ประสบการณ์การพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพของข้าพเจ้าเกี่ยวกับการฝึกสมาธิ


สิ่งที่เรียนรู้ (what) : การฝึกสมาธิ

 

 วิธีเรียน (how) : การทำสมาธิเบื้องต้น ต้องชำระศีลให้บริสุทธิ์ ทำวัตรสวดมนต์บูชาพระเจริญพรหมวิหาร 4 และสมาทานกรรมฐาน เดินสมาธิหรือเดินจงกรม

๏ วิธีการเดินสมาธิหรือเดินจงกรม
เลือกสถานที่ยาวประมาณ 5 เมตร ถึง 10 เมตร แล้วแต่ความกว้างของสถานที่ และความรู้สึกพอดี บางทียาวนักก็ไม่ดี เหนื่อย บางครั้งสั้นไปก็ทำให้เวียนหัว หันหน้าไปทางเดินจงกรม แต่อย่ามองไกลเกินไป มองทอดสายตาดู ไปข้างหน้าประมาณ 4 ก้าวเพื่อไม่ให้จิตใจวอกแวก แต่ไม่ใกล้เกินไป จนรู้สึกปวดต้นคอ มือซ้ายมาวางที่หน้าท้องและมือขวามาวางทับ เพื่อป้องกันแขนแกว่งขณะเดิน และดูสวยงาม

เมื่อได้ท่าที่พอดีแล้วก็เดินก้าวขาขวาไป ก็นึกคำว่า “พุท” และเมื่อก้าวขาซ้ายไป ก็นึกคำว่า “โธ” เวลาเดินไม่หลับตาแต่ให้ลืมตา และกำหนดสัมผัสของเท้าที่ก้าวเหยียบลงพื้น เดินว่าพุทโธไปเรื่อย พอถึงปลายทาง เดินก็หยุดนิดหนึ่ง แล้วก็หันกลับด้านขวามือ มาทางเดิม และเดินว่าพุทโธต่อไป อย่าเร็วเกินไป หรือช้าเกินไป กำหนดจิตของเราอยู่ที่ก้าวเดินและคำภาวนา ไม่ให้จิตวอกแวก

สิ่งสำคัญคือ การกำหนดจิตให้ทันการเคลื่อนไหว ส่วนการเดินเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น เราควรทำอย่างน้อย 30 นาที และจะดีมากขึ้นถ้าตามด้วยการนั่งสมาธิ เพราะการเดินจงกรม เป็นการเปลี่ยนอิริยาบท ปล่อยอารมณ์ และเตรียมร่างกายให้พร้อมสู่การนั่งสมาธิ

๏ อิริยาบถนั่งสมาธิ

นั่งขัดสมาธิ เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย วางลงบนตัก ตั้งกายตรง (ไม่นั่งก้มหน้า ไม่นั่งเงยหน้า ไม่นั่งเอียงซ้าย ไม่เอียงขวา ไม่โยกหน้า ไม่โยกหลัง) ไม่กดและข่มอวัยวะในร่างกาย วางกายให้สบายๆ ตั้งจิตให้ตรง ลงตรงหน้า กำหนดรู้ซึ่งจิตเฉพาะหน้า ไม่ส่งจิตให้ฟุ้งซ่าน ไปในเบื้องหน้า-เบื้องหลัง (อนาคตและอดีต) พึงเป็นผู้มีสติ กำหนดจิตรวมเข้าตั้งไว้ในจิต บริกรรม “พุทโธ” จนกว่าจะเป็นเอกัคคตาจิต

 

ผลการเรียน (outcome) : ทำให้มีสมาธิมากขึ้น เวลาเรียนจิตไม่ฟ้งซ่านสามารถอ่านหนังสือได้เป็นระยะเวลายาวนานมากขึ้นส่วนประโประโยชน์ของการเดินจงกรมที่ได้คือ
-- ทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่าย
-- ทำให้ขาแข็งแรงเดินได้ทนและไกล
-- เมื่อทำหลังอาหารทำให้อาหารย่อยง่าย
-- สมาธิที่ได้จากการเดินจงกรมจะอยู่ได้นาน

 

ข้อคิดที่ได้จากประสบการณ์ (reflection) : ในทุกๆวันนั้นคนส่วนใหญ่จะมีเวลาให้กับตัวเองได้ไม่มากเท่ากับมีเวลาให้กับสิ่งอื่นๆเช่น งาน เพื่อน แฟน หรือสิ่งต่างๆที่เคยผ่านเข้ามาในชีวิตเราหรือแม้แต่สิ่งที่ยังมาไม่ถึง ทำให้เรากลายเป็นคนที่รู้จักตัวเองน้อยลงไปทุกทีๆ การมาฝึกสมาธินั้นแท้จริงแล้วคือการมาเรียนรู้ตัวเองว่าตัวตนของเราแท้จริงนั้นเป็นคนอย่างไร เป็นคนโกรธง่าย รักสวยรักงาม ขี้กังวล หรือจริงๆแล้วไม่มีอะไรเป็นตัวตนของเราอย่างแท้จริง! ซึ่งนอกจากสมาธิจะให้ความสงบแล้วก็ยังเป็นการเพิ่มพูลปัญญาของเราไว้รับมือกับความทุกข์ในรูปแบบต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีอีกด้วย 

 

 เอกสารหรือสื่ออ้างอิง (references)  : http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1885   

 

คำสำคัญ (Tags): #สมาธิ
หมายเลขบันทึก: 494582เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2012 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ชอบตรงข้อคิดที่ได้จังอ่ะ ซึ้งๆ

ก็ดีนะ เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เราเรียนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

น่าสนใจจังเลย เดี่ยวจะลองทำดูนะ

เป็นสิ่งที่ดีมากครับ สมาธิช่วยอะไรเราได้หลายอย่างมากจริงๆ ทำให้เราเป็นผู้มีสติครองตัว พัฒนาจิตใจของเราได้ ขอบคุณมากๆครับสำหรับข้อมูลดีๆ เช่นนี้ ^^

นั่งสมาธิแล้วทรมาน แต่มันมีประโยชน์ เนอะ :3

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท