สายแนวคิดของนักส่องพระ


นำสายความรู้ ต่างๆมาผสมผสานเข้าด้วยกัน โดยการพิจารณาทั้ง ปรากฏการณ์ธรรมชาติ มวลสาร ศิลปะ พัฒนาการ และความนิยมของคนในสังคมเข้าด้วยกัน เพื่อนำมาใช้ในการศึกษา ที่จะทำให้เกิดการพิจารณาอย่างรอบด้านและเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม

การเล่นพระมีสามสายใหญ่ๆ และหนึ่งแนวคิดเชิงบูรณาการ คือ

  • ไสยศาสตร์ที่ใช้กันมานาน จึงมีแนวคิดแยกย่อยออกไปมาก หลายสาย เช่น
    • แบบเผด็จการให้ผู้นำ (ในนามของ “เซียน”) เป็นผู้ตัดสิน แล้วแต่ผู้นำจะว่า ทั้ง
      • การฟันธงว่าแท้ไม่แท้ นิยม ไม่นิยม หายากหาง่าย หรือจะเป็นการกำหนดราคาซื้อขาย
      • การประกวด และตัดสิน ว่าสวยไม่สวย และ
      • การออกใบรับรองด้านต่างๆ
    • แบบสังคมนิคม ที่ใช้หลักความเป็นเอกฉันท์ “ดูร้อยตาแท้ร้อยตา” ที่ภาษาวงการเรียกว่า “การแห่”  ถ้ามีคนติคนเดียวก็ถือว่าไม่ผ่าน ที่ใช้กันทั้งระดับวงการระดับสูง ลงมาจนถึงระดับล่าง
    • แบบประชาธิปไตยใช้หลักการของเสียงส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่ของคนในกลุ่มนั้นว่าอย่างไร ก็ว่าตามนั้น ที่มีทั้ง
      • กลุ่มเพื่อน
      • กลุ่มอาชีพ กลุ่มธุรกิจสาขาต่างๆ
      • กลุ่มสมาคม ชมรม
      • กลุ่มอินเตอร์เน็ต
    • แบบชนกลุ่มน้อย เน้นความนิคมของกลุ่มคนในสังคมเฉพาะที่ ไม่เกี่ยวกับสังคมส่วนใหญ่ มักเล่นกันในวงแคบๆ เฉพาะพื้นที่ เฉพาะกลุ่มคนที่นับถือ ว่ากันเป็นสายๆไปเลย จะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเฉพาะในกลุ่มที่มีความเชื่อเดียวกันเป็นส่วนใหญ่
  • ศิลปะศาสตร์ เน้นจำรูปแบบของพุทธศิลป์เป็นหลัก ที่มีจำนวนปานกลาง เนื่องจากมีความใกล้เคียงของสายวิชาการทางด้านการศึกษาศิลปะเป็นพื้นฐาน กลุ่มนี้จะมองศิลปะได้ชัดเจน แต่อาจจะมีจุดอ่อนด้านการดูเนื้อ มวลสาร และพัฒนาการของมวลสาร
  • วิทยาศาสตร์ ที่มีน้อย เพราะคนที่ศึกษาสายพระเครื่องนี้ส่วนใหญ่มาจากสายศิลปศาสตร์ โบราณคดีไปโน่น เน้นการใช้หลักวิทยาศาสตร์ของมวลสารและการพัฒนาการมาใช้ในการตัดสินพิจารณา ที่พอแบ่งย่อยออกได้
    • แบบปรากฏการณ์ ศึกษาจากที่เห็นบนองค์พระ เน้นศึกษาสิ่งที่เห็นด้วยสายตา จากรูปลักษณ์ภายนอก
    • แบบกระบวนการ ศึกษาจากการพัฒนาการเชิงวิวัฒนาการตามธรรมชาติ
    • แบบบูรณาการ ผสมผสานทั้งกระบวนการและปรากฏการณ์เข้าด้วยกัน
  • บูรณาการศาสตร์ นำสายความรู้ ต่างๆมาผสมผสานเข้าด้วยกัน โดยการพิจารณาทั้ง ปรากฏการณ์ธรรมชาติ มวลสาร ศิลปะ พัฒนาการ และความนิยมของคนในสังคมเข้าด้วยกัน เพื่อนำมาใช้ในการศึกษา ที่จะทำให้เกิดการพิจารณาอย่างรอบด้านและเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม
หมายเลขบันทึก: 496460เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2012 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2012 09:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท