พระแท้ต้องเหี่ยว นุ่มมือ นุ่มตา กร่อน ปริ และมีพัฒนาการ


ช่างทำพระ แม้จะรู้ตำหนิ รู้จักพิมพ์ รู้ขนาด รู้น้ำหนัก รู้จักสี และลักษณะที่ควรจะเป็น แต่ก็ยังไม่สามารถทำทุกอย่างให้ครบถ้วนในพระองค์เดียวกันได้

หลายวันที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาส่องดูทั้งพระแท้ และพระเก๊ที่ผมมีอยู่ เปรียบเทียบกับพระของท่านอื่นที่มีทั้งในตำรา และระบบอินเตอร์เน็ต

พระแท้

 

ทำให้เห็นความเหมือนและความต่างของพระแท้เนื้อต่างๆ จากพระเก๊ต่างฝีมือ

ที่ผมรู้สึกชื่นชมกับความพยายามของช่างโรงงานทำพระเก๊ ที่มีความพยายามเป็นเลิศ

อ่านมาก เรียนมาก ฝึกมาก พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ใช้เวลาอย่างคุ้มค่ากับผลตอบแทน

โดยการสร้างพระมาตอบสนองระบบตลาดได้ดีมาก

ตลาดไหนใหญ่กว่า ทำได้คุ้มกว่าก็จะทำแบบนั้น

ที่สะท้อนระดับความรู้ของคนในสังคมได้เป็นอย่างดีมาก

โดยพบว่า

พระเก๊ตาเปล่า พระระดับล่าง ยังขายได้ดี ขายได้มาก

กำไรต่อองค์ไม่มาก แต่ก็ได้มากเป็นกอบเป็นกำ จึงผลิตออกมามาก ที่น่าจะเป็นโรงงานที่ใช้เครื่องมือ และความสามารถไม่มากนัก

มีผู้ประกอบการค้าปลีก มีมากทั่วไป ก็ยังอยู่ได้ อย่างไม่น่าเชื่อ มียอดขาย หลักพันถึงหลักหมื่นบาทต่อวัน

ผมลองเลียบเคียงไปถาม ปรากฏว่าขายได้มากกว่าร้านที่ระดับของพระสูงกว่า ราคาแพงกว่า ค่อนข้างมากทุกวัน

เพราะขายเป็นร้อยละ หรือพันละ หรืออย่างน้อยก็โหลละ แถมรับประกันแท้ทุกองค์ ไม่พอใจนำมาเปลี่ยนได้ แต่ไม่คืนเงิน

ผมก็งง ว่า แท้ แปลว่าอะไร ผมไม่เข้าใจความหมายนี้เท่าไหร่ และก็ไม่กล้าถาม

พระเก๊ดูง่าย มีไม่มาก พอขายได้บ้าง ช่างจึงทำมาไม่มากนัก

ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักส่องมือใหม่ ที่ทดลองฝีมือ ทดสอบสายตา เรียกกันทั่วไปว่า ค่าลงทะเบียนเรียน เป็นพระฝีมือหยาบๆ ราคาที่หลักร้อย

คนซื้อจำนวนมากจะเป็นพวกที่ดูพระยังไม่ค่อยเป็น มักจะนำไปแลกกันไปมา หมุนเวียนอยู่ในตลาด ทำกำไรได้บ้างเล็กน้อย พออยู่ได้

พระเก๊ฝีมือปานกลาง ลงทุนมาก ขายได้น้อย ช่างจึงทำมาไม่มาก

เป็นพระที่มีระดับต้นทุนสูงหน่อย ผมพยายามสืบหาเส้นทางเดินของพระกลุ่มนี้ ก็ยังไม่มีความชัดเจน ทุกคนตอบว่า เหมามาจากบ้านบ้าง แลกพระเขามาบ้าง จึงหาต้นกำเนิดของการเดินทางยังไม่ได้

แต่ดูเหมือนจะเป็นพระที่นักส่องสมัยก่อนๆ หรือแม้แต่สมัยนี้ก็ตาม ดูไม่ขาด เก็บไว้ก่อน จึงกลายเป็นพระบ้านไว้ให้คนอื่นเหมาในที่สุด

พระเก๊ฝีมือจัด ลงทุนมาก ทำตามใบสั่งเท่านั้น

เป็นพระที่น่าจะหายากกว่าพระแท้ เพราะจำนวนที่ผลิตขึ้นมา มีน้อยกว่า และมีเป้าหมายการส่งขายชัดเจน ไม่วางขายทั่วไป

จึงแทบจะเป็นพระในตำนานทีเดียว เพราะคนซื้อก็ไม่นำมาหมุนเวียนต่อให้ใคร มีแต่จะเก็บเข้าตู้นิรภัยของธนาคาร

ผมจึงยังไม่เคยเห็นพระกลุ่มนี้จริงๆ แต่อาจจะเคยเห็นโดยไม่ทราบก็เป็นได้

 จึงขอกล่าวถึงเฉพาะพระเก๊ในสามกลุ่มแรก ที่ช่างทำมาจำหน่ายแบบทั่วไป

เท่าที่พบ ช่างทำพระ แม้จะรู้ตำหนิ รู้จักพิมพ์ รู้ขนาด รู้น้ำหนัก รู้จักสี และลักษณะที่ควรจะเป็น

แต่ก็ยังไม่สามารถทำทุกอย่างให้ครบถ้วนในพระองค์เดียวกันได้

นอกจากนี้

พระเก๊ระดับสูงสุดที่ผมเคยเห็นและมีนั้น แม้จะมีลักษณะใกล้เคียงประเด็นดังกล่าวข้างต้นแล้ว

จุดที่ยังห่างไกลมากคือ

พระเก๊

 

ความเหี่ยวของผิว ที่ไม่พบในพระเก๊เลย

อย่างมากที่สุด ก็แต่งให้เป็นริ้วๆ หรือโปะให้ดูเลอะ

พระเก๊

 

เพราะความเหี่ยวที่แท้จริงนั้น ต้องเหี่ยวหลายระดับ ตั้งแต่มองตาเปล่า การส่องด้วยเลนส์ และการส่องด้วยกล้องกำลังขยายสูง จะต้องเหี่ยวทั้งหมดแบบไม่มีระดับจำกัด

เพราะการเหี่ยวนั้นมีทั้งการกร่อน การงอก และการผุพังระดับโมเลกุลขึ้นมา ที่เป็นระดับเล็กและละเอียดกว่าจุลสัณฐาน (Micro scale) ระดับนาโนเมตร

แต่การแต่งผิวพระนั้น อย่างมากก็เป็น ระดับกลางๆ (Meso scale) หรือ ไมโครเมตร แต่ส่วนใหญ่เป็นระดับหยาบๆ (Macro scale) ระดับ มิลลิเมตร ที่เห็นได้ด้วยเลนส์ส่องพระ หรือด้วยตาเปล่าไปเลย สำหรับคนที่มีประสบการณ์สูงพอ

เมื่อทำได้หยาบขนาดนั้น ก็จะทำให้ผิวพระเก๊ดูอย่างไรก็ไม่เหี่ยว เพราะจะดูหยาบๆ

การที่ผิวหยาบๆ ทำให้เมื่อสัมผัสแล้ว จะไม่นุ่มมือ มองโดยรวม ไม่นุ่มตา

พระแท้

 

ที่อาจต้องอาศัยประสบการณ์ให้เกิดทักษะ ก็จะช่วยได้มาก

นอกจากนี้ ยังมีลักษณะที่สังเกตได้โดยง่ายคือ

สภาพการกร่อนของผิว ทำให้มองเห็นเนื้อชั้นใน หรือเห็นเนื้อเป็นชั้นๆได้โดยง่าย

ทำให้มองเห็นที่มาของอายุและวิวัฒนาการของผิวพระ ที่ช่างทำพระมักใช้วิธีโปะทับ อำพรางผิวชั้นใน ที่ทำให้ไม่เห็นชั้นกร่อน แต่กลับเป็นชั้นโปะทับขึ้นมาแทน

และสิ่งที่ไม่พบในพระเก๊คือการปริแยกของขอบแบบนุ่มนวล กลมกลืนกันไปทั้งองค์ แต่ที่ทำปริบ้างจะออกลักษณะหยาบๆ ระแหงใหญ่ๆ ที่แตกต่างจากการปริแบบริ้วละเอียดของพระแท้

สุดท้ายที่พบว่าไม่มีในพระเก๊ก็คือ ไม่มีอะไรที่สามารถอ่านออกมาเป็นพัฒนาการของพระ ทั้งในเชิงของมวลสาร การใช้ การสัมผัสและกาลเวลา ทุกอย่างจะดูเรียบร้อยและใหม่ๆ เหมือนพระที่ยังไม่ผ่านการใช้ ที่ไม่น่าจะเป็นไปได่ในพระแท้ที่มีอายุยาวนาน

 

พระแท้

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 501358เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2012 09:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอบคุณครับ อ. รอยเหี่ยวขอบข้างด้านล่าง ก็น่าสนใจศึกษาดีเหมือนกันนะครับ
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท