ผมนะมือหนึ่ง แต่อุ๊บ มือสองหายไปไหน


     ผมเคยได้ยินข่าวอยู่บ่อยครั้ง ในเรื่องของการทำธุรกิจที่ต้องพึ่งพาความสามารถของคนๆเดียว ที่เจ้าของกิจการค่อยๆ ก่อร่างสร้างตัวขึ้นจากธุรกิจเล็กๆ จนกระทั่งใหญ่โตมโหฬารในช่วงชั่วคนเดียว นั่นแสดงให้เห็นถึงความสามารถของผู้ก่อตั้งอย่างแท้จริง เพราะถ้าไม่เก่งจริงก็คงไม่สามารถทำให้ใหญ่โตและมั่นคงได้ขนาดนั้น แล้วอยู่มาวันหนึ่ง เหมือนพายุร้ายโหมกระหน่ำ เจ้าของกิจการมีอันต้องจากไป แล้วอะไรเกิดขึ้น.....ธุรกิจที่กำลังรุ่งโรจน์อยู่กลับไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้
     ย้อนกลับมาถึงในแวดวงมหาวิทยาลัยบ้าง....
     ในมหาวิทยาลัยหลายๆแห่ง สามารถเป็นแหล่งอ้างอิงด้านงานวิจัยเชิงลึกในบางสาขา ที่เวลาเราพูดถึงเรื่องนั้น ก็ต้องนึกถึงอาจารย์ท่านนั้น ท่านนี้ นั่นก็เป็นความสามารถของอาจารย์เหล่านั้นในการทำวิจัยเชิงลึกจนมีชื่อเสียงเป็นที่ปรากฎ แต่ว่า......หากอาจารย์ท่านนั้นไม่สามารถทำงานต่อไปได้ อย่างเช่น เกษียณงานก่อนกำหนด แล้วมหาวิทยาลัยเหล่านั้น จะยังคงรักษาความสามารถของการวิจัยในเรื่องนั้นๆ อยู่ได้ต่อไปหรือไม่
     คำตอบเรื่องนี้ อยู่ที่การสร้างคน ทำงานด้วยทีมเวิร์ก เป็นเรื่องที่พูดได้ง่าย แต่น่าจะทำได้ยากในระบบราชการ เพราะอะไรนะหรือครับ ก็เพราะว่าการบรรจุตำแหน่งให้ใครสักคนที่มีความเหมาะสม เป็นเรื่องยาก ทำให้เมื่อเวลาพบคนเก่ง คนมีความสามารถ เราก็ไม่สามารถรักษาเขาไว้กับมหาวิทยาลัยได้ ปล่อยให้เขาไปสร้างความเจริญรุ่งเรืองกับองค์กรอื่น ชีวิตในมหาวิทยาลัยที่สร้างคน สอนเด็กขึ้นมา เรารู้ไหมครับ ว่าคนไหนเก่ง คนไหนไม่เก่ง ผมคิดว่าคนที่เป็นอาจารย์สอน น่าจะตอบได้โดยไม่มีข้อโต้แย้ง แต่ก็เพียงรู้ว่าเก่ง รู้ว่าดี ถึงอย่างไรในระบบก็ไม่ง่ายที่จะคัดเลือกเก็บคนเก่งไว้ สร้างความเจริญให้กับมหาวิทยาลัย
     เมื่อคนในระบบราชการมีอยู่จำกัด การสร้างทีมงานด้านการวิจัยจึงเหมือนพึ่งความสามารถเฉพาะตัวของคน แม้จะพูดว่าแต่ละคนมีทีมงานของตัวเองก็ตาม แต่ว่าความสามารถเฉพาะคนของหัวหน้าทีมงาน ก็มักจะโดดเด่นกว่าลูกทีมค่อนข้างมาก  หากเปรียบว่าการทำงานวิจัยของอาจารย์และทีมงาน เป็นการเล่นกีฬากลุ่ม เรากำลังเล่นกีฬาแบบที่พึ่งพาความสามารถเฉพาะตัวของคนเพียงคนเดียว แทนที่จะสนับสนุนให้เก่งกันทั้งทีม  การสนับสนุนให้มีการคัดเลือกคนเก่ง คนมีความสามารถเข้ามาเสริมทีม จึงน่าจะมีความสำคัญต่อการศึกษาวิจัยเชิงลึกแบบยั่งยืน การสร้างตัวตายตัวแทนเพื่อให้คงรักษาความต่อเนื่องของการศึกษาวิจัยเฉพาะเรื่อง ของแต่ละกลุ่มวิจัยจึงน่าเป็นเรื่องต้องคำนึงถึงไม่ใช่น้อย 
     หรือท่านคิดว่าอย่างไร ?
หมายเลขบันทึก: 50158เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2006 07:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เห็นด้วยครับว่าควรทำทั้งทีม
  • ถ้า มือ 1 เกษียณ อย่างน้อย มือ 2,3,4 ก็ยังอยู่ครับ
  • ขอบคุณมากครับผม
  • มีคนมองว่า นโยบายที่ดี สามารถสร้างทีมเวิร์ค
  • แต่ถ้า KPI ทุกตัว ล้วนชี้ไปในทางที่ว่า ทำทีมแล้วอยู่รอดยากกว่าทำเดี่ยว แบบนี้ทีมถ้าเกิดได้ก็ฟลุ้คมาก
  • ลองกลับไปดู KPI ของตัวเองนะครับ ว่าเขาให้ทำเดี่ยว หรือทำทีมกันแน่ ?
  • นโยบายคือความฝัน KPI คือความจริงครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท