ชวนชุมชนสร้างพลังดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย ตอนที่ 1


เสริมสร้างพลังชุมชนในการสร้างเสริมทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัย

บันทึกนี้สืบเนื่องมาจาก  บันทึกที่แล้ว   ซึ่งคุณหมอบ๊วย ได้จัดให้มีการ ลปรร ไปเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2555  ที่ผ่านมา   แต่ครั้งนี้ซึ่งจัดเมื่อ 26 กรกฎาคม 2555 เป็นการ ลปรร กับตัวแทนที่มาจากหลายจังหวัด   จากทุกภาคของประเทศ  โดยเน้นให้ทีมงานที่เข้าร่วม  “โครงการวิจัย การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมทันตสุขภาพในคลินิกเด็กดี  และการเสริมสร้างพลังชุมชนในการสร้างเสริมทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัย”  ช่วยกันคิดช่วยกันทำ  เพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ คือ

  • พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมทันตสุขภาพในคลินิกเด็กดี

  • เพื่อเสริมสร้างพลังชุมชนในการสร้างเสริมทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัย

ก่อนที่คุณหมอบ๊วยและ ทพ.วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี  จาก วสส.จังหวัดขอนแก่น   จะได้นำเสนอผลสรุปของโครงการฯ  ได้ให้วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายองค์กรมาแบ่งปันประสบการณ์  เช่น

นาวาโท ทพ.ญ.ขวัญฤดี วัฒนธรรม  จาก รพ.พระปิ่นเกล้า  ได้นำเสนอ ”ปิ่นเกล้าโมเดล” ซึ่งเป็นการดำเนินงานของคลินิกเด็กดีในโรงพยาบาล   ทพ.ญ.วรรณศรี  แก้วปินตา  จากโรงพยาบาลหางดง     นำเสนอการสร้างเสริมทันตสุขภาพในระดับโรงพยาบาลชุมชน   และทพ.ญ.ศันสณี รัชชกูล จากกลุ่มพัฒนาความร่วมมือทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ  นำเสนอการดำเนินสร้างเสริมทันตสาธารณสุขในระดับชุมชน 

 

คุณหมอบ๊วย (ทันตแพทย์ ทิพาพร  เสถียรศักดิ์พงศ์)

ผู้รับผิดชอบโครงการ

 

หลังจบการชี้แจงและนำเสนอโครงการที่จะดำเนินการต่อไปของคุณหมอบ๊วยแล้ว  กิจกรรมต่อไปก็เป็นการเตรียมพร้อมของทีมงาน เพื่อที่จะดำเนินโครงการในปีต่อไป โดยวิทยากรคู่หู คู่เดิม

 

อาจารย์อุทัยวรรณ  กาญจนกามล

                     และอาจารย์บดินทร์ จันวัน

 

 

อาจารย์เริ่มด้วย...คำว่า

ปัญญา...ซึ่ง หมายถึง ความฉลาด ความรอบรู้ ความเข้าใจชัดในสิ่งต่างๆ  รู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จักสืบสวนจากผลไปหาเหตุ และจากเหตุไปหาผล  สามารถประพฤติตนให้เข้ากับสังคมได้  รู้จักประมาณ  คือทำให้พอดี ไม่ขาด ไม่เกิน รู้จักกาลเทศะ ฯลฯ   อาจารย์บอกว่า ที่มาของปัญญา  คือ

  • ปัญญาที่เกิดจาก ...การฟัง

  • ปัญญาที่เกิดจาก ...การคิด

  • ปัญญาที่เกิดจาก ...การลงมือทำ

และเพื่อให้เกิดความคิด  เกิดปัญญา  ที่จะดำเนินการใดๆต่อไปกับทีม  อาจารย์เริ่มด้วยการแบ่งผู้เข้าอบรมทั้งหมดประมาณ 50  คน ออกเป็น 4 กลุ่ม  และกำหนดโจทย์ให้แต่ละกลุ่มคิด  ว่า ถ้าสมมุติแต่ละกลุ่มเป็นคนในชุมชน/องค์กรเดียวกัน  อยากจะไปที่แห่งใดสักแห่งจะเลือกไปด้วยวิธีใด  ก็ตอบว่าจะไปโดยทางเครื่องบินบ้าง   ทางรถยนต์บ้าง รถไฟบ้าง  แล้วแต่ที่คิดและตกลงกันในแต่ละทีม  ซึ่งอาจารย์บอกว่า  วิธีการที่เราเลือกนั้น  หมายถึงการกำหนดเป้าหมาย  หรือ  วิสัยทัศน์  นั่นเอง

 

 

เมื่อแต่ละกลุ่มรู้วิสัยทัศน์ของตนเองแล้ว   ขั้นต่อไปก็คือ การต้องออกแบบและจัดทำเนื้อหาในการไปให้ถึงเป้าที่ฝันไว้   ซึ่งแน่นอนว่า เราต้องใช้ปัญญาในการทำทุกอย่าง  โดยเฉพาะปัญญาจากชุมชนหรือส่วนรวม

 

 

โดยอาจารย์เน้นว่าในการทำทุกกิจกรรม ต้องไม่ให้หลุดประเด็น  ด้วยการที่ไม่ลืมที่จะตอบคำถาม  3 ข้อสำคัญ  คือ

1      ใคร คือ ผู้สนับสนุนในการสร้างเสริมทันตสุขภาพ 

2      ใคร  คือ   พยุหภาคีในการสร้างเสริมทันตสุขภาพ 

3      และจะสร้างเสริมทันตสุขภาพ        ในเรื่อง อะไร ?

 

                                                                รออ่านตอนต่อไป

ขอบคุณค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 496458เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2012 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2012 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

พี่เขี้ยวคะ

รออ่านตอนต่อไปค่ะ...

ปล. คิดถึงขนาด *^____^*

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สุขภาวะด้วยกิจกรรมบำบัดครับ แวะมาชื่นชมกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพครับผม

ที่มาของปัญญา คือ •ปัญญาที่เกิดจาก ...การฟัง •ปัญญาที่เกิดจาก ...การคิด •ปัญญาที่เกิดจาก ...การลงมือทำ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท