"ลอง" ทำวิจัย ได้อย่างไร


 วันนี้ได้อ่านบันทึก ใครว่าข้าราชการสายข,ค. ไม่ต้องทำงานวิจัย  ของคุณ Mitocondria   โดยเฉพาะ  "หากคุณคิดว่าจะเอาดีในอาชีพนี้แล้วล่ะก็ ตอบได้เลยครับว่า งานวิจัยคือคำตอบสุดท้ายของความก้าวหน้าในอาชีพนี้ " และถึงทำงาน Routine ดีขนาดไหนสุดท้ายเงินเดือนก็ตันอยู่ดี

อ่านแล้วเห็นใจคนทำงาน routine จังค่ะ     เพราะตัวอย่างคนใกล้ ๆ  ตัวในภาคก็มีให้เห็น บางคนไหวตัวทันค่ะ ใกล้จะตัน ก็อาจจะลองเขียนคู่มือ แต่ตัวอย่างที่ได้เห็นมาก็อาจจะได้์ค่ะ แต่ต้องใช้เวลาหน่อย แต่ถ้าเป็นวิจัยจะง่ายกว่า พอรู้แบบนี้บางคนหยุดเขียนซะเฉย  ๆ  เคยได้ลองคุยกับบางคน  และได้เคยแนะนำให้ทำวิจัยเหมือนกัน แต่ ดูเหมือนจะแต่ละคนมีเหตุผล 108 ประการเลยค่ะ เป็นต้นว่า...

บางคนกล้า ๆ กลัว แต่ไม่รู้จะ เริ่มต้นต้น "ทำเรื่องอะไร?"   บางคนบอก "เป็นเรื่องยากและ เป็นเรื่องใหญ่" และต้องเขียน "abstract" ภาษาอังกฤษ "ไม่มีเวลา" งาน routine ก็เต็มไหนจะภาระครอบครัวอีก ให้พี่ทำอย่างอื่นดีกว่า เผลอ  ๆ ก็ปลงแล้วล่ะ จะรอ early หรือ รอเกษียณไปเลย และ บางคนยังไปทำธุรกิจอย่างอื่นเสริม ไปเลยก็มี .....

ทั้งๆ  ที่คนเหล่านี้ จะว่ากันไป......สั่งสมประสบการณ์ "การทำงาน" มาอย่างยาวนาน เพียงแต่ ......ขาดประสบการณ์ "การทำวิจัย" เท่านั้นเอง (ประมาณว่าทำงาน Routine มาเกือบ 20 - 25 ปี เชียวน๊ะ อยู่ดี ๆ มาให้ทำงานวิจัยน่ะ)  ผู้เขียนคิดว่าหากเราสนับสนุนคนเหล่านี้ ให้ถูกทางก็น่าจะเป็นขุมกำลัง "R2R" ได้

 แต่เราจะมีวิธี หรือแนวทางอย่างไรล่ะ ????

ให้พวกเขาแค่ได้มีโอกาสลอง "ทำวิจัย" สักครั้ง

เผื่อ   ๆ ว่าพวกเขาจะติดใจ



คำสำคัญ (Tags): #วิจัย#r2r#การทำงาน
หมายเลขบันทึก: 49967เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2006 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
แรงจูงใจของการทำวิจัยมีได้หลากหลายครับ
  • ทำเพราะรัก ทำเพราะหลง ทำเพราะอยากทำ
  • ทำเพราะเงินเดือนจะตัน ก็เลยหาเรื่องมาทำ จะได้ขำเลื่อนซีบ้าง
  • ทำเพราะเพื่อนขอให้ช่วยทำ
  • อื่นๆ อีกมากมาย
สุดท้ายคือเมื่อได้ลองทำแล้ว ชอบไหม บางคนอาจจะชอบ แล้วก็ได้ทำต่อเนื่อง บางคนอาจจะเฉยๆ บางคนอาจจะไม่ชอบ วันหลังอย่ามาชวนฉันอีก นานาจิตตังครับ ก็ไม่ต่างจากการเข้ามารู้จัก gotoknow นี้หรอกครับ หลากหลายเหตุผลในการเข้ามารู้จัก แล้วบางคนก็ผันตัวเองมาเป็นบล็อกเกอร์มือฉกาจ สั่งสมประสพการณ์ในการเขียนเล่าเหตุการณ์ บางคนก็เขียนบ้างไม่เขียนบ้างตามโอกาส บางคนเข้ามาอ่านเฉยๆ แต่ไม่เขียน และอื่นๆ อีกมากมาย ของอย่างนี้มันขึ้นกับความชอบและจริตของแต่ละคน แต่ถ้าจะให้ดี ให้ได้ลองด้วยตัวเองดูก่อนสักครั้งแล้วค่อยตอบว่า ชอบไหม ถ้าชอบก็ทำต่อ ถ้าไม่ชอบ ก็ตัดสินใจเองก็แล้วกัน ว่าจะทำอย่างไรต่อไป
อยากจะทำวิจัยเกี่ยวกับวิชาพละศึกษา (ว่ายน้ำ) เพราะสอนว่ายน้ำนะคะ อยากได้ข้อมูลว่าต้องทำอย่างไร ทำอย่างไง

คุณวรวิภาค๊ะ ขอบคุณค่ะที่ได้ให้เกียรติผู้เขียน ก็ขอบอกตามตรงว่าผู้เขียนมีอาชีพทำ Lab. การเริ่มต้นงานวิจัยก็จากปัญหาหน้างานค่ะ นำมาวิเคราะห์ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

สำหรับวิชาพละศึกษา(การว่ายน้ำ) ก็นำมาผ่านกระบวนการวิทยาศาสตร์หรือทำให้มีตัวชี้วัดได้อย่างไร ก็อาจจะผ่านกระบวนการปรับเปลี่ยน นำปัญหามาวิเคราะห์สังเคราะห์ แล้ววัดผลไม่ว่าจะเป็นจากแบบสอบถามหรือ ระยะเวลาอะไรก็ตามแต่ หรือนำมาประยุกต์ให้เข้ากับเรื่องสุขภาพ ประมาณนั้นจะได้หรือไม่ ? อาจจะลองสอบถามจากผู้รู้ท่านอื่นน๊ะค๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท