กรณีบางจาก


12 กรกฎกคม 55 เป็นวันที่ผมต้องบรรยายวิชา "จริยธรรมทางอุตสาหกรรม" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานที่ผมเพิ่มเริ่มชีวิตการทำงานอีกครั้ง หลังจาก "ว่างเว้น" ไปตั้งแต่ปี 2549 เมื่อมีอันต้องลาออกจาก "สายการบินแห่งชาติของไทย" เมื่อปีต้นปี 2549
เป็นการเริ่มต้นอาชีพที่ผมใฝ่ฝันไว้เมื่อ 10 ปี ที่แล้ว ที่ก็เป็นการยืนยันหลักการที่ว่า "ถ้าอยากจะไม่ได้" ตอนนั้นผมอยากเป็นอาจารย์มากครับ ดีกรีความอยากเข้าขั้นปรอทแตก จนทำให้ผมเป็นทุกข์มาก จึงตัดสินใจไปบวชเพื่อดับทุกข์ ผมบวชอยู่เกือบ 3 ปี ความอยากจึงดับครับ ่ และแล้วเมื่อความอยากดับไป ผมจึงสมหวังในสิ่งที่ปรารถนาครับ การสมหวังครั้งนี้ ไม่ได้มีอาการ "ลิงโลด" เหมือนสมหวังด้วยความอยากนะครับ ลองสังเกตดูเวลาเราสมหวังกับสิ่งที่อยากได้ มันจะมาพร้อมกับความกลัวว่าจะเสียมันไปใช่หรือเปล่าครับ แต่ครั้งนี้ ผมสมหวังกับสิ่งที่ผมหมดความอยากแล้ว ผมจึงไม่มีความกลัวดังกล่าว ทำให้ผมทำงานนี้อย่างมีความสุขครับ และผมก็เชื่อว่า "น้อง ๆ " ที่เรียนกับผม เขาน่าจะมีความสุขเช่นกัน เพราะผมก็ไม่ได้ไปคาดหวัง และกดดันเขาแต่อย่างไร เพราะว่า "ผมยอมรับได้ทุกอย่างในสิ่งที่เขาเป็นครับ" การสอน (อย่าเรียกว่าการสอนเลย เพราะผมก็ไม่ได้เก่งอาจอะไร เรียกว่า การ "ชวนคิด ชวนคุย" น่าจะเหมาะกับวิธีที่ผมใช้มากกว่า) ของผมจึงมีเรื่องราวที่จะนำมาเล่าสู่กันฟัง ให้เพื่อน ๆ ใน Facebook และน้อง ๆ ในห้องเรียนมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ และเรื่องที่ผมจะนำมาเล่าต่อไปนี้ ก็เป็นกรณีให้น้อง ๆ ฝึกแสดงความคิดเห็นในเรื่อง "ความรับผิดชอบต่อสังคม" ประเด็น "ย้ายหรือไม่ย้าย" ในกรณีของ "โรงกลั่นน้ำมันบางจาก" ที่เพิ่มเกิดอุบัติเหตุเมื่อเร็วนี้ ตามที่ปรากฏเป็นข่าวครับ
ผมให้น้อง ๆ นั่งระดมความคิดเห็นกันกลุ่มละ 3 คน แล้วเขียนแสดงความคิดเห็นออกมาสั้น ๆ ครับ ลองมาอ่านข้อความบางส่วนของแต่ละกลุ่มดูนะครับ
กลุ่มแรกบอกว่า "ไม่จำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้าย เนื่องจากการเคลื่อนย้ายทำได้ยากมาก" อีกกลุ่มบอกว่า "ไม่ควรย้ายท้้งสองฝ่าย บริษัทควรสร้างความปลอดภัยอย่างแน่นหนา" กลุ่มหนึ่งบอกว่า "บางจากควรย้ายออกไปครับ" เขาให้เหตุผลว่า "จากการช่วยกันปรึกษาภายในกลุ่มว่าทำไมบางจากถึงควรย้ายออกไป ได้รู้คำตอบว่า ถึงจะจ่ายเงินถึงแสนล้านจริง แต่กำไรในแต่ละปีของบางจากได้ไม่น้อย รวมถึงเพื่อความปลอดภัยของประชาชนด้วย" ผมอ่านแล้วตื่นเต้นไปกับข้อความทุกคำที่อ่านครับ "มันเป็นความคิดเห็นที่สดใหม่ ตรงมาจากจิตแท้ ๆ" ไม่ได้เสริมแต่งแต่อย่างใด ผมรู้สึกอย่างนั้นจริง ๆ
ลองมาดูของกลุ่มต่อไปนะครับ เขาบอกว่า "ไม่ย้ายออก แต่ต้องปรับปรุงเรื่องการจัดตั้งความปลอดภัยให้ดีกว่าเดิมมากยิ่งขึ้น" อีกกลุ่มว่า "ไม่จำเป็นต้องย้ายออกก็ได้ แต่ก็ต้องมีการจัดการการวางแผนการทำงานใหม่ เพื่อหาแนวทางการป้องกันที่ดี" อีกกลุ่มหนึ่งว่า "ไม่ย้ายออก" และให้เหตุผลเหมือนกลุ่มก่อนหน้าครับ อีกกลุ่มมีความเห็นต่าง ลองอ่านดูนะครับเขาบอกว่า "ชุมชนควรขยายออกจากโรงงานกลั่นน้ำมันบางจาก บริษัทบางจากควรจัดหาที่สร้างชุมชนใหม่" น่าสนใจมากครับสำหรับกลุ่มนี้ ลองดูอีกกลุ่มครับ "ไม่ต้องย้ายแต่ควรมีระบบป้องกันความปลอดภัย" แต่อีกกลุ่ีมบอกว่า "บางจากควรย้ายออกไปให้ห่างชุมชน เพื่อช่วยกันในเรื่องความปลอดภัยรอบข้าง" อีกกลุ่มบอกว่า "ไม่ควรย้ายทั้งสองฝ่าย เพราะต้องใช้เงินในการย้ายจำนวนมาก" อีกกลุ่มไม่ได้บอกว่าย้ายหรือไม่ย้ายแต่มีข้อแนะนำดี ๆ ว่า "โรงงานบางจากควรมีการปรับปรุงให้ได้มาตรฐานในเรื่องความปลอดภัยของพนักงาน" กลุ่มสุดท้ายมีความเห็นว่า "โรงงานบางจาก ควรมีการปรับปรุงให้ได้มาตรฐานในเรื่องความปลอดภัยของพนักงาน" แหม...ข้อความเหมือนกับกลุ่มแรกยังกับแพะ..เอ้ย..แกะ เลยครับ...น่ารักจริง ๆ
ครับ จากข้อความโดยรวมที่ยกมาให้อ่านเพียงบางส่วนของแต่ละกลุุ่่ม ซึ่งก็เอาใจความหลักมาให้อ่านกัน พอจะกล่าวได้ว่า ความคิดเห็นที่นักศึกษาร่วมกันแสดงออกมา ก็มีทั้งที่เห็นว่า ควรย้าย พร้อมให้เหตุผล และไม่ควรย้าย พร้อมให้เหตุผล พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางในการป้องกันอุบัติเหตุมาด้วยครับ นี่แสดงว่านักศึกษาเริ่มมีความเข้าใจ "ปัญหาทางจริยธรรมทางอุตสาหกรรม" ดีขึ้นแล้ว
หรือท่านอ่านแล้ว มีความเห็นอย่างไร ยินดีรับฟังความคิดเห็นทุกแง่ทุกมุมครับ
ศรติ ภูมิโพธิ (สะ-ระ-ติ พูม-โพ-ทิ)

หมายเลขบันทึก: 495386เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2012 08:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กรกฎาคม 2012 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอให้กำลังใจผู้เขียนก่อน...

..แต่.. ..ยังไม่อยากให้สรุปว่าสิ่งที่ได้นั้นคือ ข้อสรุปด้านจริยธรรมของอุตสาหกรรม จริง...

..เพราะมูลเหตุ ปัจจุัย และข้อจำกัด ต่าง ๆ ของ "บางจาก" ที่ต้องอยู่ ณ ที่นั้น เรายังสรุปไม่ได้ และจากข้อเขียนที่ร่วมกันคุยแลกเปลี่ยนนั้น มันมิได้มีกล่าวไว้ ดังนั้นข้อคิดเห็นที่พูดคุย ก็คงมีพื้นฐานจากความรู้ ความเข้าใจเดิมที่ นักเรียนนักศึกษา ได้มีอยู่ก่อนหน้า...

...แต่อาจสรุปได้ว่า นักเรียน นักศึกษา เร่ิมรู้จักมีความคิดอะไรบางอย่าง (ต่อประเด็นที่อุตสาหกรรมอาจล่อแหลมกับความปลอดภัย) เราสรุปได้แค่นั้น...

มิฉะนัน ข้อสรุปนี้จะนำไปสู่ บทส่งท้ายที่ว่า บางจาก เป็นผู้ร้าย แม้จะเกิดปัญหาที่ดูเหมือนใหญ่โต ในสายตาของคนหลายคน (ซึ่งในทางกลับกัน คนเหล่านั้นก็จะเห็นบางจาก "เพิกเฉย" ต่อแนวทางแก้ไขไปหน่อย)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท