ำยุค แต่เป็นสิ่งที่คนบางกลุ่มสามารถปฏิบัติได้ถือเป็นส่วนน้อย  ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังงงกับระบบนี้อยู่ ไม่ว่าเกษตรกร แม่ค้า ประชากรระดับชนชั้นและอาชีพตางๆตลอดจนถึงข้าราชการบางส่วน ที่กล้า ๆ กลัว ๆ กับการใช้บริการออนไลนของภาครัฐ  ยิ่งเกี่ยวกับการที่ต้องเสียเงินด้วยแล้ว มันยิ่งยากเกินบรรยาย

      ในฐานะที่ตนเองเป็นนักศึกษาได้ยินได้ฟังการเสียภาษีของคนที่เป็นข้าราชการอยู่ว่ายุ่งยาก เรื่องการชำระภาษีออนไลน์ ถือเป็นเรื่องที่ปฏิบัติอยู่ทุกปี แต่เป็นการยื่นโดยใช้สรรพากรในพื้นที่ออนไลน์ให้  บางท่านก็บอกว่ากลัวทำไม่ถูกแล้วข้อมูลการชำระภาษีของตนเองจะหลุดจากระบบกลายเป็นคนเลี่ยงภาษี เพราะการใช้บริการอินเตอร์เน็ตยื่นภาษีค่อนข้างซับซ้อนหลายขั้นตอน ใช้รหัส พาสเวิร์ดสารพัดระบบเชื่อมต่อ เลยต้องใช้บริการจากหน่วยงานสรรพากรในพื้นที่ แล้วเก็บเอกสารที่ยื่นแล้วกลับบ้าน อย่างนี้แหละค่ะ แล้วชาวบ้านตาดำ ๆ ที่มีรายได้แต่ขาดความรู้ทางเทคโนโลยี จะขนาดไหน(พัวพันไปถึงระบบการศึกษา สถาบันต่าง ๆ ต้องให้ความรู้และ นำไปใช้ได้จริง) ที่มีเงินหน่อยก็จ้างพนักงานทำให้ ก็จบไป แต่ที่นอกเหนือจากนี้ อย่าลืมว่าเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ปัญหาจึงเกิดที่สรรพากรในพื้นที่ เกิดจราจรติดขัดมากในช่วงเดือนของการยื่นแบบ ภงด.ต่าง ๆ

     ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นตัวอย่างเฉพาะเรื่องการเสียภาษีของข้าราชการนะค่ะ แล้วเรื่องอื่น ๆ ไม่ต้องพูดถึง การให้บริการภาครัฐ ต้องทั่วถึง ให้บริการอย่างมั่นใจ โดยจัดแผนกไว้เฉพาะอย่างที่เป็นอยู่ก็ดีแล้ว

คำสำคัญ (Tags): #e-trust
หมายเลขบันทึก: 502045เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2012 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2012 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะคุณโสภณ เปียสนิท ที่ให้ดอกไม้

  • ผลการประเมิน

  • ชื่อเรื่อง 1/2

  • ประโยคเด่น 1/2 (ไม่นำประโยคมาจากบันทึก)

  • ความนำ 3/3

  • เนื้อหา  6/8

  • บทส่งท้ายหรือสรุป 2/3

  • บันทึกที่เกี่ยวข้อง 0/2 (ไม่ใส่)

  • ถูกหักแต้มคำผิด -1 ...อาชีพตางๆ (ต่างๆ)

  • คะแนนรวม 13-1 =12 /20 ระดับ 3 (พอใช้)

  • เกณฑ์การประเมิน คะแนน 0-4 =ระดับ 1 (ควรปรับปรุงอย่างยิ่ง) 5-8 ระดับ 2 (ควรปรับปรุง)9-12 ระดับ 3 (พอใช้) 13-16 ระดับ 4 (ดี) 17-20 ระดับ 5 (ดีเยี่ยม)

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท