เลื่อนวิทยฐานะผู้บริหารตามเกณฑ์ใหม่(/ว๑๗)


สำหรับผลงานทางวิชาการ ขอให้รายงานตามที่ปฏิบัติจริง ขอให้เลิกคิดทำแบบวิทยานิพนธ์ ขอให้แสดงให้เห็นว่า ท่านได้บริหารจัดการโรงเรียนอย่างไร ที่เป็นการแก้ปัญหาที่พบในโรงเรียน ถ้าเป็นงานวิจัยก็เช่นเดียวกัน ควรเป็นวิจัยปฏิบัติการ(Action research) ที่เป็นการวิจัยพัฒนา(Research and Development)

 การเตรียมข้อมูลต่าง ๆ สำหรับการประเมิน ๓ ด้าน ขอให้อ่านคู่มือประเมินของผู้บริหารที่แนบ และดำเนินการตามนั้น จะทำให้ได้คะแนนมาก ๆ สำหรับด้านที่ ๓ ส่วนที่ ๑ ถ้าเป็นการคำนวณหาค่าคะแนนมาตรฐาน(T-Score) อยากให้ศึกษาการคำนวณจากไฟล์ที่แนบ เป็นของ อ.กัมปนาท ที่เผยแพร่ใน เว็บครูบ้านนอกดอทคอม จะได้คำนวณไม่ผิด

     สำหรับผลงานทางวิชาการ ขอให้รายงานตามที่ปฏิบัติจริง ขอให้เลิกคิดทำแบบวิทยานิพนธ์ ขอให้แสดงให้เห็นว่า ท่านได้บริหารจัดการโรงเรียนอย่างไร ที่เป็นการแก้ปัญหาที่พบในโรงเรียน ถ้าเป็นงานวิจัยก็เช่นเดียวกัน ควรเป็นวิจัยปฏิบัติการ(Action research) ที่เป็นการวิจัยพัฒนา(Research and Development) เพราะฉะนั้น คงไม่ใช่ทำครั้งเดียวแล้วรายงาน ควรทำหลาย ๆ ครั้ง(หลาย ๆ รอบ) แสดงให้เห็นว่า แต่ละครั้ง ปัญหาได้รับการแก้ไขไปอย่างไร มีปัญหาอะไรยังค้างอยู่ มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นใหม่หรือไม่ แล้วปรับปรุงแผนใหม่ ดำเนินการตามแผน ประเมินผลการปฏิบัติ แก้ไข จนคุณภาพขอ่งโรงเรียนดีขึ้นอย่างชัดเจน ปัญหาได้รับการแก้ไขอย่างชัดเจน จึงเขียนรายงานให้ผู้อ่าน(ซึ่งไม่ได้อยู่ที่โรงเรียน) อ่านแล้ว สามารถมองเห็นภาพว่าท่านทำอะไร ทำอย่างไร ผลเป็นอย่างไร ในแต่ละขั้นตอนการทำงานบริหารจัดการในโรงเรียน โดยเฉพาะบทที่ ๓ ขอให้นำเสนอโดยเขียนทางเดินให้ชัดเจนดังกล่าว(จึงไม่แนะนำให้เขียนแบบวิทยานิพนธ์) ควรเขียนแสดงให้เห็นว่าท่านบริหารจัดการอย่างไร ผลเกิดขึ้นอย่างไร ปัญหาตามที่ระบุในบทที่ ๑ ได้รับการแก้ไขอย่างไร ขอให้พยายามทำด้วยตนเอง และปรึกษาผู้รู้ ก็จะทำให้ท่านประสบผลสำเร็จได้ ซึ่งความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาของโรงเรียนจะฉายให้เห็นรายงานที่ท่านเขียน ไม่จำเป็นต้องคิด Model ให้ยุ่งยากครับ

  ดาวโหลดเอกสารอ่านเพิ่มเติมได้ที่เอกสารแนบใน http://chalermfakon.multiply.com/journal/item/37/37 ครับ

หมายเลขบันทึก: 498653เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2012 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 สิงหาคม 2012 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท