การใช้สื่อเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเรียนการสอน


การใช้สื่อเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเรียนการสอน   using mass media for develop education instruction behaviour                                          ในการศีกษายุดปัจจุบัน ถือว่า เป็นการศึกษาทางด้านเทคโนโลยี ปัจจัยที่สำคัญของการเรียนการสอนคือ ” สื่อ” สื่อการเรียนการสอนเปรียบเสมือนเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารและการเรียนรู้ในการเรียนการสอนในปัจจุบัน ซึ่ง สื่อการเรียนการสอน สามารถปรับพฤติกรรมการเรียนการสอนของนักเรียนในห้องเรียน ให้มีบรรยากาศของการเรียนได้ รวมไปถึงการสร้างสื่อการเรียนการสอนแบบใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนและปรับพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนให้มีความสนใจในการเรียนได้อีกด้วย การใช้สื่อเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเรียนการสอน ต้องมีรายละเอียดองค์ประกอบดังต่อไปนี้

การจำแนกพฤติกรรมการเรียนการสอน
         เป็นการวิเคราะห์การปฏิสัมพันธ์ (interaction analysis) ระหว่างครูกับนักเรียนที่ดำเนินต่อเนื่องกันในห้องเรียน แต่ไม่ได้หมายความว่าการวิเคราะห์ที่สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมทุกพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้ มันเป็นเพียงวิธีการที่ใช้สังเกตการณ์ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมที่เป็นคำพูดเท่านั้นการวิเคราะห์ (Analysis)เป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อย ที่มีความสัมพันธ์กัน รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆเพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริง โดยพื้นฐานแล้ว การวิเคราะห์ถือเป็นทักษะที่มนุษย์ฝึกได้ โดยมีผู้กล่าวไว้ว่าทักษะการวิเคราะห์ ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
        1. ความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ตลอดจนทัศนะคติในเครื่องที่จะวิเคราะห์นั้นๆ 40% รวมเรียกว่าศาสตร์
        2. ศิลปในการใช้ภาษา การสื่อสารการถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจมุมมอง 40% รวมเรียกว่าศิลปะ
        3. สัญชาติญาณและความกล้าหาญอีก 20% เรียกว่าพรสวรรค์
การวิเคราะห์ คือ การพิจารณาแยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนๆเพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง แล้วทำความเข้าใจต่อไปว่า แต่ละส่วนสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไรก่อนที่เราจะสามารถแยกแยะสิ่งที่เราจะพิจารณาออกเป็นส่วน ๆ ได้ เราจำเป็นต้องมีหลักความรู้เพียงพอที่จะนำมาใช้ในกระบวนการคิดวิเคราะห์

ขั้นตอนของวิธีคิดเชิงวิเคราะห์
      1. กำหนดขอบเขตหรือนิยามสิ่งที่เราจะวิเคราะห์ให้ชัดเจน
      2. กำหนดจุดมุ่งหมายว่าจะวิเคราะห์เพื่ออะไร
      3. พิจารณาหลักความรู้หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องว่าจะใช้หลักใดในการวิเคราะห์
      4. ใช้หลักความรู้นั้นให้ตรงกับเรื่องที่จะวิเคราะห์เป็นกรณีๆไปและต้องรู้ว่าควรจะวิเคราะห์อย่างไร
      5. สรุปและรายงานผลให้เป็นระเบียบ
เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมี ความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน เช่น การกำหนดลักษณะทั่วไป ซึ่งได้แก่ อายุ ระดับความรู้ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียนจะไม่มี ความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตามแต่ก็เป็น สิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินระดับของบทเรียนและเพื่อเลือกตัวอย่างของเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้ ส่วนลักษณะเฉพาะของผู้เรียนแต่ละคนนั้น นับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับ เนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอนมีอยู่หลายด้าน เช่น  1). ด้านสติปัญญาเป็นการศึกษาพฤติกรรมด้านสติปัญญาของผู้เรียนเพื่อค้นหาเกี่ยวกับ ความสามารถภายในตัวผู้เรียนที่พิจารณาได้จากพฤติกรรมที่แสดงออกที่มีความคล่องแคล่วรวดเร็วถูกต้องในการคิดแก้ปัญหาและการปรับตัวคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านสติปัญญา  1. การใช้ภาษาสื่อสาร   2. ความสามารถในการคิด   3. ความสามารถในการแก้ปัญหา   4. มีจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์  2). ด้านร่างกายเป็นการศึกษาพฤติกรรมด้านร่างกายของผู้เรียน เพื่อค้นหาปัญหาเกี่ยวกับ พัฒนาการด้านร่างกาย ของผู้เรียน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอน เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางกายที่ดีขึ้นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านร่างกาย 1. ขนาดสัดส่วนของร่างกาย2. สมรรถภาพความแข็งแรงของร่างกาย3. ความสะอาดของอวัยวะต่าง ๆ4. สุขภาพดี การเจริญเติบโตตามวัย5. ความผิดปกติทางกาย  3). ด้านอารมณ์เป็นการศึกษาพฤติกรรมผู้เรียนด้านจิตใจ ซึ่งส่งผลกระทบให้ผู้เรียน แสดงพฤติกรรมทางการเรียน อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะด้านที่มีปัญหา เพื่อหาทางแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมหลักการประเมินพฤติกรรมด้านอารมณ์ที่เป็นปัญหา 1. พฤติกรรมเหมาะสมกับอายุของเด็กหรือไม่   2. เกิดขึ้นบ่อยมากน้อยเพียงใด   3. ระดับความรุนแรงของพฤติกรรม   4. ส่งผลต่อตัวเด็กมากน้อยเพียงใด
5. ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงอย่างไร   6. สามารถปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้หรือไม่

จุดประสงค์ของการเรียนรู้                                                                                                                                                                  คือ จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนบทเรียนแต่ละบท ซึ่งกำหนดขึ้นจากการยึดเอาตัวผู้เรียนเป็นหลัก โดยคาดหวังว่า ถ้าผู้เรียนผ่านการเรียนรู้บทเรียนนั้นๆ แล้ว ผู้เรียนจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร การกำหนดจุดประสงค์ในแบบดังกล่าวนี้ คาดว่าจะช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนให้เกิดทั้งประสิทธิภาพประสิทธิผล (behavioral objective) ซึ่งผู้สอนสามารถสังเกตและวัดผลได้อย่างใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่าที่เป็นมาแต่เดิมในการกำหนดจุดประสงค์แต่ละข้อนั้นได้ยึดหลักการที่เป็นพื้นฐานสำคัญ 4 ประการ คือ

       1. มีถ้อยคำที่บ่งบอกพฤติกรรมที่คาดหวัง เช่น ผู้เรียนสามารถจะกระทำอะไรได้บ้าง
       2. มีการกำหนดเงื่อนไข หรือ สภาวการณ์ เช่น จะเกิดขึ้นเมื่อใด ที่ไหน และอย่างไร
       3. มีการกำหนดเกณฑ์หรือมาตรฐานขั้นต่ำ เช่น ผู้เรียนจะต้องเกิดพฤติกรรมอย่างน้อยที่สุดเท่าใด
       4. มีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เช่น จุดประสงค์ของการเรียนรู้ทุกบทเรียนนอกจากเหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นแล้วยังสอดคล้องกับจุดประสงค์ทั่วไปของหลักสูตร ทั้งด้านพุทธิพิสัย ด้านเจตคติพิสัย ด้านทักษะพิสัย อีกด้วย

การเลือกสื่อการสอน
          สื่อที่นำมาใช้ให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมาย เนื้อหาวิชา และสถานการณ์การเรียนการสอนนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกสื่อการสอนอะไรนั้น ครูจะต้องพิจารณาและเข้าใจถึงสิ่งต่อไปนี้จุดมุ่งหมายของเนื้อหาวิชาและการสอน รูปแบบและระบบของการเรียนการสอน ลักษณะของผู้เรียน
ประเภท คุณสมบัติและหน้าที่ของสื่อการสอนแต่ละชนิด วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่การที่ครูจะเลือกใช้สื่อการสอนอะไรประกอบการเรียนการสอน เนื้อหาอะไรจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบในทุกๆด้าน ครูควรมีความเข้าใจด้วยว่า ไมมีสื่อการสอนชนิดใดดีที่สุด สื่อการสอนจะดีขึ้นอยู่กับว่าสื่อการสอนที่ครูจะใช้นั้น ควรเหมาะสมกับเนื้อหา จุดมุ่งหมายของการสอน รูปแบบของการเรียน ลักษณะของผู้เรียน และสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ และเป็นสื่อที่ดี ที่สุดในบรรดาสื่อการสอนชนิดอื่นๆ ในสถานการณ์นั้นๆ

หลักการเลือกสื่อและหลักการใช้สื่อการเรียนการสอน
         ในการกระทำใดๆก็ตาม เมื่อมีการนำเทคนิคต่างๆ ใช้ในกิจกรรมนั้นๆ ย่อมต้องมีความคิดหรือหลักการในการใช้เทคนิคนั้นๆโดยเฉพาะหลักการต่างๆที่เกิดจากการค้นคว้าทดลองการใช้สี่การสอนในขบวนการสอนนั่นก็เช่นเดียวกัน หารจะใช้ให้ได้ผลนั้นคือ ก่อนให้เกิดผลการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผู้ใช้สื่อการสอน ก็ย่อมมีหลักการบางอย่างยึดถือไว้เป็นแนวทางในการกำหนดเทคนิคของการใช้สื่อการสอน ในการนำสื่อมาใช้เพื่อให้ทำงานร่วมกันให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการสอน ด้วยการพิจารณานำหลักการเรียนการสอนที่ยอมรับกันมาใช้อย่างเหมาะสม
หลักในการใช้สื่อกับการเรียนการสอนก่อนที่จะนำสื่อการเสนอจะต้องมีการสร้างความพร้อมให้แก่นักเรียนอย่างพอเพียง รายละเอียด ทั้งหลายอันเกี่ยวกับสภาวะความสะดวกทางกายภาพ และภาวะของการใช้สื่อต้องนำมาเกี่ยวพันกัน เพื่อให้ครูสามารถจัดการที่จะให้การใช้วัสดุและเครื่องมืออย่างปลอดภัย,ครูจะต้องแนะนำนักเรียนให้รู้จักมีปฏิกิริยา และการกระทำที่เหมาะสมต่อการใช้สื่อ นั้นคือ การแนะนำนักเรียน ให้เกิดการกระทำสนองตอบต่อสื่อที่เหมาะสม ครูจะต้องมีหลักการประเมินผลทั้งในตัวเอง และเทคนิค การใช้สื่อของครูตรวจ ประเมินผลความเหมาะสมของสื่อ

การประเมินผล
         ความหมายหรือคำจำกัดความหมายของคำว่า “การประเมินผล” เป็นความหมายที่ค่อนข้างกว้างก็ว่าได้คำว่า “การประเมินผล” คือ กระบวนการรวบรวมและเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินหาทางเลือกที่เป็นไปได้หลายๆทางจากความหมายดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นว่า การประเมินผลมีความหมายครอบคลุม ทั้งการทดสอบ และ การวัดผล “การประเมินผล” หมายถึง การตัดสินความสอดคล้องระหว่างการกระทำ และผลวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในการประเมินผลทางการศึกษานั้นนอกจากเราจะต้องทราบถึงความแตกต่างระหว่างความหมายของการทดสอบ การวัดผล และการประเมินผล ซึ่งเป็นความรู้ขั้นนั้นฐานที่สำคัญดังกล่าวมาแล้ว เรายังจำเป็นจะต้องทราบถึงการสร้างภาวะความเป็นมาตรฐานของการทดสอบ ซึ่งเป็นความรู้ขึ้นพื้นฐานที่สำคัญด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ในการใช้สื่อเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเรียนการสอน นั้นต้องมีการอาศัยองค์ประกอบการจำแนกพฤติกรรมการเรียนการสอน  จุดประสงค์ของการเรียนรู้ การเลือกสื่อการสอน หลักการเลือกสื่อและหลักการใช้สื่อการเรียนการสอน การประเมินผล เพื่อให้การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน และการพัฒนาสื่อการสอน รวมการใช้สื่อที่เหมาะสมกับผู้เรียนและการปรับพฤติกรรมของการเรียนโดยใช้สื่อเป็นการการถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอน และให้ผู้เรียนสามารถปรับพฤติกรรมในการเรียนการสอนโดยการใช้สื่อได้อีกด้วย

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

สุรพล เกียนวัฒนา “การวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนการสอน”ผู้จัดพิมพ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

จำนง ทรายแย้มแข “เทคนิคการวัดและประเมินผลการเรียนรู้”ผู้จัดพิมพ์ บริษัท โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช จำกัด 

สินทัด ภิบาลสุข , พิมพ์ใจ ภิบาลสุข “การใช้สื่อการสอน”ผู้จัดพิมพ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

วิทิต ศรีจอมแปง , ศิโรตม์ เดชะ , รุ่งลาวัลย์ ยศสมแสน”การใช้สื่อการสอน”ผู้จัดพิมพ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

เยาวดี วิบูลย์ศรี”การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์”ผู้จัดพิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 5 สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2549

หมายเลขบันทึก: 497897เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2012 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มิถุนายน 2018 14:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท