วิธีการพิจารณาแยกพระผงสุพรรณ ออกจากพระโรงงาน


แม้จะใช้เทคนิคใหม่ที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็น แต่ฝีมือยังห่างอีกไกลโขครับ
วันนี้พรรคพวกได้ส่งพระผงสุพรรณมาให้พิจารณาหนึ่งองค์
เป็นพระผงสุพรรณเนื้อแดง นิยมสูงสุดก็ว่าได้
ต้นเรื่องแจ้งมาว่าเนื้อดี เลยน่าสนใจ และส่งมาให้ดู
ผมดูปราดแรก ก็สะดุดหลายจุด
  • คราบน้ำว่านดูบวมๆ
  • ผิวพระดูเละๆ
  • ลายมือดูคมๆ
  • ขอบดูเรียบๆ

เลยลองส่องเนื้อก่อน ปรากฏว่ามีสีน้ำว่าน มวลสาร และนุ่มเหมือนดินดิบ

เอ๊ะน่าสนใจจริงๆ

  • จึงส่องดูขอบรอยตัด

    • อ้าว...ทำไมไม่มีก้อนน้ำว่านฉ่ำๆที่หน้าตัด
  • ส่องดูคราบกรุ
    • อ้าว...ทำไมดูเหมือนอะไรสกปรกดำๆมาโปะอยู่ที่ผิว
  • ส่องดูลายมือแบบชัดๆ
    • อ้าว...ทำไมคมเฉียบแบบนั้น 
  • ส่องดูส่วนนูนขององค์พระ
    • อ้าว...ทำไมไม่มีก้อนมวลสารนูน
  • กลับไปส่องดูที่พิมพ์พระ ที่พระกรรณ ทั้งสองข้าง
    • อ้าว... ทำไมมีอะไรโปะเลอะๆ เทอะๆ
    • คราบโปะ ไม่มีส่วนสัมพันธ์กับเนื้อพระเลย

สงสัยจะไม่ดีซะแล้ว รีบส่งกลับบ้านเกิดของท่านจะดีกว่า มาทางไหนไปทางนั้นเลยครับ

เลยถ่ายรูปไว้ และนำมาเสนอให้เห็นขั้นตอนที่ควรใช้ในการพิจารณาอย่างง่ายๆ สำหรับมือใหม่หัดส่องครับ

กรณีของพระโรงงานองค์นี้
  • ช่างที่ทำเน้นทำพิมพ์
  • ตำหนิ และ
  • เนื้อให้เหมือนเนื้อว่านของจริง (เทคนิคใหม่)
    • โดยนำเรซินเม็ดๆ สีแดง
    • ผสมสารสีต่างๆคล้ายมวลสารในพระผงสุพรรณ
    • นำมาอัดให้เป็นรูปองค์พระ
    • แต่งตำหนิ และพิมพ์ เหมือนพระเรซินรุ่นเก่าๆ

คงมั่นใจมาก เนื้อก็ทำหลอกได้แล้ว พิมพ์ก็ใกล้เคียง

เลยลืม หรือประมาท

  • การแต่งคราบกรุ
  • คราบน้ำว่านฉ่ำบนผิวพระ
  • ความฉ่ำของผิวโดยรวม
  • ผิวเนื้อปลิ้นด้านหลัง
  • ผิวเนื้อนูนของมวลสารบนองค์พระ
  • ความเหี่ยวของผิว 
  • ความเหี่ยวของลายมือ และ
  • ความลึกและความเหี่ยวของรอยตัดด้านข้าง และ
  • ก้อนน้ำว่านฉ่ำที่รอยตัดด้านข้าง

รวมคะแนนแล้ว เรียกว่า ผ่านคร่าวๆ หยาบๆ ในเบื้องต้น สามข้อ ตกเก้าข้อ  ได้ 25%

นี่ยังไม่นับรวมหักคะแนน

ความเพี้ยนของพิมพ์และตำหนิ ในรายละเอียดอีกมาก

แต่บังเอิญในวงการพระเครื่อง แม้จะได้ 90% หรือ 99% คือ แค่ตกข้อเดียว หรือประเด็นเดียวก็ไม่ผ่านแล้ว

จึงแจงมาเพื่อการใช้พิจารณา ใครมีประสบการณ์อะไร กรุณาช่วยเพิ่มเติมด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 496343เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2012 02:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2013 08:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท