การปรับตัวของพระสงฆ์กับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


เพราะฉะนั้น พระสงฆ์ไทยจะต้องเตรียมพร้อมในการพัฒนาตนเองในการเข้าศึกษาอบรมในสถาบันการศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง เพื่อเข้าศึกษาวิชาการต่าง ๆ เช่นวิชาภาษาอังกฤษให้เข้มแข็งเพื่อที่จะนำไปใช้ในการสื่อสารพูดคุยกันกับพระสงฆ์หรือผู้นำทางศาสนาในประเทศกลุ่มอาเซียนทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ความสามัคคี และมิตรภาพที่ดีต่อกันในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในภูมิภาคนี้.

การปรับตัวของพระสงฆ์กับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

(ASEAN Economic Community: AEC)

ต้องยอมรับว่าคนไทยส่วนใหญ่ 90 กว่าเปอร์เซ็น เป็นพุทธศาสนิกชนยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจมาตั้งแต่อดีต พระสงฆ์ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในสามของรัตนะคือสังฆรัตนะ พระสงฆ์เป็นสัญลักษณ์ของผู้นำทางจิตวิญญาณ พระสงฆ์ทั่วประเทศมีประมาณ 300,000 กว่ารูป มีวัดอยู่ทั่วประเทศประมาณ 30,000 กว่าวัด แต่หารู้ไหมว่ามีพระสงฆ์ไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นที่ได้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาคือส่วนที่เหลือไม่มีโอกาสเข้าไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง คือมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(ส่วนของมหานิกาย) และมหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย (ส่วนของธรรมยุตนิกาย) สาเหตุพระสงฆ์ที่ไม่ได้รับโอกาสของการศึกษาตรงนี้ เนื่องจากพระสงฆ์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่วัดต่างจังหวัดหรือวัดที่อยู่ชนบทห่างไกลความเจริญ แต่ก็มีพระสงฆ์ส่วนหนึ่งที่ไม่ให้ความสำคัญในการศึกษาถึงแม้ว่ามีโอกาสที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมได้แต่ก็ละทิ้งโอกาสนั้นเสีย ไม่ยอมพัฒนาตนเองในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมโดยเฉพาะความรู้เรื่องภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมตัวเข้าไปสู่ประชาคมอาเซียน ประเด็นที่ผู้เขียนวิเคราะห์เรื่องพระสงฆ์กับการปรับตัวกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น เนื่องจากประเทศที่เป็นประชาคมอาเซียนหลายประเทศ เช่น พม่า ลาว กัมพูชาและสิงคโปร์ มีวัด มีสถาบันการศึกษาทางพระพุทธศาสนา และประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเหล่านี้ ก็นับถือพระพุทธศาสนา ภาษาที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสารหรือการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการทางพระพุทธศาสนากับพระสงฆ์ในประเทศเหล่านี้ ก็ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารพูดคุยกันในมิติด้านต่าง ๆ  เช่น เรื่องการวางแผนการวางกรอบในการให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษาหรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสังคม ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน ตลอดถึงการวางยุทธศาสตร์ว่าด้วยความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในภูมิภาคอาเซียนนี้  [1] 

ถึงแม้ว่า กลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ยังเป็นเพียงกรอบความตกลงทางการค้า จากเวทีการเจรจาของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งมุ่งเน้นเพียงความร่วมมือทางการค้า เพื่อชะลอการเปิดเสรีฯ ซึ่งสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศยุโรป พยายามจะรุกเข้ามาในตลาดของภูมิภาคนี้ การรวมกลุ่มกันเพื่อความเข้มแข็งจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ด้วยการทำงานร่วมกันอย่างยาวนาน ของอาเซียน มีการส่งเสริมความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในหลายระดับ จึงได้พัฒนาต่อยอดเป็นมากกว่าเรื่องทางการค้า หรือเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังวางรากฐานที่จะเปิดประตูไปสู่ความร่วมมือทางด้านการศึกษาด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนช่วยเหลือกันในมิติทางสังคม การเดินทางไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น

จากประเด็นดังกล่าวจะเห็นว่ากลุ่มประเทศอาเซียน นอกเหนือจากการเจรจาเรื่องการค้าขายในภูมิภาคนี้แล้ว ยังพัฒนาไปมากกว่าเรื่องการค้าขายหรือเศรษฐกิจ นั่นก็คือการเปิดประตูไปสู่ความร่วมมือทางด้านการศึกษา ด้านการส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรมากประเด็นดังกล่าวจะเห็นว่ากลุ่มประเทศอาเซียน นอกเหนือจากการเจรจาเรื่องการค้าขายในภูมิภาคนี้แล้ว และทางด้านสังคม เพราะฉะนั้น พระสงฆ์ไทยจะต้องเตรียมพร้อมในการพัฒนาตนเองในการเข้าศึกษาอบรมในสถาบันการศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง เพื่อเข้าศึกษาวิชาการต่าง ๆ  เช่นวิชาภาษาอังกฤษให้เข้มแข็งเพื่อที่จะนำไปใช้ในการสื่อสารพูดคุยกันกับพระสงฆ์หรือผู้นำทางศาสนาในประเทศกลุ่มอาเซียนทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ความสามัคคี และมิตรภาพที่ดีต่อกันในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในภูมิภาคนี้.

       

 



[1] Mr.Vatcharis www.thailog.org.

หมายเลขบันทึก: 501493เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2012 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2012 12:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท