รางวัลแด่คนช่างฝัน เพียงแค่ความเชื่อมั่น


“หนูอยากมีส่วนช่วยคนอื่นให้ทราบเรื่องการ“รู้ตัว”ในทางโลก”

หลังจากการปรากฏกาย อ้อ ภาพของน้องศิลา ภูชยา ในลุ้คใหม่
เราเองก็ยิ่งติดหนึบกับบันทึกของเธอ

รอยยิ้ม เรียกเรตติ้งและตอกย้ำแบรนด์รอแยลตี้ได้เป็นอย่างดี :-)

 

เมื่อน้องศิลาและพี่นุช พี่สาวแสนงาม คุณนายดอกเตอร์เจ้าเก่า จับมือกันทำเรื่อง Happy Ba

อะไรจะเกิดขึ้น


แฮ่ม เกิดปรากฏการณ์ ความสุขเคลื่อนตัว เคลื่อนไหวจน GotoKnow สะเทือน

ผู้คนคึกคัก มิตรรักแฟนเพลงพากันตีตั๋วจอง เรตติ้งเสนอบันทึกพุ่งกระฉูด

รวมตัวเองด้วย เพราะเป็นคนชื่นชอบ ความสุขที่คุณหาได้อยู่เสมอมา

 

วันหนึ่งจึงคิดถึง สนทนาวิสาสะ (พื้นที่แห่งความสุข)

อย่ากระนั้นเลย ไปลุยอ่านบันทึกของน้องศิลา เป็นรอบที่เท่าไหร่ ไม่แน่ใจ แล้วกดเลือก บันทึกนี้ 

เพื่อนำมาเก็บรวบรวมเป็น ปูมบันทึกแห่งความสุข

ชอบและรักประโยคนี้ จำได้ว่าครั้งแรก ๆ ที่อ่านก็ชอบประโยคเดียวกัน

“หนูอยากมีส่วนช่วยคนอื่นให้ทราบเรื่องการ“รู้ตัว”ในทางโลก”

ทำไมช่างกล้าหาญขนาดนั้น

 

ซึ่งมาตระหนักอีกทีว่า เราเคยอ่านมาแล้ว ฝากร่องรอยมาแล้ว มากกว่าหนึ่งครั้ง

ความคิดเห็นของวันนี้ 25.8.12 ดังนี้ค่ะ

แปลกแต่จริง

ไม่ว่าเวลาผ่านไปนานแค่ไหน บันทึกใดที่เราประทับใจมาก ๆ (มากกว่าบันทึกอื่นของผู้เขียนเดียวกัน ประมาณ0.05 micron :-))

เราก็มักมาอ่านเกินหนึ่งครั้ง และมักมาฝากร่องรอยเกินหนึ่งครั้งเช่นกัน... 

 

มาอ่านบันทึกเรื่องที่ประทับใจ พร้อม ๆ กันอีกหนึ่งครั้งค่ะ

รางวัลแด่คนช่างฝัน เพียงแค่ความเชื่อมั่น

โดยคุณศิลา ภูชยา

 

รางวัลที่ผู้เขียนมักจะได้เสมอ ไม่ใช่กล่อง เหรียญ โล่…แต่เป็นเพียงคำเดียวสั้น ๆ ของท่านอาจารย์หรือผู้รู้ที่เราชื่นชอบ...แม้เพียงไม่กี่คน…ก็เกินพอ คำที่แสดงให้เห็นว่าท่านเข้าใจใน “สิ่งที่เรากำลังมุ่งมั่น” หรือคำที่แสดงว่า “ท่านชื่นชมผลงานของเรา” คือรางวัลแด่ความฝันอันยิ่งใหญ่…


นิยาม "รางวัลแด่คนช่างฝัน" ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน...สำหรับผู้เขียนแล้ว เพียงคำไม่กี่คำก็มีความหมาย...มันคือของขวัญ...รางวัลอันยิ่งใหญ่ นิรันดร์...

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้เขียนได้เจอสิ่งที่ทำให้ต้องกลับมาทบทวนสิ่งที่ผ่านมา...สิ่งที่เคยเกิดขึ้น...ความล้มเหลวคือการเริ่มต้นใหม่ของผู้เขียน

ผู้เขียนได้อ่านป้ายประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ฟังบรรยายธรรมเรื่อง “กฎแห่งกรรม” โดยท่านภิกษุณีธัมมนันทา (ชื่อเดิม รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์) ซึ่งทำให้ผู้เขียน "ตะลึง" ระลึกถึงท่านด้วยความภาคภูมิใจ

ขณะเดียวกันช่วงเวลาแห่งความภูมิใจนั้น ก็ได้นึกถึงเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเสียใจทางการศึกษามากครั้งหนึ่งในชีวิต

 

 

ย้อนไปประมาณ 7-8 ปีเห็นจะได้ ผู้เขียนได้ลองทำ Proposal เสนอโครงการปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง…ที่ใช้คำว่า “ลอง” เพราะไม่เชื่อมั่นความสามารถตนเองว่าพร้อมที่จะทำเค้าโครงงานวิจัยได้มากน้อยแค่ไหน

 

หัวข้องานวิจัยเกี่ยวกับการรู้ตัวเพื่อการพัฒนาจิต…เมื่อเสนอไปแล้ว ปรากฎว่า เจ้าหน้าที่โครงการปริญญาเอก โทร มาเชิญตัวให้เข้าสอบสัมภาษณ์ เพราะเกรงว่าหนังสือเชิญจะมาถึงผู้เขียนล่าช้า…คำพูดสุดท้ายของเจ้าหน้าที่ ทำให้ผู้เขียนปลาบปลื้มใจยิ่งนัก

 

“ท่านอาจารย์ภิกษุณีธัมมนันทา ชื่นชมเค้าโครงวิทยานิพนธ์ของคุณนะคะ ท่านจะบินมาจากศรีลังกาเพื่อมาสอบสัมภาษณ์”

 

ผู้เขียน “หลง” ดีใจจนนอนไม่หลับ เฝ้านับวัน รอวันที่จะได้สอบสัมภาษณ์ในอีกแค่ 2 วัน

 

เมื่อถึงกำหนดวันนัดสอบสัมภาษณ์ ผู้เขียนได้เข้าไปนั่งรอเพื่อเตรียมตัวเข้าห้องสอบสัมภาษณ์ ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่เดินมาบอกว่า

 

“ท่านอาจารย์ภิกษุณีธัมมนันทา ยังอยู่ระหว่างการเดินทางจากศรีลังกามายังประเทศไทย วันพรุ่งนี้ จึงจะมาถึงค่ะ … แต่ดิฉันว่าสัมภาษณ์กับอาจารย์ 4 ท่านที่มีอยู่นี้ก็ได้ น่าจะเหมือนกันค่ะ”

 

ผู้เขียนอึ้ง คิดตอบอะไรไม่ทัน ในใจอยากจะปฏิเสธ เพราะผู้เขียนอยากที่จะให้ท่านอาจารย์ที่ชื่นชอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ของผู้เขียนทำการสัมภาษณ์...ผู้เขียนน่าจะมีสิทธิปฏิเสธการเข้าสัมภาษณ์ในวันนี้ได้... แต่เจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้พูดพล่ามทำเพลง นำผู้เขียนเดินไปพบคณะอาจารย์ผู้สอบสัมภาษณ์ 4 ท่าน

 

คงไม่สามารถบรรยายรายละเอียดของการสัมภาษณ์ครั้งนั้นได้ จินตนาการได้เลยว่าหัวข้อเรื่องที่ลึกซึ้งเช่นนี้ ยากที่จะทำให้ "ใคร" เข้าใจ…แม้ว่าไม่ต้องรอฟังผลออกมา ก็รู้ว่าสอบไม่ผ่าน…แต่นั่นก็ไม่เท่ากับความรู้สึกที่เคยถูกดึงขึ้นสู่ที่สูงแล้วถูกโยนลงต่ำ...

 

หลายท่านที่ผ่านการสอบเค้าโครงหรือสอบวิทยานิพนธ์มาแล้ว คงเข้าใจดี การเข้าสัมภาษณ์โดยไม่มีท่านอาจารย์ใดสักคนที่ "เข้าใจ" แนวคิดพื้นฐานของเรา และไม่ได้สนับสนุนหัวข้อของเราตั้งแต่แรกนั้นเป็นความรู้สึกเช่นไร...เหมือนอยู่ในห้องเย็น ที่เรียกว่า "ห้องดับจิต"...

จึงเป็นความเสียใจทางการศึกษาครั้งแรกและครั้งเดียวในชีวิต...

วันถัดมาหลังการสอบสัมภาษณ์ (ยังไม่ประกาศผล) เจ้าหน้าที่โทร มาบอกว่าให้มาพบท่านอาจารย์ภิกษุณีธัมมนันทา ผู้เขียนก็รู้สึกประหลาดใจ

 

ผู้เขียนไม่ได้คิดว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้อีก แต่ก็อยากมากราบและพบท่านครั้งหนึ่งในชีวิต

 

ผู้เขียนได้มีโอกาสพบท่าน…น้ำตาก็ไหลออกมาอย่างไม่รู้ตัว รู้สึกปิติที่ได้พบมากกว่าการมาคร่ำครวญใด ๆ ...

 

ท่านกล่าวว่า “ขอโทษนะ ที่มาถึงช้า” น้ำเสียงท่านเย็นชื่นใจมาก 

“โยมพอจะทราบแล้วใช่ไหม” 

“หนูทราบแล้วค่ะว่าไม่ได้” 

“ทำไม โยมจึงอยากเสนอหัวข้อนี้”

 

จำได้ว่าตอนนั้น ผู้เขียนร้องไห้ออกมาไม่หยุด แทนที่จะน้ำตาไหลอย่างเดียว...คงเพราะความสะเทือนใจที่ "ไม่ได้ต่อสู้" อย่างเต็มที่ โดยมีท่านอยู่ด้วย 

“หนูอยากมีส่วนช่วยคนอื่นให้ทราบเรื่องการ“รู้ตัว”ในทางโลก”  

ผู้เขียนจำคำพูดทั้งประโยคของท่านไม่ได้ แต่สรุปความได้ว่าท่านบอกว่าอยากช่วยผู้อื่นให้ “รู้ตัว” ทางโลก เราสามารถใช้วิธีอื่นอีกก็ได้ อย่ามาฝากความหวังไว้กับวงการศึกษาในระบบ…ลงท้ายด้วยคำพูด "ให้พร" ผู้เขียน

 

ผู้เขียนได้มีโอกาสสนทนากับท่านไม่กี่ประโยค แต่มีความหมายมาถึงวันนี้ จากนั้นมา ผู้เขียนก็เปลี่ยนสาขาของศาสตร์ที่จะศึกษาใหม่ ไม่คิดจะเรียนต่อระดับปริญญาเอกในสาขาเดิมที่ตั้งใจ

 

เริ่มต้นใหม่กับสาขาใหม่…นี่คือที่มาของคำตอบในหลาย ๆ เรื่องของผู้เขียนที่มีความรู้ในหลากหลายศาสตร์

 

ผู้เขียนตั้งใจว่าคงจะได้มีโอกาสเข้าไปกราบท่านอาจารย์ภิกษุณีธัมมนันทา อีกสักครั้ง

 

ถึงวันนี้ จึงไม่มีคำว่าเสียใจที่พลาดหวังไม่ได้ศึกษาปริญญาเอกในสาขาที่เคยตั้งใจ…มีแต่คำว่าภาคภูมิใจที่สุดในชีวิต

 

อาจารย์หลายท่านในวันนั้น…วันที่สอบสัมภาษณ์…ไม่ให้ความสำคัญกับหัวข้อที่เรานำเสนอ…และไม่ได้เลือกเรา…

 

แต่เพียงท่านเดียวเท่านั้นที่ชื่นชอบเรื่องของเรา…สำหรับผู้เขียนแล้ว มีความหมายและคุณค่าที่สุดในชีวิต…แม้จะต้องแลกกับการไม่ยอมรับของคนอื่นอีกหลายคนก็ยอม…

 

รางวัลที่ผู้เขียนมักจะได้เสมอ ไม่ใช่กล่อง เหรียญ โล่…แต่เป็นเพียงคำ ๆ เดียวสั้น ๆ ของท่านอาจารย์ หรือผู้รู้ที่เราชื่นชอบ…แม้เพียงไม่กี่คน…ก็เกินพอ

 

คำที่แสดงให้เห็นว่าท่านเข้าใจใน “สิ่งที่เรากำลังมุ่งมั่น” หรือคำที่แสดงว่า “ท่านชื่นชมผลงานของเรา” คือรางวัลแด่ความฝันอันยิ่งใหญ่…

สร้างความเชื่อมั่นให้ก้าวเดินต่อไป...มองเห็นทางออกในหลายเส้นทาง...เพื่อมุ่งสู่จุดหมายปลายทางเดียว 

 

- ขอเป็นกำลังใจให้กับคนช่างฝันทุกคน ตราบเท่าที่มีลมหายใจ ไม่มีคำว่ายอมแพ้ -

เรียนเชิญแลกเปลี่ยนประสบการณ์ดี ๆ หรือบทเรียนที่มีค่าร่วมกันได้ค่ะ

 

 

คำสำคัญ (keywords): ความล้มเหลวคือการเริ่มต้นใหม่ของผู้เขียน
· เลขที่บันทึก: 267757
· สร้าง: 12 มิถุนายน 2552 22:43 · แก้ไข: 09 มิถุนายน 2555 16:18
· ผู้อ่าน: 1,596 · ดอกไม้: 1 · ความเห็น: 38 · สร้าง: ประมาณ 3 ปี ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน

 

เรียนเชิญแลกเปลี่ยนประสบการณ์ดี ๆ หรือบทเรียนที่มีค่าร่วมกันได้ค่ะ

ขอคัดลอกจนบรรทัดสุดท้ายว่า

เรียนเชิญ ทุก ๆ ท่าน แสดงความคิดเห็นร่วมกันค่ะ

ขอบคุณค่ะ ภูสุภา

หมายเลขบันทึก: 500075เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2012 18:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2013 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ยัง copy and paste ภาพมาไม่เป็นค่ะ

มีแต่ตัวหนังสือ :-)

เป็นแฟนตัวยงของน้องศิลา เช่นกันค่ะอาจารย์

 

การสอบเค้าโครง ปริญญานิพนธ์ ๑๐ ครั้ง เครียดมาก ๆ จะไม่เอาแล้ว มีน้องคนหนึ่งให้กำลังใจ ...ถ้าไม่มีน้องคนนั้น ผมคงล้มความตั้งใจ..โดยคำพูด สั้น ๆ ที่เป็นกำลังใจ...สวัสดีครับ

Blankน้องศิลา และคุณมนัญญา มีแฟนคลับเยอะแยะ ไหลมาเทมานะคะ

Blankส่งรอยยิ้มและกำลังใจ แฮ่ม ถอดรหัส

Blankคุณแว่นธรรมทอง มีความวิริยะอุตสาหะของตนเองด้วยหรอกนะคะ ดีจังค่ะ

มาขอร่วมเดินทาง

บนเส้นทางฝันด้วยสักคน นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท