สัมมนาเรื่อง แรงงานกับการพัฒนาศักยภาพและความได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศไทยเพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 2015


สวัสดี ลูกศิษย์และชาว blog ทุกท่าน

วันนี้ศุกร์ที่ 10 สิงหาคม 2555 ผมได้รับเกียรติจากกระทรวงแรงงาน ให้มาเสวนาเรื่อง Strategy  Roadmap  ด้านแรงงานกับการพัฒนาศักยภาพและความได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศไทยเพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 2015 ณ ห้องเจ้าพระยา บอลรูม  ชั้น 2  โรงแรมเจ้าพระยา  ปาร์ค  กรุงเทพฯ

ผมขอใช้ blog นี้ในการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันครับ

 

จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 498040เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2012 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2012 08:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

เสวนาเรื่อง  Strategy  Roadmap  ด้านแรงงานกับการพัฒนาศักยภาพและความได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศไทยเพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 2015 

โดย  นายอาทิตย์  อิสโม          อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์         เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ 

และประธาน  Chira  Academy

ดร.สมชัย  ไทยสงวนวรกุล    รองประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย

นายพนัส  ไทยล้วน                ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย

ดำเนินการอภิปรายโดย

รศ.วิทยา  ด่านธำรงกูล  รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ  สถาบันทรัพยากรมนุษย์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์    เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ 

  • ตอนบ่ายทำ Workshop อยากให้มองถึงผลของความสามารถในการปรับตัวสู่          AEC ได้
  • ทฤษฏี Paradox ก่อนเข้า AEC คนมองแล้วว่าแรงงานของเราไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิม และถ้าเข้า AEC ด้วยทำไมไม่ลดการพัฒนาที่เดิมไม่ดีอยู่แล้วพัฒนาให้ดีขึ้น
  • อนาคตข้างหน้า ทุนทางภาษา ทุนทางจริยธรรม ความยั่งยืน และความคิดสร้างสรรค์ ต้องทำให้ได้
  • อยากเห็นว่าอนาคตไม่ได้ต่อสู้ด้วยทักษะ อนาคตต่อสู้ด้วยความรู้ ความใฝ่รู้ คิดเป็นวิเคราะห์เป็น
  • AEC เป็นแรงบันดาลใจให้ค้นหาตัวเองว่าเราเน่า แต่จะไม่ยอมเน่าต่อไป สิ่งที่เกิดขึ้นเกิดจากความรู้สึกในการก่อตั้ง
  • เตรียมนโยบายกระทรวงแรงงานในการปรับทุนมนุษย์ผู้ใช้แรงงานที่เปลี่ยนจาก Skill เป็น Knowledge เป็น Attitude เป็น  Available to think
  • ในยุคโลกาภิวัตน์ต้องเป็น Partner ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
  • อยากให้ทำเรื่อง ไตรภาคี ให้ 3 ฝ่ายเดินทางไปด้วยกันและพบกันครึ่งทาง อยากให้กระทรวงแรงงานทำด้านนี้
  • อยากให้คณะพาณิชย์ทำด้านมาตรฐานแรงงาน
  • ช่วงบ่ายควรคิดเรื่อง Research  Agenda จะให้แรงงานมีคุณภาพรองรับ    AEC เราต้องทำอะไร
  • วิจัยยุคต่อไปต้องสามารถเปลี่ยนแปลงทุนมนุษย์ที่วัดได้

 

ดร.สมชัย  ไทยสงวนวรกุล    รองประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย

  • ทุนมนุษย์ ฝ่ายบุคคล ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • บุคลากรต้องมีความรู้เป็น Multi Function ไม่ใช่อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ใช่มุ่งเน้นแค่ทักษะ แต่ควรมุ่งเน้น ด้านความรู้และทัศนคติในการพัฒนาทุนมนุษย์มืออาชีพ
  • สิ่งที่ฉายภาพให้ตลาดหลักทรัพย์เห็นคือให้เป็นเถ้าแก่เนี้ยน้อยในองค์กรบริษัท รัฐบาลชี้แนวทางและให้ทางเดินผู้ประกอบอาชีพอย่างไรบ้าง
  • การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นตัวชี้วัดการบริโภคของประชาชนที่เพิ่มขึ้น
  • การเพิ่มคนจาก AEC จาก 66 ล้านคน เป็น 600 ล้านคน เราจะมีแนวทางการวางแผนอย่างไร
  • ตัวเลขจดทะเบียนกระทรวงพาณิชย์ ครึ่งปี 2554 จดทะเบียนน้อย ปี 2555 เพิ่มขึ้น 200 กว่าราย ปรากฎว่าเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้น
  • เราจะพัฒนาจากขายแรงงานเป็นขายความรู้ได้อย่างไร เราจะสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าแต่ละตอนอย่างไรบ้าง ถ้าไม่มีทักษะในความรู้ ต่อสู้ พฤติกรรมที่เหมาะสม เราก็จะขายแรงงานต่อไป
  • บริษัทใหญ่ กลาง เล็ก ต้องดูแลให้ชีวิตดีขึ้น มาจากงานที่ตัวเองทำ มาจากงานที่มีประสิทธิภาพ
  • การให้คนอื่นทำงานแทนเราได้ ถือเป็นสุดยอดของการบริหาร

 

นายพนัส  ไทยล้วน            ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย

  • มองว่าทุกอย่างต้องแก้ไขได้หมด
  • เศรษฐกิจในระบบแข่งขัน โอกาสที่ลูกจ้างมีโอกาสเป็นนายทุนค่อนข้างลำบาก ทุกอย่างในโลกปัจจุบันเป็นการคิดทุกอย่าง แข่งขันอย่างเอาเป็นเอาตาย
  • การขึ้นค่าแรง 300 บาท นายจ้างไม่กลัวเพราะผลักภาระไปให้ผู้บริโภคหมดแล้ว
  • การจะทำอะไรสำเร็จก็ตามต้องมี Initiative
  • การเข้าสู่ AEC กลัวเรื่องแรงงานเข้ามาแล้วไหลออกไป เช่นในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 7 สาขา ไม่กลัวแรงงานเข้ามาเนื่องจากพูดภาษาไทยไม่ได้ แต่กลัวแรงงานไหลออกนอกมากกว่า เพราะข้างนอกฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่อง
  • ความห่างไกลของแรงงานไทยยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพชีวิต

 

กรมคุ้มครองสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

  • กิจกรรมนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่สร้างให้บรรดาสมาชิกมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
  • แนวคิดแรงงาน กรมฯ มีหน้าที่คุ้มครอง โดยต้องให้เขาคุ้มครองตนเองได้ถึงมีความยั่งยืน เน้นที่ความเข้าใจ ความรู้ ความคิด ย้ำให้ลูกจ้างดูเรื่องความคิด ย้ำการมีความเหมาะสมต่อการเป็นแรงงานมืออาชีพ
  • เราไม่ได้มีการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นภารกิจหลัก แต่มีการตั้งหน่วยงานเฉพาะเน้นการพัฒนาทรัพยากรแรงงาน
  • อยากให้เน้นไปสู่การสานต่อหลักสูตร การสร้างมูลค่า นายจ้างและลูกจ้าง เน้นการเข้าสู่ระบบทวิภาคี นายจ้าง และลูกจ้างอยู่อย่างสมานฉันท์ มีความมั่นคง ปลอดภัย  ไตรภาคี กรมเราให้ความสำคัญหรือไม่ นโยบายทุกเรื่องออกมาผ่านในระบบไตรภาคีทั้งสิ้น และเป็นที่น่ายินดีว่า ถ้าไปคลิกดูแผนรมต.อาเซียนปี 2553-58 ระบุ กฎหมาย สถาบัน และสังคม ให้มุ่งส่วนที่สำคัญของไตรภาคีให้มีความเข้มแข็ง ก้าวหน้า ตอบโจทย์สังคมมีคุณภาพต่อไป
  • สถานการณ์แรงงาน ประชากรปี 58 เป็นประชากรอาเซียนมี 600 ล้านคน การจ้างงานสำนักงานได้สรุปสถิติไว้ 0.5 ล้านบาท ที่มีการคุ้มครองแรงงานผู้ว่างงานจากเงินประกันสังคม เห็นว่าโอกาสการมีงานทำของประเทศยังต้องการทรัพยากรที่จบจากสถาบันการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีต่ำแหน่งงานว่างแต่ผู้บรรจุไม่ครบ แต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ตำแหน่งงานไม่พอ
  • การใช้แรงงานต่างด้าว เป็นหุ้นส่วนการสร้างผลผลิตและความมั่นคงของประเทศ ผลผลิตเป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญต่อการคุ้มครอง และการดูแล
  • ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นแรงจูงใจในการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานให้เพิ่มสูงขึ้น มีการวิเคราะห์ว่ากลุ่มใดมีความเสี่ยงต่อการปฏิบัติ มีการทำศึกษาวิจัยโดยการศึกษาข้อมูลเชิงลึก พบว่าร้อยละ 95.5 มีความพร้อมในการบังคับใช้ เนื่องจากมีการพลิกวิกฤติเป็นโอกาส บอกว่าได้ค่าจ้างเพิ่มเพราะลูกจ้างได้ร่วมกันเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ลดการศูนย์เสียต่าง ๆ เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจมหภาค ให้มีการหมุนเวียนการบริโภคมากขึ้น
  • นโยบายสังคมทางด้านแรงงาน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 มุ่งให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นธรรม พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงได้มุ่งให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา พบว่าก.แรงงานไม่โดดเดี่ยว เพราะมีส่วนร่วมแนวทางเดียวกันสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • ความเป็นธรรม การสร้างสังคมการเรียนรู้ การพัฒนาเศรษฐกิจ  การแข่งขันทางการค้า กรมฯ ให้ความสำคัญต่อการเข้าสู่ AEC เพราะว่าสิ่งที่ขับเคลื่อนเนื่องจากอาเซียนได้กรั่นกรองมาแล้วส่วนหนึ่งเพื่อ Outcome ที่เห็นผล แต่การจะไปถึงหรือไม่ขึ้นอยู่กับเครื่องมือ
  • การดูแลสังคม วัฒนธรรม ถ้าสามารถบรรลุตรงนี้ได้ ผลกระทบที่เข้าถึง AEC
  • เราจะเพิ่มแรงดึงดูดนักลงทุน และสร้างอำนาจการต่อรองได้อย่างไร

 

แสดงความคิดเห็น

  1. เรื่องการเตรียมคนควรมองถึงภาคราชการ และรัฐบาลในการพัฒนาคนด้วยไม่ใช่มองแค่ภาคเอกชนอย่างเดียว
  2. เมื่อเปิด AEC ขึ้นมา ในระยะแรกเราจะเป็นผู้รับมากกว่าส่งออก การไหลของภาคบริการที่มีคนจะตามไป เราต้องดูว่าจะไปพัฒนาแรงงานตรงไหนที่ฝึกฝน
  3. ขอชื่นชมอาจารย์จีระ ที่เน้นเรื่องการฝึกคนให้เป็นมืออาชีพ คือควรมองคนนอกจากแค่ Skill แต่ให้ฝึก Soft  Skill ด้วย
  4. ทำอย่างไรให้ภาครัฐเอางบประมาณมาสนับสนุนภาคเอกชนไม่ใช่ภาครัฐไปทำเอง

 

เมื่อ AEC เป็นโจทย์ที่ท้าทาง ใครควรทำอะไรบ้าง

ดร.จีระ  บอกว่า

ใน 3 ปีข้างหน้า นอกจากการวิจัยแล้ว เราควรพัฒนาทุนมนุษย์เพิ่มขึ้นไปด้วย อย่างในการท่องเที่ยว มีการจัด 3 กลุ่ม จัดตามภูมิศาสตร์ โดยเชิญข้าราชการ ท้องถิ่น และระดับกลาง  ตัวแทนจากผู้ประกอบการ และตัวแทนท้องถิ่น มาฝึกทักษะทุนมนุษย์ให้รองรับ AEC ถ้าเอาตัวละครพวกนี้ มาพัฒนาจะเหมาะมากเลย

คุณสมบัติทุนมนุษย์พื้นฐานในกระทรวงแรงงานต้องมี

1.คุณธรรมจริยธรรม

2.ปัญญา

3.คิดยั่งยืน

  • ต้องให้โอกาสผู้ใช้แรงงาน ให้มีความหวัง สิ่งที่ทำในวันนี้ต้องเน้นในวันหน้า ต้องให้แรงงานมีศักดิ์ศรี และมีเกียรติ ถึงแม้เป็นระดับล่าง ก็ให้เขามีความหวัง มี Hope อยู่
  • Basic ต้องช่วยคนยากจน
  • เน้นฉลาด จริงใจ มีคุณธรรมจริยธรรม เน้นระยะยาว
  • การพัฒนาไตรภาคีต้องทำ Current ไปด้วย
  • และให้ระวังธุรกิจที่เก่งกว่าเรา จะมาทำลายเรา

 

ดร.สมชัย  ไทยสงวนวรกุล    รองประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย

  • รายได้ต่อหัวของต่างประเทศทำไมสูง นั้นเกิดจากความรู้ของคนในประเทศมี แล้วรัฐบาลผลักดัน  ดังนั้นทำอย่างไรให้พนักงานมีความรู้ก่อน นำความรู้มาพัฒนาทักษะ แล้วสร้างทัศนคติที่ดี มีพฤติกรรมที่ดี แล้วจะมีวัฒนธรรมที่ดี แล้วเฝ้าดู การเปลี่ยนแปลง
  • มียุทธวิธีสร้างผลิตภัณฑ์เติบโตได้ มี 3 ช่วง

ช่วงแรก Input เอาคนเก่งบริหารทรัพยากร แล้ว Output ออกมาดี บริษัทมีกำไร Outcome ออกมาดี พนักงานก็มีความสุข

  • KPI วัดพนักงานบริษัทมีความเป็นอยู่เป็นอย่างไร เวลาเลี้ยงรุ่นนั่งแถวหลังหรือแถวหน้า ถ้านั่งแถวหน้าแสดงว่าเขาประสบความสำเร็จ  ทำอย่างไรที่สอนให้พนักงานเป็นเถ้าแก่ให้ได้ แล้วดร.สมชัยจะเป็นนักลงทุน ถ้าไม่มีก็ไปหา Broker มาลงทุนแทน  ความสุขคือการเรียกพี่น้องมากกว่าเรียกเจ้านาย
  • เราได้กำไรจากการลดการสูญเสีย และสร้างมูลค่าเพิ่ม สิ่งที่รัฐบาลทำได้คือสร้างธุรกิจเล็ก ๆ ให้ SMEs ถ้ารัฐบาลอยู่นานจริงใจที่จะทำ การสร้างกลุ่มธุรกิจ SMEs ให้ชุมชนกลุ่มหนึ่งสามารถทำได้แน่นอน
  • ถ้านายจ้างรวย ลูกจ้างต้องรวยด้วย เป็นลักษณะ Strategic Partner กัน

 

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

  • การเดินต้องเตรียมความพร้อมด้านการจัดการแรงงานที่ดี
  • ต้องมีความมั่นคง มีแนวคิดคุณธรรม จริยธรรม มีปัญญา ความยั่งยืน สร้างผลผลิต และบรรยากาศที่ดีในการลงทุน
  • มีภาคีใดที่ให้การสนับสนุนให้ภาคแรงงานไทยเป็นพลังการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและก้าวหน้าของสังคม

สรุป

  • ต้องดูเรื่องการศึกษา ทุกภาคส่วนในการร่วมกันแก้ปัญหา ส่วนในระดับ White Collar ต้องมีการบริหารจัดการใหม่ มีเครื่องมือในการพัฒนา SMEs
  • วิกฤติแรงงานช่าง ปวช. ไปต่อ ปวส. ไปต่อปริญญาตรี แต่ปรากฎทำงานช่างไม่ได้แล้ว
  • สร้าง Sense of Emergency ว่าเราอยู่เฉยไม่ได้แล้ว ต้องเร่งด่วนในการพัฒนาแรงงาน
เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปโดย ทีมงาน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

กลุ่มที่ ๒  AEC 2015 กับผลกระทบต่อแรงงาน และนายจ้างในประเทศไทยแบบ ๓๖๐ องศา  และแนวทางการวางแผนเรื่องแรงงานต่างด้าว และการเคลื่อนย้ายแรงงาน

วิทยากรประจำกลุ่ม  รศ.ดร.ยงยุทธ  แฉล้มวงษ์

                          ผู้อำนวยการวิจัยและพัฒนาแรงงาน

                          มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

 

  • AEC Score card เกิดจากกระบวนการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นเป็น Single Market
  • Economic Asean Scorecard สามารถ Achieve target ได้ การมอง Single Base , Development ,skill labor สำเร็จ 66 %
  • Critical Development มองแง่  SMEs  77 %
  • Integration Economy ,Entry to force ,Free trade Agreement 66 %
  • ในเรื่องการเปิดเสรี 7 อาชีพ มีส่วนสำคัญที่เป็นภาพลวงตาคือการเดินทางไปมาง่ายขึ้น แต่ไม่อำนวยความสะดวกในการทำงาน ทุกคนต้องอยู่ใน License ต่าง ๆ การแก้ไขกติกาในบ้านเรายังไม่ทำอะไรไม่ได้เท่าไหร่
  • ดังนั้นการสอบ License ต้องมีความชัดเจน มีการสอบในภาษาต่าง ๆ พบว่ามีความเข้มแข็งมากในการเคลื่อนย้ายอาชีพต่าง ๆ อย่างเช่นหมอ
  • MRA มีประเทศไทยประเทศเดียวที่ยังไม่ได้เซ็น

เรื่อง Direct ไม่ห่วง แต่ห่วงเรื่อง Indirect ที่ออกจากภาคธุรกิจ

  • Volume สินค้ามี Free Flow Professional คนให้ความสนใจเยอะนับเป็นเรื่องที่ดี
    • การเตรียมความพร้อมสำหรับแข่งขันในอนาคต เรื่องภาษา สำคัญ ขอให้ใช้คนต่างประเทศเป็นคนสอน สามารถเอา Certificate ไปเบิกเงินเป็นวาระแห่งชาติในการเปิดประเทศได้
    • การเข้ามาของแรงงานแต่ละประเทศ ต้องดู Competency Standard ของแต่ละประเทศ ให้เชื่อมโยงกัน มาตรฐานสินค้าบริการ มาตรฐานไกด์ ยาม เป็นต้น
    • ส่วนที่เป็น Free Flow  เมื่อเราไปลงทุนประเทศเขาเราถูกดูแลเหมือนเขามาอยู่บ้านเราหรือไม่ เราดูแลเขาดีหรือไม่ ถึงเวลามี Pension ก็คืนเขาไป แต่ละประเทศมีระบบประกันสังคมเป็นอย่างไร ระบบ Pension เรื่องบำนาญ ชราภาพเป็นอย่างไร  การ Free movement เป็นอย่างไร
    • เรื่องสิทธิการร้องเรียนต้องพึ่งสาย NGOs เป็นข้อเสนอที่ต้องได้รับการแก้ไข
    • ความมั่นคงทางสังคม การดูแลที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิทั้งหลาย บางประเทศใช้หลายมาตรฐานได้ แต่ไทยไม่มีกฎหมายรองรับ
เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปโดยทีมงาน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กลุ่มที่ ๓  การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของระบบไตรภาคี  และวิธีการเพื่อความสำเร็จ

วิทยากรประจำกลุ่ม  ดร.โชคชัย  สุทธาเวศ  มูลนิธินิคม  จันทรวิทุร

 

ดร.โชคชัย  สุทธาเวศ

  • ไตรภาคี เราทำเรื่องที่คนสนใจหรือไม่ มีคุณค่าต่อความสนใจมากน้อยแค่ไหน ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม
  • ไตรภาคีที่ดำรงถึงปัจจุบันแสดงว่าเป็นระบบที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกและได้การสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง เราจะทำตรงนี้ให้เห็นได้อย่างไร
  • ผลกระทบนำสู่การวิจัยที่จริงจัง เสนอว่างานวิจัยที่ประสบความสำเร็จต้องมี
  1. ทฤษฎีมีเนื้อหาว่าอย่างไร
  2. เราต้องใช้วิธีวิจัยอย่างไรให้ได้ผลตามที่ต้องการ
  3. โจทย์และคำถามการวิจัย จะใช้วิธีการตอบโจทย์อย่างเป็นจริง มีการอธิบาย
  4. มีนักวิจัยจากภาควิชาการ และส่วนต่าง ๆ เข้ามาเชื่อมโยงโจทย์
  5. เงินทุนที่มาส่งเสริมการวิจัยได้มาอย่างพอเหมาะ พอเจาะ พอสมควร และเป็นไปได้  ตอบโจทย์ความฝัน ที่ทำให้เป็นจริง
  6. ไตรภาคีต้องมีนวัตกรรมอย่างไรบ้าง

 

ภาพรวมทำงานอย่างมีประสิทธิภาพทำอย่างไร

มีวิธีการอย่างไร

ข้อสังเกตุ

  • ผู้มีส่วนร่วมไตรภาคีไม่มีความเข้าใจดีพอ ทำอย่างไรถึงจะประชาสัมพันธ์ให้คณะกรรมการไตรภาคีเป็นที่รู้จักมากขึ้น  ซึ่งต่อไปจะมีการประชุมคณะทำงานไตรภาคีจัดโดย ILO บ่อย ๆ

 

 

ประเด็นที่ 1  ไตรภาคีคณะใดที่ท่านเห็นว่้าดำเนินงานได้มีประสิทธิผลมากที่สุดสิบลำดับแรก และ ไตรภาคีคณะใดบ้างที่ไม่มีผลงานที่ชัดเจนสมควรเร่งปรับปรุงการดำเนินงาน

 

จากการดำเนินงานที่ผ่านมา คณะใดมีประสิทธิภาพและอิทธิพลมากที่สุด

  • คณะความปลอดภัยและชีวอนามัย ในอาเซียนอยู่ในระดับนำหน้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
  • ประกันสังคม
  • กองทุนเงินทดแทน
  • สวัสดิการเพื่อผู้ใช้แรงงาน

คณะที่ควรปรับปรุง  คือ       คณะกรรมการค่าจ้างกลาง  , คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ , การพัฒนาฝีมือแรงงาน  กลุ่มนี้จะมีความล่าช้า

 

ประเด็นที่ 2 ปัจจัยใดบ้างที่ส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพของคณะกรรมการ

ปัจจัยเสริมคือเรื่อง

  • การให้ความรู้
  • การมีส่วนร่วม

ปัจจัยอุปสรรคคือเรื่อง

  • ที่มาของคณะกรรมการที่ถูกแต่งตั้งมีปัญหาจากการถูกแทรกแซง จากการเลือกตั้งความรู้ ความสามารถด้อยกว่าที่ควรเป็น
  • การแทรกแซงทางการเมือง คณะกรรมการไม่มีอิสระ

 

ประเด็นที่ 3 ทำอย่างไรไตรภาคีจึงจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งมากยิ่งขึ้น

  1. มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอและติดตามผล
  2. รัฐไม่มีการตั้งธงล่วงหน้าว่าจะออกนโยบายอย่างไร
  3. มีข้อมูลที่โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ มีการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางต่อผู้มีส่วนร่วม

แนวคิดจากผู้ประชุมเป็นรูปแบบของทางราชการ ขาดอิสระในการแสดงความคิดเห็นที่น่าเป็นประโยชน์

  1. ภารกิจในการบรรลุวัตถุประสงค์ 7 ประการของ AEC น่าจะมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและนโยบาย สภาพสังคมและเศรษฐกิจ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน ได้รับการศึกษา นโยบายของรัฐ ควรไปทางไหน  
  2. ความต่อเนื่องของคณะกรรมการผู้ที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุม เรื่องอะไร คณะไหน และเป็นใคร

 

ประเด็นที่ 5 กรรมการไตรภาคีสมควรได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนสมรรถนะในเรื่องใดบ้างและโดยวิธีการเช่นไร

  • ควรได้รับความรู้ข้อมูลในส่วนนั้น กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ความรู้ด้านภาษา มีล่ามแปลเป็นภาษาไทยให้มีการประชุมกับชาวต่างชาติ
  • จะมีวิธีการอย่างไร ให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถเป็นตัวแทนแต่ละฝ่าย

 

ประเด็นที่ 6 รัฐบาลและกระทรวงแรงงานสมควรสนับสนุนไตรภาคีอย่างไรในอนาคตเพื่อสนับสนุนการบรรลุวัตถุประสงค์ของประชาคมอาเซียน

  • เมื่อมีบทสรุปจากไตรภาคีไปใช้ในการดำเนินการจริง
  • สนับสนุนการพัฒนา
  • งบประมาณและบุคลากร

ประเด็นที่ 4 ภารกิจที่ควรจะเป็นของไตรภาคีในการสนับสนุนการบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งเจ็ดประการของประชาคมอาเซียนในอนาคตคืออะไรบ้าง [วัตถุประสงค์หลักของประชาคมอาเซียนที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ คือ

1) ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม

2) ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค

3) ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร

4) ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย

5) ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต

6) ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

7) ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ

 

ภารกิจที่ควรจะเป็นของไตรภาคีในการสนับสนุน

  • ภาครัฐ
  • ข้อมูล
  • ความโปร่งใส
  • ยุติธรรม
  • นายจ้าง
  • ทัศนคติที่ดี
  • ลูกจ้าง
  • จริยธรรม พัฒนาตนเอง

2. ภาครัฐ ควรมีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้าน มีความเข้าใจ เท่าเทียมกัน  รัฐน่าเป็นจุดศูนย์กลางจัดตั้งคณะทำงาน  น่าจะมีการให้ทุน ให้ความสนใจ ปรับปรุงคุณภาพชีวิตลูกจ้างในการทำงาน  เริ่มจากภาครัฐเป็นผู้ก่อตั้ง  ควรมีทูตแรงงานในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและเครือข่ายธุรกิจ

ทัศนคติ

ล้มเหลว ไม่ค่อยได้รับการสื่อสาร   การไปคุยควรมีทิศทางเดียวกัน ไม่ใช่ไม่ตรงกัน

มีความร่วมมือภาครัฐและเอกชนร่วมกัน

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปโดยทีมงาน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ร่วมแสดงความคิดเห็นสรุปทั้ง 3 กลุ่ม โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

มองภาพใหญ่สรุปได้ 2 เรื่อง

  1. ให้แกนนำทั้ง 3 กลุ่มขับเคลื่อนต่อไป
  2. ทุกกลุ่มต้องเป็น Package เดียวกันในการเข้าสู่อาเซียน

วิเคราะห์กลุ่ม 1

ลักษณะผู้ดำเนินการอภิปราย Cloning จากอาจารย์

  1. การบิดเบือนทางการตลาด ผลกระทบทางตรง ทางอ้อมมีอะไรบ้าง การ Promise สัญญาเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ หาเสียงแล้วปฏิบัติตามหรือไม่
  2. ค่าจ้างขั้นต่ำ 40% ใน 1 ปี ปกติไม่ทำกัน ต้อง Invest ในการลงทุนพัฒนาคน ลงทุนเสียเวลาในการฟังเรา โลกนี้ไม่มีอะไรได้ฟรี ๆ อย่างเดียวคือนักการเมืองสั่งมา
  3. ถ้าเราไม่เวอร์กับประชานิยม

 

วิเคราะห์กลุ่ม 2

1. ทฤษฏี 3 L

  1. Learn จากความล้มเหลว
  2. Learn จากExperience
  3. Learn จาก Knowledge
  • อยากให้ในห้องแสดงว่ากระบวนการแรงงานควรปรับตัวอย่างไร อยากดู Opportunities กับการคุกคามในการเข้าสู่อาเซียนเสรี
  • ข้าราชการทุกคนต้องพัฒนาความเข้าใจอาเซียนอย่างจริงจัง
  • นายจ้างจะต้อง โค้ชนายจ้างที่ไม่รู้เรื่อง
  • ลูกจ้างในเมืองไทยมีหลายชนิดต้องพยายามพัฒนาเขา
  • ให้คุณสมบัติการเป็นมนุษย์ที่ดี Human Capital นายจ้าง ลูกจ้างต้องไม่ตกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม

2.เราต้องคิดเป็น ฝึกวิธีการเรียนรู้ แล้วจะเสนอแผนในการปฏิบัติการให้เป็นรูปธรรม

Enhancing Complexity ของมนุษย์ ติดตามการทำงาน

Basic Information เกิดได้ถ้าใฝ่รู้ ต้องมี Self learning

 

วิเคราะห์กลุ่ม 3

ชื่นชมมาก

  • กระบวนการแรงงานให้นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ทรงคุณวุฒิทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ กระทรวงแรงงงานต้องมีสมอง มีข้อมูล ขึ้นกับนายจ้างและลูกจ้างตกลงกันอย่างไร นายจ้างยุคใหม่เป็นนายจ้างที่อ่อนแอ
  • การเมืองอย่าทำลายประเทศในระยะยาว

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท