บริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
วินาทีนี้ผู้คนในบ้านเมืองเราหายใจเข้า หายใจออกก็เป็นอาเซียน บางคนนับถอยหลังจาก ปี 2558 ถึง ปี 2555 เพียง 3 ปี ตื่นเช้ามาวันที่ 1 มกราคม 2558 เราก็จะเป็นคนสองสัญชาติทันที่ กล่าวคือสัญชาติไทยหนึ่งและสัญชาติอาเซียนหนึ่ง หรือสุดแล้วแต่มุมมองของแต่ละคน แต่ที่แน่ๆเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงไปได้ เมื่อเป็นเช่นนี้เราคงจะต้องเลือกที่จะรุกหรือตั้งรับ ก็ต้องลองคิดดู
บทบาทของครู
ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในโลกใบนี้ ผู้คนต่างคาดหวังว่าครูจะเป็นตัวช่วยในการเตรียมคนให้พร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและพร้อมที่จะปรับตัวเข้ากับสภาพความแปรเปลี่ยนที่เกิดขึ้น โดยอาศัยกระบวนการจัดการเรียนรู้ การฝึกทักษะประสบการณ์ การเผชิญสถานการณ์ที่หลากหลาย สลับซับซ้อนและมีความละเอียดอ่อนให้กับผู้เรียนทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย
เส้นแบ่งระหว่างความคาดหวังกับความเป็นจริงดูเหมือนจะเป็นข้อกังขาของบรรดาครูและผู้ที่สนใจด้านการศึกษา ซึ่งยังไม่สามารถฟันธงตอบลงไปได้ว่าครูมีความรู้ ความเข้าใจแก่นแท้ของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมากน้อยแค่ไหน เพียงใด ตัวครูเท่านั้นที่ตอบได้
ถามว่าถ้ารู้ว่าครูไม่มีความรู้ความเข้าใจจะทำอย่างไร คงตอบได้ไม่ยากว่าก็หาความรู้เพิ่มเติมสิ เท่านี้คงไม่พอ คำถามต่อไปแล้วจะทำอย่างไรล่ะ คราวนี้คงมีวิธีการที่หลากหลายขึ้นอยู่กับศักยภาพความรู้ ความสามารถของแต่ละบุคคล
ท้ายที่สุดบทบาทของครูคงจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ ดังนั้นเส้นทางเดินต่อไปของครูไทยจะต้องก้าวไปให้ไกล ก้าวไปให้มั่น และก้าวไปพร้อมๆกันเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มภาคภูมิ
ดีใจที่ได้อ่านบันทึกอาจารย์ อีก อาจารย์หายไปนานมากๆๆ เอามาฝากด้วยครับ