ศูนย์ป้องกันการรังแกแห่งชาติ


......................ครูต้องทำตัวเป็นตัวอย่าง ไม่เยาะเย้ยถากถางเด็ก ไม่ทำให้เด็กมีปมด้อย ทำให้เข้าใจกันชัดเจนว่า โรงเรียนต้องการฝึกทักษะความเห็นอกเห็นใจคนอื่น ซึ่งจะมีประโยชน์ในชีวิตอนาคต ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยให้เด็กบางคนเพาะนิสัยโหดร้ายทารุณ รังแกหรือเอาเปรียบผู้อื่น

 

          ผมมีโอกาสทำความรู้จักNational Centre Against Bullyingของออสเตรเลีย    พบแล้วแปลกใจ ว่าที่จริงเรื่องนี้สำคัญมากทีเดียวในสังคมปัจจุบัน   แต่เราไม่ค่อยคิดหาวิธีป้องกันหรือจัดการอย่างเป็นระบบ   และอย่างเป็นวิชาการ

 

          ในเว็บไซต์ดังกล่าว มีส่วนเกี่ยวกับ Prof. DonnaCrossช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้นว่า เขามองประเด็นการรังแกกันระหว่างเด็กๆ อย่างไร

 

          แต่ผมมองด้วยแว่น 21st Century Learning / Skills   ว่าหากโรงเรียนมีวิธีจัดการเรียนแนวใหม่นี้   เด็กจะได้รับการฝึก inter-personal skills, inter-cultural skills   และได้รับการฝึกให้เข้าใจ เห็นอกเห็นใจ คนอื่น    การรังแกกันน่าจะมีน้อยมาก   ผมเคยไปเยี่ยมโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ก็เข้าใจว่านักเรียนที่นั่นคงจะรังแกกันน้อยมาก    แม้การหัวเราะเยาะ เยาะเย้ยถากถางกันก็ไม่มี    เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของ life skills ซึ่งต้องฝึกในกระบวนการเรียนรู้สมัยใหม่ในโรงเรียน

 

           ที่สำคัญคือ ครูต้องทำตัวเป็นตัวอย่าง    ไม่เยาะเย้ยถากถางเด็ก ไม่ทำให้เด็กมีปมด้อย   ทำให้เข้าใจกันชัดเจนว่า โรงเรียนต้องการฝึกทักษะความเห็นอกเห็นใจคนอื่น   ซึ่งจะมีประโยชน์ในชีวิตอนาคต   ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยให้เด็กบางคนเพาะนิสัยโหดร้ายทารุณ รังแกหรือเอาเปรียบผู้อื่น

 

          ผมเชื่อว่าเด็กที่มีความมั่นใจตนเอง   มีความสุขจากการได้ฝึกฝนตนเอง ได้เรียนรู้สิ่งที่ตนใฝ่ฝัน   จะไม่มุ่งรังแกผู้อื่น

 

          นอกจากนั้นการเรียนโดยลงมือทำ ทำเป็นทีม ใน PBL   จะช่วยให้เด็กที่มีแรงบันดาลใจแกมก้าวร้าว ได้ใช้พลังของตนทำสิ่งที่ท้าทาย   เปลี่ยนพลังก้าวร้าวมาเป็นพลังสร้างสรรค์

 

          ความเข้าใจของผมตามข้างบน เป็นการเดาเอาเองทั้งสิ้น   มันจึงเป็นโจทย์วิจัยด้วย   โดยผมไม่มีความรู้ว่าได้มีงานวิจัยเรื่องดังกล่าวแล้วแค่ไหน   เดาว่าคงมีความรู้กันแล้วไม่ใช่น้อย    แต่เดาว่าเป็นความรู้ในบริบทวัฒนธรรมและสังคมฝรั่ง    เดาว่าในบริบทของไทย น่าจะไม่ค่อยมีผลงานวิจัย

 

 

วิจารณ์ พานิช

๘ ส.ค. ๕๕

 

 

หมายเลขบันทึก: 501486เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2012 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กันยายน 2012 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • กราบขอบพระคุณครับสำหรับโจทย์วิจัย

มุมมองของคุณครูเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อเด็กในวัยอนุบาลค่ะ จากประสบการณ์ตรงของสามหนุ่มน้อยที่บ้านกับโรงเรียนชั้นเด็กเล็กที่ออสเตรเลีย พบว่าวิธีการปฏิบัติของครูต่อเด็กๆเป็นต้นแบบของเด็กๆในการที่จะมองเพื่อนๆในแบบที่แต่ละคนเป็น เขาจะสอนให้มองจุดเด่นจุดด้อยแล้วแลกเปลี่ยนกันไม่ใช่แข่งกันค่ะ คนที่เก่งเรื่องอะไรก็จะภูมิใจที่ได้ช่วยเพื่อนในเรื่องที่ตัวเองทำได้ และจะเห็นจุดด้อยเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องช่วยกัน เด็กที่ก้าวร้าวจะได้รับการทำโทษด้วยการ time out แล้วให้เลือกทำสิ่งที่ดีอย่างใดอย่างหนึ่งที่เขาจะได้รับคำชมตามมาเมื่อทำได้ ในวัยเด็กเล็กเขาเน้นการชื่นชมสิ่งที่เด็กทำดีมากกว่าแก้ไขสิ่งที่ไม่ดี คิดว่าคุณครูบ้านเรามีภาระสูงมากเกินกำลัง อาจจะไม่มีเวลาสังเกตเด็กมากเท่าคุณครูที่ออสเตรเลีย (สัดส่วนของครูต่อเด็กต่างกันหลายเท่าค่ะ) การปลูกฝังเรื่องแบบนี้ถ้าทำได้ตั้งแต่วัยอนุบาลแล้ว ดูจะติดตัวเด็กไปตลอด ดีกว่าการมาแก้ในวัยประถม มัธยมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท