๓๔๘.รั้วบ้าน-สะพานไม้ สิ่งที่หายไปกับกาลเวลา


ผู้เขียนต้องการคือ นำเสนอเผื่อไม่มีโอกาสได้เห็นอีกต่อไป เพราะสิ่งเหล่านี้จะห่างหายไปกับวันและเวลา

     วานนี้ ผู้เขียนไปเจริญพระพุทธมนต์ฉลองศรัทธาของพ่อป้อมเพชร  กาพึง ปราชญ์ด้านการเกษตรพะเยา ผู้เคยเสนอทฤษฎีทางการเกษตร "๒ สูง ๒ ต่ำ" ที่ได้ทำบุญขึ้นบ้านใหม่พร้อมกับทำบุญเครื่องราช

     สิ่งที่ผู้เขียนสนใจก็คือ สะพานข้ามลำธารหน้าบ้านของพ่อป้อมเพชร เป็นสะพานแบบไม้ไผ่สาน ซึ่งทางภาษาล้านนาเรียกว่า "ขัวแตะ" ซึ่งผู้เขียนคิดว่าจะไม่มีโอกาสได้เห็นแล้ว แต่เมื่อได้พบก็ต้องบอกให้โยมที่ติดตามนำกล้องมาถ่ายเอาไว้ ...ไม่แน่โอกาสหน้าอาจไม่มีให้เห็น...

สะพานไม้ไผ่สาน ที่เรียกว่า "ขัวแตะ"

ส่วนภาพล่างนี้ เอาไว้เปรียบเทียบระหว่างสะพานเก่ากับสะพานใหม่ หน้าบ้านพ่อป้อมเพชร

 

.......รูปภาพ......

    

     ผู้เขียนตั้งใจมานานเหมือนกันว่าจะไปแสวงหาเพื่อถ่ายภาพรั้วบ้านแบบโบราณ รั้วแบบธรรมชาติ รั้วที่สร้างด้วยไม้...ฯลฯ...วันนี้จึงมีโอกาสได้ทำเสียที

 

     แต่ละรูปแบบ ก็เกิดมาจากความเคยชิน ความสะดวก การใช้สอย ความคิด ฐานะ....ฯลฯ แต่ที่ผู้เขียนต้องการคือ นำเสนอเผื่อไม่มีโอกาสได้เห็นอีกต่อไป เพราะสิ่งเหล่านี้จะห่างหายไปกับวันและเวลา

 

หมายเลขบันทึก: 498591เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2012 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ตุลาคม 2012 14:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

กลัวว่าสะพานจะพังนะครับ

เหมือนไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไร

เจริญพร คนโบราณคงจะใช้สัญจรเท่านั้น ส่วนการบรรทุกของหนัก ๆ คงจะเป็นไม้เสาหลายต้นต่อเรียง ๆ กัน

นมัสการพระคุณเจ้า ขอบคุณที่หยิบยกสะพานเอามาเล่า สะพานไม้หมาก /สะพานแขวน /สะพานอกแตก สะพานที่ไม่มีราวคือสะพานอกแตก นอกนั้นแล้วหากทำสะพานต้องทำราวสะพานมาประกอบ มีการเปรียบเทียบ สพพานไม่มีราว เหมือนสาวไม่นุม (นม) หนุมไม่มีหนวด เหล้าไม่ใส่ขวด ขาดเสน่ห์

 

นำอดีตมาย้อนกันดูความสุขง่ายๆที่หาได้ กินอยู่อย่างพอเพียง

"ขัวเต๊ะ" เพิ่งเคยเห็นและเพิ่งเคยได้ยินค่ะพระอาจารย์ ขอบพระคุณค่ะ

นมัสการพระอาจารย์.ผมมองว่าคนสมัยก่อนละเอียดอ่อนในการทำการคิด อย่างน้อยใช้สะพานเชื่อมใจ และทำรั้ว ล้อมรั้ว ด้วยความรักเกิดความอบอุ่นและปลอดภัย ครับ

เจริญพรคุณโยมวอหญ่า...ที่อุตส่าห์โชว์รูปให้เห็น. แต่ละชิ้นล้วนเคยเป็น สิ่งที่เห็นอาจไม่ได้ใช้เพราะกาลเวลา

ท่านอาจารย์ ดร.จันทร์วรรณ. อนาคตสิ่งที่เคยอาจไม่ได้เห็น

ท่านอาจารย์ชยันต์ ร่วมข้อคิด แสดงจิตต่อให้เห็นเป็นนิสัย ล้วนแล้วเกิดขึ้นเพราะบรรพบุรุษไทย ให้เยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจร่วมกัน

พระอาจารย์ ภาษาล้านล้านนา เรียกว่า ขัวแต๊ะ บ่าไจ้ "ขัวเต๊ะ" ก้า อยากให้เพิ่มคำอธิบายของรั้วแต่ละอย่าง ไม่รู้ว่าภาษาล้านนากับภาษาลื้อจะเหมือนกันหรือเปล่า ตามลำดับภาพ 1. ฮั้วสะลาบ 2. ฮั้วตาแสง 3./4. ฮั้วค่าว

เจริญพรขอบคุณ-คุณโยมคนเจียงคำ อ่านตามคำออกเสียงต้องใช้คำว่า ขัวแตะ ต้องเสนอให้บัณฑิตยสถานปรับแก้อีกศัพท์หนึ่ง ส่วนรั้วบ้านภาษาเหมือนกัน ขอบคุณอีกครั้งที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

เจริญพรคุณโยมคนเจียงคำ สงสัยอาตมาเขียนผิดจริง ๆ ต้องเขียนว่า "ขัวแตะ" ดังนั้นคำว่า เต๊ะ เป็นการสะกดผิด ดังนั้น ขอแก้ไขคำที่อ่านตามภาษาท้องถิ่นที่ถูกต้องคือ "แตะ" เป็น "ขัวแตะ"....

กราบนมัสการพระคุณเจ้ามาด้วยความเคารพ ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท