สิ่งต่างๆ 5 สิ่งที่ทำให้มนุษย์ต้องตาย


5 hazzard attitude

สิ่งต่างๆ 5 สิ่งหรือวิธีคิด 5 รูปแบบที่ทำให้มนุษย์ต้องตาย (5 hazardous attitude)

ได้แก่

1.Anti Authority ความรู้สึกและการกระทำที่ต่อต้านกฏเกณฑ์

2. Impassivity ทำตามอารมณ์ชั่ววูบ ขาดสติ(ขาดเหตุผลมาควบคุมอารมณ์)

3.Invulnerability ประมาท คิดว่าสิ่งไม่ดีจะไม่เกิดกับเรา

4.Macho ไม่ยอมรับฟังความเห็นคนอื่น

5.Resignation รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

1.Anti Authority ความรู้สึกและการกระทำที่ต่อต้านกฏเกณฑ์ ใครห้ามอะไรอยากลอง อยากทำดูว่าจะเกิดอะไรไหม เช่น มีรูหนึ่งรูบนผนัง เขียนว่า ระวังอย่าแอบดู เราเห็นแล้วอยากแอบดูเอาตาไปแนบมอง อีกด้านของผนังเป็นห้องเก็บแบตเตอรรี่มีไอน้ำกรดอยู่เต็ม เราเอาตาเราเข้าไปใกล้รูนั้น ไปน้ำกรดก็จะเป็นอันตรายต่อดวงตาเราได้ อีกกรณีหนึ่ง พ่อบอกเราว่าเตารีดมันร้อนนะ อย่าเอามือไปจับ เรารู้สึกว่าอยากจับดูว่าจะร้อนสักแค่ไหนเชียว จึงลองจับดูจนมือพองถึงได้เชื่อแล้วว่ามันร้อนน่ะครับ

2.Impulsitivity ทำตามอารมณ์ชั่ววูบ ขาดสติ(ขาดเหตุผลมาควบคุมอารมณ์) ขาดความยับยั้งชั่งใจ บันดาลโทสะ หุนหันพลันแล่น ใจร้อน ทำตามความคิดแรก ที่เรียกว่าคนใจร้อนนั่นเองครับ ต้องฝึกครับฝึกมากๆนับ 1 ถึง 10 ในใจก็ได้ครับ ถ้าใจยังไม่เย็นก็ให้นับต่อไปถึง 20 ถึง 50 และต่อๆไปจนใจเราเย็นลงนั่นเองครับ ประมาณว่าใช้เวลาเยียวยาจิตใจหน่อย การเยียวยาก็คือให้เวลากับตนเอง ใคร่ครวญหาสาเหตุว่าทำไม สิ่งที่เกิดนั้น มากระทบกับร่างกาย มือแขนขา ตา หู จมูก ลิ้น หรือมาผัสสะกับจิตใจ เราทำให้เราไม่สบายใจ ไม่พอใจ โกรธ ทำไมเค้าต้องทำอย่างนั้น แสดงอย่างนั้น เอาใจเค้ามาใส่ใจเราดูว่า ถ้าเป็นเราๆก็คงทำไม่ต่างจากเค้าเท่าไร หมายถึงก่อนที่เราจะถูกฝึกนะครับ ให้คิดว่เสียว่า มนุษย์ที่ยังไม่ถูกฝึกการควบคุมจิตใจควบคุมอารมณ์ เค้าก็ทำกันด้วยอารมณ์ทั้งนั้น มองให้เห็นเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียได้ก็ดี การภาวนาช่างมัน ช่างเขา หรือถ้าทางพระก็เรียกว่า ขออนุโมทนาบุญที่คุณพระคุณเจ้าที่เค้าเคารพ น่าจะช่วยเค้าขึ้นมาได้ เหมือนได้นำเอาดอกบัวที่ติดอยู่ในโคลนตม ขึ้นมาให้โผล่พ้นน้ำได้ครับ

3.Invulnerability ประมาท คิดว่าสิ่งไม่ดีจะไม่เกิดกับเรา ประเมินสถาณการณ์ต่ำเกินไป ไม่เตรียมตัวรับมือให้พร้อมทุกด้าน ทำให้การตั้งรับ หรือเตรียมการณ์แก้ไขปัญหาไม่ทัน เกิดผลเสียตามมาอย่างแวดกว้าง เช่น ทำไมฝูงกวางถึงได้หากินอยู่ในแหล่งน้ำที่มันเห็นอยู่แล้วว่ามีเสืออาศัยอยู่แถวหนองน้ำนั้น เพราะกวางคิดว่าเสือจะไม่กินตนเอง คงกินกวางตัวอื่นๆอย่างที่มันเห็นอยู่บ่อยๆ มันก็เลยไม่อพยพไปหากินน้ำในหนองน้ำอื่นที่อื่นที่ไกลจากเสือ แต่แล้วสักวันหนึ่งตัวมันที่คิดแบบนี้ก็ถูกเสือกิน

4.Macho ไม่ยอมรับฟังความเห็นคนอื่น ไม่เชื่อคนอื่นนอกจากตัวเอง เอาความคิดตัวเองเป็นหลัก มั่นใจในตัวเองสูงเกินไป คิดว่าเราถูกเสมอ หรือเราแข็งแรงกว่าคนอื่นเสมอ เช่นการไปท้าคนอื่นงัดข้อ มั่นใจในตัวเองว่าคงไม่มีใครแข็งแรงกว่าเรา ซึ่งจริงๆแล้วคนที่แข็งแรงกว่าเราๆก็มีอีกมากมายในโลกนี้ อีกอย่างก็ทำอะไรเกินความสามารถ คิดว่าเราแข็งแรงทำคนเดียวไหว แต่พอทำแล้วไม่ไหว เกิคความเสียหายต่อทรัพย์สินต่างๆได้ครับ

5.Resignation รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง ทำผิดไม่คิดว่าสาเหตุบางอย่างหรือสาเหตุหลักเกิดจากเรา คิดว่าสิ่งอื่นเป็นสาเหตุหลักและรอง มองไม่เห็นหรือไม่มองความผิดพลาดของตนเอง ที่เราเห็นจุดบอดคนอื่นเห็นได้ง่าย แต่จุดบอดตนเองไม่ได้หันกลับมามองตนเอง จึงไม่ได้รู้จุดอ่อนของตนเอง

........................................................................................................................................................................

ปีนี้ 2559 กรณีรถโดยสารสาธารณะ และรถที่มีโมเมนตัมมากๆเช่นรถบรรทุก ที่ขับห้อตะบึง ขับเร็วในที่ชุมชน กรณีรถที่ขับเร็วจนชนท้ายรถตู้ กรณีขับเร็วจนคันที่ถูกชนไฟลุกไหม้คลอกคนขับกับผู้โดยสาร ขับชนจักรยาน กลับรถในที่คับขัน กลับในที่ห้ามกลับรถ ....

....ถึงเวลาแล้ว ที่กระบวนการขั้นตอนการพิจารณาออกใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะ ที่ผู้ขออนุญาตขับขี่ยานพาหนะโดยเฉพาะยานพาหนะที่รับขนผู้โดยสารสาธารณะหรือเช่าเหมา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง
1. ผู้ขอรับใบอนุญาตขับขี่ต้อง ผ่านกระบวนการทดสอบ ด้านกระบวนการคิด(Attitude Test) คือความสามารถในการควบคุมสติสัมปชัญญะ ให้นิ่งไม่ลนลานทำอะไรผิดพลาดอย่างต่อเนื่อง
2. ต้องผ่านการทดสอบภาคปฏิบัติ กรณี เมื่อความโกรธหรือตกใจ(ความคิดแรก)เกิด จะใช้เวลาน้อยที่สุดที่จะเริ่มเกิดความคิดที่สอง "ไม่หุนหันพลันแล่น" (Impulsitivity) เผลอกระทำการใดๆทำตามความคิดแรกด้วยความโกรธอันเป็นสาเหตุให้เข้าสู่ภาวะอันตราย
3.ทดสอบ "ความสามารถที่จะปฏิบัติการควบคุมยานพาหนะได้ถูกต้อง" หากมีสิ่งที่มากระทบจิตใจ(Impression)จะต้องสามารถตั้งสติควบคุมยานพาหนะ(ตามความคิดที่สอง ที่เกิดขึ้นทีหลัง) นั่นคือ
4.ทดสอบ "ความสามารถในการตัดสินใจควบคุมยานพาหนะให้หลีกเลี่ยงภาวะอันตรายได้อย่างรวดเร็วแต่ค่อยเป็นค่อยไป" ได้ทันเหตุการณ์แต่ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป - ทำแล้วดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงแล้วบริหารการปรับแก้ทำซ้ำเป็นวงรอบ - เหมือนหลักการของ SMS และ PDCA) จะไม่เกิดภาวะอันตรายต่อสาธารณะ
.................................................................................................................................................................
หมายเหตุ
ข้อ 3 - 4 วิธีคิดของสุภาพสตรีบางคนดูเหมือนจะเป็นปัญหาเรื่องการตัดสินและทิศทาง (woman driver fail)
.....................................................................................................................................................................
กรณีศึกษา - ดีเจกอไก่ ...

....หากผู้ขับขี่ ....หุนหันทำด้วยอารมณ์โกรธ(2.Impulsitivity)
เชื่อว่าวิธีคิดของตนที่คิดเองถูก(4.Macho) (ตนเองสามารถทำให้คนอื่นได้รับความเสียหายหากพบใครทำผิดกฏจราจร โดยตนไม่ผิด ซึ่งตนไม่ผิดกฏจราจรในเรื่องเส้นแบ่งเลน แต่ผิดที่เจตนาทำให้ผู้ร่วมทางเสียหายต่อทรัพย์ และผิดมารยาทที่ดีมีน้ำใจเมื่อขับรถในทางร่วมทางแยก)
ทำให้เกิดการกระทำที่ต่อต้านกฏเกณฑ์(1.Anti Authority)
โดยไม่มองความผิดพลาดของตนเอง(5.Resignation)
ไม่คิดว่าสาเหตุบางอย่างหรือสาเหตุหลักเกิดจากตน(3.Invulnerability)
และไม่คิดคิดว่าภาวะอันตรายจะเกิดแก่เราและสาธารณะ
นั่นคือ วิธีคิดของดีเจกอไก่
ครบองค์ประกอบความประมาท 1-5 เพราะควบคุมยานพาหนะด้วยความขาดสติควบคุมอารมณ์.....

.........................................................................................

กรณีศึกษา - รถตู้ชลบุรี ......

.....ที่ขนส่งหมอชิต เอกมัย มีการนำกระบวนการตรวจแอลกอฮอล์มาตรวจ (การตรวจติดตามหลังได้รับใบขับขี่สาธารณะ)

......ที่วินรถตู้ไม่ได้เข้าไปใช้พื้นที่ ณ ขนส่ง จนท.ขบ. จึงไม่ได้นำมาตรการตรวจแอลกอฮอล์มาตรวจ (ไม่มีการตรวจติดตามหลังได้รับใบขับขี่สาธารณะ) (จนท.ขบ.ให้ข่าว)

......ถึงเวลาแล้ว ที่ ที่ผู้ขออนุญาตขับขี่ยานพาหนะโดยเฉพาะยานพาหนะที่รับขนผู้โดยสารสาธารณะหรือเช่าเหมา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง

......สำนึกรับผิดชอบต่อสังคมต่อสาธารณะ (กระบวนการขั้นตอนการพิจารณาออกใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะ)

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอันตราย

......ไม่ทำตัวเองให้ร่างกายไม่สมบูรณ์ จากการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ต้องทราบว่าบุหรี่ทำให้เกิดภาวะอย่างไรต่อร่างกาย ระบุเกณฑ์การนอนพักผ่อนหลังการดื่ม ว่าต้องได้รับการนอนอย่างน้อยหลังดื่ม 12 ชั่วโมงก่อนปฏิบัติการ(บิน หรือ ขับรถ) (ที่วินรถตู้ยังไม่มีการตรวจติดตามหลังได้รับใบขับขี่สาธารณะ แต่ที่สถานีมีการตรวจฯ)

.......ไม่ทำตัวเองให้ร่างกายไม่สมบูรณ์ จากการพักผ่อนไม่เพียงพอ เกิดความล้า ทางสมรรถนะ (ที่วินรถตู้ยังไม่มีการตรวจติดตามหลังได้รับใบขับขี่สาธารณะ แต่ที่สถานีมีการตรวจฯ)

ความเสี่ยง - โอกาส : ความไม่สำนึกรับผิดชอบ

1.Anti Authority ความรู้สึกและการกระทำที่ต่อต้านกฏเกณฑ์ (อาจ)ขับเร็วเกินกฎกำหนด

2. Impassivity ทำตามอารมณ์ชั่ววูบ ขาดสติ (ร่างกายล้า กายไม่ไหวจึงขาดสติ วูบหลับ)

3.Invulnerability ประมาท คิดว่าสิ่งไม่ดีจะไม่เกิดกับเรา (อาจขับเร็ว) (ประเมินสมรรถนะตนเองพลาด คิดว่าร่างกายไหวแข็งแรงดี ฝืนปฏิบัติ ไม่เลี่ยงความเสี่ยงโดยการหยุดขับเพื่อพักผ่อน)

............

ความเสี่ยง - ความรุนแรง : ประมาท(นำรถขนของมาดัดแปลงทำรถขนคน) ความเร็ว น้ำหนัก เข็มขัดนิรภัย ฆ้อนทุบกระจก การตรวจรับรองและตรวจติดตามการติดตั้งระบบก๊าซ

ประมาท(นำรถขนของมาดัดแปลงทำรถขนคน) รถตู้ ออกแบบไว้ขนของ ส่วน รถอเนกประสงค์ รถเมล์ รถบัส รถมินิบัส ไมโครบัส ออกแบบไว้ขนผู้โดยสาร บ้านเรานำรถตู้มาดัดแปลงส่วนท้ายให้มีกระจกเปิดปิด ใส่เบาะนั่ง เพื่อใช้ขนคน

ความรุนแรงในการชนปะทะ :

1. ความแข็งแรงของตัวถังและส่วนหลังคาไม่ได้ออกแบบให้แข็งแรงเพียงพอที่จะรับและกระจายแรงกระแทก ตามSpecโครงสร้างมาตรฐาน GOA

2. รถตู้ชานต่ำทำให้เวลาเกิดการปะทะตรงๆแรงกระทำต่อตัวผู้โดยสารเป็นแรงแนวตรง รับแรงเกือบ100%(ประกอบกับโครงสร้างมิได้เป็นระบบกระจายแรงกระแทกGOA) ผิดจากรถบัสมีชานสูงแรงปะทะตัวผู้โดยสาร เป็นแรงแนวเฉือน เพราะปะทะด้านกันชนล่าง

ความเร็ว ....(รายละเอียดเดี๋ยวมาต่อกันครับ......)

น้ำหนัก .....

เข็มขัดนิรภัย .....

ฆ้อนทุบกระจก ....

ประตูฉุกเฉิน....รถตู้ไม่มีประตูฉุกเฉิน เพราะออกแบบไว้ขนส่งสินค้า รถส่วน รถอเนกประสงค์ รถเมล์ รถบัส รถมินิบัส ไมโครบัส ออกแบบไว้ขนผู้โดยสาร....???

การตรวจรับรองและตรวจติดตาม ความปลอดภัยของการติดตั้งระบบก๊าซทุกปีที่ 1.. 5, 6, 7, 8, 9, 10 ปี

...........................................................................................

นาทีที่ 05.00 "รถตู้ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อขนส่งคน แต่เอาไว้ใช้เพื่อขนส่งสิ่งของ ฉนั้นเมื่อมีการนำมาประยุกต์โดยเฉพาะระบบสองระบบ ต้องเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยทั้งตัวรถและอุปกรณ์ส่วนควบ - รมว.อาคมฯ

ในการนี้ รวค. มีมาตรการลดความเสี่ยงหลังอุบัติเหตุ ภายในปี 2562

1.รถตู้โดยสารต้องติด GPS และถูกควบคุมโดยศูนย์ควบคุม และ

2.ลดการขนส่งคนโดยรถตู้ระหว่างจังหวัดลง


3 ม.ค. 2017 - Sub.L.T.Macky_CAAT

การปล่อยให้ใช้รถตู้ทั้งขนส่งของและขนคน (สองระบบ)โดยมีอุปกรณ์ส่วนควบ เช่น เข็มขัดนิรภัย ฆ้อนทุบกระจก

หาใช่เป็นทางลดความเสี่ยงในด้าน ความรุนแรง หากยังขับด้วยความเร็วกันอยู่

ฉนั้นถ้าการติดGPS จะทำให้เกิดการควบคุมความเร็วได้ ก็จะสามารถลดความรุนแรงได้

และถ้าหากลดปริมาณรถตู้ที่วิ่งระหว่างจังหวัดได้ โอกาสเกิดภาวะอันตรายก็น้อยลง

ความเสี่ยงที่เหลือ

1.น่าจะเกิดจาก การประมาทเสมือนรถเมล์สาย 8 ที่ต้องรีบทำรอบเพื่อค่า่ตอบแทนให้นายจ้าง ทำให้การปฏิบัติตามกฏหมาย ขับ 4 พัก 1 ชม ไม่เป็นไปตามกฏ (ในคลิปคนขับได้เป็นไปได้ที่พักร่างกายแค่ประมาณ 25 นาที) และ

2.ขับเร็ว หากยางอ่อนโอกาสยางระเบิดสูง หรือ

3. หลับในเพราะความล้าจากข้อ 1.

สรุปสาเหตุหลักๆ

1. ไม่ได้พักตามกฏ 4 พัก 1 (ในคลิปอาจจะพักแค่25นาที)

2.ขับเร็วรีบทำรอบเวลาการพักไม่เป็นไปตามกฏ

3.รถตู้ขนของอนุโลมมาให้ขนคน (อีกระบบ) โดยมีมาตรการให้ติดเข็มขัดนิรภัย

เมื่อเกิดการปะทะแล้วถูกอัด ถูกกดดันกันเอง เพราะที่ว่างในรถตู้เมื่อจัดเก้าอี้คนนั่งแบบ 4 / 3 / 3 / 2 นั้น

จะไม่เหลือพื้นที่พอให้ผู้โดยสารสามารถจะดันร่างกาย(ที่บอบช้ำ)ช่วยเหลือตัวเองออกจากรถทำได้ลำบากหรือไม่สามารถทำได้เลย

..........................................................................................

3 ม.ค. 2017 พตอ.พิสิฏฐฯ รอง.ผกก.ภธ.ชลบุรี

Amarin Moring News : สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กรณีรถตู้ชนไฟไหม้

"ประตูสไลต์ข้างเดียวเมื่อชนจะเปิดไม่ได้ ขนาดของหน้าต่างบานเลื่อนเล็กไป

การเปิดประตูบานหลังที่หนักและที่เปิดอยู่ต่ำ ทำได้ยาก

ขบ. ควรกำหนด คสบ.รถขนส่งคนใหม่

เราต้องให้โอกาสคนที่บาดเจ็บสลบแล้วตื่นขึ้น มีช่องทางออกเยอะๆ

เราทำรถตู้เหมือนคอกกักคนไม่ให้ออก การที่จะฟื้นขึ้นมาแล้วออกจากตัวรถเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

ช่องทางออกฉุกเฉิน กระจกหน้าต่าง เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการที่ ผดส.

จะสามารถออกมานอกรถได้ รถตู้ที่อนุญาตให้วิ่งอยู่จึงไม่ปลอดภัย"

..........................................................................................

โมเดลเกณฑ์มาตรฐานผู้ขับขี่ยานพาหนะสาธารณะ

(อ้างอิงจากกฏของนักบิน เรื่อง 5 Hazzard Attitude ตามตำรา Jeppensan FAA ประเทศสหรัฐอเมริกา)

1. ผู้ขอรับใบอนุญาตขับขี่ต้อง ผ่านกระบวนการทดสอบ ด้านกระบวนการคิด(Attitude Test) คือความสามารถในการควบคุมสติสัมปชัญญะ ให้นิ่งไม่ลนลานทำอะไรผิดพลาดอย่างต่อเนื่อง (2.Impulsitivity ทำตามอารมณ์ชั่ววูบ ขาดสติ)
2. ต้องผ่านการทดสอบภาคปฏิบัติ กรณี เมื่อความโกรธหรือตกใจ(ความคิดแรก)เกิด จะใช้เวลาน้อยที่สุดที่จะเริ่มเกิดความคิดที่สอง "ไม่หุนหันพลันแล่น" (Impulsitivity) เผลอกระทำการใดๆทำตามความคิดแรกด้วยความโกรธอันเป็นสาเหตุให้เข้าสู่ภาวะอันตราย
3.ทดสอบ "ความสามารถที่จะปฏิบัติการควบคุมยานพาหนะได้ถูกต้อง" หากมีสิ่งที่มากระทบจิตใจ(Impression)จะต้องสามารถตั้งสติควบคุมยานพาหนะ(ตามความคิดที่สอง ที่เกิดขึ้นทีหลัง) นั่นคือ
4.ทดสอบ "ความสามารถในการตัดสินใจควบคุมยานพาหนะให้หลีกเลี่ยงภาวะอันตรายได้อย่างรวดเร็วแต่ค่อยเป็นค่อยไป" ได้ทันเหตุการณ์แต่ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป - ทำแล้วดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงแล้วบริหารการปรับแก้ทำซ้ำเป็นวงรอบ - เหมือนหลักการของ SMS และ PDCA) จะไม่เกิดภาวะอันตรายต่อสาธารณะ
...................................

ความเสี่ยง - ความรุนแรง : ประมาท(นำรถขนของมาดัดแปลงทำรถขนคน) ความเร็ว น้ำหนัก เข็มขัดนิรภัย ฆ้อนทุบกระจก การตรวจรับรองและตรวจติดตามการติดตั้งระบบก๊าซ

ประมาท(นำรถขนของมาดัดแปลงทำรถขนคน) รถตู้ ออกแบบไว้ขนของ ส่วน รถอเนกประสงค์ รถเมล์ รถบัส รถมินิบัส ไมโครบัส ออกแบบไว้ขนผู้โดยสาร บ้านเรานำรถตู้มาดัดแปลงส่วนท้ายให้มีกระจกเปิดปิด ใส่เบาะนั่ง เพื่อใช้ขนคน

ความรุนแรงในการชนปะทะ :

1. ความแข็งแรงของตัวถังและส่วนหลังคาไม่ได้ออกแบบให้แข็งแรงเพียงพอที่จะรับและกระจายแรงกระแทก ตามSpecโครงสร้างมาตรฐาน GOA

2. รถตู้ชานต่ำทำให้เวลาเกิดการปะทะตรงๆแรงกระทำต่อตัวผู้โดยสารเป็นแรงแนวตรง รับแรงเกือบ100%(ประกอบกับโครงสร้างมิได้เป็นระบบกระจายแรงกระแทกGOA) ผิดจากรถบัสมีชานสูงแรงปะทะตัวผู้โดยสาร เป็นแรงแนวเฉือน เพราะปะทะด้านกันชนล่าง

วิเคราะห์เหตุปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุและเกณฑ์มาตรฐานโดย Sub. L.T.Macky_CAAT

............................................................................................................

ความเสี่ยง - ความรุนแรง : ประมาท(นำรถขนของมาดัดแปลงทำรถขนคน)

รถตู้ ออกแบบไว้ขนของ ส่วน รถอเนกประสงค์ รถเมล์ รถบัส รถมินิบัส ไมโครบัส ออกแบบไว้ขนผู้โดยสาร บ้านเรานำรถตู้มาดัดแปลงส่วนท้ายให้มีกระจกเปิดปิด ใส่เบาะนั่ง เพื่อใช้ขนคน

ความรุนแรงในการชนปะทะ (ขบ.ควรพิจารณาทบทวน คสบ.ของรถตู้ขนส่งใหม่)

1. ความแข็งแรงของตัวถังและส่วนหลังคาไม่ได้ออกแบบให้แข็งแรงเพียงพอที่จะรับและกระจายแรงกระแทก ตามSpecโครงสร้างมาตรฐาน GOA

2. รถตู้ชานต่ำทำให้เวลาเกิดการปะทะตรงๆแรงกระทำต่อตัวผู้โดยสารเป็นแรงแนวตรง รับแรงเกือบ100%(ประกอบกับโครงสร้างมิได้เป็นระบบกระจายแรงกระแทกGOA) ผิดจากรถบัสมีชานสูงแรงปะทะตัวผู้โดยสาร เป็นแรงแนวเฉือน เพราะปะทะด้านกันชนล่าง

ช่องทางออกฉุกเฉิน (ขบ.ควรพิจารณาทบทวน คสบ.ของรถตู้ขนส่งใหม่)

3. ประตูสไลต์ข้างเดียวเมื่อชนจะเปิดไม่ได้ ขนาดของหน้าต่างบานเลื่อนเล็กไป

4. การเปิดประตูบานหลังที่หนักและที่เปิดอยู่ต่ำ ทำได้ยาก ต้องจัดทำปุ่มหรือโซ่ดึงเปิดติดตั้งเด่นชัด

5. จัดทำประตูหรือช่องทางออกฉุกเฉินอีกด้าน ขยายขนาดช่องกระจกหน้าต่าง ฆ้อนทุบกระจก เพื่อจะให้ผู้โดยสารสามารถออกมานอกรถได้

"เราต้องให้โอกาสคนที่ฟื้นจากการสลบมีช่องทางออกเยอะๆ การออกจากตัวรถเป็นสิ่งสำคัญที่สุด" 3 ม.ค. 2017 พตอ.พิสิฏฐฯ รอง.ผกก.ภธ.ชลบุรี

................................................................................................................

มาตรการแก้ไขในระยะยาว (แก้ไขที่ต้นเหตุ - เลือกวิธีการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง)

................................................................................................................

รวค.เล็งใช้รถโดยสารขนาดใหญ่แทนรถตู้หลังหมดอายุปี 62 เสื่อมสภาพการใช้งาน หวังลดอุบัติเหตุ เตรียมให้กรมขนส่งทางบกจัดอบรมผู้ขับรถโดยสารทุก 6 ด.

3 ม.ค. 60 - ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า ในการเดินทางของประชาชนในปี 2560 พบว่า ประชาชนเดินทางมากกว่าปี 2559 โดยเฉพาะการใช้รถขนส่งสาธารณะ รวมถึงปริมาณการใช้รถยนต์ก็สูงขึ้นเช่นกัน อีกทั้งการใช้มอเตอร์เวย์และทางด่วนการทางพิเศษด้วย ทั้งนี้วันที่ 2 ม.ค.ที่ผ่านมา ปริมาณการขาเข้า กทม.เพิ่มขึ้น ดังนั้นได้กำชับเรื่องการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่ทยอยเดินทางกลับทุกเส้นทาง โดยจะต้องระบายรถให้เคลื่อนตัวได้ ทั้งเส้นทางภาคอีสาน ภาคเหนือและภาคใต้ มีการเพิ่มช่องทางพิเศษเพื่ออำนวยความสะดวกได้ ซึ่งก็ได้ผล โดยมีเจ้าหน้าตำรวจทางหลวงและแขวงการทางดำเนินการอย่างเต็มที่

ส่วนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นสาเหตุ

อันดับ1 มาจากการเมาสุรา แต่ขณะนี้หมดช่วงการเฉลิมฉลองและเป็นช่วงการเดินทางกลับ

อันดับ 2 คือเรื่องความเร็ว โดยเฉพาะเส้นทางตรง และ

อันดับ 3 อุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์

ผู้สื่อข่าวถามว่า การควบคุมดูแลรถตู้โดยสาร เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่จะมีผู้โดยสารเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก นายอาคม กล่าวว่า ต้องดูหลายส่วนประกอบกัน ทั้งตัวรถ และอุปกรณ์ส่วนพ่วงต่างๆต้องได้มาตรฐาน รวมถึงสภาพถนน แต่ที่ผ่านมาก่อนถึงช่วงเทศกาลปีใหม่ทางกระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้มีการปรับปรุงพื้นผิวการจราจรไม่ให้มีหลุมและบ่อ แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้เกิดซ้ำจุด เพราะส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมผู้ขับรถที่มีหลายสาเหตุ เช่น เมาสุรา อาการเมื่อยล้า และหลับใน การควบคุมรถสาธารณะสามารถควบคุมได้แต่รถส่วนบุคคลต้องควบคุมตนเอง เพราะตามกฎหมายแรงงานให้คนขับรถทำงาน 8 ชั่วโมง แต่กรณีอุบัติเหตุรถตู้โดยสารที่จ.ชลบุรีต้องไปดูรอบการทำงานของผู้ขับ ส่วนสาเหตุในการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้อาจเกิดจากการขับรถเร็วเกินกว่ากำหนด จนรถเบรคไม่อยู่ และความเหนื่อยล้า ส่วนสาเหตุที่เกิดไฟไหม้ตัวรถจะเป็นเพราะรถตู้โดยสารมีติดแก๊สหรือไม่ ขณะนี้อยู่ในระหว่างตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่เบื้องต้นพบว่า รถตู้โดยสารคันดังกล่าวเข้าตรวจสอบสภาพรถเมื่อเดือนก.ย. 59 ที่ผ่านมา ซึ่งได้ผ่านการตรวขสอบและเบื้องต้นก็พบว่า รถตู้คันดังกล่าวถังแก๊สไม่ได้มีปัญหา จึงมองว่าอาจจะเกิดจากระบบหัวจ่ายน้ำมัน แต่ทั้งนี้จะต้องรอการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อความชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง

“ที่ต่างประเทศรถตู้ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อขนส่งคน แต่ใช้เพื่อขนส่งสิ่งของ ดังนั้นเมื่อมีการนำมาประยุกต์ โดยเฉพาะระบบสองระบบ ก็จะต้องเน้นย้ำในเรื่องระบบความปลอดภัย ทั้งตัวรถและอุปกรณ์ส่วนพ่วง ขณะเดียวกันในส่วนของผู้ขับขี่ รถตู้โดยในข้อบังคับของกรมขนส่งทางบกระบุไว้อย่างชัดเจนว่าขับรถ 4 ชั่วโมงต้องพัก 1 ชั่วโมง รวมไปถึงขณะนี้ได้มีการเร่งรัดให้ผู้ประกอบการนำรถตู้ติดจีพีเอส เพื่อให้สามารถตรวจสอบและควบคุมที่ศูนย์ควบคุมได้ รวมไปถึงภายในปี 62 จะผลักดันให้มีการใช้รถตู้โดยสารขนส่งข้ามจังหวัดลดลง เพราะรถตู้โดยสารส่วนใหญ่จะหมดอายุการใช้งาน และจะผลักดันให้ใช้รถโดยสารที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อความปลอดภัย พร้อมกับจะต้องให้ผู้ขับรถโดยสารเข้ารับการอบรมทุก 6 เดือนจากกรมการขนส่งทางบกเพื่อเตือนความจำเรื่องกฎหมายการจราจรและสร้างจิตสำนึกด้วย” รมว.คมนาคม กล่าว

.......................................................................................


หมายเลขบันทึก: 495378เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2012 01:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2017 04:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
.....เหตุผลกลใดที่ต้องขับเร็วขับแซงกัน.... เบรคแรงและรีบกระชากตัวออกรถ ....คำตอบของรถเมล์สาย 8 ก็คือ ..... "สาย 8 รถเยอะเป็นรถร่วมด้วยจึงต้องแข่งกันเป็นธรรมดา พี่ครับรถร้อนมันแยะตั้ง 80 คัน ต้องแย่งกับรถแอร์อีก50 คัน ก็ต้องแข่งกันเป็นธรรมดา... อุบัติเหตูมันก็เกิดได้ทุกเมื่อแหละครับ ผมทำดีที่สุดแล้ว"...... ธรรมดาของคนขับรถเมล์เห็นจะไม่ธรรมดา คิดเองว่าที่ต้องทำแบบนี้เพราะฉันมีเหตุกดดันให้ฉันทำ ฉันจึงทำแบบนี้เป็นปกติ ....... การกระทำที่ตัวเองคิดเองว่ามันมีเหตุผลรองรับเสมอ ....นี่คือหายนะ 5.... สิ่งที่ทำให้มนุษย์ต้องตาย 1 ใน 5 นั้นคือ Resignation ...รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง.... ทำผิดไม่คิดว่าสาเหตุบางอย่างหรือสาเหตุหลักเกิดจากเรา .....คิดว่าสิ่งอื่นเป็นสาเหตุหลักและรอง ....มองไม่เห็นหรือไม่มองความผิดพลาดของตนเอง ....ที่เราเห็นจุดบอดคนอื่นเห็นได้ง่าย แต่จุดบอดตนเองไม่ได้หันกลับมามองตนเอง ...จึ.งไม่ได้.รู้..จุ..ด..อ่..อ..น...ของตนเอง .... อ่านต่อ.... http://www.gotoknow.org/posts/495378

ขับรถบีน้ำใจกันไป พอถึงทางร่วมทางแยกควรมีน้ำใจสลับคันสลับขบวนกันไปมีน้ำใจให้เพื่อนร่วมทาง

1.Anti Authority ความรู้สึกและการกระทำที่ต่อต้านกฏเกณฑ์ ใครห้ามอะไรอยากลอง อยากทำดูว่าจะเกิดอะไรไหม เช่น มารยาทในการขับรถ(แบบไทยๆ)การแทรกเลนก็ควรต้องค่อยเป็นค่อยไป เราผิดเลนมาเค้าทางหลักไม่ยอมห้ามโกรธ ต้องละอายใจในการทำที่ไม่ถูก เรากล้าทำผิดคนอื่นทำถูกเราต้องยอมรับได้ ต้องรอคนมีน้ำใจบางคนยอมให้เราเข้าแม้เราทำผิดเขายังให้เราเข้าเลยแต่ส่วนใหญ่ไม่เต็มใจแต่เพราะเลี่ยงที่จะเสียเวลาหากเฉี่ยวกันเสียหายนั่นเองในเมื่อเราไม่เคารพกติกาขาดความเคารพกฏผู้อื่นเขาก็ขาดความเชื่อถือก็อย่าไปคิดว่าจะได้ความยุติธรรมทำนองว่สอ อะไรกันทีขอแค่นี้ขอไม่ได้แต่พอคนอื่นขอเราเราก็บอกว่าเค้ามาเบียดเบียนเราเราไม่ยอมแบบนี้ไม่ยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาล

2.Impulsitivity ทำตามอารมณ์ชั่ววูบ ขาดสติ(มาควบคุมอารมณ์) ขาดความยับยั้งชั่งใจ บันดาลโทสะ หุนหันพลันแล่น ใจร้อน ทำตามความคิดแรก ที่เรียกว่าคนใจร้อนนั่นเองครับ ต้องฝึกให้กระทำตามความคิดที่2ประมาณว่าใช้เวลาเยียวยาจิตใจหน่อย การเยียวยาก็คือให้เวลากับตนเอง ใคร่ครวญหาสาเหตุว่าทำไม สิ่งที่เกิดนั้น มากระทบกับร่างกาย มือแขนขา ตา หู จมูก ลิ้น หรือมาผัสสะกับจิตใจ เราทำให้เราไม่สบายใจ ไม่พอใจ โกรธ ทำไมเค้าต้องทำอย่างนั้น แสดงอย่างนั้น เอาใจเค้ามาใส่ใจเราดูว่า ถ้าเป็นเราๆก็คงทำไม่ต่างจากเค้าเท่าไหร่ ฝึกบ่อยๆความคิดที่สองก็จะเกิดได้เร็วขึ้น ก็จะไม่ขาดสติ คือคิดก่อนทำ

3.Invulnerability ประมาท คิดว่าสิ่งไม่ดีจะไม่เกิดกับเรา ประเมินสถาณการณ์ต่ำเกินไป ไม่เตรียมตัวรับมือให้พร้อมทุกด้าน ทำให้การตั้งรับ หรือเตรียมการณ์แก้ไขปัญหาไม่ทัน เกิดผลเสียตามมาอย่างแวดกว้าง เช่นทำไปเถอะเราขับรถมาทางเอก อย่างไรพอขับถึงทางร่วม ก็ขับไปเลยคิดเอาเองว่าจังหวะสุดท้ายเขาต้องหยุดให้เรา แล้วก็ชนกันที่จุดวัดใจ เพราะต่างคนต่างจะไปให้ถึงจุดที่อีกฝ่ายจะยอม แต่พอมีMachoเข้ามาด้วย การเฉี่ยวชนก็เกิดขึ้น

4.Macho ไม่ยอมรับฟังความเห็นคนอื่น ไม่เชื่อคนอื่นนอกจากตัวเอง มั่นใจในตัวเองสูงเกินไป คิดว่าเราถูกเสมอ หรือเราแข็งแรงกว่าคนอื่นเสมอ เช่นการไปท้าคนอื่นงัดข้อ มั่นใจในตัวเองว่าคงไม่มีใครแข็งแรงกว่าเรา ซึ่งจริงๆแล้วคนที่แข็งแรงกว่าเราๆก็มีอีกมากมายในโลกนี้ อีกอย่างก็ทำอะไรเกินความสามารถ คิดว่าเราแข็งแรงทำคนเดียวไหว แต่พอทำแล้วไม่ไหว เกิคความเสียหายต่อทรัพย์สินต่างๆได้ครับ อย่างที่ได้ยกตัวอย่าง คิดว่ายังไงเสียเราก็ถือไพ่เหนือกว่า ถ้าชนกันยังไงฉันก็ถูกเสมอ ชอบเอาชนะ ภาคภูมิใจในตัว โดยลืมมองว่าไปเบียดเบียนให้ผู้อื่นมีทุกข์จากการถูกทำลายทรัพย์สิน สุขบนทุกข์ของผู้อื่น และยังไม่รู้ตัวเพราะมีResignationเห็นผิดเป็นชอบเกิดขึ้นอีกพร้อมกันไป

5.Resignation รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง ทำผิดไม่คิดว่าสาเหตุบางอย่างหรือสาเหตุหลักเกิดจากเรา คิดว่าสิ่งอื่นเป็นสาเหตุหลักและรอง มองไม่เห็นหรือไม่มองความผิดพลาดของตนเอง ที่เราเห็นจุดบอดคนอื่นเห็นได้ง่าย แต่จุดบอดตนเองไม่ได้หันกลับมามองตนเอง จึงไม่ได้รู้จุดอ่อนของตนเอง รู้ตัวเมื่อสาย ทำตัวเองเหมือนเป็นคนตัดสินอะไรด้วยวิธีตนเอง ไม่ใช้กฎหมายบ้านเมือง คิดว่าตนเป็นแบบอย่างที่จะดัดนิสัยคนอื่น ซึ่งเป็นหน้าที่ตำรวจจราจร มิใช่ใครก็ได้มาตัดสินมาชนรถคันอื่นเพราะจะลงโทษกันด้วยกติกาตนเอง ถ้าทุกคนทำแบบนี้ก็จะเกิดความวุ่นวาย เพราะเน้นที่บทลงโทษ ซึ่งก็มิใช่หน้าที่ของตนอยู่ดี แฝงเจตนาจะเอาชนะ จึงต้องเจตนาทำให้คนอื่นเสียทรัพย์ เจตนาทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน สามัญสำนึกของมนุษย์เบี่ยงเบนไปในทางที่จะทำเพื่อสนุกบนความทุกข์ผู้อื่นแล้วสะใจที่เอาชนะได้นั่นเอ

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/495378

..ดังกว่าดาราตอนนี้ก็มีแค่เปรี้ยว เอิร์น แจ้ วศิน ทำกรรมหนักก็นอนไม่หลับทุกข์ทรมานและแก้กรรมก็ไม่ได้ สมัยก่อนหรือบางประเทศในสมัยนี้ จะถูกตัดสินโดยชุมชน ผู้ก่อกรรมก็จะถูกปาหินใส่จนตาย ส่วนฆาตกรข่มขืนก็จะถูกไม้เสียบก้นทรมานจนตาย ก็มีให้เห็น

......จะยุติธรรมคนก่อต้องได้รับกรรมที่ทุกข์ทรมานที่เท่าๆกัน หรือทรมานมากกว่า ผู้ตาย พ่อแม่ผู้เสียชีวิตถึงจะยอมรับได้ และจะไม่มีใครกล้าทำพฤติกรรมที่รุนแรง ...หากทำโทษผู้ทำผิด ให้หนักเท่าๆพฤติกรรมของผู้ก่อ ประจานเตือนสติคนอื่นๆ คนอื่นๆก็จะตระหนักถึงความรุนแรงที่ตนเองจะได้รับในอนาคต....
......คนเรา.. พอตระหนักสำเหนียกก็จะเกรงกลัวความเจ็บปวดทรมาน ทางกาย (คนส่วนใหญ่ไม่เคยติดคุก สำเหนียกแค่ว่า ติดคุกแต่ทรมานทางกาย) และสติจะมาเร็วขึ้น ความคิดที่สองจะเกิดขึ้นได้เร็วขึ้น (ความหุนหันพลันแล่น ด้วยโมหะจะเกิดสั้นกว่าเดิม ตั้งสติได้เร็้ว)
........Impassivity ทำตามอารมณ์ชั่ววูบ ขาดสติ(ขาดเหตุผลมาควบคุมอารมณ์)....
...... เหตุเพราะตนได้เคยสำเหนียกกับการเห็น ผลกรรม หรือเห็นนรก (จำภาพนั้นได้ขึ้นใจ นึกก็เห็นเป็นภาพ ภาพมันติดตา ภาพทุกขกิริยามันถูกเมมไว้ในสมองเรียบร้อยแล้ว มโนผัสสะ) แล้ว พระพุทธเจ้าถึงได้ เปิดโลกนรก สวรรค์ให้คนผู้หลงโมหะ หลงรูป หลงกิเลสอยาก ได้รีบสำเหนียก กลัวความทรมาน และเร่งทำบุญ ละเว้นบาป อย่าได้เสียเวลาลังเลสงสัย วิจิกิจฉาเรื่องกรรมอีกต่อไป
........สำเหนียก ตระหนัก ในที่นี้หมายถึง ขณะที่ทำกิจกรรมหนึ่งแล้วสมองคิดวิเคราะห์ถึงผลลัพธ์ ประเมินไว้ล่วงหน้า แล้วปรับแก้ ปัจจุบันทันที ไม่ให้เกิดผลเสียหาย หรือทำอย่างระมัดระวังสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆกันด้วยความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลง (PDCA MGt of Change Contingencyplan)

..ทำไมถึงต้องอำพราง(หั่น)ศพ

1.กลัวได้รับโทษรุนแรง ทำไมทำรุนแรง บีบคอด้วยอารมณ์เลยหนักมือ ทำไมทำด้วยอารมณ์ เพราะโกรธ โมโห ได้ยินว่าถ้าเราไม่ตายมรึงตาย ทำไมสมองสั่งให้ เจตนาบีบเพื่อให้ตาย เพราะสมองคิดว่า ถ้าทำไม่ตาย ตนเองจะตาย เลยทำเพื่อ ให้ตนเองไม่เสี่ยงที่จะตาย และกลัวว่าตนเองจะ ตายได้อีกในอนาคต จึงเลี่ยงไม่เสี่ยงโดยการ ทำให้เขาตาย ง่ายกว่าที่ตนเอง จะมาหนีกับการไล่ล่าเอาชีิวิต อีกไม่รู้ระยะเวลา จึงเลือกฆ่า ง่ายกว่า เพราะกลัว เขากลับมาเอาคืน ตอนทำเขาไม่กลัวกรรม พอเขาพูดจะทำตนบ้าง ตนกลับกลัวตายขึ้นมาจริงๆ สมองมันไม่ได้ซับซ้อนอะไรตอนฆ่า มันทำตามอารมณ์ คือ ตายซะจะได้ไม่กลับมาทำร้ายเรา เหมือนตีงูพิษตีจนจาย ตีงูไม่มีพิษตีให้แค่ไม่มีแรงรัด ทำอันตรายก็คงพอ คนร้ายฆ่าผู้อื่นมักจะให้การ ทำนองนี้ ว่าทำเพื่อปกป้องตนเอง แต่ต่างกันตรงที่ ปกปองสิ่งที่จะตามมาในอนาคต มิใช่ปกป้องชีวิตตนเอง ในปัจจุบัน ไปกลัวในสิ่งที่ยังไม่เกิด ซึ่งหากมีสติ มากกว่านี้ จะรีบหยุด มอบตัว และขอขมา แต่เพราะเลือกวิธีที่ผิด วิธีที่ง่ายไป ิดว่าอำพรางได้หนีได้รอดได้ แล้วทำพฤติกรรมลบต่อเนื่องๆไปจนตนเองก็ทุกข์เองที่ไม่หยุดเพราะโมหะแค้นไม่ยอมให้อภัย คิดว่าสิ่งต่างๆที่ตนเองกับพวกโดนจับ เป็นเพราะแอ๋ม มิใช่เปนเพราะตนเองทำธุรกิจผิดกฎหมาย .........Resignation รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง ทำผิดไม่คิดว่าสาเหตุบางอย่างหรือสาเหตุหลักเกิดจากเรา คิดว่าสิ่งอื่นเป็นสาเหตุหลักและรอง มองไม่เห็นหรือไม่มองความผิดพลาดของตนเอง ที่เราเห็นจุดบอดคนอื่นเห็นได้ง่าย แต่จุดบอดตนเองไม่ได้หันกลับมามองตนเอง จึงไม่ได้รู้จุดอ่อนของตนเอง

สรุป

1.แค้นเพราะคิดว่าสิ่งที่เพื่อนทำเป็นสิ่งผิด ทำให้ตนเองและเพื่อนโดนจับ

2.ไม่คิดว่าตนเองผิดทำธุรกิจผิดกม.

3.บีบคอจนตาย เพราะแค้นมากกลัวในสิ่งที่จะตามมา (กลัวว่าจะถูกเอาคืน ไม่รู้จะแก้ปัญหา หลีกเลี่ยงการถูกเอาคืนอย่างไร เลือกที่จะไม่ให้ตัวเองต้องลำบากหนีการล่า)

4.เลือกวิธีที่ง่ายไปคือฆ่าเสียเขาจะได้ไม่มาฆ่าเราคืน (อารมณ์สัญชาติญานสัตว์ดุร้ายเดรัชฉานล้วนๆ แต่บางทีสัตว์ที่ดูดุร้าย มันก็ไม่ได้สู้กันจนตาย แค่ป้องกันตัว ผู้ต่อสู้มีท่าทีสู้ไม่ได้ ก็เดินจากออกไปแล้ว ก็คือมีลิมิต)

5.พฤติกรรมทำผิดต่อเนื่อง เพราะกลัวได้รับโทษ กลัวติดคุกสูญเสียความอิสระ (ความเกรงกลัวคุกไม่เกรงกลัวต่อบาปกรรม)

6.พฤติกรรมอำพราง หนี ความผิด (ทำอะไรก็ได้ที่คิดได้ขณะนั้น ไม่ให้ใครจับได้)

ผลสุดท้ายก็ต้อชดใช้กรรมที่ปล่อยให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผลและ ขาดสติ Impassivity แค้นฝังใจ Resignation คิดว่าความผิดที่ตนทำขึ้น เป็นการลงโทษผู้ที่ผิด ซึ่งจริงๆแล้วตนเองผิดที่ทำธุรกิจผิด กม. เพื่อนทำถูกที่ไปบอกตำรวจ ให้ลงโทษตน ทำผิดจนชิน อะไรมาขวางทางก็ผิดไปหมด ความคิดของกลับตาลบัตรแบบนี้อันตรายต่อสังคมส่วนรวม คือเป็นบัวใต้โคลนตม เห็นกงจักเป็นดอกบัวแล ......

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท