เขตการค้าเสรีอาเซียนกับการเตรียมความพร้อมของสหกรณ์ สกลนคร


สวัสดี ลูกศิษย์และชาว blog ทุกท่าน

วันนี้ 28  กรกฎาคม 2555 ผมได้รับเกียรติจากสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสกลนคร จำกัด ให้บรรยายให้กับผู้นำสหกรณ์ทั้งในภาคและนอกภาคการเกษตร จาก สหกรณ์ออมทรัพย์  สหกรณ์การเกษตร และเครดิตยูเนี่ยน บรรยายหัวข้อ เขตการค้าเสรีอาเซียนกับการเตรียมความพร้อมของสหรณ์ ในโครงการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสหกรณ์สู่ความเป็นเลิศ กว่า 100 คน ณ โรงแรมหนองหาร ดิเอลลิแกนท์ จังหวัดสกลนคร

ผมขอใช้ blog นี้ในการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันครับ

 

                                                จีระ หงส์ลดารมภ์

 

หมายเลขบันทึก: 496354เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2012 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2012 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

  • เรามีตลาดเพิ่มขึ้นในกลุ่มอาเซียน มีการร่วมมือกันจากต่างประเทศ ต้องหาความรู้สดๆ ให้กับตัวเรา
  • อย่าคิดว่าเราจะอยู่อย่างสบาย อาจจะมีสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นกับเรา เราต้องเตรียมตัวให้ดี ยังไม่สายเกินไปที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา
  • ความใฝ่รู้คืออยากรู้อยากเห็น
  • ค้นหาตัวเอง หลังจากฟังแล้ว ก็ไปเล่าต่อๆกันฟัง
  • คิดทำงานร่วมกับคนอื่นๆ
  • ผมมีประสบการณ์ในด้านอาเซียนเสรี ทำให้กับผู้นำอบต. อบจ.
  • ข้อตกลงร่วมมือกัน 3 สาขาใหญ่ เศรษฐกิจ และการค้า การลงทุนสังคมและวัฒนธรรม

ความมั่นคงทางการเมือง และสำคัญที่สุดจะเชื่อมโยงทั้ง 3 เรื่องเข้าด้วยกัน เรียกว่า ASEAN Connectivity” เชื่อมโยงเข้าหากัน

  • การร่วมทางเศรษฐกิจ สหกรณ์ร่วมมือทั้ง 3 ด้าน เรื่องความมั่นคงสหกรณ์ต้องมีให้เหมือนกัน
  • อาเซียนมีทั้ง 3 เสาหลัก
  • ในวันนี้อยากให้ผู้นำสนใจเรื่องเศรษฐกิจมากหน่อยแต่ก็ไม่ละเลยเรื่องภูมิปัญญา หรือวัฒนธรรมของเรา
  • เสรี แปลว่า สินค้าและบริการที่ตกลงกันแล้ว จะไม่มีการกีดกัน ประเทศใดเก่งก็สามารถไปขายสินค้าหรือบริการในประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียนได้โดยไม่มีภาษีศุลกากร
  • แต่ขณะเดียวกัน.. ถ้าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนเก่งกว่าประเทศไทย เขาก็เข้ามาแข่งกับประเทศเราได้
  •   ถ้าท้องถิ่นอ่อนแอ.. ธุรกิจบางอย่างก็จะหายไป
  • เราสามารถถือหุ้น ได้ถึง 60 % และต่างประเทศก็สามารถถือหุ้น 60% เท่ากัน
  • มีการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี
  • ที่กระทบกับเรามากๆคือ นักบัญชี
  • ยิ่งไปกว่านั้นยังเปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามประเทศอาเซียนด้วย เช่น ถ้าคนไทยเก่งก็สามารถไปทำงานในอาเซียนได้ และคนมาเลเซียก็อาจจะมาทำงานแข่งกับคนไทยได้ คนไทยก็อาจจะตกงานได้ หากไม่พัฒนาทุนมนุษย์
  • เมื่อเห็นภาพดังกล่าวแล้ว.. สิ่งที่สำคัญที่สุดในวันนี้ ก็คือ ค้นหาตัวท่าน
  • ต้องคิด วิเคราะห์ว่าอะไรเกิดขึ้น เตรียมพร้อม และสำคัญที่สุดจะฉกฉวยโอกาส และหลีกเลี่ยงการคุกคามอย่างไร?
  •  มีความมั่นใจว่าท้องถิ่นปรับตัวได้
  • ธุรกิจสหกรณ์ร้านค้าหากไม่มีการปรับตัว ก็ไม่สามารถอยู่ได้
  • ก่อนที่จะมีอาเซียนเสรี ก็มีการเปิดประเทศที่กำหนดโดยองค์การการค้าระหว่างประเทศ (WTO) หรือการเซ็นสัญญาเปิดเขตการค้าเสรีเฉพาะ (FTA) เช่น ไทย – อินเดีย, ไทย – จีน มาแล้ว ซึ่งในอดีตจุดอ่อน ก็คือ รัฐบาลยังไม่ได้ให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ ทำให้ประชาชนชาวไทยโดยเฉพาะผู้นำท้องถิ่นบางกลุ่มได้ แต่บางกลุ่มเสีย เช่น ผู้ส่งออกได้ แรงงานมีคุณภาพได้เพราะมีทักษะ และภาษาดีกว่า มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ธุรกิจเล็ก เช่น โชห่วย ต้องปิดตัวไป.. วันนี้จึงเป็นจุดที่สำคัญที่ได้มาแบ่งปันความรู้กัน
  • ในการปรับตัวของผู้นำสหกรณ์ในวันนี้
  • สิ่งแรกก็คือ เข้าใจ ศึกษาให้ถ่องแท้ โอกาสที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง อยู่ที่ว่าผู้นำจะฉกฉวยอย่างไร? โอกาสแรก คือ เรื่องการขยายของตลาด เฉพาะอาเซียน อย่างเดียวก็เพิ่มประชากร/ผู้บริโภคเพิ่มจาก 64 ล้านคน เป็น 500 ล้านคน.. ถ้านับอาเซียน+6 ก็มีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นหลายพันล้านคน
  • เราต้องเปลี่ยนภูมิปัญญาของเราให้เป็นมูลค่าเพิ่ม ต้องสื่อสารกับเค้าให้ได้
  • เราต้องมีเพื่อน มีเครือข่ายร่วมกัน และในอาเซียน ต้องมีเพื่อนเพิ่มขึ้นในต่างประเทศด้วย
  • สิ่งที่สำคัญคือ ปรับตัวเอง เรียนรู้ประเทศอื่นๆให้มากขึ้น
  • ต้องหาความรู้ทุกๆวัน และตรงประเด็น
  • ต้องมีความใฝ่รู้
  • ถ้าเราทำ 8K’s สำเร็จ เราต้องคิดนอกกรอบ ใน 5K’s มีความรู้ในเกษตร ความรู้ข้ามชาติ มีนวัตกรรมทำในสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ
  • เราอย่าอะไรเดิมๆ คือ อย่าติดสันดานเสมียน จัดสันดานผู้นำ ควรพัฒนาภาษา
  • ต้องมีการเจรจาต่อรอง
  • การปรับตัวที่สำคัญที่สุด ก็คือ เรื่องทัศนคติ คือ ประเทศไทยจะไม่เหมือนเดิม จะเป็นประเทศที่ต้องอยู่ร่วมกับประเทศอื่น ๆ อีก รวม 10 ประเทศ - ผู้นำท้องถิ่นไม่ใช่แค่ผู้นำของอำเภอหรือตำบล ในประเทศไทยอีกต่อไป จะต้องเป็นผู้นำในชุมชนเดียว (One Community) คือ ชุมชนอาเซียน
  •  การปรับตัวครั้งนี้ต้องกระจายความรู้ไปยังชุมชนในแนวกว้าง
  • รักษาภูมิปัญญาและรากเหง้าหรือความเป็นตัวตนของท้องถิ่นไทย แต่ที่สำคัญที่สุด ถึงเราจะเป็นชุมชนอาเซียน แต่เราก็ต้องคงไว้ที่ภูมิปัญญาและรากเหง้าความเป็นตัวตนของท้องถิ่นไทย ของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งในอนาคตก็จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น หากมีบริหารจัดการที่ดี
  • ต้องพัฒนา “คนไทย” ให้ “สื่อสาร” ภาษาอังกฤษ+ภาษาอาเซียนได้ ถึงเวลาแล้วที่ท้องถิ่นต้องพร้อมมากขึ้นในเรื่องภาษา ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน และยิ่งไปกว่านั้นภาษาคอมพิวเตอร์ ที่จะคุยแลกเปลี่ยนกับชาวอาเซียนด้วยกัน 
  • ต้องสนับสนุนให้โรงเรียนภายใต้การดูแลของ อบจ. / เทศบาล และอบต. สนใจการพัฒนาภาษาต่างประเทศ ทั้งอังกฤษ + ภาษาอื่น ๆ เพื่อสร้างทุนมนุษย์ของประเทศไทยให้มีความสามารถเรื่องภาษาให้ได้โดยเร็วที่สุด
  • การปรับตัวที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ ความใฝ่รู้ คือสร้างให้ท้องถิ่นเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ เปิดเวทีให้ชาวบ้านได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกันไม่ใช่ผู้นำสั่งการให้ทำตามสั่งอย่างเดียว – ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นก็ต้องมีความใฝ่รู้ด้วยและต้องมีเจ้าหน้าที่ดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวกับ“อาเซียน”เป็นพิเศษ ซึ่งจะต้องกระตุ้นให้ชุมชนสนใจและเข้าใจเพื่อสร้างโอกาส
  • ต้องทำสินค้าให้แปลกกว่าคนอื่นถึงจะอยู่ต่อไปได้
  • มีการคิดร่วมกัน อยากให้ชอบการเรียน มีบรรยากาศที่ดี มีการปะทะกันทางปัญญา
  • อยากให้ใฝ่รู้ต่อไป และเป็นชุมชนต่อการเรียนรู้ต่อไป

 

Workshop

1. ในฐานะของกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ในภาคอีสาน เรื่องการรองรับกับ  AEC

  •   จุดแข็ง 3 เรื่องคืออะไร
  •   จุดอ่อน 3 เรื่องคืออะไร
  •   เสนอโครงการที่ควรทำใน AEC  1 เรื่อง
  •   จะพัฒนาบุคลากรครูในสหกรณ์ออมทรัพย์ครูอย่างไร?

2. ในฐานะของกลุ่มสหกรณ์การเกษตรในภาคอีสาน เรื่องการรองรับกับ  AEC

  •   จุดแข็ง 3 เรื่องคืออะไร
  •   จุดอ่อน 3 เรื่องคืออะไร
  •   เสนอโครงการที่ควรทำใน AEC  1 เรื่อง
  •   จะพัฒนาบุคลากรในสหกรณ์การเกษตร ที่เหมาะสมคืออะไร

3. ในฐานะของกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขในภาคอีสาน เรื่องการรองรับกับ  AEC

  •   จุดแข็ง 3 เรื่องคืออะไร
  •   จุดอ่อน 3 เรื่องคืออะไร
  •   เสนอโครงการที่ควรทำใน AEC  1 เรื่อง
  •   จะพัฒนาบุคลากรในสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุข ที่เหมาะสมคืออะไร

 

สหกรณ์ออมทรัพย์ครู

1.จุดแข็ง

  • ความสามารถในการระดม เนื่องจากเรามีสมาชิกข้าราชากรครูและลูกจ้า
  • เข้าถึงแหล่งทุนได้ง่าย เรามีสมาชิกและพันธมิตรมากมาย

2. จุดอ่อน

  • คุณธรรม จริยธรรรม สมาชิกกู้เงินได้ และขาดการชำระเงิน ใช้เงินเยอะ
  • เจ้าหน้าที่ ก็เหมือนข้าราชการประจำ มีการหมุนเวียนเข้ามา
  • ความรู้และทักษะ ไม่มีการพัฒนาเพิ่มเติม ไม่มีความรู้ทางด้าน IT

ดร.จีระ

  • ต้องปรับเรื่อง คุณธรรม จริยธรรรม
  • ต้องดูแลพนักงานให้มากขึ้น ต้องพัฒนาให้มีความสามารถและ Empower และเราก็กำกับดูแล ลองทำดู ให้มีขวัญกำลังใจและให้มีความสามารถ
  • ต้องดูแลระดับเจ้าหน้าที่ด้วย สามารถ

3.เสนอโครงการ

  • โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเรียนรู้ไปสู่อาเซียน เช่น กรรมการ สมาชิก เลือกผู้แทนสมาชิก และส่วนที่เหลือทำเอกสารและแผ่นความรู้ให้ดูทางอินเตอร์เน็ทด้วย

 

ตัวแทนภาคเกษตร

จุดแข็ง

  • มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย
  • ครอบคลุมเต็มพื้น

จุดอ่อน

  • เงินทุนของสหกรณ์ เพิ่งพาเงินกู้เป็นหลัก
  • องค์ความรู้ใหม่ๆ สมาชิกมีองค์ความรู้เดิม
  • นโยบายของรัฐไม่เอื้อของการทำงานขององค์กรภาคเกษตร

 

เสนอโครงการ

  • โค น่าจะมีขยายแม่พันธุ์ดี และพัฒนาสายพันธุ์ไปพร้อมๆกัน
  • เน้นด้านการตลาดนมที่เป็นตลาดพาณิชย์ มีแต่นมโรงเรียน จะส่งสู่อาเซียนยาก
  • อยากให้จัดหาเมล็ดข้าวพันธุ์และเพียงพอต่อสมาชิก และได้ราคาที่เหมาะสม อย่าสูงไป
  • ปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี อยากให้มีโรงงานเป็นของตัวเอง และรวมกลุ่มกันซื้อ และมีการขายจำหน่ายร่วมกัน
  • ผลิตและจัดหาการผลิตในราคาต้นทุนต่ำให้สมาชิก
  • โครงการ ผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย
  • การพัฒนาบุคลากร เจ้าหน้าที่ คณะกรรมการ และสมาชิกทั้งหมด เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ เน้นความสำคัญก่อนหลัง
  • สิ่งที่อยากเน้นคือลดต้นทุน เพิ่มผลิต ให้ได้รับคุณภาพ

ดร.จีระ

  • ขอชมเชยทั้ง 2 กลุ่มที่ได้นำเสนอเรื่องที่สำคัญ ผมจะไปคิดที่จะทำอะไรที่จะเป็นประโยชน์ต่อท่านจริงๆ เมื่อในพื้นที่ที่สำคัญในสหกรณ์ เช่น เรื่องโคนม หนองโพ มีการเซ็นต์สัญญากับออสเตรเลีย แต่ในอาเซียนคิดว่าเราก็ไม่แพ้ในกลุ่มอาเซียน และอยากให้เป็นนมพาณิชย์ที่ใช่นมโรงเรียน
  • ลดต้นทุน เพิ่มผลิต ให้ได้รับคุณภาพ ต้องทำให้เป็นที่ยอมรับ และสนใจในลูกค้าอาเซียนมากขึ้น

กลุ่มสาธารณสุข

จุดแข็ง

  • เรื่องบุคลากร มีองค์ความรู้ มีกลุ่มแพทย์ พยาบาลและลูกจ้าง และ ตชด.
  • วัฒนธรรมองค์กร เรามีทศพิทราชธรรม เน้นทางนี้เป็นหลัก
  • มีรูปแบบการบริหารจัดการที่ชัดเจน ทั้งบุคลากรและเจ้าหน้าที่อื่นๆ
  • การบริหารความเสี่ยง ไม่มีการเทคโอเวอร์
  • ตั้งเป้ากำไรอยู่ที่ 60 ล้าน

จุดอ่อน

  • ภาษา ไม่ดี ในกลุ่มอาเซียน
  • ด้านบัญชี ยังไม่เป็นสากลเท่าที่ควร
  • การแลกเปลี่ยน ต้องประชุมและจัดโครงการมากขึ้น

โครงการ

  • โครงการพัฒนาเครือข่ายในอาชีพเดียวกัน และระดับภูมิภาคให้คล้ายคลึงกัน และมีเครือข่ายด้วย
  • กิจกรรมด้านภาษาและทะเบียนเครือข่ายที่จะช่วยเหลือกัน
  • ระบบไอทีที่จะเชื่อมโยงกัน
  • มีการพัฒนาบุคลากรด้านความรู้ สุขภาพ มีผู้อาวุโสมาก ต้องพัฒนาด้านไอทีกับบุคลากรและสมาชิกด้วย
  • ผู้บริหารด้านการเงิน การบัญชี จะได้ไม่โดนหลอก

 

ดร.จีระ

  • มีความหลากหลายไม่เหมือนกัน ใน 3 กลุ่ม เรามารวมกลุ่มทั้ง 3 กลุ่ม จะได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
  • เรื่องครู เรามีน้อย ในเรื่องการพัฒนาครู
  • เกษตรต้องพัฒนาต่อไป
  • 3 กลุ่มจึงต้องแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ทำอย่างนี้เดือนละ 1 ครั้ง ต้องเป็นหลักสูตรที่เน้น 4L’s
  • คนในภาคเกษตรต้องการมีเวทีที่จะเล่น เช่น เรื่องข้าว เกษตร โคนม เป็นต้น
  • จับประเด็นหลายอย่างได้ดี มีการลากสิ่งเหล่านี้ไปสู่การปฏิบัติ ต้องการเปลี่ยนคนในห้องนี้เป็นทุนมนุษย์ที่สูงขึ้น
  • ไม่มีใครแก่เกินเรียน  ปัญญาต้องใช้เวลาในการฝึก
  • ต้องสนใจลูกค้าในอนาคตด้วย ต้องไปปะทะกับความจริงต่อไปด้วย

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท