สีชัง


        ปีนี้เป็นปีที่ดีมาก ๆ อีกปีหนึ่ง เพราะว่า ลูก ๆ ทั้ง 2 คน กำลังโตและน่ารักมาก ๆ ครับ 555

 

 

        น้องฟ้า ลูกสาวคนเล็กอายุ 4 ขวบเต็ม เป็นเด็กที่คล่องตัว ฉะฉาน น่ารักมาก

 

 

        พี่ภู ลูกชายคนโต ขึ้น ม.1 แล้ว สุขุม และมีจิตใจงามดีมากครับ

 

 

        มีอยู่สิ่งหนึ่งที่พี่ภู ยังไม่เคยไปและไฝ่ฝันอยากไปมากในชีวิต นั่นคือ "ทะเล" เป็นความบังเอิญที่แปลกมากที่ตั้งแต่เกิดมาจน 12 ขวบ พี่ภูยังไม่เคยเล่นน้ำทะเลเลย อาจเป็นเพราะตอนที่เค้าอยู่ในท้องนั้นพ่อกับแม่เคยพาไปเที่ยวทะเลแล้ว หรืออาจจะเป็นเพราะชื่อเค้าก็ไม่รู้่ได้ เขาไปเที่ยว ภูเขาทุกปี หรือ ปีละหลายครั้งแต่ไม่เคยไปเที่ยวทะเลเลย 555

 

        ไฮไลท์ของทริปนี้อยู่ "เกาะสีชัง" ครับ

          

        จริง ๆ ความตั้งใจของบันทึกนี้ จะเขียนเชื่อมโยง "สีชัง" กับ "ธรรมะ" ซึ่งปิ๊งแว็บเมื่อเ้ช้านี้เอง แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเขียนไปถึงตรงนั้นไหมหนอ เพราะมัวเพลินกับภาพสวย ๆ ของลูก ๆ อยู่ 555

         ถ้าสุดท้ายแล้วเขียนไปในธรรมที่มุ่งหวังเผยแผ่เป็นปัจจัยแก่กัลยาณมิตรไม่ได้ ก็เพียงแค่ใ่ส่คำว่า "เกาะ" นำหน้าชื่อ "สีชัง" เดิม ก็ยังใช้ได้ไปอีกทางหนอ 555

 

 

ผู้ีูรู้ท่านว่า :

         จิตที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ จิตที่ผสมอยู่ด้วยอารมณ์ต่าง ๆ ความคิดนึกต่าง ๆ และถูกครอบงำด้วยอวิชชา คือ ความไม่รู้จักจิตตัวเอง
         เหมือนน้ำที่ผสมด้วยสีต่าง ๆ เหมือนระลอกคลื่นของน้ำ ทั้งสีและคลื่นไม่ใช่น้ำ เมื่อใดที่สีและคลื่นที่ปรากฎกับน้ำหายไปจึงจะพบน้ำที่บริสุทธิ์อยู่ที่นั้นเอง
         จิต(เดิม)แท้ ๆ ก็เป็นเช่นนั้น อาการทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่งกันขึ้นมาจึงเกิดเป็นอาการต่าง ๆ ขึ้น ต่อเมื่อหมดเหตุมันก็ไม่มีอะไรให้หมายถึงได้ จะปรากฎแต่ธาตุดังเดิมคือน้ำล้วน จิตล้วน
         เราต้องใช้ปัญญาพิจารณาแยกอาการหวั่นไหวต่าง ๆ ให้ออกไปจากความหลงผิดว่าเป็นตัวเราทั้งหมดก็จะปรากฎธาตุจิตแท้ ๆ ขึ้นมาซึ่งเป็นธรรมชาติธาตุรู้ ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ แม้จะเกิดอาการใด ๆ ขึ้นมาอีกก็จะเป็นเพียงสักว่าล้วน ๆ เท่านั้น ไม่เป็นกิเลสอีกต่อไป เพราะรู้ว่าอะไรเป็นอะไรแล้วจึงไม่ไปยึดถือทุกข์เอามาเป็นตัวตนของเราอีก ปล่อยคืน สลัดคืนธรรมชาตินั้น ๆ ไว้ตามจริง แต่งกันขึ้นมาจึงเกิดเป็นอาการต่าง ๆ ขึ้น ต่อเมื่อหมดเหตุมันก็ไม่มีอะไรให้หมายถึงได้

 


       ใจ(เปรียบดั่งน้ำ) ทำหน้าที่เป็นเครื่องรับ อารมณ์(เปรียบดั่งสี)
ถ้าเป็นอารมณ์ที่ชอบ (สีที่ชอบ) ก็ชอบใจ
ถ้าเป็นอารมณ์ที่ชัง (สีชัง) ก็ไม่พอใจ
เป็น "ธรรมดา" เช่นนั้นเอง

 

        อารมณ์ "ชอบ" วางยากกว่า "ชัง" ทำไมต้องวางอารมณ์? อารมณ์ "ชัง" เห็นตรงกันว่าต้องวาง แล้ว "ชอบ" ต้องวางด้วยหรือ ?

 

        อือ.. ทั้ง ชอบ และ ชัง ต่างก็ "ติดใจ" เรา เมื่อ "ชัง" เข้าสู่้ใจทำให้ "ทุกข์ใจ" หนอ

 

        ใจปกติจะสามารถ "ยอมรับ" ความเป็นจริงได้ทั้ง "ชอบ" และ "ชัง" !

 

                    ยอมรับ -> เห็นชอบ -> สัมมาทิฏฐิ




หมายเลขบันทึก: 501364เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2012 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 

อบอุ่น..จังเลย... "ครอบครัวอุ่นรัก" จริงๆค่ะ

ชอบมากค่ะเกาะสีชัง

มีความเป็นธรรมชาติและเงียบสงบน่าเที่ยว....

ธรรมชาติสวยงาม สงบ น่าอยู่มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท