ความเป็นมาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2)


วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในปี 2540 ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ทรงคุณค่ามากที่สุดที่เป็นผลมาจากภัยคุกคามของโลกยุคที่ 3 ที่ส่งผลความเสียหายอย่างมากมายมหาศาลโดยตรงต่อประเทศไทย ทำให้เกิดกระแสในการที่คิดจะน้อมนำเอาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประพฤติปฏิบัติ นักปราชญ์ ราชบัณฑิต นักวิชาการ รวมทั้งนักธุรกิจและประชาชนต่างก็เกิดความตื่นตัวในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และมีความเห็นพ้องต้องกันว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้และมีบทบาทนำในการพัฒนาประเทศ

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงมีสายพระเนตรกว้างไกล (Vision) ในการที่ทรงทราบว่าภัยคุกคามอันเกิดจากกระแสโลกาภิวัฒน์อันได้แก่ ทุนนิยม บริโภคนิยม เงินตรานิยม จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อพสกนิกรของพระองค์ ถ้าหากพวกเขาเหล่านั้นไม่มีความรู้เท่าทันในการที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ในที่สุดประเทศชาติก็จะไปไม่รอด และยุทธศาสตร์ที่พระองค์ทรงพระราชทานให้ในการที่จะรับมือกับภัยคุกคามของโลกในยุคที่ 3 ก็คือ เศรษฐกิจพอเพียง  โดยที่พระองค์ทรงได้ทรงโปรดเกล้าพระราชทานแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงตั้งแต่ปี 2517 ดังความที่ได้อัญเชิญพระบรมราโชวาทมากล่าวเอาไว้แล้วข้างต้น และเมื่อปี 2537 ได้ทรงเผยแพร่แนวคิดเรื่อง ทฤษฎีใหม่ซึ่งคือรูปแบบหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้แล้วยังทรงเตือนสติคนไทยอยู่ตลอดเวลาให้ตระหนักและรู้เท่าทันถึงมหัตภัยทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่หามีผู้ใดได้ใส่ใจไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ข้าราชการ นักธุรกิจเอกชน รวมถึงประชาชนทุกหมู่เหล่า จนในที่สุดประเทศไทยก็ได้พบกับสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ปีพุทธศักราช 2540 เป็นปีที่ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ อย่างหนักอย่างที่ไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ของชาติไทย กล่าวคือประเทศไทยโดยรวมมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้ในระยะเวลาอันสั้นต้องปรับค่าของเงินบาทลดลงอย่างมาก สถาบันการเงินและธุรกิจจำนวนมากได้รับความเสียหายและต้องล้มละลายไป ในขณะเดียวกันประชาชนทั่วไปก็ได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากราคาสินค้าและค่าครองชีพได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ทุกคนต้องเดือดร้อน

     วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในปี 2540 ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ทรงคุณค่ามากที่สุดที่เป็นผลมาจากภัยคุกคามของโลกยุคที่ 3 ที่ส่งผลความเสียหายอย่างมากมายมหาศาลโดยตรงต่อประเทศไทย ทำให้เกิดกระแสในการที่คิดจะน้อมนำเอาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประพฤติปฏิบัติ นักปราชญ์ ราชบัณฑิต นักวิชาการ รวมทั้งนักธุรกิจและประชาชนต่างก็เกิดความตื่นตัวในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และมีความเห็นพ้องต้องกันว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้และมีบทบาทนำในการพัฒนาประเทศ แทนที่จะปล่อยให้การเน้นวัตถุเป็นผู้นำอีกต่อไป เป็นเพียงหนทางเดียวที่จะนำมนุษย์ชาติสู่แนวทางพัฒนาสังคมใหม่ที่สอดคล้องกับธรรมชาติ และเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งต่อการทำให้โลกน่าอยู่อย่างแท้จริง เพราะปัจจุบันมนุษย์ได้พัฒนาการทางกายสูงสุดแล้ว หากยังทุ่มพัฒนาด้านนี้ต่อไป ก็ไม่สามารถสร้างผลประโยชน์คุ้มค่าพอที่จะชดเชยกับปัญหาที่ตามมาและกับสิ่งที่สังคมต้องสูญเสียไป ขณะที่มนุษย์ยังอยู่ห่างไกลจากวิวัฒนาการทางจิต ช่องว่างและโอกาสของการพัฒนาทางด้านนี้จึงมีอยู่มาก แนวทางพัฒนาที่ยกระดับคุณภาพจิตมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากแนวพัฒนาเดิมแบบตะวันตกที่เน้นการเจริญเติบโตทางวัตถุ หากมนุษย์ทุ่มเทพัฒนาจิตอย่างจริงจัง ย่อมเรียนรู้ความจริงแท้ของธรรมชาติ และสามารถนำกฎธรรมชาติมาเป็นหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจ ธุรกิจ และสังคมได้ ซึ่งแนวพัฒนาตามธรรมชาตินี้ จะสำเร็จได้ต้องอาศัยหลักพุทธศาสนาที่ใช้กฎธรรมชาติเป็นรากฐานของการพัฒนาจิต อันเป็นแนวทางยกระดับคุณภาพชีวิตที่แท้จริง

หมายเลขบันทึก: 49965เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2006 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • กำลังตามเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ค่ะ
  • ขอบคุณมากๆ สำหรับข้อมูลค่ะ

ด้วยความยินดึครับอาจารย์

ผมบันทึกไว้ตั้งแต่เดือน ก.ย. เห็นว่าไม่ได้รับความสนใจเท่าใดนักจึงหยุดบันทึก ถ้ามันพอจะมีประโยชน์กับอาจารย์บ้าง จะได้บันทึกต่อ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดีนะค่ะ

กำลังหาข้อมูลอยู่พอดี ขอบคุนมากมากเลยนะคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท