ทุเรียนบ้าน ผลไม้มิตรภาพ


วิถีชีวิตไทยในชายแดนใต้

วันจันทร์ที่ ๓o กรกฎาคม ๒๕๕๕ ตื่นเช้ารับวันใหม่ พบว่าแม่กำลังใช้มีดเลาะเนื้อทุเรียนพันธ์ุ์พื้นเมืองลูกเล็กๆที่เรียกกันในภาษาถิ่นว่า ทุเรียนบ้าน นำมาจากสวนเพื่อนำไปกวนหลังจากเหลือจากกิจกรรมอื่น กลิ่นหอมชวนรับประทาน บ้านของเราตั้งอยู่ในชนบทชายแดนใต้มีผลไม้มากมายในช่วงฤดูนี้ ทั้งมังคุด ทุเรียน ลองกอง ูเงาะ ซึ่งเกิดจากการปลูกของบรรพบุรุษ เราจึงมีผลไม้ในทุกฤดูกาล แม่บอกว่าเรามีเพื่อสร้างมิตรภาพเหมือนเมื่อในอดีต เราไม่ได้มีไว้เพื่อการค้า 

เมื่อทุเรียนออกใหม่ๆพ่อจะเป็นคนไปเก็บทุเรียนบ้าน ซึ่งหล่นร่วงจากต้นเมื่อสุกเต็มที่ในช่วงเช้า เที่ยงและเย็น ระหว่างทางได้พบปะกับเพื่อนบ้านและญาติๆทำให้ได้พูดคุยกัน หลังจากใส่กระสอบกลับมาบ้าน แม่ก็จะเป็นฝ่ายจัดการ นำไปถวายพระก่อน จากนั้นนำไปให้ญาติผู้ใหญ่ที่ยังหลงเหลือ ให้ญาติพี่น้อง ให้เพื่อนฝูง ส่งไปแม้กระทั่งสงขลาให้ย่าของเด็กๆทุกสัปดาห์(อันนี้ได้อานิสสงฆ์สู่ลูกสาว) ไม่เว้นที่ทำงาน คณะพยาบาลศาสตร์ คณบดีต้องยกตะกร้าทุเรียนขึ้นรถ นำไปฝากสมาชิกในคณะพยาบาลหลายครั้ง เกือบทุกครั้ง บรรดาสมาชิกทั้งหลายมีการนำไปแปรความสดใหม่ด้วยการหุงข้าวเหนียว และทำนำ้กระทิทุเรียน รับประทานข้าวเหนียวทุเรียนร่วมกัน นอกจากนี้ทุเรียนยังเป็นสื่อมิตรภาพระหว่างศาสนา ในช่วงนี้เป็นเดือนรอมฎอน จึงมีการแจกจ่ายทุเรียนไปให้นักศึกษาและเพื่อนบ้านไทยมุสลิมได้รับประทานโดยทั่วกัน

ผลไม้แม้เพียงชนิดเดียวแต่สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างมากมาย

เป็นการเพิ่มมิตรภาพที่คงทนถาวร

ต้องกราบขอบพระคุณปู่ย่าตายาย บรรพบุรุษที่สร้างสมมาทั้งผลไม้และวิธีคิดแบบไทยๆ ผลไม้มิตรภาพ ที่ทรงคุณค่ามากกว่าราคา

ทำให้ลูกหลานได้รับความสุขจากการให้ ความสุขใจจากการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและมิตรภาพคงทน

หมายเลขบันทึก: 496446เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2012 04:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2012 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอขอบคุณบันทึกดีที่ได้อ่านยามเช้า ที่บ้านก็มีปลูกไว้นานแล้วเช่นกันค่ะ

ที่นี่ค่ะทุเรียนบ้าน...ต้นไม้จากรุ่นปู่ย่าควรค่าอนุรักษ์ไว้

ได้อ่านแล้วค่ะ คุณหนูรี ขอบคุณค่ะสำหรับบทความดีๆที่ควรอนุรักษ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท