ปัจจัยแห่งความสำเร็จในงานฝึกอบรมในองค์การเอกชน


เรื่องจริงที่จอมยุทธ์..นักฝึกอบรม ต้องรู้

  ผู้เขียนกำลังร่วมกับทาง Thailand HR Academy ทำโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนานักฝึกอบรมมืออาชีพ โดยรวบรวมประสบการณ์ เทคนิค ทักษะ กรอบความคิดต่างๆ ที่ผู้เขียนได้ลงมือทำทุกวัน บ่มเพาะ ลองถูกลองผิด และตกผลึกกับมัน มาไม่น้อยกว่า 15 ปี เพื่อจะปั้นคนไทยให้เป็นมืออาชีพด้านนี้ให้ได้ รองรับ AEC ครับพี่น้อง

  เราจะเริ่มเรียนรู้ร่วมกันในเดือน พฤศจิกายน 2555 นี้ ซึ่งถือว่าฤกษ์ดีมากๆๆ เพราะผู้เขียนเริ่มว่าง 555555

   ซึ่งเราจะปูพื้นกันด้วยคำตอบของ คำถามที่ว่า "อะไรคือปัจจัยแห่งความสำเร็จในงานฝึกอบรม ?"

   ผู้เขียนพอเรียบเรียงมาฉายให้ท่านในเบื้องต้น เป็นบทกลอนคีย์เวิร์ดสั้นๆว่า "นำกระบวนทัศน์  จัดผู้ใหญ่  แจ่มใสกระบวนการ(ยุทธ์) เก่งประมาณฟ้า-ดิน"

  ฟังดูเป็นหนังจีนใช่ไหมครับ ก็ผู้เขียนชอบหนังจีนหน่ะ ประเภทหนังสงครามโบราณ วางกลศึกซับซ้อนนี่ ชมแล้วเพลินยิ่งกว่าจิบเมรัยไปพลาง ล่องสตาร์ครูซไปพลาง บนผิวเจ้าพระยาริเวอร์ กระนั้น

-         นำกระบวนทัศน์ โดยส่วนใหญ่ตำราฝึกอบรมต่างๆจะสอนว่า การฝึกอบรมคือการเพิ่ม KUSA (ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติ) ใช่ไหมครับ จริงๆแล้วมีความท้าทายที่ซ่อนอยู่เหนือเรื่องนี้ที่เราไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่าครับ ต้องใช้แว่นขยายของนักฝึกอบรมที่ผ่านการหกคะเมน ตีลังกา ล้มลุกคลุกคลานฝ่าเกลี่ยวคลื่นมายาวนานสักหน่อย จึงจะมองเห็นว่าอะไรคือ ความท้าทายนั้น เผยให้ก็ได้ครับ สิ่งนั้นคือ การปรับกระบวนทัศน์(Mind Set)ของผู้บริหารตั้งแต่ระดับสูงสุดจนมาถึงหัวหน้างานระดับต่างๆ เพราะถ้าไม่เข้าใจว่างานฝึกอบรมและพัฒนาคืออะไร มีขั้นตอนอย่างไร แก้ปัญหาเรื่องอะไรได้บ้าง วัดผลอย่างไร? พยายามนำความรู้ ความเข้าใจเหล่านี้ในทุกๆ ลมหายใจในการทำงานของท่าน เติมไปเรื่อยๆทุกวันๆ ให้เกิดอาการ อ๋อเหรอ! เออใช่! ตลอดเวลา เพราะถ้าไม่อย่างนั้น เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมอย่างเราๆ ก็จะกลายเป็นเภสัชกรร้านขายยาที่ต้องจัดยาแก้เฉพาะอาการอย่างไม่หยุดไม่หย่อน หรือหนักกว่านั้นท่านจะได้ปฏิบัติหน้าที่พนักงานดับเพลิงที่ต้องคอยดับไฟฉุกเฉินเร่งด่วน ที่ถูกสั่งมาโดยผู้บริหารที่มีพาวว์อย่างต่อเนื่อง เมื่อท่านดับไฟให้เขาไม่ได้ ท่านก็จะถูกดำเนินกระบวนยุทธ์หลากหลายวิธีจนท่านทนไม่ได้ต้องอัปเปหิตัวเอง ประชดรอยยิ้มของท่านทั้งหลาย..ท้ายที่สุดก็จะกลายเป็นผู้แพ้แบบมึนๆ (เหมือนผู้เขียนเลย 5555)

ท้ายสุดท่านก็จะมานั่งบ่นกับตัวเองว่า “อบรมน่ะโว้ย ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน หรือสามสิบบาทรักษาทุกโรค”

หรือ “คนน่ะไม่ใช่รถดับเพลิงที่จะวิ่งดับไฟ ให้ได้ทุกงาน” ฮ่าๆๆๆ สะใจตัวเอง

     ผู้เขียนใช้คำว่า "นำกระบวนทัศน์" น่ะครับ ไม่ใช่ “ปรับกระบวนทัศน์” คือมันต้องมีกระบวนยุทธ์ ท่วงท่า ลูกล่อลูกชน ของการ “นำ”พอสมควร ไม่ใช่การ “ปรับ หรือ เปลี่ยน” แต่จะเริ่มตั้งแต่ผมปราณที่จุดใด ท่านใดสนใจไปร่วมเรียนรู้ด้วยกันในโปรแกรมอบรมน่ะครับ พูดตรงนี้ไม่หมดหร้อก..มันยาว

     -จัดผู้ใหญ่ หมายถึง จัดหนัก ถ้าจัดเด็ก ก็หมายถึงจัดเบาๆ แต่ถ้าจัดเด็กต่ำกว่า 18 ปีให้ป๋าหล่ะก็มีแต่ ตางตะหริด-ติดตะราง แหละครับ ถ้าเป็นต่างชาติพ่วงคุณสมบัติแม่น้องนางก็ ติดตะราง-คางเหลืองหล่ะครับพี่น้อง

     คือ การเรียนรู้ของผู้ใหญ่กับเด็กไม่เหมือนกัน ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทำตัวเป็นครูไสวในโรงเรียนมัธยมหรือมหาลัยได้ เขกหัว ตีมือ ได้แต่ คุณนันทภพ เจ้าหน้าที่อบรม จะทำตัวเหมือนครูไหว ไม่ได้ เดินมือไขว้หลังตรวจข้อสอบไม่ได้ เพราะประสบการณ์ของผู้ใหญ่และเด็กต่างกัน ดังนั้นเราต้องปฏิบัติต่อผู้ใหญ่อย่างให้ความนับถือประสบการณ์ของเขาอย่างยิ่ง ไม่งั้นเขาจะต่อต้านไม่อยากเรียนรู้และอบรม เมื่อเขาไม่ให้ความร่วมมือ เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมอย่างเราๆ ก็ต้องกลับไม่ดู

     - แจ่มใสกระบวนการ(ยุทธ์) คือ จะใช้คำว่ากระบวนการก็ได้ กระบวนยุทธ์ก็เข้าที เสมือนมีแฟนเป็นสาวสวยสองคน ก็เลยต้องเก็บเธอไว้ทั้งสองคนเหมือนทา ทา ยัง และบัวตูมบัวบานของพี่เป้า สายัณห์ ปานนั้น...(เอ้า ฮา...) กระบวนยุทธ์ของนักฝึกอบรมนี่ ประกอบกันเป็นวงจรคล้ายการตั้งค่ายวิชา 8 ด่านอรหันต์ ของวัดเส้นหลินครับ (เยอะ!อ่ะ) เริ่มแต่ด่าน Training Need-In put-Process-Out put-Motivate-Follow up และก็กลับมาเริ่มต้นที่ Training Need อีกรอบและวนไปใหม่อย่างนี้อีก

      เจ้าหน้าที่อบรมต้องเจนจัดในกระบวนยุทธ์เหล่านี้ ทั้งภาคทฤษฎีและปกิบัติครับ เท่านั้นไม่พอ ต้องปรับใช้ให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของวิทยาการภาคอื่นๆ อย่างรวดเร็วด้วย

      โดยทั่วไประดับบริหารขององค์การเอกชนส่วนใหญ่ เขาจะมีมุมมองว่า การฝึกอบรมคือ การนั่งในห้องแล้วมีคนมาสอน และหลังจากนั้นคนเรียนจะทำตัวดีขึ้นในเรื่องที่ท่านคาดหวัง นี่ท่านมองเห็นแค่ Process ขั้นเดียวครับ อีก 5 ขั้นท่านไม่รู้ว่ามันมีอยู่ ทั้งที่มันมีอยู่จริง เราต้องเข้าไปนำ “กระบวนทัศน์” ท่านอย่างเร่งด่วน ไม่งั้น จมกันกันเรา ท่านและองค์การอันเป็นที่รักยิ่งครับ

     -เก่งประมาณฟ้า-ดิน ในพิชัยสงครามซุนวู บทแรกซึ่งเป็นบทที่สำคัญที่สุดบอกว่า ก่อนจะเริ่มทำสงครามนั้น จะต้องประมาณ ฟ้า-ดิน ก่อน ถ้ายังไม่ผ่านการประมาณการณ์ข้อนี้ อย่าพึ่งตัดสินใจทำสงคราม เพราะสงครามเป็นอะไรที่สิ้นเปลืองมาก ต้องผลาญชีวิตผู้คนและทรัพยากรชาติมหาศาล

      ฟ้า หมายถึง แนวโน้มสภาวะการณ์ต่างๆ ในองค์การเอกชน ก็หมายถึงแนวโน้มการแข่งขันทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง เป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรมองค์การ หรือ Core Value ต่างๆ ที่คิดค้นหรือออกแบบมา รองรับกับการแข่งขันทางธุรกิจหรือ ฟ้า หรือสวรรค์ ที่เปลี่ยนผันไปอย่างต่อเนื่อง นักฝึกอบรมจะต้องอ่านรหัสฟ้าพวกนี้ให้ออก และกำหนด ประเด็นที่จำเป็นนำมาสู่การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานให้ได้ ซึ่งจะต้องกำหนดเป็นแผนระยะยาวไว้อย่างชัดเจน

      ดิน หมายถึง สมรภูมิ หรือจุดที่เรายืนอยู่ ถ้าในทางอบรมผู้เขียน เรียกว่า ความจำเป็นในการฝึกอบรมตามตำแหน่งครับ รวมถึงไอ้พวกกฎหมาย กฎระเบียบทางราชการต่างๆ ข้อกำหนดระบบมาตรฐาน ทักษะที่พนักงานขาด หรือ สัญญาณเรียกรถดับเพลิงต่างๆ พวกนี้เราจะต้องรู้ให้ชัดแจ้ง และกำหนดมาเป็นความจำเป็นการฝึกอบรมให้ได้ อย่างเป็นระบบ

       ผู้ใด (นักฝึกอบรม) ขาดไร้ซึ่งกระบวนยุทธ์ 4 ข้างต้น ท่านว่าอย่าริอ่านออกศึก การประมาณการเช่นนี้ แม้ยังไม่ทำสงครามก็สามารถรู้แพ้รู้ชนะได้ หากท่านต้องการรู้ลึก รู้จริง มาร่วมเรียนรู้ด้วยกันน่ะครับ

     น้อมคารวะงามๆ

คำสำคัญ (Tags): #ปณิธานสามรุ่น
หมายเลขบันทึก: 501490เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2012 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2012 11:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท