พระผงสุพรรณ "เก๊สูงสุด" ได้แค่ไหน


พระผงสุพรรณเก๊ดูยากที่สุด พบว่าน่าจะทำจากเรซินอัด ผสมเม็ดสีแดงในเนื้อ แต่งผิวรอบองค์ ทาสารเคลือบมัน ลงรัก แต่งผิวสีดำแทนรารัก และโรยแป้งแทนยางปลี

หลังจากผมคัดพระผงสุพรรณรอบที่สองเมื่อสองเดือนที่แล้ว ผมได้ไปอ่านหนังสือผงสุพรรณของคุณมนัส โอภากุล ที่ทำให้ได้แนวคิดว่า

มีผงสุพรรณปลอมทำด้วยดินเผาแต่งผิว เกิดขึ้นมาเมื่อหลายปีมาแล้ว

ผมจึงกลับไปไล่ดูเนื้อพระผงสุพรรณ ก็พบว่า ยังมีปนมาจริงๆ

ดังได้นำเสนอไปแล้วเมื่อเดือนที่แล้ว

ทำให้ผมได้มีแนวคิดในการคัดผงสุพรรณมากขึ้นไปอีก

จึงนำพระเก๊ที่ใกล้เคียงมากๆ มาเทียบกับพระแท้

พระเก๊เนื้อเรซินแต่งผิว แบบใกล้เคียงมากๆ

 

 

 

พระผงสุพรรณแท้ เนื้อดินดิบองค์ที่ 1

 

พระผงสุพรรณดินดิบแท้ องค์ที่ 2

 

เทียบไปมาหลายรอบ จนเริ่มตกผลึกทางความเข้าใจว่า

ที่แท้ เนื้อพระผงสุพรรณนั้น มีทั้งดินผสมน้ำว่าน และมวลสารต่างๆอีกหลายชนิด

มวลสารเหล่านี้จะมีความแข็ง และทนทานมากกว่าดิน

แม้แต่เม็ดน้ำว่านเองก็ทนมากกว่าดิน

จึงทำให้พระผงสุพรรณแท้ๆ มีเม็ดมวลสาร "มนๆ" นูนๆ อยู่ที่ผิวกร่อน (โปรดดูภาพประกอบ)

และถ้าการขัดถูไม่รุนแรงนัก เช่น บริเวณรอบๆ จุดสูงสุดบนองค์พระ ก็อาจจะพบเม็ดน้ำว่านนูนเด่นอยู่บนผิวดิน

แม้จุดที่ขัดถูค่อนข้างรุนแรงจนผิวพระสึกเกือบเสมอกัน ก็ยังจะพบว่าเม็ดว่านสีแดงนั้น บางเม็ดยังจะยังคงนูนกว่าเนื้อดินนิดหนึ่ง

ที่จะสังเกตได้จากการเล็งดูที่เม็ดสีแดง แล้วพลิกพระให้สะท้อนแสงตรงจุดเม็ดแดง ก็จะเห็นได้อย่างชัดเจน (ไม่สามารถถ่ายรูปได้ ต้องลองทำเอง)

และจุดที่ยังพบเม็ดน้ำว่าน และมวลสาร ลอยเด่นออกมาอยู่สูงกว่าผิวเนื้อดิน ก็คือด้านข้าง ตามรอยตัด

ที่จะมีทั้งแร่ลอย ก้อนน้ำว่านลอย และรอยครูดของมวลสารเหล่านี้ในระหว่างการตัด

ที่ถึงแม้จะมีคราบกรุปิดบังตรงรอยตัดอยู่บ้าง ก็จะมีความฉ่ำแบบ "แอบแฝง" ที่ผิวเม็ดน้ำว่านอยู่ทุกเม็ด (โปรดดูภาพประกอบ)

สำหรับพระผงสุพรรณเก๊ดูยากที่สุด พบว่า

  • น่าจะทำจากเรซินอัด
  • ผสมเม็ดสีแดง และสีอื่นๆในเนื้อ คล้ายกับที่ปรากฏในพระแท้
  • เกือบทุกรายละเอียดของผิวและพิมพ์พระ ทำได้เนียนมาก
    • รอยตัด
    • เส้นน้ำตก
    • ตำหนิประจำพิมพ์
    • คลื่นบนผิวองค์พระ และ
    • สีน้ำว่านบนองค์พระ
  • ขัดแต่งผิว แต่งสี
  • ทาสารเคลือบมัน
  • ลงรัก
  • แต่งผิวสีดำๆประปราย แทนรารัก
  • ทำคราบกรุปลอมรอบองค์
  • โรยแป้งบางๆแทนยางปลี

ดูจากภายนอกหยาบๆ หรือรูปที่ถ่ายไม่เน้นจุดตาย

"แท้แน่นอน"

ผมจึงพยายามนำหลักการที่ได้มาพิจารณาเปรียบเทียบ

จึงพบว่า สิ่งที่ยังเป็นร่องรอยที่ยังทำไม่สมบูรณ์ ในพระเก๊ ที่พบว่ายังมี

  • ผิวส่วนบนขององค์พระจะดูเรียบๆ ไม่มีมวลสารของพระ (ที่ใส่ไว้ในเนื้อ) นูนที่ผิว แต่กลับอาจมีส่วนนูน ที่ไม่เกี่ยวกับมวลสาร
  • ในร่ององค์พระอาจจะดูเป็นคลื่นแต่ไม่เหี่ยวเป็นริ้ว
  • รอยตัดมักจะเรียบ ไม่เป็นขุยยุ่ยๆ หรือมีร่องรอยการพอก หรือโปะเป็นเม็ดๆ ผิวเรียบแบบทาสารเคลือบ (ดูภาพประกอบ)
  • ที่รอยตัดมีร่องรอยการเคลือบมัน  แทนการมันจากในเนื้อ
  • ไม่มีเม็ดมวลสารลอย แม้จะมีบ้างก็ไม่ฉ่ำมัน

ถ้าสะกิดดูเนื้อ จะพบว่าไม่ใช่ดิน แต่เป็นเรซินใสๆ มีลักษณะคล้ายดิน เฉพาะที่ผิวเท่านั้น

สำหรับพระเนื้อดินเผานั้น

  • ผิวจะแข็ง ดูง่ายและแกร่งระดับที่เข็มสะกิดไม่เข้าเลยครับ
  • มวลสารต่างๆ ก็จะไม่ค่อยมีให้เห็น
  • ผิวมักจะดูกระด้างไม่มัน
  • และการแต่งผิวจะทำได้ยาก ดูหยาบๆ ไม่เนียน

ระดับเก๊ดูง่าย ไม่ต้องกังวลมากครับ

ใช้เกณฑ์พิจารณาแบบนี้ แล้วท่านน่าจะรอดจากงานฝีมือช่างทำพระครับ

มีอะไรจะมาเพิ่มเติมให้อีกครับ

หมายเลขบันทึก: 495390เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2012 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2013 08:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

เป็นไปไม่ได้ครับ สงสัยจะเป็นลานทองฉบับท่าพระจันทร์กระมังครับ แบบเดียวกับตำราพระนาดูนฉบับท่าพระจันทร์ที่วางขายกันเกลื่อนทั่วประเทศไทย อิอิอิอิ

ผมขอรบกวนอาจารย์พิจารณาครับว่า เป็นพระกรุ พระเกจิสร้าง หรือเก๊ฝีมือครับ

เกจิน่าจะดีกว่านี้ครับ และไม่เลียนแบบของเก่าขนาดนี้ครับ น่าจะเก๊มากกว่าครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ที่ให้ความรู้ครับ

เกจิจะดูใหม่ๆ และเรียบร้อยกว่านี้เยอะเลยครับ ดูเลอะๆเละๆ เจตนาไม่บริสุทธิ์ ไม่ควรไว้ใจครับ

เก๊ตาเปล่าเลยครับ ขนาดภาพเบลอร์ๆ นะครับ

ของแท้จะประมาณรูปนี้ครับ


ถ้าแท้นั้น ถ้าภาพไม่ชัดก็ดูยากครับ บังเอิญเก๊ตาเปล่า เลยดูง่าย อิอิอิอิอิ

สวยงามมากครับ เห็นลายเส้น ทิวๆ ทั่วองค์พระ

ขอบคุณมากครับ สำหรับรูปสวยๆ

amon.

น่าจะสัก 200 กิโลครับ เกือบใช่ครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์


เกือบใช่เลยครับ องค์แรกยังพลาดไปสักสองกิโล องค์สองสัก 500 เมตรครับ เนื้อเรซินทั้งคู่ครับทำได้คล้ายดินดิบมากครับ

ถ้าท่านจะกรุณาไปอ่านตำราที่ผมเขียนไว้บ้างก็จะไม่หลงไปไกลขนาดนี้ครับ

ขอได้โปรดอ่านตำรา หลักการฟันธง และดูรูปตัวอย่างที่ผมโพสต์ไว้หน่อยได้ไหมครับ จะให้กราบก็ยอมครับ อิอิอิอิ

ง่ายๆครับ ลองใช้เล็บสกิดดู ถ้าแข็งลื้นไปเลย หรือยุ่ยเล็บจิกเข้า เก๊แน่นอน

ของแท้จะแข็งเท่าๆกับเล็บ กดแรงๆจะออกฝุ่นบางๆ

ตรงนี้พระเก๊ยังไม่ได้ทำ และอาจจะยังทำไม่ได้ครับ

สงสัยอะไรโทรมาคุยได้ครับ

ประมาณระดับประถมครับ พลาสติกแต่งผิวแบบฝีมือช่างรายสัปดาห์ทำครับ

ผมขอสอบถามอาจารย์ครับ พระผงสุพรรณมันมีราขึ้นที่องค์พระ เราควรจะทำความสะอาดหรือเปล่าครับ เดี๋ยวผมถ่ายรูปจะนำมาลงให้อาจารย์ดูครับ

พระเกือบพันปีครับ เข้าใจอะไรผิดไปหรือเปล่าครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท