อยู่รอด ฤา วิกฤต: ชีวิตและกฏแห่งธรรมชาติ


การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดหรือหายนะแห่งชีวิต ?? (survive or crisis) บนกองขยะที่เป็นผลิตผลของชุมชนเมือง ทั้งนก คน และสิ่งมีชีวิตอื่นๆในระบบนิเวศแห่งนี้…

อยู่รอด ฤา วิกฤต:

ชีวิตและกฏแห่งธรรมชาติ


 

 

เพ่งสายตา....จดจ่อกับภาพเคลื่อนไหวข้างหน้า สีขาวดูคุ้นๆตา เมื่อเราต่างเข้าใกล้ก็เห็นการบินว่อนไปมา  เจ้านกยางนี่เอง ยางควาย (Cattle Egret) เป็นแน่แท้เพราะปากสีเหลือง สมองซีกขวาก็ทำงานทันทีเก็บความรื่นรมย์กับความสวยแปลกตาในอากับกริยาต่าง ๆ ของเหล่านกยางฝูงใหญ่ บ้างก็โผบินไปมา บ้างจิกกินอาหาร บ้างพักผ่อนเกาะอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ที่ดูจะไร้ใบและดูราวกับจะมี “ดอก” สีขาว  นับรวมๆกันประมาณ 1500 ตัวจากการส่องดูด้วยกล้อง ไม่นานนักสมองซีกซ้ายก็ไม่น้อยหน้า ฉุกคิดขึ้นมาว่า นกยางควายมาใช้ชีวิตบนบนกองภูเขามหึมาของขยะได้อย่างไร?? สีขาวโพลนที่เห็นท่ามกลางขยะกล่องโฟม พลาสติกที่กองรายล้อม ดูจะกลืนกันกับขนปีกสีขาวของเจ้ายางควาย บริเวณแหล่งทิ้งขยะจากชุมชนเมือง ...ภาพเหล่านี้ยังชวนคิดเมื่อครั้ง "ครูพื้นที่" นำนักศึกษา ป. โท..เข้าไปพูดคุย ถามไถ่กับผู้คนที่พบเจอใน site งาน และเก็บตัวอย่างน้ำมาศึกษา

 

 


เพ่งพิจารณา..ไม่ไกลกันเป็นกองขยะใหม่ สีเขียวของขยะผักยังปรากฏให้เห็น มี ฝูงวัวจำนวนหนึ่งเข้ามาแทะเล็มเศษอาหารจากกองขยะ อดคิดไม่ได้ว่านี่หรือคือแหล่งอาหารที่เหมาะสมของสัตว์ซึ่งต่อไปจะผ่านเข้าไปในห่วงโซ่ อาหารของคนเรา ?? คิดถึงโรค “Mad cow disease” หรือโรควัวบ้า..ที่ทำให้หลายคนกลัวที่จะกินเนื้อวัว เป็นเพราะการปนเปื้อนในอาหารที่นำไปเลี้ยงวัว .. ส่วนเจ้านกยางควายฝูงนี้ยังคงเฝ้ากินหนอนแมลงวันที่เกิดจากขยะที่ต่างส่งกลิ่น ดึงดูดแมลงวันตัวเต็มวัยเข้ามาวางไข่บนเศษขยะที่ไม่ได้รับการฝังกลบ ความสัมพันธ์เหล่านี้ดูราวกับเป็นวัฏจักร ทั้งหนอนแมลงวัน ขยะเปียกจากชุมชนเมือง โดยมีนกยางเป็นผู้ล่า..


 

ปักษา..นำพาให้คิด... เสียงสะท้อนจากบ้านหนองแรด  ที่ซึ่งถูกจัดเตรียมไว้เป็นแหล่งกำจัดขยะจากชุมชนเมือง  ภาพที่ชินตาของชุมชนที่นี่ ในช่วงเช้ารถขนขยะวิ่งไป-กลับหลายเที่ยว  ความถี่มากบ่งชี้ปริมาณมากของขยะจากครัวเรือนที่เราต่างมีส่วนร่วมกันสร้าง  ขอบคุณชุมชน ที่ยอมเสียสละให้ใช้พื้นที่ และถือโอกาสนี้เชิญชวนผู้สนใจให้มาดูแหล่งทิ้งขยะที่สำคัญไม่น้อยต่อสุขภาวะ ของสังคมและระบบนิเวศโดยภาพรวม  และคงถึงเวลาแห่งการร่วมกันขบคิดว่า ขยะมากมายมหาศาลขนาดนี้และนับวันจะมากขึ้นทุกทีต่อไปจะทิ้งที่ไหน??  เกินกำลังกว่าที่พื้นที่แห่งนี้จะรองรับได้ 




แต่นั่นยังไม่พอ  คงมีคำถามชวนคิดว่า บริเวณที่ทิ้งขยะไว้ได้สร้างมลภาวะอย่างต่อเนื่องต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่??  เป็นสิ่งที่เราท่านจะละเลยกันไม่ได้  บริเวณที่ทิ้งขยะที่ นี้อยู่ติดกับแม่น้ำ เพียงมองข้ามแนวต้นไม้ใหญ่ก็ถึงแล้ว ฝั่งคลองที่ไหลลงสู่อ่าว เป็นแหล่งผลิตอาหารทะเลเพื่อเลี้ยงมนุษยชาติ  หากมีการปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำจากที่นี่ ซึ่งมีทั้งขยะรายวันและขยะเก่านาน ค้างปี เก่าหนึ่งปี เก่าหลายปี และเก่าหนึ่งอาทิตย์ที่ยังไม่ได้ดำเนินการฝังกลบเป็นระบบ ที่ยังคงทิ้งเป็นกองภูเขาไว้อย่างนั้น

 

 


ชวนคิด..อย่างมีสติ....คำถามชวนคิด ...นกยางควาย มีชีวิตที่ปกติสุขในแหล่งอาศัยใกล้นาข้าว จับแมลงที่รบกวนข้าวในนา จับกบ/เขียดในนา หรือหากินใกล้กับสัตว์ใหญ่ที่เดินแทะเล็มหญ้า เพื่อจับกินแมลงที่บินออกมาจากการถูกรบกวนขณะที่สัตว์เคลื่อนที่ ..แต่นกยางฝูงนี้กลับละทิ้งชีวิตแบบเดิมมาใช้ชีวิตใหม่ในแหล่งทิ้งขยะเพื่อหา กินหนอนแมลงวันและอื่นๆ ซึ่งไม่ต้องกินอะไรเพิ่มเติมกว่านี้ก็ยังชีพได้เพราะปริมาณหนอนมีมากพอ มองไปทางไหนก็พบพี่หนอน น้องหนอนและญาติๆของหนอนขนาดนั้น  นี่หล่ะหรือ การปรับตัวเพื่อความอยู่รอด หรือหายนะแห่งชีวิต ?? (survive or crisis)  คุณภาพชีวิตบนกองขยะที่เป็นผลิตผลของชุมชนเมือง  รวมทั้งนก คน และสิ่งมีชีวิต อื่นๆในระบบนิเวศแห่งนี้


 


ชวนคิด... อย่างมีปัญญา ....สิ่งที่เห็นนั้น.. ต้นกำเนิดของปัญหามาจากกิจกรรมของมนุษย์ (anthropogenic activities) หากจะมุ่งสู่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ด้วยแนวทางแห่งปัญญา วิเคราะห์ด้วย "ไตรวัฏฏ์" ที่เรียนรู้จากบันทึกของ "จัตุเศรษฐธรรม" กัลยาณมิตรใน G2K ของเรา (ขอบคุณค่ะ) http://www.gotoknow.org/blogs/posts/497831 ลองนำมาประยุกต์ทำความเข้าใจกรณีนี้ (หากเข้าใจไม่ถูกต้องก็น้อมรับการแก้ไขค่ะ)  มองได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการบริโภคทุกลักษณะ มีความอยาก (กิเลส).. เกิดขึ้น...เป็นเหตุให้สร้างขยะ  และผลต่อเนื่องที่..ตั้งอยู่ ..(กรรม)  หากกระบวนการกำจัดขยะ ไม่ได้รับการตระหนัก และจัดการที่ขาดสุขอนามัย  และผลสุดท้าย...ดับไป.. (วิบาก) เป็นความเสียหายต่อสุขภาพของคน นก สิ่งมีชีวิตอื่นๆ และระบบนิเวศในภาพรวม ..เพราะสิ่งนั้นจึงมีสิ่งนี้...ซึ่งอยู่ร่วมกันตาม..กฎแห่งธรรมชาติ..วงจรนี้ก็หมุนวนต่อเนื่อง...ไม่มีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุด..หากจะแก้ปัญหาแบบยั่งยืน ก็ต้องมีกระบวนการอย่างไรตัดวงจรนี้ด้วย ลด ละ เลิก เสริมสร้าง วัฒนธรรมการบริโภคที่เหมาะสม.....

 

ประจักษ์พยานว่า นก..สะท้อนคุณภาพของ คน และ ระบบนิเวศโดยองค์รวม เป็นภาพที่ชัดเจนขึ้น.. หากจะบอกว่า “I’m not rubbish”;-)) อ่านบันทึกเพิ่มเติมได้ที่..http://burongtani.oas.psu.ac.th/blog/737

 

...อยู่รอด ...อยู่ร่วม ฤา... อยู่อย่างมีความหมาย

...ชีวิตและกฎแห่งธรรมชาติ...



วรรณชไม การถนัด

๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๕

pax vobiscum (๒๑)

หมายเลขบันทึก: 499431เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2012 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2012 12:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)

 ขอบคุณบันทึกคุณภาพคับ (โหล) แก้ว...ที่อาจารย์นำมาถ่ายทอดให้เห็นถึง “วัฏจักร” ที่เชื่อมโยงกันเป็นอย่างมากครับ

           “อยู่รอด ฤา วิกฤต: ชีวิตและกฏแห่งธรรมชาติ” เฉพาะชื่อก็เหมือนมีแม่เหล็กดึงดูดให้เข้ามาค้นหา...และพอเข้ามา...ก็ได้กำไรเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่ากลับออกไป...ได้เห็นถึงการเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว เหมือน “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อกระพือปีก” ทำนองนั้น...

                  ขอบคุณบันทึกดี ๆ ที่อาจารย์นำมาฝากมากครับ

 

อืม...พูดถึงขยะผมมีเรื่องสั้นอยากขอแจมด้วยสักเรื่องนะครับ ขอรบกวนพื้นที่อาจารย์นิดนึงนะครับ (เยอะพอควร...๕๕๕)

 

                                            ขยะ...?

คุณปู่ท่านดูสูงอายุมากแล้วแต่ลักษณะภายนอกที่แข็งแรงเลยดูขัดแย้งกับปัจฉิมวัยของท่านมากทีเดียว วันนี้การจราจรไม่หนาแน่น ท่านขับรถยนต์สบาย ๆ ไม่เร็วนัก หลานชายนั่งด้านหน้าคู่กับท่านส่วนหลานสาวนั่งอยู่ด้านหลัง

            ขับรถยนต์มาไม่นานนักคุณปู่ก็จอด...

           “คุณปู่มาจอดที่โรงงานกำจัดขยะทำไมคะ” หลานสาวแสนสวยถามขึ้นทันทีที่รถยนต์จอดสนิท

           “ก็นี่ไงหละ สถานที่ท่องเที่ยวของเราในวันนี้” คุณปู่พูดขึ้นโดยไม่ได้หันหน้าไปมองหลานสาว

           “คุณปู่ชอบล้อเล่นเรื่อยเลย” หลานสาวยังคงไม่ยอมรับกับคำตอบของคุณปู่

           คุณปู่ยิ้มน้อย ๆ ก่อนหันไปถามหลานชาย

          “หลานเห็นขยะตรงหน้านั่นไหม...รู้สึกยังไง” คุณปู่ถามขึ้นพร้อมชี้มือไปยังภูเขาขยะขนาดมหึมาที่กองอยู่ตรงหน้า

           “รู้สึกว่ามันไม่มีประโยชน์...เป็นสิ่งที่ไม่มีค่าครับ” หลานชายพูดขึ้นเมื่อหันมองตามมือของท่านที่ชี้ไปยังกองขยะที่อยู่ตรงหน้า

          “ใช่แล้วหละ...ขยะพวกนี้เป็นขยะที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เป็นขยะที่มีพิษ ไม่มีประโยชน์และยังมีโทษอีกต่างหาก”

           “มันเหม็นด้วยคะคุณปู่” หลานสาวเสริมขึ้นและก็ทำท่าทางอย่างที่พูดจริง ๆ

           “ใช่แล้วจ๊ะหลาน มันทั้งเน่าทั้งเหม็นทั้งน่าสะอิดสะเอียน แต่ขยะอยู่ ๆ มันเกิดขึ้นมาเองได้เหรอ?” ปู่ย้อนถามยิ้ม ๆ 

           หลานชายกับหลานสาวส่ายหน้า “ไม่ครับ/คะ”

           “มนุษย์ทุกคนบนโลกนี้เป็นผู้สร้างขยะขึ้นมา ลองคิดดูซิว่าในแต่ละวันทั่วโลก จำนวนขยะที่ไร้ประโยชน์เหล่านี้มันจะมีมากมายมหาศาลขนาดไหน ที่เห็นตรงหน้านี้เฉพาะของเมืองเราเท่านั้นมันยังมากมายขนาดนี้” หลานทั้งสองทอดสายตามองกองขยะมหึมาที่อยู่ตรงหน้า หรือจะเรียกว่า ‘ภูเขาขยะ’ น่าจะเหมาะสมกว่า

           “หลานทั้งสอง... รู้ไหมว่าในความเป็นจริงแล้วคน ๆ หนึ่งสามารถสร้างขยะที่ไร้ค่าได้มากมายกว่านี้หลายเท่า โดยที่เราไม่รู้ตัว”

          หลานทั้งสองหันมองหน้ากันแล้วส่ายหน้า ในขณะที่คุณปู่เอานิ้วชี้ไปตรงหัวของท่านเอง

           “ขยะทางความคิด! นี่ยังไงหละ” ท่านตอบ

            “ขยะทางความคิด!” หลานทั้งสองอุทานขึ้นพร้อมกัน

            “ใช่แล้วหลาน คนส่วนใหญ่จะปล่อยให้ความคิดที่เป็นขยะผุดขึ้นมาในหัวสมองทุกวินาที และที่สำคัญไม่มีโรงงานที่จะช่วยกรองขยะเหมือนโรงงานรีไซเคิลหรือโรงงานกำจัดขยะทั่วไป จึงนำพาให้ความคิดขยะเหล่านั้นคลุกเคล้าเกลือกกลั้วไปกับความคิดที่ดีมีประโยชน์ที่มีอยู่เป็นส่วนน้อย ในท้ายที่สุดก็จะกลายไปเป็นขยะที่ไร้ประโยชน์เหมือนกันหมด ความคิดขยะเหล่านี้มีแรงเหวี่ยงมหาศาลที่พร้อมจะทำให้เราสมยอมและตกเป็นทาสของมันอยู่ตลอดเวลา” คุณปู่หยุดเว้นระยะเมื่อเห็นหลานทั้งสองกำลังตั้งใจฟังจึงพูดต่อ

           “ขยะทางความคิดของมนุษย์เป็นสิ่งที่น่ากลัวและเหม็นเน่ายิ่งกว่าขยะที่กองอยู่ตรงหน้านี้มากมายหลายเท่านัก และยังสามารถสร้างมลพิษต่อโลกได้อย่างมากมายมหาศาล!” ท่านอธิบาย

             “ผมยังไม่เข้าใจครับ” หลานชายสารภาพตามตรงเพราะยังงงและไม่เข้าใจในความหมายที่ท่านพูด

            คุณปู่ยิ้มอย่างผู้ใหญ่ใจดี “ขยะที่หมักหมมสั่งสมมาหลายวันกับขยะที่หมักหมมแค่วันเดียว อันไหนมันส่งกลิ่นเหม็นมากกว่ากัน” ท่านไม่ตอบคำถามของหลานชายตรง ๆ

             “แหง...ก็ต้องหลายวันอยู่แล้วคะคุณปู่”หลานสาวพูดขึ้นในขณะที่หลานชายพยักหน้าเห็นด้วย

             “ขยะเหล่านี้ที่เราเห็นอยู่ตรงหน้าถูกนำมากำจัดทำลายไปในแต่ละวัน เรายังรู้สึกเหม็นและขยะแขยงขนาดนี้ แต่ในหัวสมองของคนเราถูกผลิตความคิดที่เป็นขยะซ้ำแล้วซ้ำเล่าหมักหมมมานานนับหลายปี คิดออกไหมว่ามันจะมีกลิ่นเหม็นขนาดไหน”

            หลานทั้งสองมองหน้ากันอีกครั้ง “นึกไม่ออกครับ/คะ”

            “แต่หนูคิดว่ามันคงจะน่าสะอิดสะเอียนกว่านี้มากมายหลายเท่า”หลานสาวทำท่าจะอาเจียนออกมาจริง ๆ

            ปู่ยิ้มนิด ๆ “กลิ่นของมันก็คือ... กลิ่นแห่งความหายนะ! ยังไงหล่ะ”

            “กลิ่นแห่งความหายนะ!” หลานทั้งสองอุทานขึ้นพร้อมกันอีกครั้ง

            “หลานทั้งสองจำไว้นะ ตราบใดที่มนุษย์เรายังไม่สามารถแยกแยะได้ว่า ความคิดไหนเป็นขยะ ความคิดไหนเป็นเพชร ตราบนั้นทั้งขยะและเพชรก็จะเกือกกลั้วถูกคลุกเคล้าเข้าด้วยกันจนแยกไม่ออกว่าอันไหนขยะอันไหนเป็นเพชร ในท้ายที่สุดเพชรก็จะถูกขยะเหล่านั้นบดบังไม่ให้เปล่งรัศมีจนกว่า...” หยุดเว้นระยะ

            “เราจะสามารถสลัดขยะทางความคิดเหล่านั้นให้หมดไป...เมื่อทำได้ตอนนั้นเพชรก็จะกลับมาเจิดจรัสอีกครั้ง” ปู่หยุดพักนิดนึงก่อนพูดต่อด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน

             “หลานทั้งสองโชคดีกว่าหลาย ๆ คนที่มีโรงงานรีไซเคิลและโรงงานคัดแยกขยะรวมถึงโรงงานกำจัดขยะอยู่ในตัว เป็นแต่เพียงว่าในขณะนี้อาจจะเป็นช่วงของวันหยุดเทศกาลที่ค่อนข้างยาวนานไปหน่อย...เลยทำให้โรงงานหยุดพักชั่วคราว” ปู่หยุดยิ้มให้หลานทั้งสอง...ก่อนที่จะทิ้งท้ายว่า

             “แต่อย่าหยุดพักนานนักหละ เดี๋ยวขยะพวกนั้นจะหมักหมมและเละจนแยกไม่ออก และที่สำคัญโรงงานกับเครื่องจักรอาจจะถูกสนิมกัดกินจนชำรุดหรือเสียหาย เลวร้ายอาจจะถึงขั้นที่ต้องปิดโรงงานไปเลยก็ได้ ต้องระวังให้ดีอย่าประมาท!” ท่านย้ำในประโยคสุดท้ายด้วยน้ำเสียงที่จริงจัง

 

 

         เดี๋ยวอาจารย์ค่อยไปใช้สิทธิ์ “ขอคืนพื้นที่” ในครั้งต่อไปก็แล้วกัน...๕๕๕

         อืม...เกือบลืม ขอบคุณมากครับที่ให้เกียรติอ้างถึงงานเขียนของผม...ขอบคุณครับ




ผมเดาว่าในนาข้าววันนี้ไม่มีกบเขียด แมลง เหลือ ให้นกกิน เพราะมันโดนยาพิษฆ่าตายหมด นกยางก็เลยต้องหันมาพึ่งแมลงจากกองขยะ โดยอาศัยวัวเหยียบให้แมลงบินขึ้น วันนี้มีความกังวล (เครียด) ลึกๆว่าตนอาจจะเป็นมะเร็งรายต่อไปเพราะกินอาหารเจือยาพิษมานานแล้ว รัฐมารก็นิ่งเฉยเป็นโคลนไม่รู้ร้อนเหมือนเดิม อีกทั้งไม่เคยมีพรรคการเมืองไหนมีนโยบายด้านนี้อย่างจริงจังเลย

สวัสดีค่ะพี่อาจารย์

นกยางเหล่านี้เป็นนกอพยพหรือนกในพื้นที่คะพี่อาจารย์ อยากบอกให้พวกเขาบินมาไกลอีกหน่อยจะได้กินกุ้งหอยปูปลาแถบใกล้บ้านปริมค่ะ เห็นแล้วสังเวชใจ คล้ายๆกับกลุ่มนกเอี้ยงที่ชอบบินตามรถเก็บขยะ ยังคุยกับเพื่อนๆ ว่าทำไมนะอาหารอื่นๆ ก็มีเยอะแต่มาตามกินขยะคะ

น่าเศร้าใจที่บ้านเราไม่คิดระบบกำจัดขยะที่ดีกว่านี้ หากไม่ทิ้งน้อยลงก็คงต้องทำลายให้เก่งขึ้น อย่างใดอย่างหนึ่งนะคะ

อ่านๆๆ..คิดๆๆๆ..ขยะๆๆ..พยายามเข้าใจ..อะไรกันแน่ที่ว่าเป็นขยะๆๆทั้งเหม็นและหอม..ที่ว่าหอมคือว่า..ทองนิเกิ้ลเป็นต้นและอีกหลายๆอย่างมีการเปลี่ยนคืนกลับจากกองขยะอุตสาหกรรม..แม้แต่กองขยะเหม็นๆก็เพียงเอาพลาสติคผืนใหญ่คลุมมิดชิดก็สามารถ..เก็บพลังงานมาใช้..และแน่นอน..ผลประโยชน์..ย่อมไม่ใช่ผู้น้อยที่ต้องพึ่งภา..ดังเช่น..นกกระยาง..อีแร้งหรือ..วัว..แม้กระทั่งคนที่อาศัยกองขยะอยู่กิน...(ยายธี).

เห็นแล้ว...รู้เลย....อยู่ไม่รอด ครับ

ปัญหาขยะกับสิ่งแวดล้อมไม่เคยหลุดจากวงจรของการแก้ปัญหาได้เลย

หากเรายังไม่หันมาใส่ใจและรักโลกเพิ่มขึ้น...

สวัสดีค่ะอาจารย์ "จัตุเศรษฐธรรม"

ขอบคุณมากที่เข้ามาให้ข้อคิดเห็นคนแรกค่ะ.... ให้พร ..blessing ด้วยการส่งพลังใจมาให้เต็มๆเลยค่ะ ...สาธุๆๆ..จริงๆแล้วนับตั้งแต่ิ่วันที่อ่าน..."วาง ไม้เอก" และอื่นๆก็ได้ขอปวารณาในใจ สมัครเข้ามาเรียนคอร์สของอาจารย์เลย (.. ยังไม่ได้จ่ายค่าเรียนน๊า.. 555!!).. ยกให้เป็น mentor สำหรับ Lifelong spiritual practice นะเนีย.:-))

ชอบมากค่ะ..ที่กรุณา wrap up บันทึกนี้ด้วย เรื่องสั้น "ขยะ" ทำให้เห็นวัฎจักร ครบทั้งภายนอกและภายใน แบบ ..holistic science.. ครบทั้งวงจรเลยค่ะ  เอ.. ผลของ Butterfly effect กับ Chain reaction เนี่ยไปด้วยกันไหม๊่น๊า ทางหลักศาสนาพุทธ.??

ได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากข้อคิดที่อาจารย์เสริมให้....เริ่มจากการเห็น และรับรู้กับสิ่งที่เกิดขึ้นตามบันทึก ความคิดก็ฟุ้งไป ฟุ้งมา  อืมม์...mentor จับมาให้อยู่ในระเบียบ ทำให้ตามรู้ ตามดูความคิดได้ง่ายขึ้น....เลยจบลงด้วย "ขยะ" ได้ที่ได้การแยกแยะและขัดเกลา บ้างนะค่ะ  "ขยะความคิด" ก็น้อยลง...ขอขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ ที่กระชับพื้นที่ให้ :-))

จากภาพ... ความคิดดี..เบื้องต้นเริ่มต้นจากการจัดการระบบฝังกลบขยะ เพื่อต่อไปให้ใช้ประโยชน์จากก๊าชเช่น mehaneที่ดักจับได้ ..แต่สุดท้าย เป็นอย่างที่เห็น ณ แหล่งทิ้งขยะ ..:-((

สวัสดีค่ะ "คนถางทาง"

อย่าเพิ่งเครียดมาก หรือกังวลค่ะ...เป็นห่วงน๊า  ประเดี่ยวไม่มีใครทำไก่ย่างอร่อยที่สุดในโลกให้กิน อิอิ..แถม prototype ของเครื่องย่าง คงได้ออกมาปัดฝุ่น เข้าสู่ระบบการผลิต เพราะเครื่องกำลังเป็นที่ต้องการ ของผู้ประกอบการ.. จะขาดบุคคลสำคัญไปไม่ได้นะค่ะ :-))

เห็นด้วยกะ"คนถางทาง".. ว่า กบ เขียด อาหารของนกในธรรมชาติ ก็เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการปนเ้ปื้อนสารพิษในระบบนิเวศ จากการทำการเกษตรในบ้านเรา ทำให้สัตว์ บางส่วนตาย พิการ หรือต้องปรับตัว เพื่อความอยู่รอด..

จริงๆแล้ว เราดำรงชีวิตท่ามกลางความเสี่ยง ของอันตรายจากสารเคมี (ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อพึงระวัง) จึงต้องจัดการความเสี่ยงทั้งนั้น เพื่อให้ชีวิตเป็นปกติสุขได้  แต่ถ้ารัฐเห็นความสำคัญด้วย จะได้เร่งแก้ปัญหาค่ะ:-))

ข้อคิดจาก "The silent spring ของ Rachel Crason" เขียนไว้น่าสนใจมาก เล่าถึงผลของสารปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่สมัย ดีีดีที เริ่มนำมาใช้  ผลกระทบต่อระบบนิเวศแล้ว น่าสะพรึงกลัว..แม้กระทั่งการมีผลต่อ sex ratio ของสัตว์ในแต่ละกลุ่มด้วย...อดนึกถึงคนเรา ???...ส่วนอีกเล่ม... Our stolen future... สาระคล้ายกัน....  อนาคต ของเราถูกขโมยไปทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา อย่างที่.. "คนถางทาง"..เพิ่งเขียนในบันทึก.... ซึ่งพ่วงถึง "ต้นทุนในชีวิต ทุนทางสังคม" ที่เราถูกขโมยไป แล้วคนรุ่นถัดไปหล่ะ??.. ไม่ว่า ทางเศรษกิจ สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย หรือที่มีอยู่ก็ปนเปื้อนด้วยสารเคมีที่เป็นอันตราย...ชักจะเครียดไปล่ะ ขออภัยค่ะ:-))....

คงต้องมีวิธีดูแลสุขภาพ...ในภาวะที่เราต้องเจอกับมลพิษในรูปแบบต่างๆ  อย่างที่คนถางทางเสนอไว้ในหลายๆบันทึก ..อืมม์ การอ่านบันทึกของ "คนถางทาง"  จบด้วยขำๆ และ หัวเราะ ก็ช่วยได้ด้วยค่ะ :-))

 

จากภาพ..เป็นบ่อที่ควรจะมีกระบวนการฝังกลบขยะให้ถูกวิธี มีท่อดักจับก๊าซ ...ปัจจุบัน มีให้เห็นเป็นอนุสาวรีย์ ว่าครั้งหนึ่งมีความตั้งใจดี ในขณะที่บ่อไกลๆโน้น ฝังกลบรายวันไม่ทัน...(สาระพันปัญหา...)

สวัสดีค่ะ...

น้องปริมค่ะ ...นกยางควายเหล่านี้เป็นนกประจำถิ่นค่ะ .เจอได้ตลอดปีและมีพฤติกรรมเช่นนี้ตลอดปี คู่กับแหล่งทิ้งขยะทีนี่ .นกยางควาย (cattle egret) เค้ายังชีพด้วยการกินแมลง กบ เขียด สัตว์เลื้อยคลานเป็นส่วนใหญ่ค่ะ  ต่างจากนกยางเปีย (little egret) ที่ หากินด้วย อาหารพวกสัตว์น้ำต่างๆ กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ   นกยางควาย เป็นนกยางทีค่อนข้างปรับตัว มาอยู่ใกล้ๆกับบริเวณที่อาศัยของคน มากกว่า นกยางชนิดอื่น  คล้ายๆกับเจ้าเอี้ยงที่หากินในชุมชนเมืองได้ดี จึงเห็นว่ากินขยะอาหารเหลือจากคนได้ ..อย่างที่เป็นข้อสังเกตของน้องปริม...

ปัญหาของขยะ ที่ส่งผลให้เกิดสุขภาวะทั้งของคนและทุกชนิดในระบบนิเวศ เป็นสิ่งที่มีผลกระทบไปด้วยกันเป็นลูกโซ่..  จริงๆแ้ล้ว เท่าที่ทราบ ระบบได้ออกแบบรองรับดีทีเดียว แต่การปฏิบัติไม่เป็นผลค่ะ  จึงเป็นดังที่นำเสนอไป   อีกไม่นานพื้นที่แห่งนี้ก็คงเต็ม จริงๆแล้ว สิ่งที่ดีก็มีค่ะ เช่น บ่อที่ฝังกลบได้ทัน เป็นเรื่องราว...แต่ที่ทิ้งขว้างทำไม่ทัน มีมากกว่า..แอบแฝงด้วย ต้นละหุ่งขึ้นปกคลุม.. มองไม่เห็นขยะ ..

ส่วนระบบบำบัดน้ำ มีบ่อรองรับ leachate และม่อบำบัดก็วางแผนไว้ดี แต่นั่นแหละ อย่างทีเห็นค่ะ ยังดีระบบปั๊มทำงาน สูบน้ำเข้าในบ่อบำบัด ก็ได้แสง และเติมอากาศจากธรรมชาติช่วยได้บ้างค่ะ...เรือ่งของการใช้ประโยชน์ต่อเนื่องเช่นก๊าซที่เกิดขึ้นก็ดูจะมีการคิดถึงและออกแบบไว้ แต่....

เอาภาพ "ต้นไม้&นกยาง" มาฝากค่ะน้องปริม:-)) นกยางควาย.. พักผ่อนหลังจาก อิ่มหนำสำราญด้วย พี่หนอน น้องหนอนมาเ็ต็มๆ ..(เวลาเที่ยงวัน..ณ วันที่เข้าไปที่ site ค่ะ)

สวัสดีค่ะ คุณยายธี...

ขอบพระคุณมากทีแวะมาเยือนและให้ความเห็นค่ะ :-)) จริงๆแล้ว การปรับการรับรุ้ของคนว่า "ไม่ใช่เป็นขยะ" เป็นสิ่งที่รณรงค์กันอยู่ ทำให้มีการลดการสร้าง การคัดแยก และการนำไปใช้้ หรือ หาระบบการจัดการที่ใช้ประโยชน์ต่อเนื่องไปได้ ค่ะ อย่างที่ยายธี กล่าวไว้ พวกโลหะ ก็ไม่เป็นขยะ เพราะนำกลับมาใช้ต่อได้ พวกขยะออร์กานิค เมื่อผ่านขบวนการย่อยสลายก็เกิดก๊าซนำไปใช้ได้ การออกแบบที่เห็น ก็น่าจะเป็นอย่างนั้น แต่ภาพที่ไปเจอมันไม่ใช่ค่ะ

ที่เยอรมัน ยายธีคงสะดวกใจนะค่ะ ที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการ คัดแยก และจัดเก็บได้เป็นระบบ ...ครั้งหนึ่ง..เคยตุหรัดตุเหร่ ไปเที่ยวที่นั่น คนเค้าีมีวินัยมาก แม้แต่ในที่สาธารณะ มีการจัดทิ้งเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็น แก้ว กระป๋องเบียร์ (เมืองเบียร์..นี่นา ทั้งขวดและกระป๋องบรรจุผลิตภัณฑ์ จะมีมาก) แม้แต่ใน UK..การทิ้งขยะเปียก แห้ง จากบ้านเรื่อน มีระบบการจัดเก็บ รวบรวม ในแต่ละอาิิิทิตจ์ไม่เหมือนกัน เป็นการทำงานทิศทางเดียวตั้งแต่ การคัดแยก จัดเเก็บขยะจากบ้านเรือน จนแหล่งทิ้งขยะ Landfill sites

ทางบ้านเราก็เช่นกัน หน่วยงานที่รับผิดชอบก็ทำงานแข่งขันกับ การจัดการปริมาณที่มากขึ้น แต่ไม่ค่อยทันกับปริมาณที่เพิ่มขึ้นมาก และเป็นที่น่าเสียดาย ว่าในบันทึกที่นำเสนอ ในแหล่งทิ้งขยะชุมชนเมือง ซึ่งใช้การฝังกลบ และมีระบบที่ดูว่าวางแผนไว้ดี แต่ก็เป็นเีพียงอนุสรณ์ พื้นพลาสติกอย่างดูที่ปูรองรับ ก็ขาดชำรุด พืชงอกรากชอนไช กลายเป็นบ่อขังน้ำฝน เป็นที่อยู่อาศัยของนกเป็ดน้ำไปซะนี่ แทนที่บ่อนั้นจะได้ใช้เป็นบ่อฝังและมีการนำก๊าซที่ได้มาใช้...นก แมลง คน เลยมา เจอกันบนบันทึกนี้ค่ะ ยายธี...ขอบคุณ คุณยายอีกครั้งในความเห็นที่ชวนคิดเพิ่มขึ้นค่ะ:-))

 

จากภาพ ..แหล่งฝังกลบก็เห็นการดำเนินการ ฝังกลบขยะ ..เพียงบางส่วนค่ะ ขยะเก่ารายปี รายเดือน รายอาทิตย์ รายวัน.. ขยะทั้งนั้น  แ่ต่จะไม่เป็นขยะอีกต่อไป ถ้าบริหารจัดการให้ดี  ถ้าจัดการไม่ดี ก็ส่งผลต่อสุขภาวะทั้งระบบนะค่ะ ...:-))

..สวัสดีค่ะคุณKwancha...จะมาบอกว่า..ที่เยอรมัน..แม้จะมีแผนรับรองอยู่เยอะ..และดูเหมือนมีเงินเยอะ..แต่สภาพและปัญหาที่เมืองไทยมี..ก็จะเห็นอยู่..ทั่วๆไป..แถม..ความเครียดของคนว่างงานไม่มีที่อยู่อาศัย..ตกเป็นทาสแอลกอฮอคนพวกนี้จะเขี้ยงขวดให้แตก..ตามถนนหนทางจักรยาน..ให้ชาวบ้านเดือดร้อนก็มีประจำ.ขยะมีเกลื่อนให้เก็บแบบไม่หวาดไหว...เขาเป็นประเทศที่เริ่มต้น..ทุกอย่างเกี่ยวกับวิทยาการก้าวหน้า..การตามเก็บก็เพิ่งจะเริ่ม..เพราะเริ่มเห็นผลพวงของการกระทำ..และที่เห็นจริงเป็นขยะทุกวันนี้..คือผู้รับวัฒนธรรมนี้ไปใช้.ในโลกที่สาม..ที่เขาเรียกเรา..เมื่อยังไม่พัฒนา...เรื่องของการ..นำพลังแก๊ส..ธรรมชาติ..จาก..กองขยะ..เห็นจากการรายงาน..ข่าว..ที่เขากำลังทำอยู่ ตามหมู่บ้านในอเมริกา..หรือแม้แต่ใน..นิวซีแลนด์ก็มีคนคิดค้น..นำพืชน้ำบางชนิดที่ย่อยน้ำเสีย..และนำไปกลั่นเป็นน้ำมัน..ต่อ..เป็นข่าวที่ได้เห็นมา.."สิ่งที่ควรสังเกตุนั้นคงจะไม่ใช่วิธีการอย่างเดียว.." (หาก..เราคงจะต้องพิจารณา..ด้วยเหตุและปัจจัย.....)และแก้ที่ตรงเหตุ..มิใช่แก้ที่ผล..เป็นแน่...(ยายธีแอบคิด)

  • ตามทฤษฎีไม่ควรมีขยะ....ตามไปอ่านแล้วและเห็นด้วยอย่างมากค่ะ ระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติโดยตัวเองดีอยู่แล้ว มนุษย์เป็นผู้ไปสร้างปัญหาเป็นการก่อกรรมเกิดขึ้นมาก่อ ปัญหาขยะนี้ก็คือทุกข์ ทุกข์นี้ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม สรรพสัตว์ทั้งหลายอันเป็นการก่อกรรมต่อกันไม่จบสิ้น สุดท้ายมนุษย์ก็รับกรรมที่ตนเองก่อไว้
  • ถ้าไม่แก้ที่ตัวผู้กระทำ (มนุษย์) ระบบนิเวศน์ก็จะยิ่งแย่ลงเรื่อย ๆ ลูกหลานก็จะอยู่ยากลำบากขึ้น
  • ความโลภ (บริโภคนิยม) ทำให้เกิดปรากฎการณ์นี้ค่ะ และควาหลง (คิดเราเหนือธรรมชาติ) ทำให้เราสร้างสิ่งต่าง ๆ มากมายที่ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นได้ชัดเลยว่าตอนลงพื้นที่ภาคใต้ พี่ ๆ น้อง ๆ นักต่อสู้เพื่อนุรักษ์ฯ ทะเล เอาชีวิตแลกอย่างไร (พูดถึงตอนนี้แล้วแสบจมูกขึ้นมาเลยค่ะ) เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ทางทะเลไว้ การสร้างท่าเรือและสะพานยาว ๆ ออกไปเพื่อการขนส่งทำลายระบบการไหลเวียนของน้ำทะเล และทิศทางการเดินทางของสัตว์น้ำเปลี่ยนไป
  • หากจะแก้ ก็ต้องแก้ที่กิเลสมนุษย์เอง...อืม...คงทำได้แค่สอนลูกหลาน เยาวชนแทนเท่านั้นค่ะ ผู้ใหญ่ด้วยกันคงไม่ฟังแล้ว
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกตื่นรู้ให้แง่คิดในชีวิตและธรรมชาติค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ชยันต์...... ขอบคุณค่ะ ที่แวะมาทักทายและให้ความเห็นที่มีประโยชน์ ...เห็นอย่างนี้แล้ว ถ้าไม่แก้ปัญหา ก็น่าจะอยู่ไ่ม่รอดนะค่ะ...   ซึ่งกระบวนการแก้ปัญหา เป็นไปอย่างช้ามากค่ะ ทั้งระดับนโยบายและฝ่ายปฏิบัติการ...ต้องแก้ที่มนุษย์ผู้สร้างปัญหา นั่นแหล่ะค่ะ ตรงจุดตรงประเด็น :-))

สิ่งที่ทำควบคู่กันไป กับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ก็คือ การให้ความรู้ เรียนกันหน้างาน ในห้องเรียนธรมชาติ ได้รับรู้ทุกสัมผัส กรณีนี้ จึงนำนักศึกษา ซึ่งเป็นผู้ที่มีพื้นเพที่นี่ ได้ลงไปยังพื้นที่ เห็นสภาพจริงๆ ก็จะได้เรียนรู้ถึงสาเหตุ และ ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบนิเวศ และความสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อกัน ส่งผลในระยะยาวค่ะ :-))

สวัสดีค่ะคุณ krugui...ขอบคุณที่แวะมาทักทายและให้ความเห็นไว้ช่วยกันขบคิด

"ปัญหาขยะกับสิ่งแวดล้อมไม่เคยหลุดจากวงจรของการแก้ปัญหาได้เลย

หากเรายังไม่หันมาใส่ใจและรักโลกเพิ่มขึ้น..."

เห็นด้วยค่ะ ...และการมีขยะ ก็เป็นเรื่องของปกติ ในธรรมชาติ แต่ถ้ามากและเป็นภาระในทุกๆเรื่องที่ตามมา ก็ต้องพิจารณาที่ ตัวเราแล้วหล่ะค่ะ เพราะหากเราใส่ใจ.. ถึงแม้มีขยะ ก็จะจัดการทำให้ไม่มีไปได้..:-))

สวัสดีค่ะ คุณยายธี ....ขอบพระคุณค่ะ ที่กรุณาเข้ามาแลกเปลี่ยนอีกครั้ง..

ค่ะ..เห็นด้วยกับคุณยายนะค่ะ ทุกอย่าง แก้ไปตามเหตุและปัจจัย แก้ตรงที่ " เหตุ" เป็นสิ่งที่พึงกระทำ แต่โดยส่วนใหญ่ก็มักจะแก้กันที่ "ปลายเหตุ" หรือ "ผล" จึงพากันตกอยู่ในบ่วงกรรม (การกระทำ) ที่ส่งผลกันต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่ :-((

ค่ะโครงการนี้เห็นได้ชัดว่า เป็นขยะที่รับแนวคิดมา เพราะทราบมาว่า เป็นโปรเจคของต่างประเทศให้ทุนมาสร้าง ก็จบลงอย่างทีเห็น ค่ะ..ไม่รู้ทั้งตัวองค์ความรู้ "เทคโนโลยี" และ ธรรมชาตินิสัยของผู้คนที่เกี่ยวข้อง

โดยส่วนตัว ขณะนี้กำลังลองเลี้ยง ไส้เืดือนค่ะ ยายธี ..ถ้าเป็นไปตามทีฝันไว้ ..ต่อไปจะแจกไส้เดือน กำจัดขยะออร์กานิค ..เพราะธรรมชาติของไส้เดือนทำหน้าที่ส่วนนี้ได้ดี แต่ถ้าเป็นผักปนเปื้อนด้วยสารพิษ..อย่างนี้ก็ต้องร้องว่า Oh dear..poor little creature..:-)) แต่ไม่เป็นไรด้วยแนวคิดที่ว่า นก วัว คน ไส้เดือน ฯลฯ จะอยู่ร่วมกันบนโลกใบน้อยได้ เราต้องช่วยกัน ค่ะ :-))

 

สวัสดีค่ะ อาจารย์Sila...อืมม์..จะทักทายว่า Happy Ba ได้ไหม๊เ่อ่ย??..บันทึกนี้ดูจะเพิ่มความเครียดไหม๊น๊า :-))

ชอบมากเลยค่ะ กับความเห็นของอาจารย์ที่ ตรงจุดตรงประเด็น.. right to the point มองเห็นสภาวะธรรม ตามที่เป็น :-))

" ความโลภ (บริโภคนิยม) ทำให้เกิดปรากฎการณ์นี้ค่ะ และความหลง (คิดเราเหนือธรรมชาติ) ทำให้เราสร้างสิ่งต่าง ๆ มากมายที่ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม"

"หากจะแก้ ก็ต้องแก้ที่กิเลสมนุษย์เอง...อืม...คงทำได้แค่สอนลูกหลาน เยาวชนแทนเท่านั้นค่ะ ผู้ใหญ่ด้วยกันคงไม่ฟังแล้ว"

โดยส่วนตัว..เพิ่งเข้ามาติดตามงานของอาจารย์ ไม่นาน..เห็นได้ชัดนะค่ะ อาจารย์ได้ร่วมต่อสู้ ให้ความช่วยเหลืออย่างกัลยาณมิตร "พี่แกนนำ"  ด้วยวิชาชีพของอาจารย์เพื่อผดุงสิทธิ์บนความถูกต้อง ให้กับพี่น้องที่ เคารพและหวงแหน ระบบนิเวศ ซึ่งเป็น "ต้นทุนทางชีวิต" ที่ต้องอนุรักษ์ไว้ ..น่าชื่นชมจากใจจริงค่ะอาจารย์ :-))

 

ที่นี่นอกจากงานประจำ เราก็จะร่วมด้วยช่วยกันในลักษณะนี้ค่ะ เพราะมีเครือข่ายเรียนรู้ท้องถิ่น  แต่อาจจะเบาลงมาหน่อย เพราะจับงานเยาวชนค่ะ เน้นการสร้างจิตสำนึกรักษ์พื้นที่ ครั้งหนึ่งได้ร่วมฟังกระบวนการต่อสู้ของพี่น้องในพื้นที่ชายฝั่งที่เป็นปัญหา แถวจะนะ ที่มีสร้างท่าเรือออกไป  เอาหินมาทิ้ง กระแสน้ำเปลี่ยน  ชาวประมงที่เค้ายังชีพด้วยความละเอียดอ่อนของสิ่งเหล่านี้ ทราบดีถึงผลกระทบที่จะเิกิดขึ้น  หากแต่นักวิชาการ หรือที่ปรึกษาโครงการ ถ้าพลาด (ซึ่งส่วนใหญ่พลาด) ก็จะนำมาซึ่งหายนะของระบบนิเวศค่ะ  และกว่าจะฟื้นตัวได้ ใช้เวลาไม่น้อยเลย   ฟังเค้าเล่าแล้วเห็นถึงความปวดร้าว...แม้กระทั่งเรือที่เคยออกหาปลา ยามเมื่อกลับเข้่าฝั่ง ที่ซึ่งเคยจอดเรือได้ ผูกเรือไว้ได้ กลับทำได้ไม่ได้อีกต่อไป  ชายหาดที่เคยมี ยามย่างเดินบนทราย นุ่มเท้า ก็ไม่มีอีกต่อไป เพระชายฝั่งถูกเซาะจนสูงชัน ไม่มีหาดค่อยๆลดความชัน  เห็นการเปลี่ยนแปลงแม้เพียง...ไม่ต้องพูดเป็นกี่ชั่วคน พูดเป็นจากวัยรุ่น เป็นวัยหนุ่ม  ซึ่งไม่นานมากเลย  ...ชาวบ้านนักอนุรักษ์เล่าให้เยาวชนฟัง ด้วยสายตากร้าวบ่งบอกการต่อสุ้ที่ไม่ยอมแพ้ บนความถูกต้อง แม้ขั้นตอนการฟ้องร้องรัฐยังอยู่ในกระบวนการศาล (ไม่ได้ไปนานมากแล้วค่ะ ติดงานเยาวชนทางนี้)  เลยเข้าใจว่าอาจารย์ Sila รู้สึกอย่างไรกับการต่อสู้ของประมงพื้นบ้าน ทีอนุรักษ์ทะเลไว้ หรืองานอื่นๆในบันทึกและอนุทินของอาจารย์

ขอบคุณค่ะที่ได้เล่าเรื่องแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันค่ะ.. ตื่นรู้ด้วย..ธรรมะและธรรมชาติ

 

* จิตสำนึกของชุมชนเช่นนี้ จักสร้างวงจรทำลายตนเองไปในที่สุด..

* อยากชวนไปดูงานที่นี่ด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ใหญ่ (ขออนุญาติเรียกพี่ใหญ่นะค่ะ ....เข้ามาเป็นสมาชิกบ้านนี้พอสมควร ก็รับรู้ถึงเมตตาจากพี่ที่ส่งมาถึงค่ะ)

ขอบคุณที่พี่ใหญ่แวะมาเยี่ยมทักทายและให้ความคิดเป็นกำลังใจให้กับคนทำงานเกี่ยวกับชุมชนค่ะ ขอบคุณที่แนะนำโครงการที่ดีๆของน้องๆค่ะ ต้นกล้าวันหนึ่งต้องเติบใหญ่นะค่ะ รอการบ่มเพาะที่ดี :-))

" ความโลภ (บริโภคนิยม) ทำให้เกิดปรากฎการณ์นี้ค่ะ และความหลง (คิดเราเหนือธรรมชาติ) ทำให้เราสร้างสิ่งต่าง ๆ มากมายที่ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม"

 

          อืม...พูดถึงประเด็นความโลภแล้ว...มาขออนุญาตใช้พื้นที่มองในมิติด้านเศรษฐศาสตร์อีกนิดนะครับอาจารย์

 

        ท่านโมฮันดาส คานธี (Mohandas Gandhi, ค.ศ. ๑๘๖๙ – ๑๙๔๘) ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น “มหาตมะ (Mahatma)” หรือบิดาของชาติอินเดีย ท่านได้กล่าวอมตะวาจาที่มีคุณค่า ไม่มีล้าสมัย เอาไว้ว่า

 

“There is a sufficiency in the world for man's need but not for man's greed.”

หรือ

“ทรัพยากรในโลกมีเพียงพอต่อคนทั้งโลก แต่ไม่เพียงพอต่อคนโลภเพียงคนเดียว”

 

           เมื่อทรัพยากรเป็นตัวแปรหรือเหตุปัจจัยที่สำคัญในการยับยั้งหรือระงับเพื่อจัดระเบียบความต้องการของมวลมนุษย์ไม่ให้เหยียบคันเร่งวิ่งไล่กวดเพื่อหาวัตถุ (สินค้า) มาสนองตอบอย่างไร้สติหรือที่เรียกว่าเป็นภาวะที่เกิดสุญญากาศทางสติ ความพยายามแก้ไขปัญหาจากการถูกบังคับ บีบคั้นทางด้านความจำกัดของทรัพยากรดังกล่าว ทำให้มนุษย์ศึกษา ค้นคว้าเพื่อที่จะหาทางก้าวข้ามพ้นผ่านกับดักแห่งความจำกัดนั้นไปให้ได้ ในความพยายามดังกล่าวมนุษย์ได้จับเอา “ธรรมชาติ” มาเป็นตัวประกันเพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จตามเป้าหมาย (สนองความต้องการที่ไม่มีสิ้นสุด) มนุษย์จึงได้ก้าวล่วงเข้าไปตักตวงเอาผลประโยชน์จากธรรมชาติ เพื่อที่จะนำเอาธรรมชาตินั้นมาสนองตอบต่อความต้องการในด้านต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์เท่าที่พึงจะกระทำได้ นัยคือ “มนุษย์สามารถเอาชนะธรรมชาติได้ด้วยความเจริญทางเทคโนโลยี”

            มนุษย์ใช้ปัญญาตามสภาวะของการรับรู้ที่มีอยู่ภายใต้กรอบและขอบเขตความจำกัดของผัสสะ ในการศึกษาและค้นคว้าเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี กลุ่มชนใดหรือสังคมใดมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและล้ำสมัยก็จะถูกตีตราประทับรับรองยี่ห้อ “ความเจริญและศิวิไลซ์” ไว้ประดับบารมี ซึ่งแสดงนัยเป็นเชิงสัญลักษณ์ว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นเครื่องรับประกันถึงขีดความสามารถในการสนองตอบต่อความต้องการของมนุษย์ หากมีเทคโนโลยีสูงขึ้นเท่าใดก็จะได้รับการสนองตอบต่อความต้องการที่สูงเพิ่มขึ้นเท่านั้น ถึงแม้ว่าความเจริญทางด้านเทคโนโลยีดังกล่าวจะนำพามาซึ่งความก้าวหน้าทางด้านวัตถุรวมถึงการบรรลุสู่ความมั่งคั่งในสังคมเศรษฐกิจแต่ก็มิพึงกล่าวได้ว่า กระบวนการเหล่านั้นนำพามาซึ่ง “ความสุข” ที่เพิ่มขึ้นตามกระแสสายธารของการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีในสังคมเศรษฐกิจดังกล่าว

                วิวัฒนาการทางด้านต่าง ๆ ที่ส่งผ่านแนวคิดได้ถูกผลิตขึ้นทางด้านทฤษฎีมีมาอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าเศรษฐศาสตร์จะเป็นวิชาที่ค่อนข้างใหม่ในสมัยนั้นเมื่อเทียบกับบางวิชา เช่น ปรัชญา รัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ แต่เมื่อโลกได้ก้าวกระโดดเข้าสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม  เสน่ห์และมนต์ขลังด้านเศรษฐศาสตร์ดูจะมีพลังดึงดูดให้คนบนพื้นพิภพโลกหันมาให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น เกี่ยวเนื่องจาก วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีมีผลโดยตรงต่อกระบวนการพัฒนาทางสังคมเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจเพื่อการพาณิชย์ขยายตัวอย่างก้าวกระโดด กระบวนการการผลิตสินค้าที่ยุ่งยาก ซับซ้อนบางอย่างหากว่าใช้ลำพังเฉพาะแรงงานมนุษย์ ก็จะถูกเนรมิตให้เป็นเรื่องง่ายเมื่อได้รับอานิสงค์จากพัฒนาการด้านเทคโนโลยี จนถึงกับมีนักเศรษฐศาสตร์บางท่านกล่าวในทำนองที่ว่า เทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าถูกนำมาใช้เพื่อสนองตอบทางด้านเศรษฐกิจ หรือนัยก็คือ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในยุคอุตสาหกรรมอย่างลงตัวเป็นอย่างมาก ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ในขณะนั้นถึงกับประกาศชัยชนะไปทั่วพื้นพิภพโลกว่า โลกต่อจากนี้ไปในปัจจุบันและอนาคตจะเข้าสู่ยุคศิวิไลซ์ เป็นยุคแห่งความมั่งคั่ง มวลมนุษยชาติจะอยู่ดีกินดี มีความสุขดื่มด่ำในชีวิตที่แวดล้อมไปด้วยความสะดวกสบายภายใต้ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทันสมัย นำพาให้มวลมนุษยชาติมีแต่ความสุขรื่นเริงบันเทิงใจตลอดไป ซึ่งถ้าหากว่านักเศรษฐศาสตร์เหล่านั้นยังมีชีวิตอยู่มาถึงในยุคปัจจุบันอาจจะนึกผิดหวังและเสียใจกับความปีติ เบิกบานใจในครานั้น และจะยิ่งตกตะลึงกับภาวะที่เกิดขึ้นของความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ที่สั่งสมและเริ่มปะทุมาด้วยพายุของความปั่นป่วนและความโกลาหลทางเศรษฐกิจที่ทวีความรุนแรงเป็นเงาตามติด รวมถึงภาวะวิกฤติทางธรรมชาติที่พ่วงมาเป็นของแถมอีกด้วยดังที่เห็นและเป็นอยู่ในยุคสงครามแห่งข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน …ต่อไป...ต่อไป...และต่อไป...

         เอ...ผมมาใช้พื้นที่มากเกินไปหรือเปล่าหนอ (๕๕๕)...

        ขอบพระคุณอาจารย์ Sila Phu-Chaya และ อาจารย์ kwancha ในประเด็นดังกล่าวมากครับ



สวัสดีค่ะ อาจารย์ จัตุเศรษฐธรรม

ขอบพระคุณค่ะ.. ที่กรุณาเติมเต็มความสมบูรณ์ ช่วยให้มองรอบด้านในประเด็นที่กล่าวถึงมากขึ้น...โดยเฉพาะมิติด้านเศรษฐศาสตร์และการพัฒนา ด้วยการ Quote คำกล่าวที่ได้รับการกล่าวถึงมากและสร้างแรงบันดาลใจได้ดีทีเดียว "Need & Greed" & Sustainability....มนุษย์จับธรรมชาติเป็นตัวประกัน และเอาชนะธรรมชาติด้วยความเจริญทางเทคโนโลยี..ปัญหาจึงเกิดขึ้นตามมา...อย่างน่าเป็นห่วง..เราจะตัดบ่วงนี้ได้ยังไง.?? คำตอบมี..อยู่ที่มนุษย์นี่หล่ะ...:-))

อาจารย์มาครบทั้งหมดแล้วนะค่ะ... " จัตุ เศรษฐ์ ธรรม"  ..เอวัง...

 

ขอบคุณกัลยาณมิตรที่มอบดอกไม้และความเห็นสำหรับบันทึกนี้ค่ะ

ขอมอบ...ดอกพวงคราม..จากที่บ้าน..ฝากถึงทุกคนด้วยค่ะ

    

มนุษยฺ์เราทำไมทำลายสิ่งแวดล้อม สงสารชีวิตสัตว์ที่เข้าได้รับเต็ม ๆ ในที่สุดมนุษย์คงไม่รอดแน่...สวัสดีครับ

  • ถ้าชุมชนเข้าใจปัญหาคงมีการแก้ปัญหาร่วมกัน
  • ที่พิษณุโลกมีการจัดการขยะที่ดี
  • ลองค้นดูนะครับ
  • มีบล็อกเกอร์คนหนึ่งทำชื่อคุณหมอคนชอบวิ่ง
  • นกมันหาอาหารกินได้ง่าย
  • เลยไม่ไปไหนเลยครับ

สวัสดีค่ะ ครูแว่นธรรมทอง,

คุณครูคะ...มนุษย์เราทำลายสิ่งแวดล้อมเพราะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน จนลืมไปว่า เราอาศัยอยู่ในโลกใบนี้ ด้วยกันกับสรรพสิ่งอื่นๆ  คนที่คิดอย่างนี้ก็เลยไม่เคารพการอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพา เกื้อกูลในธรรมชาติ จึงทำให้เห็นภาพความเสียหายในหลายๆลักษณะ และสุดท้ายก็ส่งผลกลับมาที่คนเราในที่สุด  แล้วจะอยู่รอดอย่างไร??  ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นค่ะ :-))

สวัสดีค่ะ น้องแอ๊ด,

ขอบคุณที่แวะมาทักทายและให้ความเห็นค่ะ...จริงๆแล้วในขณะนี้ สภาพที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นปัญหากับชุมชน ...ความไม่รู้คือ อวิชชา..โดยมีกิเลสเป็นที่มา..ในขณะนี้มองการจัดการ ตั้งแต่วิธีคิด วิถีการดำเนินชีวิต วัฒนธรรมการบริโภค ของมนุษย์เรา และการบริหารจัดการเมื่อมีขยะค่ะ  ผลต่อเนื่องก่อให้มีผลต่อสุขภาวะของคนและระบบนิเวศในระยะยาว นั่นคือสิ่งที่เป็นห่วง..และพยายามหาทางขบคิดว่า ทำอย่างไร อย่างในบันทึกนี้ เลยใช้นกเป็นตัวบ่งชี้ค่ะ :-))

 

  • พี่ครับ
  • นกพี่มาแล้ว
  • ผมสามารถสมัครสมาชิกบุรงตานีได้ไหมครับ
  • http://www.gotoknow.org/blogs/posts/500273

สวัสดีค่ะน้องแอ๊ด,

น้องแอ๊ดคะ...ขอบคุณค่ะ ที่แวะมาทักทาย พี่เข้าไปที่ดูที่บันทึกของน้องแล้วนะค่ะ สุขใจดีเชียวค่ะได้เข้าไปอ่าน

ส่วนเืรื่องการสมัครเป็นสมาชิกเว็บบูรงตานี  ยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะ พี่เขียนคำต้อนรับไว้สำหรับทุกคนนะค่ะ   "เยือนเยี่ยมเปี่ยมรัก ขอท่านทักทาย ฝากจารึกไว้ ให้เราได้จดจำ":-))

ขอบคุณครับที่เคยได้ไปแวะให้กำลังใจ..มันเป็นเช่นนี้เองครับ..ทุกอย่างมันมีวิธีการของมัน..โลกมีทั้งการสร้างและการทำลายที่เหมาะสมเสมอ..สำคัญแต่มนุษย์ ที่คิดฝืนโลกฝืนชะตากรรม..อยากดำรงพันธุ์ของตนให้นานที่สุด เท่านั้น..แต่สุดท้าย เราก็แค่สิ่งมีชีวิต ที่อ่อนแอ ปรับตัวเองยาก ชนิดหนึ่ง..ดังนั้น หากยังคิดว่า เรามีปัญญาเหนือโลกเหนือกฏแห่งสัจธรรม..เราก็จะพยายามดิ้นรน หาวิธีสร้างความเข้มแข็งเพื่อให้สามารถอยู่ได้นานที่สุด ..กว่าผู้อื่น สัตว์อื่น สิ่งมีชีวิตอื่น..และมันก็คงมีวิถีของมันเช่นเดียวกัน..เพราะมนุษย์ลืมไปว่า..ไม่ว่า ใครจะทำกรรมใดมา มันก็กระทบ กับ คนอื่น แล้ว มันก็ย้อนกลับมาหาเรา ลูกหลานเรา เสมอ..

ดูเหมือนว่าอาจารย์จะเงียบหายไปนานเลยนะครับ

คิดถึงครับผม

ปริมก็คิดถึงนะคะ ไปดูนกทีไรคิดถึงพี่อาจารย์ทุกที ตอนนี้นกอพยพฝูงแรกจากสิงคโปร์ไปแล้วค่ะ รอกลุ่มอื่นๆ มาอีกค่ะ

พี่อาจารย์สบายดีนะคะ ;)

  • ประกาศๆ
  • คิดถึงอาจารย์
  • อาจารย์หายไป
  • เอามาล่อ
  • 555
  • เอ้าเตรียมถ่ายรูป
  • หันมา 123 แช๊ะ
  • 555
  • นกที่เกษตรฯ กำแพงแสน ชอบถ่ายรูป 555

สวัสดีคุณเพลิน น้องปริมและน้องแอ๊ดค่ะ....ขอบคุณที่แวะมาถามไถ่ฝากความไว้ค่ะ:-)) พี่แวะเข้าไปตอบขอบคุณทั้งสามคนที่บันทึกของแต่ละคนแล้วนะค่ะ อืมม์...ขออภัย ๆ ๆ ..ที่ไม่ได้แจ้งข่าวการหายไปชั่วคราว :-(( อีกไม่นานละ สางงานเร่งด่วนเสร็จก็จะกลับมาทำหน้าที่เป็นกองแซวสำหรับน้องๆทั้งสามคนและกัลยาณมิตรท่านอื่นๆอีกต่อไปค่ะ :-))

เรียนอาจารย์ขวัญ เรื่องขยะ เรื่องผลกระทบทางสุขภาพ คนในชุมชนต้องรู้และเข้าใจในผลกระทบระยะยาว เป็นเรื่องต้องให้ชุมชน เรียนรู้ เรื่อง CHIA ประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพ และการใช้สิทธิ์ ตาม รธน.ม 66 และ 67 ช่วยกันครับ

สลามัตฮารีรายอ ย้อนหลังค่ะบังหีม:-) ขอบคุณมากค่ะที่แวะเข้ามาทักทาย เสนอแนะความคิดที่มีคุณค่า ค่ะเราต้องช่วยกันทุกภาคส่วนเพื่อให้สังคมเราอยู่ได้อย่างมีคุณภาพในระยะยาว อืมม์... น้องได้แวะไปแซวบังไว้ที่บล็อกแล้วนะค่ะ เมื่อดึกดื่นคืนวานนี้..ทำงานเสร็จไม่ทันค่ะ เลยต้องนอนดึก :-((

  • อาจารย์ครับ
  • หายไปนานคิดถึงๆ
  • เปิดเทอมวันไหน
  • ผมเปิด 5 พย นี้ครับ ยังไม่ได้หยุดเลย

สวัสดีค่ะน้องแอ๊ด

ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่ะ คิดถึงเช่นกันน๊า :-)) แต่ผันตัว ผันเวลาไม่ค่อยจะลงตัวเลยหล่ะค่ะหมู่นี้ ของพี่เปิดเทอม 2/55 มาตั้งแต่ 29 ตค. ซึ่งกว่าจะส่งเกรดในระบบที่กำหนดไว้เทอม1/55 ก็โน่น 22 ตค. วันสุดท้าย พี่สอนหลายรายวิชา ก็กว่าจะเสร็จกระบวนการ นี่เปิดเทอมไปเกือบจะหนึ่งอาทิตย์แล้้วยังหัวหมุนกับการจัดตารางเรียนของนักศึกษาที่้ต้องคอยแก้ปัญหาให้

อืมม์..น้องแอ๊ดคนขยันก็ทำงานไม่ได้หยุด แต่ดูจากรูปและกิจกรรมก็มีความสุขหลายนะค่ะ เดินสายเพาะเห็ดน่าสนุกเชียวค่ะ คิดๆแล้วน่าจะเพาะเห็ดทานบ้างแล้วนะค่ะเนีย... แล้วพี่จะเข้ามาเยี่ยมชมบ่อยๆค่ะ :-)) อย่าลืมหาเวลาเป็นส่วนตัวบ้างนะค่ะ อย่างน้อยขีดเส้นใต้ ก่อนมีภาระงานการสอนในเทอมต่อไป ซึ่งคาดว่าน่าจะเยอะเช่นกันสำหรับดร. ขจิต คนเก่ง

  • เปิดไวจังเลยครับพี่
  • เอาเห็ดมาฝาก
  • เผื่อไปชวนคุณพ่อพี่ทำบ้าง
  • http://www.gotoknow.org/blogs/posts/506646
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท