ปัญหาดินดานกับงานปลูกอ้อย


ดินดานนั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ

อ้อยจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เพราะเป็นพืชที่ผลิตความหวานนำไปใช้ในการทำขนมนมเนยและเครื่องดื่มนานาชนิด ประเทศที่ปลูกอ้อยและส่งออกน้ำตาลเป็นอันดับต้นๆของโลกคือประเทศที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในเขตร้อนอย่างเช่น บราซิล ออสเตรเลียและไทย ปัจจุบันนอกจากอ้อยจะเป็นพืชที่ใช้ในการตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์แล้วอ้อยยังสามารถตอบสนองต่อเครื่องยนต์กลไกต่างๆ ในรูปของเอธานอลที่สามารถนำไปผสมกับน้ำมันเบนซินในอัตรา10 เปอร์เซ็นต์, 20 เปอร์เซ็นต์ ต่อสัดส่วนน้ำมันตามที่รัฐบาลประกาศหรือตามที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ในรถยนต์มีทั้ง E10, E20 เป็นต้น

เมื่ออ้อยเป็นพืชที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศค่อนข้างมาก จึงทำให้มีผู้สนใจลงทุนปลูกอ้อยกันอุ่นหนาฝาคั่งไม่ว่ารายเล็กรายใหญ่ บริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศไทยก็มีการขยับขยายย้ายการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านเช่าที่ดินปลูกอ้อยกันเป็นหมื่นเป็นแสนไร่  อ้อยนั้นเป็นพืชที่มีรากอาศัยหากินอยู่บริเวณหน้าดินไม่จัดว่าลึกมากนัก แต่ถ้าหน้าดินตื้นเพราะดินชั้นล่างเกิดเป็นดินดานก็จะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของอ้อยโดยตรง ส่งผลให้การเจริญเติบโตช้า ผลผลิตน้อย ความหวาน (C.C.S = Commercial Cane Sugar) ไม่ได้ตามมาตรฐานที่ทางโรงงานกำหนด

ดินดานนั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุแต่ขอยกตัวอย่างที่เห็นชัดเจนพียง 3 ข้อ (1) เกิดจากการไถพรวนในระดับพื้นเดียวกันเป็นระยะเวลานาน ๆ หลายปี ทำให้เกิดดินดานใต้รอยไถ  (2) เกิดจากน้ำหนักของรถแทรกเตอร์ เครื่องจักรกลการเกษตร สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้ดินอัดตัวกันแน่นยิ่งขึ้นและเกิดดินดาน ทำให้โครงสร้างดินเสีย ดินจะดูดซับน้ำได้น้อยลง อ้อยอาหารได้ไม่ไกล (3) ชั้นดินดานเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เมื่อฝนตกน้ำไหลซึมจะละลายอนุภาคของดินและแร่ธาตุให้พัดพาลงไปกับน้ำ ไปเคลือบเม็ดดิน และอุดช่องว่างของดิน ทำให้เกิดชั้นดินดานโดยธรรมชาติ จะสังเกตเห็นได้โดยง่ายเมื่อปลูกพืชต่างๆ หรืออ้อยลงบนพื้นที่ที่เป็นดินดานพืชจะแสดงอาการแคระแกร็น เพราะรากไม่สามารถหาอาหารได้ไกลและลึก

วิธีการแก้ปัญหาแบบเฉพาะหน้าใช้สารละลายดินดาน ALS 29 (แอมโมเนียมลอเรธซัลเฟต) 20 – 30 ซี.ซี.ต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นราดรดให้ทั่วแปลงในพื้นที่ประมาณ 1 งาน หรือ 100 ตารางวา เคล็ดลับจะต้องทำการฉีดพ่นหรือราดรดหลังฝนตกใหม่ๆ เพราะน้ำที่ซึมอยู่ในดินจะช่วยนำพาสารละลายดินดาน ALS29 ให้ลึกลงไปตราบที่น้ำจะซึมผ่านไปได้ ถ้าไม่มีฝนก็ใช้น้ำราดรดดินก่อนให้เปียกชุ่มโชกเหมือนฝนตกก่อนที่จะราดสารละลายดินดาน ALS29 ตามลงไป เทคนิควิธีการแก้ไขไม่ให้เกิดดินดานในระยะยาวให้ใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกหรืออินทรีย์วัตถุ และการใช้หินแร่ภูเขาไฟ (ชื่อการค้า พูมิลซัลเฟอร์ (Zeo PumiceSulpher กิโลกรัมละ 9 – 10 บาท) ใส่เป็นสารอาหารปรับปรุงบำรุงดินราคาถูกเมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมีในอัตรา 20 – 40 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อจำลองพื้นที่ให้เหมือนหินแร่ภูเขาไฟเก่าก็จะช่วยปรับโครงสร้างดินให้มั่นคงแข็งแรง ไม่ถูกน้ำพัดพาจนเสียโครงสร้างดินได้ง่าย

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 500594เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2012 17:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2012 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ความรู้ใหม่ การทำอะไร .... ต้องมีองค์ความรู้ที่ใหม่กว่า....เพื่อนำมาแก้ปัญหาให้ได้นะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท