ครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง เส้นทางบน 21st Century Skills


การเริ่มต้นเป็นสิ่งที่ยาก เพราะเรากำลังรู้สึกมั่นคงกับสิ่งที่เป็นอยู่ แต่เมื่อได้เริ่มต้นหากระบวนการที่ดีกว่า ความมั่นคงเริ่มสั่นไหว ความไม่มั่นใจทำให้เราลังเล แต่ผมคิดว่า การเริ่มต้นยากก็จริง แต่การดำรงอยู่หลังจากเริ่มต้นก็ยากยิ่งกว่า

บทบาทการทำงานของผู้อำนวยกระบวนการเรียนรู้ หรือ Facilitator ของผมที่ต้องทำ workshop ครูเพื่อพัฒนาเป็นครู FAโดยความเป็นจริงครูมีความเป็น FA อยู่แล้วตามบทบาทวิชาชีพ เพียงแต่ว่าจะแสดงบทบาทการผู้อำนวยกระบวนการเรียนรู้เข้มข้นขนาดไหน เท่านั้นเอง

ประเด็นอยู่ที่ว่า เรามาคุยกันถึงเรื่อง 21st Century Skills แล้วมองว่า ทุกสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง พัฒนาเยาวชนของเราผ่านศักยภาพของเขาเอง ในฐานะของผู้สร้างความรู้ Learn HoW to learn  โดยบทบาทครูจึงไม่ใช่ผู้สอนความรู้ หรือ ผู้ส่งผ่านความรู้เหมือนที่เราคุ้นชิน การสร้าง “ทักษะ” การสร้างความรู้จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งของครูในการที่จะจัดกระบวนการเรียนการสอน ที่ให้ผู้เรียนได้ดึงศักยภาพที่มีออกมาใช้หลากหลาย เหมาะสมกับผู้เรียน

การอยู่ท่ามกลางความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลง และการปรับวิธีคิด ถือเป็นทางแยกที่สูงขันของครู หลายคนที่สับสนไปไม่ถูก ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะระบบการศึกษากระแสหลักยังโหมกระหน่ำและหนักหน่วง  อีกทั้งสังคมยังให้คุณค่าของคนเก่งวิชา (ที่ไม่ได้เก่งปฏิบัติ) อย่างที่เราได้เห็นกันอยู่ แต่ดูว่าสังคมกำลังไปไม่รอด กับปรากฏการณ์ใหม่ๆที่เป็นเงื่อนไขใหม่ของสังคมที่ต้องการทักษะในการอยู่รอด การศึกษาที่เป็นเลิศทางวิชาที่ไม่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติจึงไปไม่ถึงไหน และไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

การที่ไม่เปลี่ยนแปลง หมายถึงเรากำลังย่ำเท้าอยู่กับที่ และถอยหลังไปเรื่อยๆ ในวันหนึ่งเมื่อกลับตัว เราจะเหนื่อยจนไปต่อไม่ไหว

  • การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง จะเกิดขึ้นภายใต้ ความสุข ความเท่าเทียม การยอมรับความหลากหลาย
  • การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง จะเกิดขึ้น ภายใต้การร่วมกันเรียนรู้ในบรรยากาศที่เหมาะสม
  • การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง มีเวลาบ่มเพาะ และเวลาสำหรับการเดินทางของการเรียนรู้อย่างมีจังหวะ ไม่มีสุดโต่ง แต่อาจมีทางลัดหากเราจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพเพียงพอ

 

เราอาจต้องตั้งคำถามตัวเอง ว่า...

  • วิธีการเรียนการสอนแบบเดิม เป็นบรรยากาศแห่งความสุขหรือไม่
  • วิธีการเรียนการสอนแบบเดิม ได้สร้างศักยภาพที่แท้จริงของผู้คน ได้จริงหรือไม่

หากคำตอบ บอกว่า “ไม่แน่ใจ” หรือ “ไม่รู้” นั่นหมายถึง เราต้องคิดกันใหม่เราคิดกันใหม่เพื่อการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง 21 st Century Skills บนพื้นฐานเดิมที่มี คือ

  • เปลี่ยนจากครูผู้สอนให้เป็นครูผู้อำนวยกระบวนการเรียนรู้ หรือ ครู FA
  • เปลี่ยนห้องเรียนกลายเป็น สวนสนุก
  • เปลี่ยนการสอนแบบเดิมๆ เป็นการเรียนการสอนแบบ PBL
  • เปลี่ยนการทำงานแบบปัจเจกของครู ที่ดูจะโดดเดี่ยว น่าเบื่อ เป็นการรวมกลุ่มช่วยกัน หรือ PLC เรียนรู้ทักษะการเรียนการสอนใหม่ๆร่วมกัน
  • ครูกลายเป็นผู้ร่วมเรียนรู้กับเด็ก และพร้อมจะผจณภัยไปกับเด็กๆของครูในโลกใบเก่าแต่ค้นพบเรื่องราวใหม่ๆอยู่เสมอ
  • สอน หรือ ส่งผ่านความรู้น้อยๆ แต่ชวนกันเรียนรู้มากขึ้น Teach less Learn more

ทั้งหมดเป็นวิธีการที่จะนำไปสู่การสร้าง “ทักษะ” เพื่อเดินทางไปศตวรรษ 21 อย่างมีภูมิคุ้มกัน พร้อมเปิดศักยภาพของผู้คนอย่างอิสระ และมีพลัง จนถึงผลลัพธ์แห่งการเปลี่ยนแปลง

การเริ่มต้นเป็นสิ่งที่ยาก เพราะเรากำลังรู้สึกมั่นคงกับสิ่งที่เป็นอยู่ แต่เมื่อได้เริ่มต้นหากระบวนการที่ดีกว่า ความมั่นคงเริ่มสั่นไหว ความไม่มั่นใจทำให้เราลังเล แต่ผมคิดว่า การเริ่มต้นยากก็จริง แต่การดำรงอยู่หลังจากเริ่มต้นก็ยากยิ่งกว่า

การเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นที่วิธีคิด และองคาพยพของภาคส่วนการศึกษา จากต้นสู่ปลาย

เราอาจรอระดับ Macro คิดและเคลื่อนไม่ได้ (เพราะเรากำหนดค่อนข้างลำบาก)  ทางออกก็คือเราทำในส่วนของเราให้ดี แม้ว่าช่วงแรกอาจต้อง ผสาน ใหม่ – เก่า แล้วค่อย เก็บบทเรียนเพื่อจะขึ้นระดับไปสู่สิ่งที่ดีกว่า นำบทเรียนนั้นเป็นต้นทุนของสังคมในโอกาสต่อๆไป ผมคิดว่า เป็นสิ่งที่เราทำได้ และเป็นหน้าที่ของเราที่ควรทำในบทบาทของครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง

 

 

หมายเลขบันทึก: 499221เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2012 06:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง==> ดีจังเลยค่ะ ... ครูดี...ลูกศิษย์ดีมีความรู้...สู้โลกได้  นะคะ

 

ขอบคุณ บทความดีดีนี้ค่ะ

  • คนนอกวงการอย่างพี่ สนใจเรื่องการศึกษามากกว่าเรื่องวิชาชีพตัวเอง เพราะการศึกษาเป็นรากฐานสร้างชาติ
  • พี่ก็อยากเห็นครูเปลี่ยนตัวเองเป็น FA
  • ขอให้กำลังใจครูทุกคน

สวัสดีครับ ครู FA เป็นบุคลากรที่จะพลิกรูปแบบการเรียนรู้ ไปสู่การปฏิรูปการศึกษาได้อย่างแน่นอน เป็นกำลังใจแก่ทุกคนที่กำลังทำงานเพื่อแผ่นดินครับ

เป็นเรื่องที่ยากเหมือนกันที่จะทำ หากเราต้องการผลสำเร็จของการกระทำ มิใช่แค่การเปลี่ยนทัศนคติต่อเรื่อง แต่ถ้าทัศนคติของผู้ร่วมเรียนรู้เปลี่ยนประกอบกับความอยากเห็นผลงานที่คาดหวัง สุขภาวะก็เกิดจากงานและสร้างสรรค์มากในบรรยากาศการทำงานแบบนี้

ถ้าพูดจากมุมมองของคนที่คนอื่นเรียกว่า "ครู" หรือ "อาจารย์" เราเองก็ทุกข์ในการศึกษาแบบเก่า แต่พอมาเริ่มต้นคิดใหม่ แต่ถูกเรียกร้องผลงานแบบเก่า ทุกข์ก็ถามหาอีกนะคะ เพราะผลงานของการทำงานแบบใหม่อาจไม่เกิดในคุณภาพแบบที่การทำงานแบบเก่าอาจบันดาล อย่างว่านะคะ งานวิชาชีพที่ขัดการการละเมิดสิทธิมนุษยชนผูกติดกับเรื่องที่เป็น "ข้อเท้จจริง" มากกว่า "ข้อคิดเห็น"

เอกคะ มาอ่านแล้ว ก็มีเรื่องที่คิดเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของตัวเองมากมาย ขอบคุณค่ะ คิดถึงนะคะ

เข้าถ้ำ

จำคำนี้ได้มั้ยคะน้องเอก

เป็นคำที่เราใช้พูดคุยกันสมัยพี่ไปดูงานที่ญี่ปุ่นรอบแรก

เป็นการเปิดหูเปิดตาแม้ว่าเราดูเหมือนไป เข้าถ้ำ

 

คือพี่กำลังคิดลงไปในรายละเอียด คิดแตกต่อไปอีกนิด

การศึกษาขึ้นกับ ครู หรือ พี่เลี้ยงทั้งหมดหรือเปล่า

การศึกษาที่ดูเหมือนอืด หน่วง ช้า คะแนนเฉลี่ยรายวิชาลดลง ค่าเฉลี่ยการอ่านหนังสือของเด็กไทยเพียงน้อยนิดฯลฯ ตามแบบสไตล์ไทย ๆ (พูดตามค่าเฉลี่ย ค่าสถิติจากหน้าหนังสือพิมพ์) มีfactor อื่น ๆ ที่ทรงอิทธิพลต่อเด็ก นักเรียน

ตามความเห็นส่วนตัว ขอฟันธงตรงนี้ว่า รัฐบาล หน่วยงานที่รับผิดชอบ ปฏิเสธความล้มเหลวของตัวเองไม่ได้

...

เริ่มแล้วจะยาว จบไม่ลง

เอาเป็นว่า เรื่องการศึกษาเป็นเรื่องอภิมหากาพย์ เรื่องใหญ่ ที่ต้องมีการวางรากฐาน ตอกเสาเข็มลงลึก

และทำอย่างไรที่ให้เด็กมีจิตสำนึก อยากเรียนรู้ด้วยตนเองให้ได้

จากการได้โผล่ออกนอกกระดองเต่า นอกกะลาครอบ จึงเพิ่งรับรู้ว่า เรา(คง)ตามเค้าไม่ทัน

อย่างไร จะเล่าเป็นหนึ่งบันทึกค่ะ

 

มาดูภาพอีกครั้ง

อย่างนี้เลยค่ะ เมื่อไหร่เด็กนักเรียน หรือใครก็ตาม ฝึก เรียนรู้แบบนกน้อยตัวนี้

 

ความสำเร็จรออยู่ใต้ขอบรั้ว ไม่นานก็กระพือปีก ร่อน และถลาเหินบนฟ้ากว้างได้อย่างทรนง

มาขอภาพนี้ประกอบบันทึก นะคะ

(ฮ่า ฮ่า ไม่พึ่งตนเองเลย)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท