โชว์กางเกงใน


   งานเขียนต่อไปนี้ไม่ใช่งานเขียนเพื่อยั่วยุกามารมณ์ แต่อาจจะดูน่าเกลียดเมื่อเราพูดถึงเรื่อง "กางเกงใน" ของคนใดคนหนึ่งที่กำลังใช้และยังใช้อยู่ ในการมองว่าน่าเกลียดเพราะเรามองเลยไปกว่าขอบเขตของกางกางที่สวมใส่ไว้ภายในเสื้อผ้าอีกชั้นหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ผมเข้าใจว่ามันน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการยับยั้งความฟุ้งเฟื้อในบางจุดแม้มันจะเป็นจุดเล็กๆก็ตาม

   ความคิดที่จะเขียนนี้เกิดขึ้นเมื่อเช้านี้ หลังแช่ผ้าเพื่อซักก่อนออกมาทำงาน เราจะพบว่า ในชีวิตประจำวันของเราๆท่านๆ นอกจากสวมใส่เสื้อผ้าหลากชุดหลากสีและหลากลายแล้ว ภายในเสื้อผ้าที่สวมใส่นั้น เรามีชุดอีกชุดหนึ่งที่สวมใส่ภายใน เราอาจเรียกว่าชุดชั้นใน ในผู้ชายอาจเป็นเสื้อกร้ามและกางเกงใน ในผู้หญิงอาจเป็นยกทรงและกางเกงชั้นในเช่นกัน 

   สำหรับกางเกงชั้นใน หากเราพิมพ์คำว่า กางเกงชั้นในลงบนเครื่องมือค้นหาในอินเตอร์เน็ต เราจะเห็นความหลากหลายของกางเกงชั้นใน บรรดาเสื้อผ้าที่เราใช้ดูเหมือนกางเกงชั้นในจะใช้ไม่นานมากที่สุด โดยเฉพาะยางยืดที่มันจะเสื่อมเร็ว ดังนั้น ไม่นานเราจึงทิ้งมันทั้งที่ผ้ายังใช้ได้

  มองดูประเทศไทยเวลานี้ หลายสถาบันการศึกษาพยายามเดินตามรอย ผมเคยพูดล้อว่าไม่รู้จะตามทันหรือไม่ โดยเปิดหลักสูตรบ้างวิชาบ้างเพื่อยกระดับผู้เรียนให้รู้จักประหยัด แต่ปัญหาคือ เราได้รับการกระตุ้นให้บริโภคจากสื่อต่างๆอย่างมากมาย หลายคนจึงใช้ทิ้งใช้โยน ซึ่งบางทีของที่ทิ้งนั้นยังใช้ประโยชน์ได้ ลองดูตัวอย่างโทรศัพท์มือถือ เมื่อรุ่นใหม่มาเราก็ขายรุ่นเก่าแล้วซื้อใหม่ หากซื้อมาเพื่อการเรียนรู้มากกว่าการบอกสังคมว่าฉันมี ผมเห็นว่าเป็นสิ่งที่เข้าท่าเข้าที่อยู่ 

   เกี่ยวกับกางเกงชั้นใน ปัญหาที่น่าพิจารณาคือ ทำอย่างไรให้ใช้ประโยชน์จากกางเกงชนิดนี้ให้ได้มากที่สุด ผมมีกางเกงในอยู่ตัวหนึ่งที่ยังปลื้มไม่หาย

   กางเกงในตัวนี้พี่สาวซื้อให้เมื่อปี ๒๕๔๔ (สองพันห้าร้อยสี่สิบสี่) และผมก็ยังใช้อยู่ทุกวันนี้ พร้อมกับชุดทำงานอีกชุดหนึ่งเป็นเสื้อสีน้ำเงินกางเกงผ้าหางกระรอกสีดำ ขณะนั้นผมสอนพิเศษอยู่ที่โรงเรียนศรียาภัยจังหวัดชุมพร (ไปช่วยสอนแทนพระที่ท่านลาออกให้จบภาคเรียนในปีการศึกษา) กางเกงในตัวนี้ผมยังใช้อยู่จวบจนทุกวันนี้ โดยไม่ได้แต่งเติมแก้ไขใดๆเลย ยิ่งมันอยู่นานผมยิ่งเอื้อเฟื้อต่อมันมาก เพราะมันดูแลเอาใจใส่เรามานาน แต่วันหนึ่งมันก็คงตายไป 

   อย่างไรก็ตาม กางเกงในที่เราซื้อมาใช้ส่วนมากจากตลาดนัดบ้าง ห้างสรรพสินค้าบ้าง ตลาดทั่วไปบ้าง สำหรับผ้านั้นพอทนอยู่ แต่ยางยืดนี่เองที่จะไม่ทน เราจะทำอย่างไรกับมันดี หากจะใช้มันต่อไป เรา็อาจทำได้ใน ๓ วิธีคือ

  ก. การเย็บยางยืดให้ทบเ้ข้าด้วยกัน อาจเป็นจ้างเย็บซึ่งดูสวยหน่อย หรือเย็บเองอาจดูไม่สวยหากไม่ใช่มืออาชีพ แต่เป้าหมายคือให้เอวลดขนาดลง เราก็จะยังคงใช้มันต่อไปได้

  ข. การคลิบขอบยางยืดให้ทบกันด้วยคลิบกระดาษหรือที่หนีบกระดาษก็ได้ กรณีใช้ที่หนีบกระดาษนั้นอาจเจ็บเนื้อหนังหน่อยหนึ่งเมื่อเราสวมใส่ แต่ถ้าใช้คลิบจะสบายกว่า 

   ค. การทาบด้วยยางยืดชนิดอื่น โดยเราไปซื้อยางยืดนี้มาปรับปรุงซ่อมแซมยางยืดที่ขอบกางเกงชั้นใน อาจเย็บด้วยฝีมือเราหรือจ้างเย็บ กรณีจ้างเย็บ คงถูกหัวเราะจากช่างแน่ๆ ประมาณว่า จะขี้เหนียวอะไรนักหนา ในกรณีโดนเช่นนี้ เราอาจแปลงความคิดนั้นเป็น การรู้จักใช้ กรณีนี้ไม่มีตัวอย่างให้ดู

   และอาจจะมีอีกหลายๆวิธีในการทำสิ่งที่มีอยู่ให้มีประโยชน์ต่อไป ผมเคยเห็นชาวประมงนุ่งกางกางในตัวเดียวยืนเย็บอวน กางกางในนั้นก้นขาดด้วยซ้ำ แต่เขาก็ยังใช้ประโยชน์จากมัน

   อย่างไรก็ตามที่มาของความคิดนี้คือ ส่วนหนึ่งของหลักกุลจิรัฏฐิติธรรมในพุทธศาสนาที่ว่า ของเก่าชำรุดให้รู้จักซ่อมแซม(ดู) และแนวคิดในการใช้จีวรของพระในโบราณ 

  อนึ่ง อย่าเข้าใจผิดว่า ผมจะประหยัดอะไรอย่างนั้น เพราะจริงๆแล้วผมไม่มีเงินซื้อ(ฮา) อีกอย่าง เท่าที่มีก็เกินจะพอใช้แล้ว

 

๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕

๐๙.๑๘ น.

หมายเลขบันทึก: 496456เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2012 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

...ระวังคลิปหลุดนะครับอาจารย์(ฮา)....

  • คลิปหลุดอย่างนี้คงไม่เป็นข่าวมั้งครับ (เฮ)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท